ภาษากฺ๋อง
ภาษากฺ๋อง | |
---|---|
ภูมิภาค | ภาคตะวันตกของประเทศไทย |
ชาติพันธุ์ | 500 คน (2543?)[1] |
จำนวนผู้พูด | 80 คน (2543, เดวิด แบรดลีย์)[2] |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรไทย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | ugo |
ภาษากฺ๋อง เป็นภาษาใกล้สูญภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาทิเบต-พม่าของตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เป็นภาษาที่แสดงลักษณะของภาษาในกลุ่มทิเบต-พม่าอย่างเด่นชัด[3] กล่าวคือ มีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ มีพยัญชนะท้ายน้อย ความสั้น-ยาวของเสียงสระไม่ส่งผลต่อความหมายของคำ และมีการเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา
ผู้พูดภาษากฺ๋องเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กฺ๋อง จากการสำรวจของนักภาษาศาสตร์เดวิด แบรดลีย์ พบผู้พูดภาษานี้ในประเทศไทยราว 80 คนใน พ.ศ. 2543 อาศัยอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านวังควาย ตำบลวังยาว และหมู่ที่ 10 บ้านกกเชียง ตำบลห้วยขมิ้น อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี และหมู่ที่ 3 บ้านละว้า ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ไม่พบผู้พูดในประเทศพม่า ปัจจุบันเริ่มมีผู้พูดภาษากฺ๋องน้อยลง โดยเด็ก ๆ ชาวกฺ๋องหันไปพูดภาษาไทยและภาษาลาว (ลาวครั่ง)
สัทวิทยา[แก้]
พยัญชนะ[แก้]
ลักษณะการออกเสียง | ตำแหน่งเกิดเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
เสียงนาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||||
เสียงหยุด | ก้อง | b | d | ɡ | ||||
ไม่ก้อง | ไม่พ่นลม | p | t | c | k | ʔ | ||
พ่นลม | pʰ | tʰ | cʰ | kʰ | ||||
เสียงเสียดแทรก | f | s | x | h | ||||
เสียงข้างลิ้น | l | |||||||
เสียงเปิด | w | j |
- หน่วยเสียงที่เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะท้ายมี 3 หน่วยเสียง ได้แก่ /ŋ/, /k/ และ /ʔ/
- หน่วยเสียงพยัญชนะควบมี 4 หน่วยเสียง ได้แก่ /pʰl/, /kl/, /kʰl/ และ /bl/ เกิดในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ผู้พูดรุ่นใหม่ไม่นิยมออกเสียง /pʰl/ และ /bl/ เป็นพยัญชนะควบ โดยจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวแรก
- หน่วยเสียง /pʰ/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [pʰ] และ [f] ซึ่งมีการแปรอิสระ เช่น [pʰe~fe] 'ไม้ (ไผ่)' ส่วนหน่วยเสียง /cʰ/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [cʰ] และ [s] ซึ่งมีการแปรอิสระเช่นกัน เช่น [cʰǒŋ~sǒŋ 'กิ้งก่า' ทั้งนี้ ผู้พูดรุ่นใหม่นิยมออกเสียง /pʰ/ และ /cʰ/ เป็น [f] และ [s] ตามลำดับ แต่ยังไม่เป็นทั้งระบบ
- หน่วยเสียง /x/ พบเฉพาะในกลุ่มผู้พูดสูงอายุ โดยพบตัวอย่างคำเดียวคือ /xǎʔ/ 'เข็ม'
สระ[แก้]
สระเดี่ยว[แก้]
ระดับลิ้น | ตำแหน่งลิ้น | ||
---|---|---|---|
หน้า | กลางลิ้น | หลัง | |
สูง | i | ɨ • ʉ | u |
กึ่งสูง | ʊ | ||
กลาง | e • ø | ə | o |
กึ่งต่ำ | ɛ • œ | ʌ | |
ต่ำ | a | ɔ |
- หน่วยเสียง /e/ มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ [e] และ [ɪ] โดยเสียงย่อย [e] ปรากฏในพยางค์ที่มีพยัญชนะท้าย เช่น [kěŋ] 'ตัวเอง' ส่วนเสียงย่อย [ɪ] ปรากฏในพยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้าย เช่น [cɪ] 'ม้าม'
- หน่วยเสียง /ɔ/ คือเสียง [ɔ̞] เนื่องจากเสียง /ɔ/ นั้น แท้จริงแล้วคือ เสียงกึ่งต่ำ แต่เสียง /ɒ/ จะปรากฏออกมาได้ไม่บ่อยนัก ดังนั้นค่าของเสียงหลักคือ เสียง /ɔ/
