ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อภิรัชต์ คงสมพงษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
{{ต.จ.ฝ่ายหน้า|2546}}<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00122109.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า] ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2546, เล่ม 120, ตอนที่ 9 ข, 4 พฤษภาคม 2546, หน้า 3.</ref>
{{ต.จ.ฝ่ายหน้า|2546}}<ref>[[ราชกิจจานุเบกษา]], [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00122109.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า] ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2546, เล่ม 120, ตอนที่ 9 ข, 4 พฤษภาคม 2546, หน้า 3.</ref>
{{ร.จ.ม.|2538}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/004V015/2.PDF</ref>{{ช.ด.}}{{ส.ช.2/1}}
{{ร.จ.ม.|2538}}<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/004V015/2.PDF</ref>{{ช.ด.}}{{ส.ช.2/1}}
{{ว.ป.ร.๓|2563}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/B/033/T_0003.PDF ประกาศ เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์] หน้า ๓ เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๓ ข, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓</ref>


==== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ====
==== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ====

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:14, 15 พฤศจิกายน 2563

พลเอก
อภิรัชต์ คงสมพงษ์
ไฟล์:General Apirat Kongsompong.jpg
อภิรัชต์ในปี 2555
รองเลขาธิการพระราชวัง
เริ่มดำรงตำแหน่ง
30 กันยายน 2563
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
ดำรงตำแหน่ง
11 พฤษภาคม 2562 – 29 กันยายน 2563
ถัดไปพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
ผู้บัญชาการทหารบก
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2561 – 29 กันยายน 2563
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท
ถัดไปพลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้
เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม 2561 – 16 กรกฎาคม 2562
ก่อนหน้าพลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท
ถัดไปยกเลิกตำแหน่ง
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน พ.ศ. 2557 – 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด23 มีนาคม พ.ศ. 2503 (64 ปี)
คู่สมรสอมฤดา คงสมพงษ์ (หย่า)
รศ. กฤษติกา คงสมพงษ์
บุตรร้อยเอก พิรพงษ์
ร้อยเอกหญิง อมรัชต์
บุพการี
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
วิทยาลัยเสนาธิการทหาร
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็นอภิรัชต์ คงสมพงษ์.png
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัด กองทัพบกไทย
ประจำการพ.ศ. 2527–2563
ยศ พลเอก

พระอภิรัชต์ อภิรัชตโน หรือ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ (เกิด 23 มีนาคม พ.ศ. 2503) เป็นนายทหารและข้าราชการในพระองค์ชาวไทย ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก, สมาชิกวุฒิสภา, เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ[1] ได้รับแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษในปี 2563

ในทางการเมือง พลเอกอภิรัชต์มีบทบาทในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมชุมคนเสื้อแดงในวิกฤติการเมือง พ.ศ. 2553 และในช่วง พ.ศ. 2562–63 ได้เคยออกมาวิจารณ์การเมืองฝ่ายเสรีนิยมโดยเฉพาะพรรคอนาคตใหม่และคนรุ่นใหม่ว่า “ถูกชักจูง” และมีแนวคิดแบบ “ชังชาติ” การออกมาวิจารณ์นี้ได้ถูกนักวิชาการมองว่าเป็นความไม่เหมาะสมที่ผู้บัญชาการทหารบกแสดงความคิดเห็นโดยถือฝ่ายทางการเมือง ทั้งที่ควรวางตัวเป็นกลาง[2][3] เขายังเป็นผู้ริเริ่มโครงการสายด่วนเพื่อให้ทหารชั้นผู้น้อยร้องเรียนหากถูกกดขี่หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมภายใต้โครงการปฏิรูปกองทัพ ภายหลังเหตุกราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2563 ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักว่าเป็นโครงการที่ล้มเหลว[4] และมีนายทหารที่ร้องเรียนผ่านช่องทางนี้ถูกคุกคามอย่างหนัก[5]

ประวัติ

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2503 มีชื่อเล่นว่า "แดง" เป็นบุตรคนโตของพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด กับ พันเอกหญิง คุณหญิงอรชร คงสมพงษ์ บิดามีกรณีอื้อฉาวมรดก 4,000 ล้านบาท[6][7][8]

เขาสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 (ตท.20), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 31 (จปร.31) ,วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 57

การรับราชการ

เข้ารับราชการตำแหน่งที่สำคัญ เช่น นักบินศูนย์การบินทหารบก, ฝ่ายเสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์, รองเสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.11 พัน 2 รอ.) ก่อนติดยศพันเอก ในตำแหน่งเสนาธิการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (เสธ.ร.11 รอ.)

ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็น รองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ (รอง ผบ.ร.11 รอ.) ขณะเดียวกันก็ไปราชการสนาม ณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ ในหน่วยเฉพาะกิจที่ 14 จังหวัด ยะลา

จากนั้นดำรงตำแหน่งเป็น เสนาธิการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ (เสธ.พล.1 รอ.) ในยศพันเอก (พิเศษ), ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์[9] และขึ้นเป็นรองผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์[10], ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 11, ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 15 และในเวลาต่อมาเป็นผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์,[11] รองแม่ทัพภาคที่ 1, แม่ทัพน้อยที่ 1, แม่ทัพภาคที่ 1 และดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560

ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 มีพระราชโองการฯ แต่งตั้งเขาเป็นผู้บัญชาการทหารบก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ปีเดียวกัน

เขาอยู่ในกลุ่มแยก "วงศ์เทวัญ" หรือนายทหารที่มาจากกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ส่วนพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพลเอก ประวิตร วงศ์สุวรรณ เป็นสมาชิกของกลุ่ม "บูรพาพยัคฆ์" หรือทหารที่มาจากกองพลทหารราบที่ 2 แต่เขามีความสัมพันธ์ที่ดีกับทั้งสอง[12]

พ.ศ. 2563 ได้รับแต่งตั้งเป็นราชองครักษ์พิเศษ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปรับโอนเป็นข้าราชการในพระองค์ ตำแหน่งรองเลขาธิการพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน[13]

ชีวิตส่วนตัว

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ สมรสครั้งแรกกับ นาง อมฤดา (สกุลเดิม อมฤต) โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงประกอบพิธีสมรสพระราชทาน เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529[14] มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ร้อยเอก พิรพงษ์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น พลุ) และ ร้อยเอก แพทย์หญิง อมรัชต์ คงสมพงษ์ (ชื่อเล่น เพลิน สมรสกับ พันเอก ไชยสิริ วิบูลมงคล)[15] ต่อมา พลเอก อภิรัชต์ฯ และนาง อมฤดาฯ ได้หย่าขาดจากกัน

ปัจจุบัน พลเอก อภิรัชต์ฯ ใช้ชีวิตคู่ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษติกา คงสมพงษ์ (สกุลเดิม ศิริจรรยา) อาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อดีตพิธีกรรายการ The Weakest Link กำจัดจุดอ่อน ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3[16]

บทบาทในการเมืองไทย

วิกฤติการเมือง พ.ศ. 2553

พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) พ.ศ. 2553 และเป็นผู้นำกำลังทหารปฏิบัติการยึดคืนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมไทยคมที่จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553 จากการยึดครองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน (นปช.) [17]

ก่อนหน้านั้น พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ เป็นผู้นำทหารในสังกัดกองทัพบกแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมของ พลตรี ขัตติยะ สวัสดิผล นายทหารรุ่นพี่ ที่ออกมาวิจารณ์ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก อย่างรุนแรงหลายครั้ง และในต้นปี พ.ศ. 2551 พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ได้เข้าไปพูดคุยกับนายจักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลที่มีนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ให้หยุดพฤติกรรมจาบจ้วงสถาบัน[17]

การวิพากษ์วิจารณ์การเมืองในช่วง พ.ศ. 2562–63

ตั้งแต่ปี 2562 อภิรัชต์แสดงความคิดเห็นผ่านสุนทรพจน์และบทสัมภาษณ์หลายครั้งโดยพาดพิงพรรคอนาคตใหม่, การประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง และตำหนิกลุ่มที่เขาเรียกว่าพวก "ชังชาติ" หลายครั้ง นอกจากนี้เขายังแสดงออกความเชื่อว่า "คนรุ่นใหม่" ถูกปลุกปั่นให้ความแตกแยก และมีแนวคิดฝักใฝ่คอมมิวนิสต์[3] ซึ่งก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์[18] ถึงความไม่เหมาะสมที่ผู้บัญชาการทหารบกแสดงความคิดเห็นโดยถือฝ่ายทางการเมือง ทั้งที่ควรวางตัวเป็นกลาง[2] เขามีแนวคิดและสนับสนุนให้ทหารแทรกแซงการเมือง[2]

