ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาลีสู่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาลีซอ
ꓡꓲ-ꓢꓴ
ประเทศที่มีการพูดจีน, พม่า, อินเดีย, ไทย
ชาติพันธุ์ชาวลีซอ
จำนวนผู้พูดประมาณ 940,000 คน  (2000–2007)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรฟราเซอร์
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการเขตปกครองตนเองเหว่ยซี, จังหวัดปกครองตนเองชนชาติลีซอ นู่เจียง (ประเทศจีน)
รหัสภาษา
ISO 639-3lis
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาลีซอ (ลีซอ: ꓡꓲ-ꓢꓴ, ꓡꓲ‐ꓢꓴ ꓥꓳꓽ หรือ ꓡꓲꓢꓴ; จีน: 傈僳语; พินอิน: Lìsùyǔ; พม่า: လီဆူဘာသာစကား, ออกเสียง: [lìsʰù bàðà zəɡá]) หรือ ภาษาโยบิน ภาษาเยายิน มีผู้พูดทั้งหมด 723,000 คน พบในจีน 580,000 คน (พ.ศ. 2542) ในจำนวนนี้พูดได้ภาษาเดียว 467,869 คน ในยูนนานตะวันตก พบในอินเดีย 1,000 คน (พ.ศ. 2543) ในรัฐอรุณาจัลประเทศ พบในพม่า 126,000 (พ.ศ. 2530) ในรัฐว้า ชายแดนติดกับรัฐอัสสัมของอินเดียหรือในรัฐฉาน พบในไทย 16,000 คน (พ.ศ. 2536) ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร บางส่วนอพยพมาจากพม่า

ภาษาลีซอจัดอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า สาขาพม่า-โลโล สาขาย่อยโลโล มีหลายสำเนียงแต่ความแตกต่างระหว่างสำเนียงมีไม่มาก ในจีนเป็นภาษาที่ใช้ในทางศาสนาคริสต์ การปกครองและในโรงเรียน ส่วนใหญ่พูดภาษาจีนได้ด้วย ในจำนวนนี้มี 150,000 คนสามารถพูดภาษาไป๋ ภาษาทิเบต ภาษาน่าซี ภาษาไทลื้อ หรือภาษาจิ่งเผาะได้ด้วย เขียนด้วยอักษรโรมัน หรืออักษรฟราเซอร์ เป็นภาษาพูดของชาวลีซอ มีสามสำเนียงคือ หัว ไป่ และลู ใกล้เคียงกับภาษาล่าหู่และภาษาอาข่า และมีความสัมพันธ์กับภาษาพม่า ภาษาจิ่งเผาะ และภาษายิ

สัทวิทยา

[แก้]

พยัญชนะมี 31 เสียง เสียงตัวสะกดมีน้อยมาก ไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว สระเดี่ยวมี 9 เสียง สระสะเทินมี 5 เสียง ซึ่งแปรเป็นสระเดี่ยวได้หลายเสียง วรรณยุกต์มี 6 เสียง เรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา คำบุพบทอยู่หลังคำนาม

อ้างอิง

[แก้]
  1. ภาษาลีซอ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)

ผลงานอ้างอิง

[แก้]
  • Bradley, David (2003). "Lisu". ใน Thurgood, Graham; LaPolla, Randy J. (บ.ก.). The Sino-Tibetan Languages (ภาษาอังกฤษ). London: Routledge. ISBN 0-7007-1129-5.
  • Handel, Zev. "Proto-Lolo–Burmese Velar Clusters and the Origin of Lisu Palatal Sibilant" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-08-03 – โดยทาง faculty.washington.edu.
  • Mu, Yuzhang 木玉璋; Sun, Hongkai 孙宏开 (2012). Lìsùyǔ fāngyán yánjiū 傈僳语方言研究 [A Study of Lisu Dialects] (ภาษาจีน). Beijing: Minzu chubanshe. ISBN 978-7-105-12004-8.
  • ลักขณา ดาวรัตนหงษ์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธ์: ลีซอ. กทม. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาชนบท.2539

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]