คาร์ฟูร์
ประเภท | บริษัทมหาชน |
---|---|
การซื้อขาย | ยูโรเน็กซต์ปารีส: CA
CAC 40 Component |
อุตสาหกรรม | การค้าปลีก |
ก่อตั้ง | 1 มกราคม ค.ศ. 1958 ที่อานซี จังหวัดโอต-ซาวัว ประเทศฝรั่งเศส |
ผู้ก่อตั้ง | Marcel Fournier |
สำนักงานใหญ่ | จังหวัดเอซอน ฝรั่งเศส |
จำนวนที่ตั้ง | 12,300 |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก | อเล็กซ์ซานเดร์ บอมพาร์ด (ประธาน และ CEO) |
ผลิตภัณฑ์ | Cash & Carry, warehouse club, discount store, ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์เซ็นเตอร์, ซูเปอร์สโตร์, ซูเปอร์มาร์เก็ต |
รายได้ | 77.91 พันล้านยูโร (2018)[1] |
รายได้จากการดำเนินงาน | 758 ล้านยูโร (2018)[1] |
รายได้สุทธิ | –344 ล้านยูโร (2018)[1] |
สินทรัพย์ | 47.37 พันล้านยูโร (2018)[1] |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 11.28 พันล้านยูโร (2018)[1] |
พนักงาน | 374,478 (2018)[1] |
บริษัทในเครือ | See below |
เว็บไซต์ | www |
คาร์ฟูร์ (ฝรั่งเศส: Groupe Carrefour) เป็นกลุ่มซูเปอร์มาร์เก็ตข้ามชาติ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส มีสาขาอยู่ทั่วโลก ถ้าคิดจากรายได้แล้ว คาร์ฟูร์จะเป็นกลุ่มค้าปลีกที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงวอลมาร์ต
ประวัติ
[แก้]คาร์ฟูร์เปิดร้านสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ซึ่งเป็นเพียงแค่ร้านแค่เล็กๆตั้งอยู่ย่านปริมณฑลของเมืองอานซี (Annecy) ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทางแยก (คำว่า "ทางแยก" ในภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า Carrefour) โดย มาร์เซล โฟร์เนียร์ , เดนิส ดอฟเฟรี่ และ จัสเคย์ ดอฟเฟรี่ ซึ่งในปัจจุบันสาขานี้เป็นสาขาที่เล็กที่สุดในโลกของคาร์ฟูร์
ปี ค.ศ. 1970 คาร์ฟูร์มีสาขารวม 7 แห่งและคาร์ฟูร์ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ในปี ค.ศ. 1972 เปิดได้เปิดสาขาที่ใหญ่ที่สุดมีพื้นที่ 24,000 ตารางเมตรขึ้นที่เมืองตูลูส และปี ค.ศ. 1985 คาร์ฟูร์ก็ได้ผลิตสินค้าในตราสัญลักษณ์ของคาร์ฟูร์ ออกสู่ตลาด จนในปี ค.ศ. 1992 คาร์ฟูร์มีสาขาทั้งหมด 120 สาขา
คาร์ฟูร์ในต่างประเทศ
[แก้]เอเชีย
[แก้]ประเทศ | เปิดให้บริการสาขาแรก | จำนวนสาขา
ไฮเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
ซูเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
Hard Discounters |
จำนวนสาขา
Convenience Stores |
จำนวนสาขา
Cash & Carry |
---|---|---|---|---|---|---|
จีน | 1995 | 231[2] | – | – | – | |
บาห์เรน | 2008 | 1 | – | – | – | |
ญี่ปุ่น | 2000 | 7 | – | – | – | |
จอร์แดน | 2006 | 3 | 14 | – | – | |
คูเวต | 2007 | 1 | – | – | – | |
เลบานอน | 2013 | 1 | – | – | – | |
โอมาน | 2000 | 7 | – | – | – | |
ปากีสถาน | 2009 | 6 | – | – | ||
อินโดนีเซีย | 1998 | 88 | – | – | – | |
อิหร่าน | 2009 | 3 | 4 | – | – | |
อิรัก | 2012 | 3 | 1 | – | – | |
กาตาร์ | 2000 | 3 | 1 | – | – | |
ซาอุดิอาระเบีย | 2004 | 11 | 4 | – | – | |
ซีเรีย | 2009 | 1 | – | – | – | |