ในเดือนตุลาคม 2562 อภิรัชต์ได้กล่าวสุนทรพจน์ระบุว่า "คนรุ่นใหม่ถูกชักจูงอย่างหนัก โดยมีกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ต้องการจะล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ เปลี่ยนประเทศไทยให้เป็นประเทศคอมมิวนิสต์..."[19][20] สำนักข่าว ข่าวสดอิงลิช ได้ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเองนั้นมีการรักษาความสัมพันธ์กับประเทศจีนซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์[21] และสำนักข่าว บางกอกโพสต์ ได้ออกมาระบุว่า "[สุนทรพจน์ของอภิรัชต์]นี้ไม่ควรออกมาจากปากของผู้บังคับบัญชาทหารใดก็ตาม โดยเฉพาะการกล่าวโทษคนรุ่นใหม่ และ 'ฝ่ายซ้าย' รวมถึงการใช้ถ้อยคำที่เป็นการมีอคติทางการเมืองอย่างชัดเจน"[22][23] นักวิเคราะห์การเมืองเอเชียท่านหนึ่งได้ระบุว่านี่เป็นการแสดงออกเพื่อตั้งตนเป็นศัตรูกับคนรุ่นใหม่ และเป็นวิธีคิดแบบ "enemy mindset" (กรอบความคิดที่ตัดสินฝ่ายตรงข้ามเป็นศัตรูที่ต้องกำจัด)[24]

แผนปฏิรูปกองทัพ

หลังเหตุการณ์กราดยิงหมู่ที่นครราชสีมาเมื่อปี 2563 ซึ่งมีผู้ก่อเหตุเป็นนายทหารและมีมูลเหตุจูงใจความเครียดในการถูกหลอกซื้อบ้านที่ใช้เงินกู้จากกรมสวัสดิการกองทัพบก อภิรัชต์ในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารบกในขณะนั้นได้ออกโครงการปฏิรูปกองทัพโดยมีโครงการสำคัญหนึ่งคือการเปิด “สายด่วนรับฟังข้อร้องเรียนจากนายทหารชั้นผู้น้อย ที่พบเรื่องผิดปกติแต่ไม่กล้ารายงานขึ้นมาแต่ผ่านมาแล้วครึ่งปี” และในการร้องเรียนนั้น “ข้อมูลจะถูกปกปิดเป็นความลับ” ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์[25] อย่างไรก็ตามได้ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่า “ความสำเร็จเป็นรูปธรรมไม่เห็น”[26] ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน 2563 สิบเอกณรงค์ชัย อินทรกวี ซึ่งในขณะนั้นสังกัดศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก ได้เข้าร้องเรียนต่อกมธ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร ร้องเรียนกรณีทหารชั้นผู้น้อยถูกโกงเบี้ยเลี้ยง โดยมีหลักฐานที่ชัดเจนและพบว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นจริง แรกเริ่มนั้นหมู่อาร์มได้ร้องเรียนกับศูนย์คอลเซ็นเตอร์ซึ่งอภิรัชต์ได้ตั้งขึ้นก่อนหน้า แต่ข้อมูลไม่ได้ถูกปกปิดเป็นความลับตามที่อภิรัชต์ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ในครั้งเปิดโครงการ และตัวเขาเองมิได้ออกมาชี้แจง[5][4][27]

บทบาทหลังพ้นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก

วันที่ 8 ตุลาคม บวชเป็นภิกษุที่วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ได้รับฉายา "อภิรัชตโน" แปลว่า "ผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง"[28]

รางวัลที่ได้รับ

  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2562[29]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  • พ.ศ. 2563 - เครื่องอิสริยาภรณ์ลีเจียนออฟเมอริต ชั้น คอมมานเดอร์ (The Legion of Merits (Degree of Commander))[36]
  • พ.ศ. 2563 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์สุลต่านอิบราฮิมแห่งยะโฮร์ ชั้นที่ 1 (Darjah Sultan Ibrahim Johor Yang Amat Disanjungi Pangkat Yang Pertama Dato' Sri Mulia Sultan Ibrahim Johor (SMIJ)) จากสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์[37]