สระประสม[แก้]
ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงสระประสม 3 หน่วยเสียง[5] ได้แก่ /i̯a/, /ɨ̯a/ และ /u̯ɔ/
วรรณยุกต์[แก้]
ภาษากฺ๋องถิ่นกกเชียงมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ 4 หน่วยเสียง[6] ได้แก่
- หน่วยเสียงกลางระดับ (mid tone)
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่ำ-ตก (low-falling tone) ซึ่งอาจเปลี่ยนเสียงเป็นวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้นหรือวรรณยุกต์สูง-ตกในประโยคปฏิเสธ
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์สูง-ตก (high-falling tone)
- หน่วยเสียงวรรณยุกต์กลาง-ตก-ขึ้น (mid falling-rising tone) มีเสียงย่อย 2 เสียง ได้แก่ เสียงต่ำ-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงกัก และเสียงกลาง-ตก-ขึ้น ปรากฏเมื่อพยัญชนะท้ายเป็นเสียงอื่นที่ไม่ใช่เสียงกัก
ระบบการเขียน[แก้]
ตัวเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทยตามที่คณะกรรมการจัดทำระบบเขียนภาษาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กำหนดไว้ มีดังนี้
|
|
|
ไวยากรณ์[แก้]
โครงสร้างประโยคเป็นแบบประธาน-กรรม-กริยา คำขยายอยู่หน้ากริยา แต่อยู่หลังคำนาม คำบุพบทอยู่หลังคำนาม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ แม่แบบ:E15
- ↑ ภาษากฺ๋อง ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 1.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 24.
- ↑ 5.0 5.1 สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 27.
- ↑ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. คู่มือระบบเขียนภาษากฺ๋องอักษรไทย ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2561, หน้า 29.
- Daniel Nettle and Suzanne Romaine. Vanishing Voices: The Extinction of the World's Languages. Oxford: Oxford University Press, 2000. Page 10.
- Thawornpat, Mayuree. 2006. Gong: An endangered language of Thailand. Doctoral dissertation, Mahidol University.
- Thawornpat, Mayuree. 2007. Gong phonological characteristics. The Mon-Khmer Studies Journal 37. 197-216.
- มยุรี ถาวรพัฒน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: ก๊อง (อุก๋อง). กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. 2540.
อ่านเพิ่ม[แก้]
- Bradley, David. 1993. Body Parts Questionnaire (Ugong). (unpublished ms. contributed to STEDT).
- Bradley, David (1989). "The disappearance of the Ugong in Thailand". Investigating Obsolescence. pp. 33–40. doi:10.1017/CBO9780511620997.006. ISBN 9780521324052.
- Bradley, David (1989). Dying to be Thai: Ugong in western Thailand. La Trobe Working Papers in Linguistics 2:19-28
- Kerr, A. F. G. 1927. "Two 'Lawā' vocabularies: the Lawā of the Baw Lūang plateau; Lawā of Kanburi Province." Journal of the Siam Society 21: 53-63.
- Rujjanavet, Pusit. (1986). The Phonology of Ugong in Uthaithani Province. M.A. Thesis in Linguistics, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University.
- Thawornpat, Mayuree. "Gong phonological characteristics", in Mon-Khmer studies: a journal of Southeast Asian languages and cultures, Thailand: Mon-Khmer Studies, 2007.
![]() |
บทความเกี่ยวกับภาษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา |