สมุดข่อย
สมุดข่อย หรือ สมุดไทย เป็นสมุดเอกสารตัวเขียนแบบพับที่เคยนิยมใช้ในวัฒนธรรมพุทธ ได้แก่ ประเทศไทย, ประเทศกัมพูชา, ประเทศลาว, ประเทศพม่า และประเทศศรีลังกา เทคนิคในการผลิตน่าจะมาจากราชอาณาจักรซีลอนโบราณ (ปัจจุบันคือประเทศศรีลังกา) ส่วนใหญ่ทำมาจากข่อย โดยไม่เย็บเล่มเหมือนหนังสือตะวันตก แต่จะพับรวมกันแบบรอยพับ สมุดข่อยอาจทำมาจากกระดาษสีดำ (สมุดไทยดำ) หรือกระดาษขาว (สมุดไทยขาว) การใช้สมุดข่อยในประเทศไทยสามารถสืบไปได้ถึงสมัยสุโขทัย[1] ส่วนใหญ่มักใช้เขียนตำราทางโลก เช่น พระราชพงศาวดาร เอกสารทางกฎหมาย และงานวรรณกรรม ในขณะที่เอกสารตัวเขียนใบลานมักใช้กับตำราทางศาสนา[2][3] นอกจากนี้ สมุดนี้มีชื่อเรียกหลายแบบ เช่น ปะระไบ ในภาษาพม่า,[a] สะหมุดข่อย ในภาษาลาว,[b] พับสา ในภาษาไทยถิ่นเหนือและลาว[c] และ ไกรง์ ในภาษาเขมร
ไทย
[แก้]การใช้ สมุดข่อย ในประเทศไทยสามารถสืบได้ถึงสมัยอาณาจักรอยุธยา โดยใช้ในเอกสารฆราวาสเช่นพระราชพงศาวดาร, เอกสารทางกฎหมาย และผลงานวรรณกรรม เช่นเดียวกันกับคัมภีร์ศาสนาพุทธ ถึงแม้ว่าเอกสารทางศาสนาโดยทั่วไปจะใช้เอกสารตัวเขียนใบลานมากกว่า[4][5]
พม่า
[แก้]กระดาษที่ทำจากใบไผ่และใบลาน[6] ปะระไบ เคยเป็นสื่อหลักในการเขียนและการวาดรูปในของพม่าสมัยใหม่ตอนต้น[7]
มีปะระไบอยู่สองประเภท: ในอดีต ปะระไบดำ (ပုရပိုက်နက်) เคยใช้ในการเขียน ในขณะที่ ปะระไบขาว (ပုရပိုက်ဖြူ) เคยใช้ในการวาดรูป นอกจากนี้ ปะระไบดำมักใช้กับผลงานที่มีความสำคัญทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิค เช่น แพทยศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, โหราศาสตร์, ประวัติศาสตร์, สังคมและเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์, ดนตรี, ลำนำประวัติศาสตร์, นิยาย, กวีนิพนธ์ เป็นต้น ส่วน ปะระไบขาว มักมีภาพสีของกิจกรรม, เรื่องราว, ประเพณีและมารยาททางสังคม, บ้าน, เครื่องแต่งกาย, ทรงผม, เครื่องประดับ เป็นต้น ของกษัตริย์และข้าราชสำนัก[8] พงศาวดารพม่าส่วนใหญ่ได้รับการบันทึกลงไปในปะระไบ[9]
กัมพูชา
[แก้]กระดาษที่ทำสมุดเขมร มีชื่อว่า ไกรง์ (kraing) ที่ทำมาจากเปลือกไม้ของต้นหม่อน เก็บไว้ในเจดีย์ทั่วประเทศ ในช่วงสงครามกลางเมืองกัมพูชาและต่อมาในสมัยของเขมรแดงในคริสต์ทศวรรษ 1960 ถึง 1970 เจดีย์กัมพูชารวมถึงห้องสมุดมากถึงร้อยละ 80 ถูกเผาทำลาย[10] ในประเทศกัมพูชา มี ไกรง์ ตั้งแต่สมัยจักรวรรดิเขมรจำนวนน้อยมากที่ยังคงอยู่[11]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The History of Paper". Nakorn Phanom National Library (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-01.
- ↑ "สมุดข่อย และคัมภีร์ใบลาน กรุสมบัติจากบรรพชน" [Samut khoi and palm-leaf manuscipts: treasure troves from our ancestors]. Ayutthaya Studies Institute, Ayutthaya Rajabhat University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ Igunma, Jana (2013). "Southeast Asia (2): The Mainland". ใน Suarez, Michael F.; Woudhuysen, H. R. (บ.ก.). The Book: A Global History. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780191668753.
- ↑ "สมุดข่อย และคัมภีร์ใบลาน กรุสมบัติจากบรรพชน" [Samut khoi and palm-leaf manuscripts: treasure troves from our ancestors]. Ayutthaya Studies Institute, Ayutthaya Rajabhat University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-31. สืบค้นเมื่อ 17 October 2015.
- ↑ Igunma, Jana (2013). "Southeast Asia (2): The Mainland". ใน Suarez, Michael F.; Woudhuysen, H. R. (บ.ก.). The Book: A Global History. Oxford: Oxford University Press. ISBN 9780191668753.
- ↑ EB (1878), p. 556.
- ↑ Raghavan 1979: 4–14
- ↑ Raghavan 1979: 6
- ↑ Hla Pe 1985: 37
- ↑ Sen David and Thik Kaliyann (19 September 2015). "Palm leaves preserving history". The Phnom Penh Post. Vol. 6.
- ↑ Prof. K. R. Chhem and M. R. Antelme (2004). "A Khmer Medical Text "The Treatment of the Four Diseases" Manuscript". Siksācakr, Journal of Cambodia Research. 6: 33–42.
บรรณานุกรม
[แก้]- Encyclopædia Britannica, 9th ed., Vol. IV, New York: Charles Scribner's Sons, 1878, pp. 551–559. ,
- Hla Pe, U (1985). Burma: Literature, Historiography, Scholarship, Language, Life, and Buddhism. Singapore: Institute of Southeast Asian Studies. ISBN 9789971988005.
- Raghavan, V. (1979). "Preservation of Palm Leaf and Parabaik Manuscripts and Plan for Compilation of a Union Catalogue of Manuscripts" (PDF). UNESCO.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)