ข้ามไปเนื้อหา

เมียวดี

พิกัด: 16°41′16″N 98°30′30″E / 16.68778°N 98.50833°E / 16.68778; 98.50833
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมียวดี

မြဝတီ
เมือง
ถนนสายหลัก มองไปทางทิศตะวันออก
ถนนสายหลัก มองไปทางทิศตะวันออก
เมียวดีตั้งอยู่ในประเทศพม่า
เมียวดี
เมียวดี
ที่ตั้งเมืองเมียวดีในประเทศพม่า
พิกัด: 16°41′16″N 98°30′30″E / 16.68778°N 98.50833°E / 16.68778; 98.50833
ประเทศ พม่า
รัฐ รัฐกะเหรี่ยง
จังหวัดเมียวดี
อำเภอเมียวดี
ประชากร
 (พ.ศ. 2557)
195,624 คน
ประชากรศาสตร์
 • ศาสนาพุทธ
เขตเวลาUTC+6:30 (เวลามาตรฐานพม่า)

เมียวดี (พม่า: မြဝတီ; กะเหรี่ยงสะกอ: ရၤမတံ; กะเหรี่ยงโป: ဍုံမေဝ်ပ္တီ) เป็นเมืองชายแดนด้านตะวันออกของประเทศพม่า ติดกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตากของประเทศไทย โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้น เชื่อมด้วยสะพานมิตรภาพไทย-พม่า เป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญแห่งหนึ่งซึ่งพม่าจัดเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยเป็นด่านการค้าชายแดนที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 จากด่านการค้า 15 แห่งในประเทศพม่า[1] เมียวดีอยู่ทางตะวันออกของเมาะลำเลิง เมืองที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศพม่า 170 กิโลเมตร และอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกรุงเทพ เมืองหลวงของประเทศไทย 426 กิโลเมตร[2]

เมียวดีหรือที่ชาวพื้นเมืองเรียก บะล้ำบะตี๋ ตั้งอยู่ในรัฐกะเหรี่ยงของประเทศพม่า แต่เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นพม่าต่อมาเริ่มมีการค้าขาย มีชาวจีน แขก กะเหรี่ยง มุสลิม เข้ามาอยู่และค้าขายจนกลายเป็นเมืองเปิด ในตัวเมืองมีโรงพยาบาล โรงเรียน สถานีตำรวจ ตลาด วัด และสถานที่ท่องเที่ยวอีกมากมาย การปกครองเป็นแบบท้องถิ่นมีทหารพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยผสมร่วมด้วย ถือได้ว่าเมียวดีเป็นเส้นทางขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกทางหลักโดยรถยนต์จากประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]

วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีการระเบิดในที่จอดรถของตลาดที่มีคนพลุกพล่านในเมียวดี ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คนและบาดเจ็บสาหัส 4 คน[3]

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567 กองกำลังผสมของ PDF กับ KNLA เข้ายึดครองฐานทัพหลักหลายแห่งที่ชานเมืองเมียวดี ซึ่งทหารฝ่ายเผด็จการเกือบ 500 นายยอมจำนน ทำให้กองกำลังทหารฝ่ายเผด็จการในเมียวดีโดดเดี่ยวและอยู่ภายใต้แรงกดดัน[4][5] ต่อมาวันที่ 10 เมษายน ปีเดียวกัน กองกำลังฝ่ายเผด็จการที่เหลือถอนทัพจากเมียวดีและถอยหนีไปยังชายแดนไทย กองกำลัง KNLA จึงเข้ายึดครองทั้งเมือง[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Myawaddy Border Trade Continues Despite Clashes". Myanmar Business Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.
  2. PCL., Post Publishing. "Bangkok Post article". www.bangkokpost.com. สืบค้นเมื่อ 2017-10-05.
  3. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 March 2011. สืบค้นเมื่อ 24 February 2019.{{cite news}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  4. Myanmar military loses border town in another big defeat. April 6, 2024. BBC. Jonathan Head. เก็บถาวร เมษายน 6, 2024 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  5. Now, Myanmar (2024-04-08). "Hundreds of Myanmar junta troops surrender as KNU captures base near Myawaddy". Myanmar Now (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-04-09.
  6. AFP. "Myanmar Junta Troops Withdraw From Myawaddy Following Clashes".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]