ภาษาอ่ายตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่ายตน
(တႝ)ဢႝတွꩫ်
ประเทศที่มีการพูดอินเดีย
ภูมิภาคอัสสัม
ชาติพันธุ์อ่ายตน
จำนวนผู้พูด1,500  (2006)[1]
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรพม่า
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ อินเดีย
ผู้วางระเบียบสถาบันภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3aio

ภาษาอ่ายตน หรือ ภาษาไทอ่ายตน เป็นภาษาที่พูดโดยชาวอ่ายตนในรัฐอัสสัม, อินเดีย ปัจจุบันถูกจัดเป็นภาษาที่ถูกคุกคาม เนื่องจากมีผู้พูดน้อยกว่าสองพันคนทั่วโลก[2] เป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกับภาษาพ่าเก

ระบบการเขียน[แก้]

ระบบการเขียนภาษาอ่ายตน ใช้อักษรพม่าชุดเดียวกันกับภาษาพ่าเก ดังนี้

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะต้นมีตามตารางดังต่อไปนี้ แต่ละตัวมีพื้นเสียงเป็นสระ อะ (บางครั้งเมื่อมีพยัญชนะสะกดจะกลายเป็นสระ อา)

ตัวอักษร က 1 2
เสียง /k/ /kʰ/ /ŋ/ /c/ /s/ /ɲ/ /t/ /tʰ/ /n/ /d/ /p/ /pʰ/ /m/ /b/ /j/~[ʒ] /r/ /l/ /w/ /h/ /ʔ/
  1. ตัวอักษร ꩫ เคยใช้แทนเสียงทั้ง /n/ และ /d/ ปัจจุบันยืมตัวอักษร ဒ มาเพิ่มเพื่อแทนเสียง /d/ อย่างเดียว
  2. ตัวอักษร မ เคยใช้แทนเสียงทั้ง /m/ และ /b/ ปัจจุบันยืมตัวอักษร ဗ มาเพิ่มเพื่อแทนเสียง /b/ อย่างเดียว

พยัญชนะควบมีตามตารางดังต่อไปนี้

ตัวอักษร –ျ –ြ –ၞ
เสียง /-j-/ /-r-/ /-w-/

นอกจากนี้ยังมีพยัญชนะซ้อนสำหรับคำที่ยืมจากภาษาในอินเดีย (เช่นภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต) พยัญชนะตัวบนจะกลายเป็นพยัญชนะสะกด และตัวล่างจะกลายเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป

ตัวอักษร –္က –္ꩬ –္တ –္ထ –္ပ –္ယ –္လ

พยัญชนะสะกดมีตามตารางดังต่อไปนี้ ปัจจุบันไม้ซัต –် ใช้เป็นตัวบอกพยัญชนะสะกดอย่างชัดเจน แต่ในเอกสารโบราณอาจไม่ปรากฏ

ตัวอักษร က် င် ꩡ် ၺ် တ် ꩫ် ပ် မ် ဝ်
เสียง /-k̚/ /-ŋ/ /-c/ /-ɲ/ /-t̚/ /-n/ /-p̚/ /-m/ /-w/

สระ[แก้]

สระในพยางค์เปิด (ไม่มีพยัญชนะสะกด) มีตามตารางดังต่อไปนี้

ตัวอักษร –ႃ1 –ႜ –ီ –ူ –ေ –ေႃ –ုဝ် –ိုဝ်
เสียง /aː/ /a(ʔ)/ /iː/ /uː/ /ɛː/ /ɔː/ /oː/ /ɯː/~[ɤː]
  1. ในเอกสารโบราณมีการใช้ –ာ ด้วย แต่ปัจจุบันใช้ –ႃ

สระในพยางค์ปิด (มีพยัญชนะสะกด) มีตามตารางดังต่อไปนี้

ตัวอักษร ไม่มีรูป –ိ –ု –ွ –ို
เสียง /a(ː)/ /i/~[e] /u/~[o] /ɔ/ /ɯ/~[ɤ]

สระประสมมีตามตารางดังต่อไปนี้

ตัวอักษร –ံ –်ံ –ႝ –ွႝ –ွေ –ိုႜ –်ွ –ွဝ် –်ၞ
เสียง /a(ː)m/ /ɛm/ /a(ː)j/ /ɔj/ /oj/ /uj/ /a(ː)w/ /ɔw/~[aw] /aɰ/

ถ้า –ံ ตามหลังสระใด เหมือนมี မ် (ม) เป็นพยัญชนะสะกด

วรรณยุกต์[แก้]

ภาษาอ่ายตนมีวรรณยุกต์ 3 เสียง แต่ไม่มีรูปเขียน (ภาษาพ่าเกมีวรรณยุกต์ต่างจากนี้)

  1. เสียงวรรณยุกต์ 1 คำเป็น เป็นเสียงสูง-ตกลง (51) คำตาย เป็นเสียงต่ำ (1)
  2. เสียงวรรณยุกต์ 2 คำเป็น เป็นเสียงกลาง-ตกลง (31) ไม่มีคำตาย
  3. เสียงวรรณยุกต์ 3 คำเป็น เป็นเสียงกลาง-ยกขึ้น (35) คำตาย เป็นเสียงกลางหรือสูง (3/5)

ตัวอักษรแทนคำ[แก้]

ตัวอักษรต่อไปนี้ถือว่าเป็นคำโดยไม่ต้องประสม

ตัวอักษร
คำ(วรรณยุกต์) ไม่มี လိုင်(1) ꩬွင်(1)
ความหมาย อัศเจรีย์ หนึ่ง สอง

การซ้ำคำ[แก้]

นอกจากการเขียนคำเดิมสองครั้ง ภาษาอ่ายตนสามารถเขียนคำซ้ำโดยใส่ไม้ซัตหรือสระสองครั้งก็ได้ เท่าที่พบมีดังนี้

ตัวอักษร –်် –ီီ –ံံ –ႝႝ

ตัวเลข[แก้]

ตัวเลขใช้แบบเดียวกับภาษาพม่า

ตัวเลขพม่า
ตัวเลขอารบิก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

อ้างอิง[แก้]

  1. อ่ายตน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "Did you know Aiton is threatened?". Endangered Languages (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-05-03.