ข้ามไปเนื้อหา

ภาษามลายูเกอดะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามลายูเกอดะฮ์
بهاس ملايو قدح
ภาษามลายูไทรบุรี
Pelat Utagha
Bahasa Melayu Kedah
ประเทศที่มีการพูดมาเลเซีย, ไทย, พม่า และอินโดนีเซีย
ภูมิภาครัฐเกอดะฮ์, รัฐปีนัง, รัฐปะลิส, รัฐเปรักตอนบน (อำเภอเกอเรียน, อำเภอมันจุง, อำเภอลารุต มาตัง และเซอลามา), จังหวัดตรัง, จังหวัดสตูล, จังหวัดระนอง, เขตตะนาวศรี, อำเภอลังกัต, จังหวัดอาเจะฮ์
ชาติพันธุ์ชาวเกอดะฮ์เชื้อสายมลายู
ชาวไทยเชื้อสายมลายู
ชาวพม่าเชื้อสายมลายู
ชาวมลายูจาริงฮาลุซ
จำนวนผู้พูด2.6 ล้านคน  (2004)[1]
ตระกูลภาษา
ภาษาถิ่น
เกอดะฮ์เปอร์ซีซีรีน
ปะลิส-ลังกาวี
ปีนัง
เปรักเหนือ
สตูล
จาริงฮาลุซ
รหัสภาษา
ISO 639-3meo
บริเวณที่มีผู้พูดภาษามลายูเกอดะฮ์: A. หุบเขาเกอดะฮ์, B. สตูล (เซอตุล), C. ตะนาวศรี (ตานะฮ์ซารี), D. อาเจะฮ์

ภาษามลายูเกอดะฮ์, ภาษามลายูไทรบุรี หรือ ภาษามลายูสตูล (มลายู: Bahasa Melayu Kedah) เป็นสำเนียงหนึ่งของภาษามลายู ใช้พูดในทางภาคตะวันตกของมาเลเซีย ได้แก่ รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) รัฐปีนัง รัฐปะลิส และทางตอนเหนือของรัฐเปรัก ในประเทศไทยมีผู้พูดในจังหวัดสตูล[2] บางส่วนของจังหวัดตรังและระนอง ข้ามไปยังเขตเขตเกาะสองของประเทศพม่า และยังพบว่ามีการพูดบางพื้นที่ทางตอนบนของเกาะสุมาตรา ของประเทศอินโดนีเซียด้วย

ภาษามลายูเกอดะฮ์ในไทย

[แก้]

ผู้ใช้ภาษามลายูเกอดะฮ์ในไทยสามารถใช้พูดภาษาไทยได้ มีความแตกต่างจากภาษามลายู และภาษามลายูปัตตานีไม่มากนัก แต่ในช่วงระยะเวลาไม่ถึงหนึ่งร้อยปีชาวสตูลก็ลืมภาษามลายูถิ่นของตน เยาวชนที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีไม่มีใครพูดภาษามลายูถิ่นได้[2] ด้วยเหตุผลทางภูมิศาสตร์ที่ทำให้สตูลต้องติดต่อกับสงขลามากกว่าไทรบุรี[2] ปัจจุบันในสตูลมีผู้ใช้ภาษานี้ไม่มาก (ประมาณ 6,800 คน) เพราะนิยมใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวันมากกว่าในอดีต

ชาวสตูลที่ใช้ภาษามลายูถิ่นนี้เป็นชาวไทยมุสลิมเชื้อสายมลายูที่อยู่ในบางหมู่บ้าน บางตำบลของสตูลเท่านั้น เช่น ตำบลเจ๊ะบิลัง, ตำบลตำมะลัง, ตำบลปูยู และตำบลฉลุง แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 3 ตำบล คือ ตำบลเจ๊ะบิลัง, ตำบลตำมะลัง และตำบลบ้านควนเท่านั้นที่ยังใช้ในการอ่านคุตบะห์บรรยายธรรมในมัสยิด[2] แม้ผู้ใช้ภาษาจะมีน้อยลง แต่อิทธิพลของภาษามลายูถิ่นนี้ยังมีปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น บ้านกุบังปะโหลด (แปลว่า บ้านหนองปลาไหล), บ้านภูเก็ตยามู (แปลว่า บ้านเขาที่มีต้นฝรั่ง), คลองบันนังปุเลา (แปลว่า เกาะที่มีการทำนา), หนองน้ำทุ่งปาดังกลิงค์ (แปลว่า บริเวณที่แขกกลิงคราษฎร์ตั้งถิ่นฐานอยู่) และเขาปูยู (แปลว่า เขาที่กั้นลมพายุ) เป็นต้น[3]

ยังมีจำนวนหนึ่งใช้พูดในจังหวัดตรัง แต่ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยค่อนข้างมาก ในปี พ.ศ. 2544 มีเพียงผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป ที่สามารถใช้ภาษามลายูถิ่นได้ พบได้ในตำบลเกาะลิบง (แปลว่า ต้นหลาวชะโอน) และในตำบลบ่อน้ำร้อน เช่น บ้านสิเหร่ (แปลว่า พลู) และท่าปาบในอำเภอกันตัง[4] ซึ่งบรรพบุรุษของพวกเขาอพยพมาจากเกาะหมาก (ปีนัง) ในมาเลเซีย[5] นอกจากสำเนียงเกอดะฮ์แล้ว ก็ยังพบผู้ใช้ภาษามลายูสำเนียงชวา ซึ่งมีผู้ใช้บนเกาะมุก อำเภอกันตัง[4]

