ภาษาถิ่นตากใบ
ภาษาถิ่นตากใบ | |
---|---|
เจ๊ะเห, ตุมปัต, นาเระ | |
ประเทศที่มีการพูด | ไทย และมาเลเซีย |
จำนวนผู้พูด | 60,000–70,000 คน (2544)[1] |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
ภาษาถิ่นตากใบ บ้างเรียก ภาษาถิ่นเจ๊ะเห[2] หรือ ภาษาถิ่นนาเระ[3] เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้[4][5] แต่ยังไม่ปรากฏสถานะในกลุ่มภาษาย่อยไทอย่างชัดเจน[1] ใน พ.ศ. 2544 มีผู้ใช้นี้ภาษาราว 60,000–70,000 คน[1] กระจายตัวตั้งแต่อำเภอยะหริ่ง อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ลงไปจนถึงอำเภอตากใบ และอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดนราธิวาส[6] ทั้งยังพบผู้ใช้ในจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวนหนึ่ง[1] รวมถึงกลุ่มคนมาเลเซียเชื้อสายไทยในรัฐกลันตันและรัฐตรังกานูของประเทศมาเลเซีย แต่จะเรียกว่า ภาษาตุมปัต[7] มีคำศัพท์และสำเนียงภาษาเป็นเอกลักษณ์ของตนเองแตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้และภาษามลายูปัตตานี[8] เพราะออกเสียงเอื้อนยาว เนิบช้า ผิดกับภาษาไทยถิ่นใต้ที่ออกเสียงห้วนสั้น[9] เป็นที่พึงสังเกตว่ามีการใช้ราชาศัพท์สำหรับเรียกชื่อสิ่งของเครื่องใช้บางอย่าง[9] รวมทั้งมีลักษณะทางภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาผู้ไทมากที่สุด[4][10] ทั้งนี้ภาษาตากใบมีภาษาย่อย คือ ภาษาสะกอมในจังหวัดสงขลา[11]
ในประโยคคำถามของภาษาถิ่นตากใบลงท้ายด้วยคำว่า หมี หรือ หมิ แทนการลงท้ายด้วยคำว่า ไหม เช่น ช่ายหมี แปลว่า "ใช่ไหม", กินข้าวแล้วหมี แปลว่า "กินข้าวหรือยัง" และ มึงมานานแล้วหมี แปลว่า "คุณมานานแล้วหรือยัง"[12][13]
ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ใช้ภาษาถิ่นตากใบลดจำนวนลงเรื่อย ๆ[1] จึงมีการจัดรายการวิทยุด้วยภาษาถิ่นตากใบเพื่ออนุรักษ์เป็นมรดกสำคัญของท้องถิ่น และกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประกาศขึ้นทะเบียนภาษาถิ่นตากใบขึ้นเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติไทย สาขาภาษา เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556 ประเภทภาษาท้องถิ่น[12]
ประวัติ[แก้]
มุขปาฐะของชาวตากใบรุ่นเก่าจะบอกเพียงว่าบรรพบุรุษของพวกตน อพยพมาจากทางทิศตะวันตก คือมาจากทางตอนบนของคาบสมุทร แต่มิได้ชี้ชัดว่ามาจากที่ใด[14] มุขปาฐะชั้นหลังจากหลายชุมชน มีการบอกเล่าแตกแขนงเนื้อหาต่างกันไป บางแห่งอธิบายว่า มีนายทหารสุโขทัยชื่อลัง คุมสำเภาหลวงจะไปค้าขายที่เมืองจีน แต่เรือกลับล่มที่แหลมญวน นายลังและบริวารบางส่วนขึ้นฝั่งที่ปะนาเระ อีกส่วนขึ้นฝั่งที่จันทบุรี ระยอง และตราด[3] และอีกสำนวนหนึ่งอธิบายว่า กษัตริย์อยุธยาเสด็จมายังหัวเมืองภาคใต้ แต่ช้างเผือกสำคัญกลับเตลิดหายไป พระองค์มีพระราชโองการให้ไพร่พลออกตามหาช้าง และทรงคาดโทษด้วยว่าหากตามช้างสำคัญไม่ได้จะประหารชีวิตพวกเขาทั้งหมด แต่ก็ยังหาช้างสำคัญไม่พบ ด้วยเหตุนี้เหล่าทหารจึงตั้งถิ่นฐานอยู่แถบนี้เรื่อยมาเพื่อเลี่ยงโทษประหาร[15]
มาร์วิน เจ. บราวน์ (Marvin J. Brown) นักภาษาศาสตร์ได้แสดงความเห็นว่าภาษาถิ่นตากใบนี้แยกตัวออกมาจากภาษาไทยสุโขทัยโดยตรงเมื่อราว พ.ศ. 2293[16]
