ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาไทยถิ่นใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ภาษาตามโพร)
ภาษาไทยถิ่นใต้
ภาษาตามโพร
ประเทศที่มีการพูดภาคใต้ของประเทศไทย, เขตตะนาวศรี (พม่า), รัฐเกอดะฮ์ (มาเลเซีย)
ชาติพันธุ์ไทยใต้[1]
เปอรานากัน
ไทยเชื้อสายจีน
มาเลเซียเชื้อสายสยาม
ไทยเชื้อสายมลายู
จำนวนผู้พูด4.5 ล้านคน  (2549)[2]
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรไทย
อักษรเบรลล์ไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3sou

ภาษาไทยถิ่นใต้ (โดยย่อว่า ภาษาใต้) หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษ: Dambro) หรือ ภาษาปักษ์ใต้ เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้[3] มีผู้ใช้ภาษาหนาแน่นบริเวณสิบสี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย มีบางส่วนกระจายตัวไปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตตะนาวศรีในประเทศพม่า และบริเวณรัฐเกอดะฮ์ รัฐปะลิส รัฐปีนัง และรัฐเปรัก ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราวห้าล้านคน และอีกราว 1.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง ได้แก่กลุ่มชนเชื้อสายจีน เปอรานากัน มลายู อูรักลาโวยจ และมานิ[4]

นอกจากนี้ในภาคใต้ยังมีกลุ่มภาษาไทที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาตากใบ ภาษาสะกอม และภาษาพิเทน เพราะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้หรือภาษามลายู[5]

สัทอักษร

[แก้]

วรรณยุกต์

[แก้]

ภาษาไทยถิ่นใต้ส่วนใหญ่ในพยางค์เดียวมี 5 ระดับเสียง ซึ่งเป็นจริงสำหรับสำเนียงที่อยู่ในระดับละติจูดประมาณ 10° เหนือถึง 7° เหนือกับภาษาถิ่นในเมืองทั่วภาคใต้ ในบางพื้นที่มีวรรณยุกต์หกถึงเจ็ดเสียง โดยสำเนียงจังหวัดนครศรีธรรมราช (ประมาณละติจูด 8° เหนือ) มีวรรณยุกต์ 7 เสียง[6]

ต้น

[แก้]
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เสียง Sj เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
[n]
ณ, น
[ɲ]
*
เสียงหยุด ไม่พ่นลม [p]
[t]
ฏ, ต
[c]
[k]
[ʔ]
**
พ่นลม [pʰ]
ผ, พ, ภ
[tʰ]
ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ
[cʰ]
ฉ, ช, ฌ
[kʰ]
ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ
ก้อง [b]
[d]
ฎ, ด
เสียงเสียดแทรก [v]
ฝ, ฟ
[s]
ซ, ศ, ษ, ส
[ɧ]
[ɦ]
ห, ฮ
เสียงเปิด [l]
ล, ฬ
[j]
[w]
เสียงลิ้นรัว [r]
* พบในบางสำเนียง
** ตั้งก่อนหน้าสระใด ๆ โดยไม่มีตัวหน้าและหลังสระสั้นโดยไม่มีตัวท้าย
***ปัจจุบันไม่ใช้พยัญชนะ ฃ และ ฅ ทำให้เหลือพยัญชนะ 42 ตัว

กลุ่มพยัญชนะ (พยัญชนะควบ)

[แก้]

ในภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะ 11 แบบ ดังนี้:

  • /kr/ (กร), /kl/ (กล), /kw/ (กว)
  • /kʰr/ (ขร, คร), /kʰl/ (ขล, คล), /kʰw/ (ขว, คว)
  • /pr/ (ปร), /pl/ (ปล)
  • /pʰr/ (ผร, พร), /pʰl/ (ผล, พล)
  • /tr/ (ตร)

นอกจากนี้ยังมีคำควบกล้ำที่ไม่ได้อยู่ในหลักภาษาไทยมาตรฐานด้วย เช่น

  • หฺมฺร เช่น หมฺรับ อ่านว่า "หฺมฺรับ" (ห เป็นอักษรนำ ตามด้วย ม ควบกล้ำด้วย ร) แปลว่า สำรับ ไม่ได้ อ่านว่า หม-รับ หรือ หมับ ให้ออกเสียง "หมฺ" ควบ "ร") เช่น การจัดหฺมฺรับประเพณีสารทเดือนสิบ

ท้าย

[แก้]