ไต้หวัน | 1989 | 64 | 33 | – | – | |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์[3] | 1995 | 19 | 28 | – | – |
- คาร์ฟูร์ในอิหร่านและปากีสถาน อนู่ภายใต้การดำเนินการของ MAF ภายใต้ชื่อไฮเปอร์สตาร์
แอฟริกา
[แก้]ประเทศ | เปิดให้บริการสาขาแรก | จำนวนสาขา
ไฮเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
ซูเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
Hard Discounters |
จำนวนสาขา
Convenience Stores |
จำนวนสาขา
Cash & Carry |
---|---|---|---|---|---|---|
อียิปต์ | 2002 | 10 | 26 | – | – | |
โมร็อกโก | 2000 | 10 | 30 | – | – | |
ตูนีเซีย | 2001 | 1 | 69* | – | 1 | |
เคนย่า | 2016 | 3[4][5] | – | – | – |
คาร์ฟูร์ขายกิจการในแอลจีเรียและเปิดสาขาที่โมร็อกโกในปีเดียวกัน
นอกจากนี้ในตูนิเซีย ยังมี "คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต" 37 สาขา และ 32 สาขา ในรูปแบบ คาร์ฟูร์ เอ็กซ์เพลส [6]
ยุโรป
[แก้]ประเทศ | เปิดให้บริการสาขาแรก
(ค.ศ.) |
จำนวนสาขา
ไฮเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
ซูเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
Hard Discounters |
จำนวนสาขา
Convenience Stores |
จำนวนสาขา
Cash & Carry |
---|---|---|---|---|---|---|
แอลแบเนีย | 2011 | 2 | 15 | – | – | – |
อาร์เมเนีย | 2015 | 1 | – | – | – | – |
เบลเยี่ยม | 1969 | 45 | 370 | – | 225 | – |
ฝรั่งเศส | 1960 | 221 | 1,021 | 897 | 3,245 | 134 |
จอร์เจีย | 2012 | 2 | 4 | – | – | – |
อิตาลี | 1993 | 57 | 412 | – | 586 | 13 |
มาซิโดเนีย | 2012 | 1 | 1 | – | – | – |
โมนาโก | – | – | 1[7] | – | – | – |
โปแลนด์ | 1997 | 84 | 277 | – | 5 | – |
โปรตุเกส | 1991 | – | – | 365 | – | – |
โรมาเนีย | 2001 | 32 | 202 | 6 | 59 | - |
สเปน | 1973 | 173 | 162 | - | 122 | 114 |
สโลวาเกีย | 2000 | 5 | 0 | 0 | ||
ตุรกี | 1993 | 73 | 99 | 519 | – | – |
ใน วันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 2008 คาร์ฟูร์ขายธุรกิจในรัสเซียโดยอ้างถึง "การขาดโอกาสในการเติบโตและการเติบโตทางชีวภาพที่เพียงพอ"[8]
อเมริกา
[แก้]- คาร์ฟูร์มีสำนักงานอยู่ใน 3 ประเทศในอเมริกา ได้แก่ บราซิล (ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดนอกประเทศฝรั่งเศส) อาร์เจนตินาและสาธารณรัฐโดมินิกัน คาร์ฟูร์มีบทบาทในการกระจายสินค้าปลีก 3 ประเภทคือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต, ซูเปอร์มาร์เก็ต และ hard discounters คาร์ฟูร์ยังเคยเปิดในเม็กซิโกระหว่างปี พ.ศ. 2538 ถึง 2548 และยังเคยเปิดสาขาในโคลอมเบียและปิดกิจการสาขาทั้งหมดในปี พ.ศ. 2555 และ ร้านค้าปลีกสัญชาติชิลี Cencosud ยังซื้อกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศชิลีทั้งหมด และเปลี่ยนชื่อเป็น "จัมโบ้" [9]
ประเทศ | เปิดให้บริการสาขาแรก
(ค.ศ.) |
จำนวนสาขา
ไฮเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
ซูเปอร์มาร์เก็ต |
จำนวนสาขา
Hard Discounters |
จำนวนสาขา
Convenience Stores |
จำนวนสาขา
Cash & Carry |
