มะโรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ปีมะโรง)
มะโรง
"มะโรง" ในอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และตัวย่อ (ล่าง)
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ

มะโรง เป็นชื่อปีที่ 5 ของรอบปีนักษัตรตามปฏิทินจีน โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย มีสีประจำปีคือสีแดงและสีม่วง เป็นปีธาตุไม้ และมีทิศประจำปีคือทิศตะวันออกกับทิศตะวันออกเฉียงใต้

ในปฏิทินพุทธที่ใช้งานในประเทศไทย, กัมพูชา, ลาว, พม่า และศรีลังกา มีการแทนที่มังกรด้วยนาค[1] ในปีนักษัตรของชาวกูรุงแทนที่ด้วยนกอินทรี[2] ปฏิทินเตอร์กิกเก่าแทนที่ด้วย ปลา หรือ จระเข้ คำแปลภาษาเปอร์เซียยุคแรกในสมัยกลางเปลี่ยนมังกรเป็น งูทะเล แม้ว่าในปัจจุบันมักถือเป็น วาฬ[3][4]

ปีและธาตุ[แก้]

ผู้ที่เกิดในช่วงปีนี้ถือว่าเกิดใน"ปีมะโรง" พร้อมถือธาตุตามนี้:

วันเริ่มต้น วันสิ้นสุด แกนสวรรค์
23 มกราคม 1928 9 กุมภาพันธ์ 1929 มะโรงดิน
8 กุมภาพันธ์ 1940 26 มกราคม 1941 มะโรงโลหะ
27 มกราคม 1952 13 กุมภาพันธ์ 1953 มะโรงน้ำ
13 กุมภาพันธ์ 1964 1 กุมภาพันธ์ 1965 มะโรงไม้
31 มกราคม 1976 17 กุมภาพันธ์ 1977 มะโรงไฟ
17 กุมภาพันธ์ 1988 5 กุมภาพันธ์ 1989 มะโรงดิน
5 กุมภาพันธ์ 2000 23 มกราคม 2001 มะโรงโลหะ
23 มกราคม 2012 9 กุมภาพันธ์ 2013 มะโรงน้ำ
10 กุมภาพันธ์ 2024 28 มกราคม 2025 มะโรงไม้
28 มกราคม 2036 14 กุมภาพันธ์ 2037 มะโรงไฟ
14 กุมภาพันธ์ 2048 1 กุมภาพันธ์ 2049 มะโรงดิน
2 กุมภาพันธ์ 2060 20 มกราคม 2061 มะโรงโลหะ
19 กุมภาพันธ์ 2072 6 กุมภาพันธ์ 2073 มะโรงน้ำ
6 กุมภาพันธ์ 2084 25 มกราคม 2085 มะโรงไม้
25 มกราคม 2096 11 กุมภาพันธ์ 2097 มะโรงไฟ

สำหรับปี พ.ศ.2567 ตามปฏิทินจีน วันที่เริ่มนักษัตรมังกร (龍) จะตรงกับวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 และเป็นมังกรธาตุไม้

ส่วนปฏิทินไทย ปีมะโรงจะตรงกับวัน 9 เมษายน 2567 (ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Year of the Dragon – Naga – Thai Zodiac". Thai Guide to Thailand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  2. "Tamu (Gurung) Losar Festival". ECS Nepal. 2010-07-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-06-09.
  3. Rasulid Hexaglot. P. B. Golden, ed., The King's Dictionary: The Rasūlid Hexaglot – Fourteenth Century Vocabularies in Arabic, Persian, Turkic, Greek, Armenian and Mongol, tr. T. Halasi- Kun, P. B. Golden, L. Ligeti, and E. Schütz, HO VIII/4, Leiden, 2000.
  4. Jan Gyllenbok, Encyclopaedia of Historical Metrology, Weights, and Measures, Volume 1, 2018, p. 244.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]