อ้างอิง

  1. ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒/๒๕๖๑ เรื่อง แต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๒๓๙ ง พิเศษ หน้า ๕๙ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๖๑
  2. 2.0 2.1 2.2 "Authoritarians anonymous: Thailand's generals fret about Hong Kong's protests" (Online). The Economist. Oct 11th 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. 3.0 3.1 "อภิรัชต์ คงสมพงษ์ : ชี้นักธุรกิจการเมือง นักวิชาการฝักใฝ่คอมฯ "คุกคามความมั่นคง"" (Online). บีบีซีไทย. 11 ตุลาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  4. 4.0 4.1 https://www.khaosod.co.th/live-from-the-scene/news_4262538
  5. 5.0 5.1 จาก'จ่าคลั่ง'สู่'หมู่อาร์ม' กับคำสัญญา'ปฏิรูปกองทัพ' ไทยโพสต์.
  6. "ศึกสายเลือดฟ้องบันลือโลก รวมคดีชิงอภิมหึมา 'มรดก'". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
  7. "ปริศนามรดก"บิ๊กจ๊อด"". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
  8. "20 ปี คดีมรดก "4 พันล้าน" ของบ้าน "คงสมพงษ์"". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 27 September 2020.
  9. อภิรัชต์ คงสมพงษ์ จากข่าวสด
  10. ผบ.ทบ.ขยับ 86 พันเอกพิเศษสยบข่าวลือปฏิวัติ
  11. โปรดเกล้าฯโยกย้าย 203 นายทหารแล้ว
  12. Nanuam, Wassana (3 September 2018). "Army reshuffle sees loyalists appointed". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 3 September 2018.
  13. "โปรดเกล้าฯ พล.อ.อภิรัชต์-พ.ต.อ.ณรัชต์ เป็นรองเลขาธิการพระราชวัง". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 1 ต.ค. 2563. {{cite news}}: ข้อความ "1 ต.ค. 2563" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. พระราชกรณียกิจ วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน 2529 เว็บไซต์สำนักราชเลขาธิการ
  15. นายกฯ เป็นประธานงานแต่ง พ.ท.ไชยศิริ-ร.ท.พญ.อมรัชต์ (ภาพชุด)
  16. กฤษติกา คงสมพงษ์ จากไทยรัฐ
  17. 17.0 17.1 หนังสือ ลับลวงเลือด โดย วาสนา นาน่วม สำนักพิมพ์มติชน ISBN 9789740206552
  18. "พล.อ.อภิรัชต์ เขียนบทความระบายความในใจ หลังถูกโซเชียลวิจารณ์" (Online). สำนักข่าวไทย. 12 ก.พ. 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-05-26. {{cite news}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |coauthors= (help)
  19. Tanakasempipat, Patpicha (11 October 2019). "Thai army chief decries opposition, hints at threat to monarchy". Reuters. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
  20. Nanuam, Wassana (11 October 2019). "Army chief: Monarchy, military, people inseparable". Bangkok Post. Reuters. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  21. Rojanaphruk, Pravit (19 October 2019). "OPINION: THE REAL MESSAGE IN ARMY CHIEF'S TIRADE" (Opinion). Khaosod English. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
  22. "Apirat speech sends chill" (Opinion). Bangkok Post. 12 October 2019. สืบค้นเมื่อ 12 October 2019.
  23. Wangkiat, Paritta (14 October 2019). "Apirat out of touch with modern reality" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 14 October 2019.
  24. Khidhir, Sheith (19 October 2019). "Is Thailand risking another massacre?". The ASEAN Post. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
  25. https://www.naewna.com/politic/472412
  26. https://www.matichonweekly.com/column/article_313064
  27. https://www.amarintv.com/news/detail/33193
  28. ""บิ๊กแดง" โกนหัวบวชแล้ว จัดงานเรียบง่าย มีเพียงญาติ คนสนิท ร่วมพิธี". ไทยรัฐ. 8 October 2020. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  29. ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร
  30. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๔๗ ข หน้า ๑๗ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  31. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖
  32. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๘๑
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล พ.ศ. 2546, เล่ม 120, ตอนที่ 9 ข, 4 พฤษภาคม 2546, หน้า 3.
  34. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/004V015/2.PDF
  35. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่องพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๓ เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๓ ข, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓
  36. https://rta.mi.th/rta_website_v2/index.php/all-news/item/397
  37. https://rta.mi.th/rta_website_v2/index.php/component/k2/item/240-2020-02-02-15-52-01

แหล่งข้อมูลอื่น