ชัยเลิศ กิจประเสริฐ อ้างความเห็นของแอนโทนี ดิลเลอร์ (Anthony Van Nostrand Diller) ว่าภาษาตากใบนี้น่าจะมีความสัมพันธ์กับภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษากลุ่มลาว ไทดำ ไทขาว หรืออื่น ๆ โดยอ้างถึงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เล่าเรื่องเมืองปัตตานี (Hikayat Patani) กรณีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิส่งเชลยลาวล้านช้างไปปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2107 ก่อนเสียกรุงแก่พม่าในปีถัดมา เชลยเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานที่บ้านปาดังเปอริต (Padang Perit) แวดล้อมด้วยสังคมชาวมลายูและไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยถิ่นใต้ ทำให้ภาษาถิ่นตากใบยังคงรักษาระบบวรรณยุกต์แบบเก่าไว้ได้[17]
ส่วนงานวิจัยของพุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2541) ซึ่งศึกษาการออกเสียงพยัญชนะต้น วรรณยุกต์ การยืดเสียง และศัพท์เฉพาะของภาษาถิ่นตากใบ พบว่ามีความใกล้เคียงกับภาษาผู้ไท ซึ่งอาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยมากที่สุด[4][10]
ภาษาถิ่นย่อย[แก้]
จากการศึกษาของพุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2542) พบว่าภาษาถิ่นตากใบสามารถจำแนกออกเป็นสองภาษาถิ่นย่อย ดังนี้[18]
- ภาษาตากใบถิ่นย่อยเหนือ เป็นภาษาตากใบถิ่นย่อยที่มีผู้ใช้ในอำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอมายอ อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และบ้านเชิงเขา ตำบลปะลุกาสาเมาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งออกเสียงสระ ไ และ ใ ด้วยเสียงสั้น
- ภาษาตากใบถิ่นย่อยใต้ เป็นภาษาตากใบถิ่นย่อยที่มีผู้ใช้ทุกอำเภอของจังหวัดนราธิวาส และเฉพาะที่บ้านสารวัน ตำบลตะโละไกรทอง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ซึ่งออกเสียงสระ ไ และ ใ ด้วยเสียงยาว
นอกจากนี้ยังพบผู้ใช้ภาษาถิ่นตากใบในจังหวัดนครศรีธรรมราช[1] โดยภาษาถิ่นตากใบมีภาษาย่อยคือภาษาถิ่นสะกอม ใช้สื่อสารกันในกลุ่มชาวไทยมุสลิม อำเภอจะนะและเทพา จังหวัดสงขลา[11] และพบผู้ใช้สำเนียงคล้ายสำเนียงภาษาถิ่นตากใบที่บ้านคลองลาว ตำบลวังใหม่ อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี[19]
วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555) พบว่าภาษาถิ่นตากใบมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เนือง ๆ โดยผู้พูดกลุ่มอายุ 15-30 ปี มีแนวโน้มการแปรคำศัพท์เพิ่มขึ้น ส่วนผู้พูดกลุ่มอายุ 75 ปีขึ้นไป มีการธำรงคำศัพท์เก่าได้มากที่สุด รวมทั้งภาษาถิ่นตากใบมีการรับอิทธิพลจากภาษามลายูปัตตานีอยู่เรื่อย ๆ และเป็นไปอย่างช้า[20] โดยการเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์มักได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยมาตรฐาน ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษามลายูปัตตานี เช่น โลกแว้น เปลี่ยนเป็น เขือพวง แปลว่า มะเขือพวง,[21] ไฟแกรบ เปลี่ยนเป็น ไฟฉาย, ฝาระมี เปลี่ยนเป็น ฝาหม้อ,[22] ช่างกริบผม เปลี่ยนเป็น ช่างตัดผม,[23] เท้าเชี้ยว เปลี่ยนเป็น เต้าเจี้ยว, ปลาเจี้ยน เปลี่ยนเป็น ปลาทอด, น้ำอัดแก๊ด เปลี่ยนเป็น น้ำอัดลม, ตาแป เปลี่ยนเป็น ข้าวหมาก,[24] ยี่ได๋ เปลี่ยนเป็น ไซ่ แปลว่า ทำไม และ นัด เปลี่ยนเป็น หล้าด แปลว่า ตลาด[25]
