ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จังหวัดภูเก็ต"

พิกัด: 7°53′N 98°23′E / 7.88°N 98.38°E / 7.88; 98.38
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ล็อก จังหวัดภูเก็ต: การก่อกวนจำนวนมาก ([edit=autoconfirmed] (หมดอายุ 07:17, 7 กันยายน 2552 (UTC)) [move=autoconfirmed] (หมดอายุ 07:17, 7 ก�
{{กึ่งล็อก|small=yes}}
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กึ่งล็อก|small=yes}}
{{ข้อความแก้กำกวม|ภูเก็ต|ภูเก็ต (แก้ความกำกวม) }}
{{ข้อความแก้กำกวม|ภูเก็ต|ภูเก็ต (แก้ความกำกวม) }}
{{กล่องข้อมูล จังหวัด
{{กล่องข้อมูล จังหวัด

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:18, 24 สิงหาคม 2552

จังหวัดภูเก็ต
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Phuket
คำขวัญ: 
ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดภูเก็ตเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ วิชัย ไพรสงบ
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
พื้นที่
 • ทั้งหมด543.0 ตร.กม. ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 75
ประชากร
 (พ.ศ. 2551)
 • ทั้งหมด327,006 คน[1] คน
 • อันดับอันดับที่ 67
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 5
รหัส ISO 3166TH-83
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ประดู่
 • ดอกไม้เฟื่องฟ้า
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 7635 4875
 • โทรสาร0 7622 2886
เว็บไซต์http://www.phuket.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ภูเก็ต หรือที่เคยรู้จักแต่โบราณในนาม เมืองถลาง เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นโดยสิ้นเชิง คือเป็นเกาะซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภูเก็ต มีจังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยทะเลอันดามัน และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา ข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือสะพานท้าวเทพกระษัตรีเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศซึ่งมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางเหนือของเกาะ ด้านทิศตะวันตก

ประวัติ

เดิมคำว่า ภูเก็ต นั้นใช้คำว่า ภูเก็จ อันแปลว่าเมืองแก้ว ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณีคราม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของทอเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ตนั่นเอง[ต้องการอ้างอิง]

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ ต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรศิริธรรมนคร เรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดามาสร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็จ และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็น จังหวัดภูเก็ต จนถึงปัจจุบัน

หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ 17 ตำบล 103 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (เทศบาลนครภูเก็ต) 2 เทศบาลเมือง (เทศบาลเมืองป่าตอง) (เทศบาลเมืองกะทู้) 6 เทศบาลตำบล 9 องค์การบริหารส่วนตำบล

  1. อำเภอเมืองภูเก็ต
  2. อำเภอกะทู้
  3. อำเภอถลาง
แผนที่

ประชากร

ชาวเลเป็นชาวกลุ่มแรก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่น ๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลเซีย ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเองสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต ตามบันทึกของฟรานซิส ไลต์ กล่าวถึงชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นทั้งอิสลามมิกชนและพุทธศาสนิกชน คือ ไม่รับประทานหมูแต่สักการะพระพุทธรูป ขณะที่กัปตันทอมัส ฟอร์เรสต์ ชาวอังกฤษที่เดินเรือมายังภูเก็ต ใน พ.ศ. 2327 ได้รายงานว่า "ชาวเกาะแจนซีลอนพูดภาษาไทย ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจภาษามลายู พวกเขามีลักษณะหน้าตาคล้ายกับชาวมลายู ท่าทางคล้ายชาวจีนมาก"

ปัจจุบันชาวภูเก็ตส่วนใหญ่จะเป็นชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนช่องแคบ ชาวจีนกวางตุ้ง ฯลฯ รวมไปถึงชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม แถบอำเภอถลาง โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมมีจำนวนถึงร้อยละ 20-36 ของประชากรในภูเก็ต มีมัสยิดแถบอำเภอถลางราว 30 แห่งจาก 42 แห่งทั่วจังหวัด มีกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล กลุ่มอูรักลาโว้ยและพวกมอแกน (มาซิง) ซึ่งมอแกนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ มอเกนปูเลา (Moken Pulau) และ มอเกนตาหมับ (Moken Tamub) และยังมีชนกลุ่มต่างชาติอย่างชาวยุโรปที่เข้าลงทุนในภูเก็ต รวมไปถึงชาวอินเดีย มีชาวคริสต์ในภูเก็ต ราว 300 คน ชาวสิกข์ที่มีอยู่ราว 200 คน และชาวฮินดูราว 100 คน และแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว และเขมร ราวหมื่นคน

บุคคลสำคัญ

สถานที่สำคัญ

สถานที่ท่องเที่ยว

สถานที่ท่องเที่ยวส่วนมากในจังหวัดภูเก็ตจะเป็นชายหาดต่าง ๆ ที่อยู่ในอำเภอถลาง อำเภอกะทู้ และอำเภอเมืองภูเก็ต ได้แก่

