โรงเรียนลาดยาววิทยาคม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงเรียนลาดยาววิทยาคม Latyaowitthayakhom School | |
---|---|
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | ล.ว. (L.W.) |
ประเภท | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ โรงเรียนรัฐบาลประจำอำเภอ |
คำขวัญ | คุณธรรม ความรู้ และปัญญา ยังบุคคลให้เจริญรุ่งเรืองถาวร |
สถาปนา | 23 เมษายน พ.ศ. 2506 |
รหัส | 1007601101 |
ผู้อำนวยการ | นางชรินรัตน์ แผงดี |
จำนวนนักเรียน | 2,040 |
สี | เหลือง ขาว |
เพลง | มาร์ชขาวเหลือง |
ต้นไม้ | ลีลาวดี |
ดอกไม้ | ลีลาวดี |
เว็บไซต์ | https://latyao.ac.th |
โรงเรียนลาดยาววิทยาคม (อักษรย่อ: ล.ว.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย รวม 52 ห้องเรียน ( ปีการศึกษา 2566 ) ตั้งอยู่ที่ 289 หมู่ที่ 5 ต.สระแก้ว อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ 60150 มีพื้นที่ 145 ไร่ 2 งาน
ประวัติโรงเรียน
[แก้]โรงเรียนลาดยาววิทยาคม ได้ประกาศตั้งเมื่อวันที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ. 2506 เดิมมีว่าชื่อโรงเรียนถาดยาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ โดยแบ่งที่ดิน จำนวน 9 ไร่ ด้านหลังอาคาร โรงเรียนบ้านลาดยาว (ปฐมสิทธิ์พิทยาคาร) ซึ่งเป็นที่ราชพัสดุแปลงเลขที่ 8044 เป็นแปลงเดียวกับที่ตั้งที่ว่าการอำเภอลาดยาว ขึ้นทะเบียน เมื่อพ.ศ. 2464 โรงเรียนถาดยาววิทยาคมเปิดทำการสอนครั้งแรกวันที่ 17 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2506 โดยมีนายไพบูลย์ ชุมเดิม ดำรงตำแหน่งเป็นครูใหญ่ ในปีแรกโรงเรียนยังไม่มี อาคารเรียนเป็นของโรงเรียนจึงได้อาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านลาดยาวเป็นที่เรียน จำนวน 1 ห้อง มีนักเรียนจำนวน 28 คนและครู 4 คน
ปี พ.ศ. 2507 ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 17 ของกรมสามัญศึกษา จำนวน 2 ห้องเรียน โดยใช้เงินงบประมาณจากประชาชนที่มีจิตศรัทยาบริจาค เมื่อเสร็จจึงย้าย จากอาคารของโรงเรือนบ้านลาดยาว ไปอยู่ที่สร้างขึ้นใหม่และพัฒนาโรงเรือนเรื่อยมาโดยลำดับ
ปี พ.ศ. 2509 โรงเรียนได้เงินงบประมาณต่อเติมอาคารเต็มรูป
ปี พ.ศ. 2510 ได้รับงบประมาณต่อเติมเป็น 2 ชั้น
ปี พ.ศ. 2513 ได้รับงบประมาณสร้างอาคาร 1 หลัง บ้านพักครู 2 หลัง โรงเรียนได้ พิจารณาแล้วว่าสถานที่คับแคบมีเพียง 7 ไร่เท่านั้น (โดยยึดหลักเกณฑ์การตั้งโรงเรียนจะต้อง มีเนื้อที่อย่างน้อย 15 ไร่) เนื่องจากทางอำเภอได้ขอพื้นที่เพื่อสร้างที่เก็บน้ำสำหรับการทำ น้ำประปา 2 ไร่ การขยับขยายสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบการต่อไปภายหน้า เมื่อมีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นจะทำการขยายได้ยาย สมควรที่จะต้องเตรียมสถานที
ปี พ.ศ. 2513 โรงเรียนจึงนำงบประมาณการสร้างอาคารหลังแรกปลูกสร้างใน ที่ดินแปลงใหม่และบ้านพักครู 2 หลังในเวลาต่อมา ในระยะต่อมาเมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็แบ่ง นักเรียนมาเรียนที่โรงอาหาร
ปี พ.ศ. 2514 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ 216 ของกรมสามัญศึกษา จำนวน 12 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2516 ได้รับงบประมาณต่อเติมอีก 4 ห้องเรียนเป็น 16 ห้องเรียน (อาคาร 1) เต็มตามรูปแบบนับเป็นอาคารเรียนหลังแรกในที่ดินแปลงใหม่
ปี พ.ศ. 2520 โรงเรียนได้เข้าโครงการพัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกให้กู้เงินมาใช้ในการก่อสร้างและส่งวัสดุอุปกรณ์ การศึกษามาให้โรงเรือนเป็นเงินทั้งสิ้น 11 ล้านบาท
ปี พ.ศ. 2533 โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม โครงการ พัฒนาโรงเรียนมัธยมในส่วนภูมิภาค (ค.ม.ภ.) ได้พัฒนาหลักสูตร พ.ศ. 2533
ปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนได้ข้าร่วมโครงการขยายโอกาสทางการศึกษานักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น จำนวนร้อยละ 90 เข้าเรียนจนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ตอนเต้น โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเงินบำรุงการศึกษา และมีหนังสือยืมเรียนฟรี จัดการเรียนการสอนเป็น 10-6-6 / 3-3-3 มีนายก่อเกียรติ คำประกอบ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนลาดยาววิทยาคม
ปี พ.ศ. 2538 กรมสามัญศึกษาได้อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร วิชาชีพ (ปวช.) สาขาพณิชยการ จำนวน 1 ห้องเรียน
ปี พ.ศ. 2546 แผนการเรียน 10-9-8/4-4-4/1-1-1 รวม 42 เรียน มีนายสมชาย ตามาศสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนถาดยาววิทยาคม
ปี พ.ศ. 2551 จัดเรียน 9-9-10/4-4-4/0-0-1 รวม 41 ชั้นเรียน มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,524 คน มีนายธวัชชัย ทองเจริญ
ปี พ.ศ. 2552 จัดแผนชั้นเรียน 9-9-8 / 5-4-4 รวม 39 ชั้นเรียน มีจำนวน นักเรียนทั้งสิ้น 1,651 คน มีนายสมชาย ตามาศสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2553 จัดแผนชั้นเรียน 9-9-9 / 5-5-4 รวม 41 ชั้นเรียน มีจำนวน นักเรียนทั้งสิ้น 1,739 คน มีนายสมชาย ตานุมาศสวัสดิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
ปี พ.ศ. 2554 จัดแผนชั้นเรียน 8-9-9 / 6-5-5 รวม 42 ชั้นเรียน มีจำนวน นักเรียนทั้งสิ้น 1,763 คน มีนายกมล วงศ์สุทธิ์ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน
โรงเรียนถาดยาววิทยาคม ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการวางแผน ปฏิบัติงาน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของกระแสโลกาภิวัตน์ ให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน ชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่น และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ ทั้งเพื่อให้สามารถสนองตอบต่อ นโยบายการกระจายอำนาจทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โรงเรียนลาดยาววิทยาคม โดยคณะผู้บริหารจึงมีดำริให้จัดทำแผน ปฏิบัติราชการ เพื่อที่จะได้นำสารสนเทศที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานของ แต่ละฝ่ายได้อย่างถูกต้อง ตรงตามนโยบายของโรงเรียนและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียน
แผนการเรียน
[แก้]มัธยมศึกษาตอนต้น
[แก้]- ห้อง 1-7 ห้องเรียนทั่วไป
- ห้อง 8-10 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
มัธยมศึกษาตอนปลาย
[แก้]- ห้อง 1-3 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
- ห้อง 4 ห้องเรียนคอมพิวเตอร์
- ห้อง 5 ห้องเรียนภาษา
- ห้อง 6 ห้องเรียนกีฬา
- ห้อง 7 ห้องเรียนอุตสาหกรรม
- ห้อง 8 ห้องเรียนคหกรรม
อาคารเรียน
[แก้]อาคารเรียน
[แก้]ประกอบด้วย 5 หลัง
- อาคาร 1 (ชั้น 1 กลุ่มสาระภาษาไทย และชั้น 2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)
- อาคาร 2 (กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม)
- อาคาร 3 (ฝั่งซ้ายกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และฝั่งขวาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2)
- อาคาร 4 (ชั้น 1 ห้องวิชาการ ห้องธุรการและการเงิน และห้องผู้บริหาร ชั้น 2 ห้องแนะแนวการศึกษา ศูนย์ภาษาต่างประเทศ ห้องประชุมกตญาณ ห้องประชุมกิจตญาณ)
- อาคาร 5 (ชั้น 1 ห้องสมุด ศูนย์พละ-สุขศึกษา ห้องศิลปะ ชั้น 2 และชั้น 3 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์)
อาคารฝึกงาน
[แก้]ประกอบด้วย 4 หลัง
- ดนตรีสากล
- งานช่างและเขียนแบบ
- งานช่างและไฟฟ้า
- คหกรรม
ห้องกิจกรรม
[แก้]- นาฏศิลป์
- ดนตรีไทย
อื่น ๆ
[แก้]- หอประชุม 2 หลัง (หอประชุมรวมใจ, หอประชุมเก่า)
- อาคารหลวงพ่อจ้อย (ห้องประชุมและนิทรรศการ)
- ศาลาฟ้าใส, ศาลาไทย
- สำนักกิจการนักเรียน
สนามกีฬา
[แก้]กีฬา | จำนวนสนาม | หมายเหตุ |
---|---|---|
ฟุตบอล | 1 | - |
วอลเลย์บอล | 2 | - |
ตะกร้อ | 1 | - |
กรีฑา | 1 | 8 ลู่วิ่ง |
บาสเกตบอล | 2 | - |
เทเบิลเทนนิส | 1 | 6 โต๊ะ |
ฟุตซอล | 1 | - |
แชร์บอล | 1 | - |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- ↑ "Latyaowitthayakhom School". www.latyao.ac.th.