ประชากร[แก้]
กลุ่มประชากรที่ใช้ภาษาตากใบ เป็นชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึงอาศัยอยู่ทางฝั่งตะวันออกของจังหวัดปัตตานี ได้แก่ อำเภอปะนาเระ อำเภอสายบุรี อำเภอมายอ อำเภอยะหริ่ง อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกะพ้อ และอำเภอไม้แก่น จังหวัดนราธิวาสทุกอำเภอ เลยไปจนถึงชุมชนชาวสยามในรัฐกลันตัน และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย[26] พวกเขาตั้งชุมชนอยู่ในวงล้อมของชาวมลายูมุสลิมไม่ต่ำกว่า 150 ปี[27] บ้างก็อ้างว่าอาศัยมาไม่ต่ำกว่า 600 ปี[28] มีวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ยึดอาชีพทำนาและค้าของป่าเป็นหลัก[27] บางชุมชนก็อยู่อย่างโดดเดี่ยวท่ามกลางประชาคมมลายูมุสลิม[29][30][31] นอกจากมีภาษาเป็นของตนเองแล้ว พวกเขายังมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และหลายอย่างคล้ายกับคนไทยในภูมิภาคอื่น[32] พวกเขาให้ความเคารพพระศาสนาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะพักผ่อนหรือนอนต้องหันศีรษะไปทางวัด[33] มักแสดงความเคารพพระภิกษุและสามเณรอย่างสูง เรียกชายที่ผ่านการบวชพระมาแล้วว่า เจ้า ไม่เรียก ทิด นับถือรูปหงส์แกะสลัก ผู้ชายสูงอายุนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าขาวม้าเหมือนคนทางเหนือ และผู้หญิงสูงวัยมักเกล้ามวยผม เรียกว่า เกล้ามวยดากแตแหร และห่มสไบ[9] มีประเพณีสำคัญอีกอย่าง คือประเพณีลาซัง[6] และพิธีสระหัวบะดัน สำหรับทารกแรกเกิด[32] มีรูปแบบการก่อสร้างศาสนสถานอิทธิพลมลายู ก่อนได้รับอิทธิพลอย่างไทยประเพณีในชั้นหลัง[34] พวกเขาไม่นิยมสร้างศาลาการเปรียญอย่างคนไทยภาคกลาง แต่ให้ความสำคัญกับ "แม่แต๊ะ" หรือ "แม่วัด" แปลว่า กุฏิเจ้าอาวาส ซึ่งมีขนาดใหญ่ เป็นพื้นที่เอนกประสงค์หลายประการไม่ต่างจากศาลาการเปรียญ ซึ่งแม่วัดนี้เป็นแนวคิดเดียวกันกับการสร้างบ้านพักโต๊ะอิหม่าม ที่มีการสร้างอาคารบาราปอเนาะเชื่อมกับตัวบ้าน ใช้สำหรับสอนศาสนา อันเป็นอิทธิพลจากเรือนมลายู[35]
ปัจจุบันชาวไทยกลุ่มนี้มีการสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวมลายูมุสลิม[30][36] และชาวจีนในพื้นที่[37] และจากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ได้ส่งผลกระทบโดยตรงกับชุมชนไทยพุทธกลุ่มนี้อย่างกว้างขวาง เพราะชาวไทยพุทธไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวก ใช้ชีวิตด้วยความเครียดกังวลสูงเพราะเกรงจะถูกลอบทำร้าย ประชากรจำนวนไม่น้อยขายที่ดินเพื่อนำเงินไปตั้งถิ่นฐานที่อื่น ทำให้ประชากรที่ใช้ภาษานี้ลดจำนวนลงเรื่อย ๆ[1] ขณะที่พระสงฆ์และสามเณรลดจำนวนลงเรื่อย ๆ ทำให้วัดร้างลง เมื่อขาดพุทธบริษัท ศาสนาพุทธกำลังตกอยู่ในสภาวะเสื่อมสลายจากพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้[38] ขณะที่ชาวมาเลเซียเชื้อสายสยามอาศัยกระจายอยู่ทั้งเจ็ดอำเภอของรัฐกลันตัน