เสียงหยุดทั้งหมดไม่มีการออกเสียง ดังนั้น เสียงท้ายของ /p/, /t/ และ /k/ ออกเสียงเป็น [p̚], [t̚] และ [k̚] ตามลำดับ

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
[n]
ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ
[ŋ]
เสียงหยุด [p]
บ, ป, พ, ฟ, ภ
[t]
จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส
[k]
ก, ข, ค, ฆ
[ʔ]*
เสียงเปิด [w]
[j]
* ตรงท้ายออกเสียงเป็นเส้นเสียงหยุด (glottal stop) เมื่อไม่มีตัวท้ายหลังสระสั้น

สระ

[แก้]

สระในภาษาไทยถิ่นใต้มีความคล้ายกับภาษาไทยถิ่นกลาง โดยเป็นไปตามตารางนี้

หน้า หลัง
ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
สูง /i/
 -ิ 
/iː/
 -ี 
/ɯ/
 -ึ 
/ɯː/
 -ือ, -ื- 
/u/
 -ุ 
/uː/
 -ู 
กลาง /e/
เ-ะ
/eː/
เ-
/ɤ/
เ-อะ
/ɤː/
เ-อ
/o/
โ-ะ
/oː/
โ-
ต่ำ /ɛ/
แ-ะ
/ɛː/
แ-
/a/
-ะ, -ั-
/aː/
-า
/ɔ/
เ-าะ
/ɔː/
-อ

สระมักมาเป็นคู่ยาว-สั้น โดยแบ่งไปตามนี้:

ยาว สั้น
ไทย IPA ไทย IPA
–า /aː/ –ะ /a/
–ี  /iː/ –ิ  /i/
–ู  /uː/ –ุ  /u/
เ– /eː/ เ–ะ /e/
แ– /ɛː/ แ–ะ /ɛ/
–ือ  /ɯː/ –ึ  /ɯ/
เ–อ /ɤː/ เ–อะ /ɤ/
โ– /oː/ โ–ะ /o/
–อ /ɔː/ เ–าะ /ɔ/

สระพื้นฐานสามารถรวมกันเป็นสระประสมสองเสียงที่ใช้ในการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ สระที่มีสัญลักษณ์ดอกจันในบางครั้งอาจถือเป็นสระยาว:

ยาว สั้น
อักษรไทย IPA อักษรไทย IPA
–าย /aːj/ ไ–*, ใ–*, ไ–ย, -ัย /aj/
–าว /aːw/ เ–า* /aw/
เ–ีย /iːə/ เ–ียะ /iə/
–ิว /iw/
–ัว /uːə/ –ัวะ /uə/
–ูย /uːj/ –ุย /uj/
เ–ว /eːw/ เ–็ว /ew/
แ–ว /ɛːw/
เ–ือ /ɯːə/ เ–ือะ /ɯə/
เ–ย /ɤːj/
–อย /ɔːj/
โ–ย /oːj/

นอกจากนี้ ยังมีสระประสมสามเสียง 3 แบบที่ใช้ในการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ สระที่มีสัญลักษณ์ดอกจันในบางครั้งอาจถือเป็นสระยาว:

อักษรไทย IPA
เ–ียว* /iəw/
–วย* /uəj/
เ–ือย* /ɯəj/

สำเนียง

[แก้]

ภาษาไทยถิ่นใต้มีภาษาย่อยแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ บางแห่งมีการใช้คำศัพท์หรือมีการออกเสียงแตกต่างกันออกไป

รัชฎาภรณ์ ผลยะฤทธิ์ (2561)

[แก้]

Phonyarit (2018)[7] แบ่งสำเนียงหลักของภาษาไทยถิ่นใต้ออกเป็น 9 สำเนียง โดยอิงจากการแยกเสียงวรรณยุกต์และการควบรวมประโยค ได้ดังนี้

ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559)

[แก้]

ส่วนตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559) แบ่งภาษาไทยถิ่นใต้ออกเป็นสามสำเนียงใหญ่ ได้แก่

คำยืม

[แก้]

