ภาษาจาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาจาม
ꨌꩌ
คำว่า จาม ในอักษรจาม
ออกเสียง[cam]
ประเทศที่มีการพูดประเทศกัมพูชาและประเทศเวียดนาม
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นทวีป
ชาติพันธุ์ชาวจาม
จำนวนผู้พูด[1]
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
จามตะวันตก (245,000 คน)[2]
จามตะวันออก (73,000 คน)
ระบบการเขียนอักษรจาม, อักษรอาหรับ, อักษรละติน, อักษรเขมร
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน เวียดนาม
 กัมพูชา
รหัสภาษา
ISO 639-3อย่างใดอย่างหนึ่ง:
cja – จามตะวันตก
cjm – จามตะวันออก

จาม (จาม: ꨌꩌ) เป็นภาษามาลาโย-โพลีเนเซียในตระกูลออสโตรนีเซียน พูดโดยชาวจามแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเป็นภาษาหลักในดินแดนอดีตอาณาจักรจามปาที่กินพื้นที่ทางตะวันออกของประเทศกัมพูชาและเวียดนามใต้ในปัจจุบัน ภาษาจามตะวันตกมีผู้พูด 220,000 คนในประเทศกัมพูชาและ 25,000 คนในประเทศเวียดนาม ส่วนภาษาจามตะวันออกมีผู้พูด 73,000 คนในประเทศเวียดนาม[2] รวมแล้วมีผู้พูดประมาณ 320,000 คน

สัทวิทยา[แก้]

ภาษาจามมีเสียงพยัญชนะ 21 เสียง และเสียงสระ 9 เสียง[3]

พยัญชนะ[แก้]

พยัญชนะจาม
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
ระเบิด ไม่ก้อง ไม่พ่นลม p t c k ʔ
ไม่ก้อง พ่นลม
กักลมเข้า ɓ ɗ
นาสิก m n ɲ ŋ
เหลว l
เสียดแทรก s ɣ h
โรทิก r*
เปิด j w
  • /r/ ในภาษาจามตะวันตกได้ยินเป็นเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน [ɣ] ส่วนในภาษาจามตะวันออกได้ยินเป็นเสียงลิ้นสะบัด ปุ่มเหงือก [ɾ], เสียงเลื่อน ปุ่มเหงือก [ɹ] หรือเสียงรัว ปุ่มเหงือก [r][4]

สระ[แก้]

สระ​เดี่ยว​[แก้]

สระจาม
หน้า กลาง หลัง
สูง i ɨ u
กลาง-สูง e ə o
กลาง-ต่ำ ɛ ɔ
ต่ำ a

สระ​ประสมสองเสียง[แก้]

ia, (เกิดหน้า เท่านั้น), ea, ua, oa, au (เกิดหน้า เท่านั้น), , ɛə, ɔə,

ระบบการเขียน[แก้]

อักษรจามเป็นอักษรพราหมี[2] ซึ่งแบ่งออกเป็นสองแบบ ได้แก่ Akhar Thrah (จามตะวันออก) กับ Akhar Srak (จามตะวันตก) ภาษาจามตะวันตกเขียนด้วยอักษรอาหรับหรืออักษร Akhar Srak[5][6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จามตะวันตก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
    จามตะวันออก ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. 2.0 2.1 2.2 "Cham". The Unicode Standard, Version 11.0 (ภาษาอังกฤษ). Mountain View, CA: Unicode Consortium. p. 661.
  3. Ueki, Kaori (2011). Prosody and Intonation of Western Cham (PDF) (วิทยานิพนธ์ Ph.D.). University of Hawaiʻi at Mānoa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-01-29. สืบค้นเมื่อ 2021-06-25.
  4. Smith, Alexander D. (2013). A Grammatical Sketch of Eastern Cham (ภาษาอังกฤษ).
  5. Hosken, Martin (2019), L2/19-217 Proposal to Encode Western Cham in the UCS (PDF) (ภาษาอังกฤษ)
  6. Bruckmayr, Philipp (2019). "The Changing Fates of the Cambodian Islamic Manuscript Tradition". Journal of Islamic Manuscripts (ภาษาอังกฤษ). 10 (1): 1–23. doi:10.1163/1878464X-01001001.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูล[แก้]