เลยขึ้นไปพบผู้ใช้สำเนียงถิ่นนี้บนเกาะสินไห จังหวัดระนอง[6][7] และพบผู้ใช้จำนวนหนึ่งในบ้านคลองดิน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ และกำลังลดจำนวนผู้พูดอย่างรวดเร็วเนื่องจากวัยรุ่นหันมาใช้ภาษาไทยถิ่นใต้[8] นอกจากนี้ยังเคยมีการใช้ภาษามลายูถิ่นนี้ในแถบจังหวัดภูเก็ต แต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อคราวเสด็จประพาสก็พบว่าชาวภูเก็ตพูดภาษามลายูไม่ได้แล้ว[9]

คำศัพท์

[แก้]
สรรพนาม[10]
มลายูเกอดะฮ์ มลายูมาตรฐาน แปลไทย
hang awak / kamu / kau 'คุณ' (เอกพจน์)
hangpā / ampa kalian 'คุณ' (พหุพจน์)
cek / aq saya / aku 'ฉัน/ผม'
cek saya 'ฉัน/ผม' (หนุ่มถึงคนชรา)
cek kamu 'คุณ' (ชราถึงคนหนุ่ม)
depa mereka 'พวกเขา/เธอ'
sépā (ใช้ในบางพื้นที่) / kitorang kami 'พวกเรา' (พิเศษ)
คำถาม[11]
มลายูเกอดะฮ์ มลายูมาตรฐาน แปลไทย
siapa, sapa siapa / siapakah 'ใคร'
apa, pa apa / apakah 'อะไร'
bila bila / bilakah 'เมื่อไหร่'
cemana, lagu mana bagaimana / bagaimanakah 'อย่างไร'
mana mana 'ที่ไหน'
pasai pa, awat, rokpa,

buat pa, sebab pa

mengapa 'อย่างไร'
berapa, bapa berapa 'เท่าไหร่'
ศัพท์พื้นฐาน[10]
มลายูเกอดะฮ์ มลายูมาตรฐาน แปลไทย
camca sudu 'ช้อน'
habaq cakap 'พูด'
mai datang, mari 'มา'
mau nak 'ต้องการ'
lorat susah 'ยาก'
lā, lāni sekarang 'ตอนนี้'
cabai cili / lada 'พริก'
hakap tamak 'โลภ'
pi pergi 'ไป'
sat sebentar, sekejap 'หนึ่งวินาที'
mengkalā bila, apabila 'เมื่อ'
ketegaq degil, keras kepala 'ซุกซน'
geghék basikal 'จักรยาน'
mertun tukul 'ค้อน'
lempaq baling 'โยน'
menghabat memanjat 'ปีน'
ligan kejar 'ไล่ล่า'
loq laq tak senonoh 'หยาบคาย'
ketit gigit kecil 'กัดเบา ๆ'
tokok gigit 'กัด'
berlemuih comot 'สกปรก'
cemuih bosan 'เบื่อ'

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษามลายูเกอดะฮ์ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Arifin bin Chik. "ปัญหา สตูล ปัตตานี กับวัฒนธรรมที่กำลังถูกทำลาย". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2012.
  3. ประพนธ์ เรืองณรงค์. "บทผนวกเกียรติยศ". ใน รัฐปัตตานีใน "ศรีวิชัย" เก่าแก่กว่ารัฐสุโขทัยในประวัติศาสตร์: ประวัติศาสตร์"ปกปิด" ของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้. สุจิตต์ วงษ์เทศ (บรรณาธิการ). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน. 2547, หน้า 357. ISBN 9789743231834.
  4. 4.0 4.1 Andadugong (มิถุนายน 2555). ประวัติศาสตร์เกาะลิบง. Trangview.
  5. "Thai Tambon.com - ตำบลเกาะลิบง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-16. สืบค้นเมื่อ 2012-08-06.
  6. "บ้านเกาะสินไห". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรมจังหวัดระนอง. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012.
  7. เกาะสินไห...ความเป็นไทยที่ถูกละเลย. 8 กันยายน 2550.
  8. อับดุลเลาะ วันอะฮ์หมัด (23 กุมภาพันธ์ 2016). "เมื่อภาษามลายูที่นครศรีฯ กำลังจะถูกหลงลืม!". ฟาตอนีออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2016.
  9. นิธิ เอียวศรีวงศ์ (พฤษภาคม 2561) [2538]. กรุงแตก พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า 178. ISBN 978-974-02-1364-2.
  10. 10.0 10.1 Strife, Fiq (2 November 2007). "Kamus Dialek Melayu-Kedah" [The Kedah Malay Dialect Dictionary]. Dunia Melayu Kedah (ภาษามาเลย์). สืบค้นเมื่อ 22 May 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. Mohamed Sultan, Faizal Mohamed; Suhaimi, N. (1 May 2012). "Kata Soal Dalam Dialek Kedah" [Question Words in the Kedah Dialect]. GEMA Online Journal of Language Studies (ภาษามาเลย์). 12: 490 – โดยทาง ResearchGate.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]