และหนึ่งอำเภอในรัฐตรังกานู[39][40] มีสภาวะที่ต่างกันออกไปจากกลุ่มที่อาศัยในฝั่งไทย กล่าวคือพวกเขายังธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ทั้งภาษา ประเพณี และศาสนาไว้อย่างครบถ้วน มีการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมสู่ลูกหลานอย่างเป็นระบบ[41] พวกเขาอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ปะปนกับชาวมลายู หลายคนพูดและเขียนอักษรไทยได้ดี[42] วัดไทยหลาย ๆ แห่งมักมีสถาปัตยกรรมจีนปรากฏให้เห็น หลังการผสานทางวัฒนธรรมในชั้นหลัง[43]
นอกจากกลุ่มชาวไทยพุทธแล้ว ในกลุ่มภาษานี้ยังมีประชากรที่ใช้ภาษาถิ่นสะกอม ซึ่งเป็นสำเนียงย่อยของภาษาถิ่นตากใบ เป็นชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ในตำบลสะกอม อำเภอจะนะ และตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา[11]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 ภีมระพัฒต์ รองสวัสดิ์. "ตากใบ (เจ๊ะเห)". คลังข้อมูลดิจิทัลของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 1.
- ↑ 3.0 3.1 "ภาษานาเระ". ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 พุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2541). "สถานะของภาษาตากใบในภาษาไทถิ่น (โครงการระยะที่2)". ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 20.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 6.0 6.1 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 38.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 1.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ (13:1), หน้า 9
- ↑ 9.0 9.1 9.2 สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 9.
- ↑ 10.0 10.1 ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 20.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ 11.0 11.1 11.2 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 55.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ 12.0 12.1 กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 39.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ ครื่น มณีโชติ. "ภาษาตากใบ (เจ๊ะเห)". วารสารวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-21. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 7.
- ↑ สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส. p. 8.
- ↑ ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 15-16.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ ภัสร์ธีรา ฉลองเดช (2559). สถานการณ์และทัศนคติการใช้ภาษาตากใบ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p. 17.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ พุทธชาติ โปธิบาล และธนานันท์ ตรงดี (2542). "แนวแบ่งเขตภาษาถิ่นย่อยของภาษาไทยถิ่นตากใบ : ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นของเสียงสระที่ใช้รูปเขียน ใ- ไ-". ฐานข้อมูลวิจัยจังหวัดชายแดนใต้. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. สืบสานภาษาไทยถิ่นใต้ : ภาษาถิ่นเจ๊ะเห (PDF). p. 7.