เทศกาลสำคัญ

อาหารและขนมพื้นเมือง

  • โลบะ - เป็นเครื่องในหมูปรุงกับเครื่องพะโล้ นำมาทอดรับประทานกับเต้าหู้ทอดราดน้ำจิ้ม
  • หมี่ฮกเกี้ยน - หมี่เหลืองผัดสูตรฮกเกี้ยนซึ่งเป็นสูตรดั้งเดิมพื้นเมืองโดยเฉพาะจะมีเนื้อกุ้ง,ปลา,หอย,หมู,ปลาหมึก โรยหน้าด้วยเจี้ยนผ้างหรือหอมเจียว รัปประทานคู่กับหอมแดงหรือแค็บหมู
  • หมี่หุ้นปาฉ่าง - เป็นเส้นหมี่แห้งรับประทานกับน้ำต้มกระดูก
  • หมี่สั่ว - เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต จะขายพร้อมกับข้าวต้ม หรือโจ๊ก
  • เบือทอด - เป็นกุ้งกับหญ้าช้องหรือใบเล็บครุฑชุบแป้งทอด รับประทานกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ
  • โอต๊าว - ลักษณะคล้ายกับหอยทอดภาคกลาง ใช้หอยติบผัดกับแป้ง เผือก และไข่ ทานกับกากหมูทอดและถั่วงอก ปัจจุบันนิยมใช้หอยนางรมแทนหอยติบ เพราะหาได้ง่ายกว่า
  • โอ๊ะเอ๋ว - เป็นของหวานคล้ายวุ้นน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง ทำมาจากกล้วยน้ำว้าผสมกับสาหร่ายทะเลชนิด
  • สับปะรดภูเก็ต - สับปะรดพันธุ์พื้นเมืองที่มีรสชาติหวานกรอบ อร่อย ต่างกับสับปะรดที่อื่น ซื้อได้ที่ตลาดสดทั่วไป
  • น้ำชุบภูเก็ต - เป็นน้ำพริกกะปิน้ำใส ๆ ใส่กุ้งสด หัวหอม พริก และมะนาว รับประทานกับข้าวหรือขนมจีน
  • บ๊ะจ่าง - เป็นขนมที่นิยมของชาวภูเก็ต ทำจากข้าวเหนียวผัดซีอิ้ว มีไส้หมูอยู่ข้างใน
  • แกงไตปลา - เป็นแกงยอดนิยมของชาวภูเก็ต ทำจาก ไส้ปลาหรือเครื่องในปลา มาหมักไว้และทำเป็นเครื่องแกง รับประทานกับข้าว หรือขนมจีน
  • ขนมจีน - นิยมทานเป็นอาหารเช้าและเย็น ทานกับน้ำแกงหลายรสชาติซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นเมือง ทั้งแกงไตปลา น้ำชุบหยำ น้ำยา น้ำพริก ส่วนใหญ่เป็นเส้นหมัก มีเส้นสดอยู่บ้าง
  • ขนมจีบติ่มซำ - เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต มักไม่รับประทานในมื้ออื่น มีอยู่ทั่วไปบนเกาะภูเก็ต สามารถหารับประทานได้ไม่ยาก มีหลากหลายแบบให้เลือกรับประทานทาน น้ำจิ้มแต่ละร้านจะต่างกันไปตามเคล็ดลับ ชาวภูเก็ตนิยมเรียกว่า เสี่ยวโบ๋ย
  • เกลือเคย - คล้ายกับน้ำปลาหวาน ปรุงจากพริกขี้หนู กุ้งแห้ง ตำละเอียด กะปิ ซีอิ้ว น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลทรายขาว และน้ำ เวลารับประทาน ใช้ราดบนเลือดหมูต้ม เต้าหู้เหลือง แตงกวา และผลไม้อื่น ๆ

การศึกษา

โรงเรียน

ระดับอุดมศึกษา

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

เพลงประจำจังหวัด

  • ยอดนารีศรีถลาง - ประพันธ์โดย ประสิทธิ ชิณการณ์ ทำนองโดย ประพันธ์ ทิมเทศ
  • อ้อมกอดอันดามัน
  • ภูเก็ตจ๋า
  • สดุดีย่าจันย่ามุก
  • ไข่มุกอันดามัน
  • ภูเก็ตเมืองงาม
  • หาดราไวย์
  • ของกินภูเก็ต (หรอยๆ)
  • ภูเก็ตราตรี
  • ตะวันรอนที่แหลมพรหมเทพ
  • ภูเก็ตเมืองสวรรค์
  • ภูเก็ต (สะพานรักสารสิน)
  • ยินดีที่มาเยือน
  • หาดสุรินทร์
  • สัญญาหน้าอ๊าม
  • สุดสวาทหาดภูเก็ต
  • ปลื้มภูเก็ต

สถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่าภูเก็ต

ไฟล์:DSC00832+1.jpg
ซอยรมณีย์

สถาปัตยกรรมในย่านการค้าเมืองเก่าภูเก็ตบนถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาราช และซอยรมณีย์ รวมทั้งถนนใกล้เคียงเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงของการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกแลกะการค้าแร่ดีบุกเฟื่องฟู ในยุคนั้นภูกเตเป็นเมืองที่มีชาวต่างชาติทั้งจีน อินเดีย อาหรับ มาเลย์ และยุโรปเข้ามาทำการค้าและอาศัยอยุ่ เช่นเดียวกับเมืองท่าอื่นๆในแหลมมาลายู เช่น ปีนัง มะละกา และสิงคโปร์ การก่อสร้างและออกแบบอาคารจึงได้รับอิทธิพลจากนานาชาติไปด้วย ลักษณะของสถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าในเมืองภูเก็ต อาจแบ่งได้ 3 ยุค คือ ยุคแรกประมาณช่วงพ.ศ. 2411-2443 เป็นช่วงของการเริ่มพัฒนาเมือง ยุคที่สองพ.ศ. 2444-2475 เป็นช่วงของการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมเอเชียกับยุโรป และยุคที่สามยุคนี้ได้กลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ตซึ่งชาวภูเก็ตทุกคนภาคภูมิใจ และตั้งใจจะรักษาให้คงอยู่สืบไป

ห้างสรรพสินค้า

ป่าตอง

ถลาง

อ้างอิง

  1. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

7°53′N 98°23′E / 7.88°N 98.38°E / 7.88; 98.38