ข้ามไปเนื้อหา

อินทนิล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อินทนิลน้ำ)

อินทนิล
ต้นอินทนิล
ดอกอินทนิล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: โรสิด
Rosids
อันดับ: อันดับชมพู่
Myrtales
วงศ์: วงศ์ตะแบก
Lythraceae
สกุล: Lagerstroemia
Lagerstroemia
(L.) Pers.
สปีชีส์: Lagerstroemia speciosa
ชื่อทวินาม
Lagerstroemia speciosa
(L.) Pers.
ชื่อพ้อง[1]
  • Adambea glabra Lam.
  • Lagerstroemia augusta Wall. nom. inval.
  • Lagerstroemia flos-reginae Retz.
  • Lagerstroemia macrocarpa Wall. nom. inval.
  • Lagerstroemia major Retz.
  • Lagerstroemia munchausia Willd.
  • Lagerstroemia plicifolia Stokes
  • Lagerstroemia reginae Roxb.
  • Munchausia speciosa L.

อินทนิล หรือ อินทนิลน้ำ เป็นไม้ยืนต้น เป็นพรรณไม้ที่พบขึ้นทั่วไปตามที่ราบลุ่มและบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดงดิบทั่วทุกภาค จะพบมากในป่าดงดิบภาคใต้ มีดอกสีม่วง สวยงาม มีชื่อในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เช่น ตะแบกอินเดีย ฉ่องมู ซอง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) บาเอ (ปัตตานี) บางอบะซา (ยะลา นราธิวาส มาเลเซีย) อินทนิล (ภาคกลาง ภาคใต้) ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ) กากะเลา (อีสาน)

อินทนิลเป็นพรรณไม้ประจำจังหวัดสกลนครและจังหวัดระนอง

ลักษณะ

[แก้]

ใบ

[แก้]

เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) ออกตรงข้าม (opposite) หรือเยื้องกันเล็กน้อย (sub-opposit) ทรงใบรูปขอบขนาน (oblong) หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก (lanceolate) กว้าง 5 - 10 ซ.ม. ยาว 11 -26 ซ.ม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบมนหรือเบี้ยวเยื้องกัน เล็กน้อย ปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม เส้นแขนงใบมี 9 -17 คู่ เส้นโค้งอ่อนและจะจรดกับเส้นถัดไปบริเวณใกล้ ขอบใบ เส้นใบย่อยเห็นไม่เด่นชัดนัก ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 1 ซ.ม. เกลี้ยงไม่มีขน

ดอก

[แก้]

เป็นชนิดดอกช่อ (inflorescence flower) แบบ Panicle ออกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซ.ม. ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง มีสี ต่าง ๆ กันเช่น สีม่วงสด ม่วงอมชมพูหรือชมพูล้วน ๆ ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็ก ๆ ติดอยู่ตรงกลาง ผิวนอกของกลีบฐานดอกซึ่งติดกันเป็นรูปถ้วยหรือรูป กรวยหงายจะมีสันนูนตามยาวปรากฏชัด มีขนสั้นปก คลุมประปราย กลีบดอกบาง รูปช้อนที่มีโคนกลีบเป็นก้านเรียว ผิวกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย เมื่อบานเต็มที่จะมีรัศมีกว้างถึง 5 ซ.ม. เกสรผู้มีขนาดเดียวยาวไล่เรี่ยกัน รังไข่กลม เกลี้ยง

การดูแล

[แก้]

การขยายพันธุ์

[แก้]

โดยปกติมีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ (natural distribution) แต่อาจช่วยขยายพันธ์ได้โดยการเพาะเมล็ด

การออกดอกและการติดผล

[แก้]

เริ่มผลัดใบในฤดูร้อน ระหว่างเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ก่อนที่ใบจะร่วงหล่นจากกิ่ง จะเปลี่ยนเป็นสีแดง โดยใบอ่อนจะผลิออกมาใหม่มาทดแทนในขณะที่ใบเก่ายังร่วงไม่หมดระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม โดยช่อดอกจะเริ่มออกเต็มไปหมดและจะบานต่อเนื่องกันเรื่อยไปจนถึงเดือนมิถุนายน ผลจะแก่ประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม เมื่อผลแก่เต็มที่ผลก็จะแตกและโปรยเมล็ด[2]

ประโยชน์

[แก้]

เนื้อไม้

[แก้]

เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้ทำกระดานพื้น ฝา กระเบื้อง มุงหลังคา ใช้ต่อเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล ทำเกวียน เครื่องตกแต่งบ้าน ทำแจว พาย เปียโน หีบใส่ของ ถังไม้ กังหันน้ำ เครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ เช่น ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ซี่ล้อ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ ทำหีบศพอย่างดี

สรรพคุณทางยา

[แก้]
  • เปลือก รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ท้องเสีย
  • ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน
  • เมล็ด รสขม แก้โรคเบาหวาน แก้นอนไม่หลับ
  • แก่น รสขม ต้มดื่มแก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคเบาหวาน
  • ราก รสขม แก้แผลในปาก ในคอ เป็นยาสมานท้อง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]