ภาษาไทยถิ่นใต้มีความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติอย่างหลากหลาย จนเกิดการยืมคำมาใช้ ทั้งนี้พบว่าภาษาไทยถิ่นใต้มีการยืมคำจากภาษาเขมรมากที่สุดถึง 1,320 คำ บางส่วนเป็นคำยืมที่พบได้เพียงแต่ในภาษาไทยถิ่นใต้เท่านั้น ไม่พบในภาษาไทยกลาง เข้าใจว่าคงยืมผ่านภาษาเขมรโบราณโดยตรง[9] ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ พบว่าสำเนาพระราชกฤษฎีกาสมัยสมเด็จพระเพทราชาเรื่องกัลปนาวัดในแขวงเมืองพัทลุงล้วนใช้ภาษาและอักษรเขมรเก่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า อาจมาจากการกวาดต้อนเชลยเขมรเข้าสู่หัวเมืองภาคใต้[10][11] นอกจากนี้ยังมีคำยืมภาษาจีนโดยเฉพาะภาษาฮกเกี้ยนหนาแน่นในสำเนียงภูเก็ต (1,239 คำ) และภาษาจีนอื่น ๆ ในสำเนียงสงขลา (396 คำ) และคำยืมภาษามลายูหนาแน่นในสำเนียงปัตตานี ยะลา นราธิวาส (400 คำ) และสตูล (375 คำ) แต่อย่างไรก็ตามคำยืมเหล่านี้มีผู้ใช้น้อยลง และแทนที่ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน[9]

ระบบการเขียน

[แก้]

ในอดีตภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้อักษรขอมไทยในการจดจารตำรับตำราสำคัญทางศาสนา นับถือว่าหนังสือและอักษรเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ถ้าใครเหยียบหรือข้ามหนังสือจะทำให้วิชาความรู้เสื่อมถอย[12] อักษรขอมนี้พัฒนามาจากอักษรหลังปัลลาวะเริ่มใช้เขียนหลัง พ.ศ. 1726 เป็นต้นมา พบหลักฐานที่ฐานพระพุทธรูปวัดหัวเวียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกระทั่ง พ.ศ. 1773 อักษรขอมนี้มีพัฒนาการในรูปแบบท้องถิ่นภาคใต้โดยเฉพาะ แต่ระยะหลังมีการรับอักษรขอมไทยอย่างภาคกลางมากขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์[13]

ส่วนอักษรไทยอยุธยา ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดแวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่มีอักขรวิธีอย่างคนเมืองเหนือ ในช่วงหลังมีการบันทึกวรรณกรรมเป็นอักษรไทยลงสมุดไทยและใบลานตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมา พ.ศ. 2357 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการใช้อักษรไทยอยุธยาเขียนตามสำเนียงใต้โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบที่ถูกต้อง หรือมีอักขรวิธีตามความพอใจของผู้เขียนเอง[13] ครั้นเมื่อมีการพัฒนาด้านการศึกษาในประเทศไทย ภาษาไทยถิ่นใต้จึงพัฒนามาเขียนด้วยอักษรไทยอย่างกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน[13]

ภาษาทองแดง

[แก้]
ในการแสดงหนังตะลุง ตัวละครที่เป็นเจ้านายจะพากย์ด้วยการแหลงข้าหลวง ส่วนตัวละครที่เป็นชาวบ้านจะพากย์ด้วยภาษาถิ่นใต้

ภาษาทองแดง ใน พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายไว้ว่า "การพูดภาษากลางปนภาษาใต้หรือพูดเพี้ยน" ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานกำหนด ไม่ได้จำกัดว่าเป็นคนภาคใดหรือจังหวัดใด ๆ[14] อย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้เป็นภาษาแม่ไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ก็ย่อมจะนำลักษณะบางประการของภาษาถิ่นของตนปะปนเข้ากับภาษาไทยมาตรฐานจนผิดเพี้ยน เรียกว่า "ทองแดง"[14] และชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่พูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด เพราะติดสำเนียงมลายู ก็จะถูกเรียกว่า "ทองแดง" เช่นกัน[15]

แต่เดิมชาวไทยในแถบภาคใต้จะไม่นิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เพราะเป็นภาษาของเจ้านายหรือราชสำนัก เมื่อมีชนชั้นนำหรือเจ้านายพูดภาษาไทยมาตรฐาน ชาวบ้านจึงต้องออกเสียงให้ตรงกับภาษาของนาย เรียกว่า "แหลงข้าหลวง" ซึ่งเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของคนใต้ ที่ต้องการให้ส่วนกลางเข้าใจเนื้อหาคำพูดของตน แม้จะออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง[16] และหากชาวใต้คนใดพูดภาษาไทยกลางหรือ "แหลงบางกอก" ก็จะถูกคนใต้ด้วยกันมองด้วยเชิงตำหนิว่า "ลืมถิ่น" หรือ "ดัดจริต" เพราะแม้จะพูดภาษาไทยมาตรฐานแต่ยังคงติดสำเนียงใต้อยู่ จึงถูกล้อเลียนว่า "พูดทองแดง"[12][14] เพราะมีการออกเสียงพยัญชนะและสระต่างกัน มีการตัดคำหน้าของสระเสียงสั้นออกไป เพื่อความสะดวกในการออกเสียง เช่น "เงาะ" เป็น "เฮาะ", "ลอยกระทง" เป็น "ลอยกระตง", "สังขยา" เป็น "สังหยา" นอกจากนี้ยังมีการใช้คำต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีความหมายเดียวกัน เช่น "ปวดท้อง" ว่า "เจ็บพุง", "ปวดหัว" ว่า "เจ็บเบ็ดหัว", "ชักช้า" ว่า "ลำลาบ"[16]

