ภาษาขมุ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาขมุ
กำมุ
Kmhmu
ກຶມຫມຸ
ประเทศที่มีการพูดลาว เวียดนาม ไทย จีน
ชาติพันธุ์ชาวขมุ
จำนวนผู้พูด479,739 คน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรไทย (ในไทย)
อักษรลาว, อักษรละติน
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน ลาว
รหัสภาษา
ISO 639-3kjg

ภาษาขมุ หรือ ภาษากำมุ เป็นภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก กลุ่มมอญ-เขมร กลุ่มย่อยขมุ มีผู้พูดทั้งหมด 479,739 คน พบในลาว 389,694 คน (พ.ศ. 2528) กระจายอยู่ทางเหนือของหลวงพระบาง หัวพัน พงสาลี เวียงจันทน์ ไชยบุรี น้ำทา ปากแบ่ง และห้วยทราย สำเนียงในแต่ละท้องถิ่นจะต่างกัน พบในจีน 1,600 คน (พ.ศ. 2533) ในสิบสองปันนา ในประเทศไทย 31,403 คน (พ.ศ. 2543) มีผู้พูดที่จังหวัดเชียงราย น่าน และพะเยา และกระจายตัวอยู่ในจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคอีสาน พบในเวียดนาม 56,542 คน (พ.ศ. 2542) และอาจจะมีในพม่า

ระบบเสียง[แก้]

มีพยัญชนะ 17 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 15 เสียง สระมี 22 เสียง เป็นสระเดี่ยว 19 เสียง สระประสม 3 เสียง มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นและสระเสียงยาว ไม่มีเสียงวรรณยุกต์แต่มีลักษณะน้ำเสียง 2 แบบ คือ เสียงทุ้มใหญ่กับเสียงเบาแหลม

ไวยากรณ์[แก้]

เป็นภาษาที่มีแนวโน้มเป็นภาษาที่มีพยางค์เดียวมากขึ้นเช่นเดียวกับภาษาเวียดนาม คำกริยาไม่ผันตามกาล โดยทั่วไปไม่มการเปลี่ยนรูปคำเพื่อแสดงเพศหรือพหูพจน์ ยกเว้นคำสรรพนาม มีการลงอุปสรรค(หน้าคำ) และอาคม(กลางคำ) บ้างแต่จัดเป็นระบบไม่ได้ชัดเจนนัก การเรียงประโยคเป็นแบบ ประธาน-กริยา-กรรม

คำสรรพนามแทนบุคคลมีรูปเป็นเอกพจน์ ทวิพจน์ และพหูพจน์ดังนี้

คำสรรพนาม เอกพจน์ ทวิพจน์ พหูพจน์
บุรุษที่ 1 โอะ อะ อิ
บุรุษที่ 2 ชาย แยะ ซว้า ปอ
บุรุษที่ 2 หญิง ปา ซว้า ปอ
บุรุษที่ 3 ชาย เกอ ซน้า นอ
บุรุษที่ 3 หญิง นา ซน้า นอ

คำสรรพนามที่ใช้เชื่อมประโยค ซึ่งตรงกับคำว่า อันที่ คนที่ ตัวที่ ในภาษาไทย ภาษาขมุจะใช้ว่ากัมหรือนัม มีการใช้คำสันธานน้อย โดยมากใช้ประโยคเรียงต่อกับเฉยๆ คำบุพบทมีไม่กี่คำ ที่ใช้มากคือ ตา หมายถึง ด้าน ที่ จาก ข้างใน และคำว่า ลอง ที่หมายถึง แถว บริเวณ

ระบบการเขียน[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  • สุวิไล เปรมศรีรัตน์. พจนานุกรมไทย-ขมุ-อังกฤษ. กทม. มหาวิทยาลัยมหิดล. 2536
  • Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.