- ↑ วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 154.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help)[ลิงก์เสีย] - ↑ วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 61. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 58. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 57. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 50. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ วัชรีย์ เพชรรัตน์ (2555). แนวโน้มการใช้คำศัพท์ภาษาถิ่นตามปัจจัยทางสังคมของชาวไทยพุทธในตำบลบ้านกลาง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. p. 149. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-22. สืบค้นเมื่อ 2022-08-12.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ บรรลือ ขอรวมเดช และนิลุบล ขอรวมเดช (7 สิงหาคม 2565). "สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองโกตาบารู ร่วมทำบุญครั้งนี้เพื่ออุทิศส่วนกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในโอกาสการสวรรคตครบ ๗ วัน". กระทรวงการต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 27.0 27.1 ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ. มันยากที่จะเป็นมลายู. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 95
- ↑ Pattaraporn (มกราคม–มิถุนายน 2562). อิทธิพลทางพระพุทธศาสนากับการปรับตัวด้านประเพณี วัฒนธรรมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ของชุมชนไทยพุทธในเขตอำเภอเมืองปัตตานี (PDF). สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. p. 32.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ ""กะพ้อ" อำเภอนี้ไม่มีวัด". คมชัดลึก. 1 พฤศจิกายน 2553. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 30.0 30.1 สมอุษา บัวพันธ์ (4 เมษายน 2557). "ไทยพุทธที่ชายแดนภาคใต้ (ตอน1) : การตื่นตัวที่สายเกิน?". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ "โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้: ย้อนอดีตบ้านโต๊ะชูด ย้อนรอยโมเดลทุ่งยางแดง". ประชาไท. 1 เมษายน 2558. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ 32.0 32.1 อารีย์ ธรรมโคร่ง และอ้อมใจ วงษ์มณฑา (มกราคม–มิถุนายน 2562). พิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับการเกิดและการตายของชาวบ้านไทยพุทธในอำเภอสายบุรีและอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี. วารสารภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม (8:1). p. 121.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ Pattaraporn (มกราคม–มิถุนายน 2562). อิทธิพลทางพระพุทธศาสนากับการปรับตัวด้านประเพณี วัฒนธรรมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ของชุมชนไทยพุทธในเขตอำเภอเมืองปัตตานี (PDF). สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. p. 31.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ บรรลือ ขอรวมเดช (พฤษภาคม–สิงหาคม 2556). อุโบสถของวัดไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ในสมัยรัตนโกสินทร์. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal (6:2). หน้า 777
- ↑ บรรลือ ขอรวมเดช และนิลุบล ขอรวมเดช. ""แม่วัด" ภาพสะท้อนวิถีไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย". คลังข้อมูลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ. มันยากที่จะเป็นมลายู. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559, หน้า 105-108
- ↑ Pattaraporn (มกราคม–มิถุนายน 2562). อิทธิพลทางพระพุทธศาสนากับการปรับตัวด้านประเพณี วัฒนธรรมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ของชุมชนไทยพุทธในเขตอำเภอเมืองปัตตานี (PDF). สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา. p. 35.
{{cite book}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|year=
(help) - ↑ ปัญญา เทพสิงห์ และเก็ตถวา บุญปราการ (มกราคม–เมษายน 2560). มูลเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพวัดไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในปี พ.ศ. 2547-2560. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ (33:1), หน้า 93-97
- ↑ "Population Distribution and Basic Demographic Characteristics, 2010" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2012.
- ↑ "Masyarakat Siam Besut sambut Loy Krathong". Utusan Online.
- ↑ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ (7 พฤษภาคม 2561). "มาเลเซียเชื้อสายไทยในตุมปัต". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-12. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
และ|date=
(help) - ↑ บริบทของคนไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (PDF). คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 15.
- ↑ บริบทของคนไทยในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย (PDF). คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 18.