กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1
หัวข้อของบทความนี้อาจไม่ผ่านแนวปฏิบัติความโดดเด่นทั่วไป (มกราคม 2022) |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1 | |
---|---|
ประเทศ | ไทย |
เหล่า | กองทัพบกไทย |
รูปแบบ | ทหารราบ |
บทบาท | องครักษ์ |
ขึ้นกับ | กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ |
กองบัญชาการ | เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร |
กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1[1] ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (อังกฤษ: 1st Infantry Battalion, 1st King's Own Bodyguard Regiment) เป็นหน่วยทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประวัติหน่วย
[แก้]กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1 ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากการจัดกำลังหน่วย แบ่งออกเป็น 3 กองพันของกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ และนามหน่วยที่ได้นามว่ากองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1 นี้ เพราะเป็นหน่วยขึ้นตรงกับกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์
ผลงาน
[แก้]หน่วยนี้มีผลงานสร้างชื่อหลายประการ จนได้เข้ารับพระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ประดับธงไชยเฉลิมพล ส่วนประวัติการรบนั้นได้มีมากมายหลายประการ เช่น ได้จัดกำลังเข้าร่วมรบในกองทัพบูรพา (สงครามมหาเอเซียบูรพา หรือ สงครามแปซิฟิก) และเคยร่วมรบในสงครามอินโดจีน สงครามเวียดนาม และร่วมปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้าย ที่จังหวัดพิจิตร และในปี พ.ศ. 2554 ได้เกิดมหาอุทกภัยใหญ่ทั่วประเทศ กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ก็ได้มีส่วนร่วมในการแจกถุงอาหาร และเครื่องดื่ม และช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบอุทกภัยอีกมาก
ที่ตั้งหน่วย
[แก้]กองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ที่ 1 ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
เครื่องแต่งกาย
[แก้]- หมวกยอดมีพู่สีดำ ตราพระราชลัญจกร
- เสื้อสักหลาดสีแดง แผงคอและข้อมือกำมะหยี่สีดำ
- ที่ข้อมือปักรูปอักษรพระปรมาภิไธยย่อ วปร. ดิ้นทอง
- สายรัดคางสีทอง
- ประคด ทำด้วยไหมริ้วทองสลับกัน สายคันชีพสีทอง
- ด้านหลังของเสื้อ ปักรูปหางนกแซงแซว
- กางเกงสักหลาดสีดำ แถบสีแดงข้างละ 2 แถบ รองเท้าหนังหุ้มข้อสีดำ
- ติดเข็มราชวัลลภ และประดับเครื่องหมายพระปรมาภิไธยย่อ วปร. ทำด้วยโลหะสีทอง ประดับที่อกเสื้อเบื้องขวา