ปัจจุบันภาษาไทยมาตรฐานมีอิทธิพลเหนือภาษาไทยถิ่นใต้มาขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากการศึกษาในระบบ และผ่านการสื่อสารมวลชน ทำให้ภาษาไทยถิ่นใต้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกขณะ[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ดาริกา ธนะศักดิ์ศิริ (2555). รักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ (PDF). ปทุมธานี: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก. p. 12.
  2. ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  3. International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; landforms a growing larger by the second Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2016.
  4. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2016). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 62. ISBN 978-616-543-381-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2021.
  5. ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 13 (1), หน้า 9. ISSN 2697-5971.
  6. Diller, Anthony (1979). Nguyen, Dang Liem (บ.ก.). "How Many Tones For Southern Thai?" (PDF). South-east Asian Linguistic Studies. Pacific Linguistics, the Australian National University. 4: 122. ISBN 0-85883-201-1.
  7. Phonyarit, Ratchadaporn (2018). Tonal Geography of the Southern Thai Dialects. Paper presented at the 28th Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society, held May 17–19, 2018 in Kaohsiung, Taiwan.
  8. ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 13 (1), หน้า 18. ISSN 2697-5971.
  9. 9.0 9.1 9.2 ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 13 (1), หน้า 21. ISSN 2697-5971.
  10. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (15 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ดร)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2478 น)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 12.0 12.1 เฉลิมชัย ส่งศรี (ตุลาคม 2541–มีนาคม 2542). "ภาษาไทยถิ่นใต้ในบริบททางวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]". วารสารปาริชาด. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11 (2). หน้า 48. ISSN 0857-0884.
  13. 13.0 13.1 13.2 ชะเอม แก้วคล้าย (17 ตุลาคม 2018). "พัฒนาการอักษรที่ใช้บันทึกวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้". สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2021.
  14. 14.0 14.1 14.2 ปรีชา ทิชินพงศ์ (เมษายน–กันยายน 2006). "ลักษณะทางภาษาทองแดงของชาวไทยภาคใต้" (PDF). วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 1 (1). ISSN 1905-3959. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2021.[ลิงก์เสีย]
  15. นิยามาล อาแย (2009). ตัวตนคนมลายูมุสลิมในเขตเมืองยะลา (PDF) (M.A.). สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 124.
  16. 16.0 16.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2007). เล่าเรื่องเมืองใต้: ภาษา วรรณกรรม ความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์. p. 8. ISBN 978-974-9967-82-9.
  17. ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2007). เล่าเรื่องเมืองใต้: ภาษา วรรณกรรม ความเชื่อ. p. 9.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bradley, David. (1992). "Southwestern Dai as a lingua franca." Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas. Vol. II.I:13, pp. 780–781. ISBN 978-3-11-013417-9
  • Levinson, David. Ethnic Groups Worldwide: A Ready Reference Handbook. Greenwood Publishing Group. ISBN 1-573-56019-7.
  • Miyaoka, Osahito. (2007). The Vanishing Languages of the Pacific Rim. Oxford University Press. ISBN 0-19-926662-X.
  • Taher, Mohamed. (1998). Encylopaedic Survey of Islamic Culture. Anmol Publications Pvt. Ltd. ISBN 81-261-0403-1.
  • Yegar, Moshe. Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar. Lexington Books. ISBN 0-7391-0356-3.
  • Diller, A. Van Nostrand. (1976). Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech Variation. Cornell University Publishers. OCLC 3956175.
  • Li, Fang Kuei. (1977). A Handbook of Comparative Tai. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-0540-2.
  • พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2550 พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, มูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้ และสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2551. OCLC 538022818.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]