ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาซาไก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาซาไก
ประเทศที่มีการพูดประเทศมาเลเซีย ทางภาคใต้ประเทศไทย
จำนวนผู้พูด3,300 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการไม่มี
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3kns

ภาษาซาไก (Kensiu) หรือภาษาเกนซีอู ภาษาโอรัง บูกิต ภาษาโมนิก ภาษาเมนดี มีผู้พูดทั้งหมด 3,300 คน พบในมาเลเซีย 3,000 คน (พ.ศ. 2527) ในบริเวณตอนเหนือของรัฐเกอดะฮ์ใกล้กับชายแดนไทย พบในไทย 300 คน ทางใต้ของจังหวัดยะลา พัทลุง สตูล นราธิวาส ตามแนวชายแดนมาเลเซีย จัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ภาษากลุ่มมอญ-เขมร สาขาอัสเลียน สาขาย่อยอัสเลียนเหนือ

มีคำยืมจากภาษามลายูปะปนอยู่มากเช่น ปะยง (พระจันทร์, ภาษามลายูหมายถึงร่ม) ตาโก๊ะ (เสือ, ภาษามลายูหมายถึงกลัว) ชาวซาไกที่ติดต่อกับคนไทยรับคำยืมจากภาษาไทยด้วยเช่นเดียวกัน ภาษาซาไกมีเสียงนาสิกแต่ไม่มีเสียงควบกล้ำและเสียงวรรณยุกต์ เป็นภาษาคำโดด มีลักษณะของภาษาคำติดต่ออยู่บ้างแต่ไม่มากนัก

อ้างอิง

[แก้]
  • สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคใต้ เล่ม ๕. มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพานิชย์. 2542.
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.