ภาษาเขมรลาวเดิม
ภาษาเขมรลาวเดิม เป็นภาษาหนึ่งที่มีใช้พูดกันอยู่ในจังหวัดราชบุรี ภาษานี้จะใกล้เคียงกับภาษาอีสานใต้ และยังมีการใช้ภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาวเขมรลาวเดิมเป็นชาวลาวที่ถูกทัพเขมรกวาดต้อนไปเมืองเขมร เมื่อได้ไปตีเขมรจึงได้กวาดต้อนชาวลาว และชาวเขมรปะปนกันมาด้วย จึงมีกลุ่มใช้ภาษาใกล้เคียงกับลาว และเขมร ชาวเขมรลาวเดิมอาศัยอยู่แถบบ้านเจ็ดเสมียน บ้านพงสวาย (แถววัดพเนินพลู แถววัดลาดเมธังกร) ในอำเภอเมืองราชบุรี กลุ่มสองอยู่แถบอำเภอวัดเพลง ไปจนถึงอำเภอปากท่อ ได้แก่ หมู่ 6-9 ตำบลเกาะศาลพระ บ้านคลองพะเนาว์ บ้านเกาะไฟไหม้ บ้านเฉลา บ้านบางนางสูญ ในอำเภอวัดเพลง บ้านบ่อกระดาน บ้านบ่อตะค้อ บ้านโคกพระ และบ้านหนองจอกในอำเภอปากท่อ
ปัจจุบันภาษาเขมรลาวเดิมจัดเป็นภาษาในวงล้อม (Enclave language) เนื่องจากล้อมรอบด้วยภาษาไทยกลางและภาษาลาวเวียง ในอนาคตชุมชนภาษาเขมรลาวเดิมอาจหายไปจากจังหวัดราชบุรีและไม่มีผู้ใดใช้ภาษานี้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีการเปลี่ยนภาษา (language shift) ให้กลมกลืนกับภาษาอื่น โดยเฉพาะภาษาลาวครั่งเพราะภาษาทั้งสองมีความใกล้เคียงกันมากทั้งด้านศัพท์และเสียง สิ่งที่ต่างกันมีเพียงเสียงสระซึ่งภาษาเขมรลาวเดิมใช้เสียง[au] ในขณะที่ภาษาลาวครั่งใช้เสียง [ai] และพบว่าผู้พูดภาษาเขมรลาวเดิมที่มีอายุน้อยมักมีการแปรระหว่างเสียง [au] ~[ai] อีกทั้งประเพณีของคนกลุ่มนี้ไม่สู้จะมีเอกลักษณ์เด่นชัด[1]
ลักษณะของภาษาเขมรลาวเดิม[แก้]
ภาษาเขมรลาวเดิมจะมีการแปรเสียงต่างๆ ตามสำเนียงตน เช่น
- เสียง สระโอะ แปรเป็น เอะ เช่น หมด เป็น เหม็ด
- เสียง สระอุ แปรเป็น โอะ เช่น ตุ๊กแก เป็น ต๊กแก
- เสียงสระไอ แปรเป็น อา เช่น ใหม่ เป็น หมา
ตัวอย่างภาษาเขมรลาวเดิม[แก้]
ภาษาเขมรลาวเดิมสำเนียงอีสาน[แก้]
ภาษาเขมรลาวเดิม มีการใช้ภาษาปะปนกันจนเป็นภาษาที่มีลักษณะพิเศษ แต่ตอนนี้จะยกตัวอย่างภาษาเขมรลาวเดิมแบบใกล้เคียงกับภาษาอีสาน เช่น
- เว้า แปลว่า พูด
- บ่หย่าน แปลว่า ไม่กลัว[2]
- ไปเด๋ามา แปลว่า ไปไหนมา
- ไปเฮ็ดนา แปลว่า ไปทำนา
- ปวดแค้ว หรือปวดแข่ว แปลว่า ปวดฟัน
- ไปเดี๋ยวหกคืน แปลว่า ไปเดี๋ยวเดียวแล้วจะกลับ
- หกมื้อเด๋า แปลว่า กลับเมื่อไร
- หกมื้ออื้น แปลว่า กลับพรุ่งนี้
- ไปโพ้นไปพี้ แปลว่า ไปโน่นไปนี้
- แย้มอีหยัง แปลว่า มองอะไร
- หกบ้านมื้อได๋ แปลว่า กลับบ้านเมื่อไร
ภาษาเขมรลาวเดิมสำเนียงเขมร[แก้]
ชาวเขมรลาวเดิมที่อาศัยอยู่แถบอำเภอปากท่อจะพูดแบบเขมร จึงถูกเรียกว่า เขมรปากท่อ ตัวอย่างภาษาเขมรลาวเดิมที่มีสำเนียงเขมร ได้แก่
- โตวนามอ หรือโตวน่าม้อ แปลว่า ไปไหนมา
- ดำบาย แปลว่า หุงข้าว
- ซีบาย แปลว่า กินข้าว
- ซีบายเหอยเน้อง แปลว่ากินข้าวหรือยัง
- พ็อกตึ๊ก แปลว่า ดื่มน้ำ
- บอง แปลว่า พี่
- ปะโอน แปลว่า น้อง
- ตักตึ๊ก แปลว่า ตักน้ำ
- ตะแกจะค้ำ แปลว่า หมาจะกัด
คำที่ไม่พบในภาษาลาวและภาษาเขมรในภาษาเขมรลาวเดิม[แก้]
- แย้ม แปลว่า มอง
- พก แปลว่า แอบ (ดู)
อ้างอิง[แก้]
พ๊ก ที่ว่าน่าจะเป็นในภาษาลาวใต้ ที่ออกเสียงว่า ผก (ຜົກ) จอบมองลี้ช่อนอยู่