---|---|---|---|---|---|---|
อาร์เจนตินา | 1982 | 59 | 103 | 395 | – | – |
บราซิล | 1975 | 103 | 40 | 305 | 97 | 143 |
โดมินิกัน | 2000 | 5 | 10 | – | 20 | 85 |
รูปแบบร้าน
[แก้]- ไฮเปอร์มาร์เก็ต
- ซูเปอร์มาร์เก็ต
คาร์ฟูร์ ไบอาโร่, คาร์ฟูร์ มาร์เก็ต[10] แชมป์เปี้ยน, โกบิ, จีบี ซูเปอร์มาร์เก็ต, จีเอส, คาร์ฟูร์ มินิ, จีม่า, ซูเปโก[11]
- ร้านสะดวกซื้อ
คาร์ฟูร์ เอ็กซ์เพลส,[10] คาร์ฟูร์ ซิตี้,[10] คาร์ฟูร์ คอนแทค,[10] Carrefour Montagne, 5 minutes, 8 à Huit, มาร์เช่ พลัส,[12] Proxi, Sherpa, Dìperdì, สไมล์ มาร์เก็ต, เอ็กซ์เพลส, โชปี
- ร้านขายส่ง (Cash & carry)
Promocash, ดอช มาร์เก็ต, Gross IPer
คาร์ฟูร์ในประเทศไทย
[แก้]บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด เป็นชื่อของคาร์ฟูร์ เมื่อเข้ามาประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย โดยชื่อมาจาก central + carrefour เนื่องด้วยเป็นการร่วมทุนกันระหว่าง เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น (ซีอาร์ซี) และ คาร์ฟูร์เนเธอร์แลนด์บีวี ในอัตราส่วน 60:40 ในปีพ.ศ. 2539 แต่ภายหลัง ซีอาร์ซี ได้จำนองหุ้นระยะยาวให้กับคาร์ฟูร์ เนื่องด้วยวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 แต่ตามพรบ.ค้าปลีกฯ ไม่อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นทั้งหมด หุ้นจำนวนดังกล่าวจึงอยู่ที่บริษัทโฮลดิ้งที่จัดตั้งขึ้นใหม่แทนและดำเนินธุรกิจเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2553 ทางคาร์ฟูร์เนเธอร์แลนด์บีวี ได้ตัดสินใจถอนการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากไม่สามารถสร้างผลกำไรได้มากเป็นปีที่ 5 โดยเบื้องต้นมีผู้เสนอเข้าประมูลกิจการถึง 4 ราย คือ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), Casino Guichard-Perrachon หรือกลุ่มคาสิโน จากประเทศฝรั่งเศส (ถือหุ้นอยู่ใน บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)), บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) (BJC) และ ปตท.
จนกระทั่งเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 กลุ่มคาสิโนได้ชนะการประมูลกิจการคาร์ฟูร์ในประเทศไทย ด้วยราคาซื้อขาย 686 ล้านยูโร (ประมาณ 25,044,000,000 บาท) โดยมีธนาคารดอยซ์แบงก์ เป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้บริษัทดังกล่าวถือหุ้น บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ในประเทศไทย และ 2 บริษัทจะร่วมตัวกัน และจะส่งผลให้สาขาของบิ๊กซีเพิ่มเป็น 105 สาขาทันที จาก 60 สาขา คิดเป็นมูลค่า 35,500 ล้านบาท และยังส่งผลให้ตลาดค้าปลีกในประเทศไทยเหลือเพียง 2 เจ้าใหญ่เท่านั้น ได้แก่ เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซึ่งกิจการก็ได้ควบรวมกันเสร็จสิ้นในเดือนมกราคม 2554 และบิ๊กซีได้บูรณะห้างคาร์ฟูร์จำนวนทั้งหมด 41 สาขาให้กลายเป็นบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 25 สาขา, บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า 15 สาขา, บิ๊กซี จัมโบ้ 1 สาขาซึ่งเป็นสาขาทดลองตลาด [13]โดยบิ๊กซีได้กำหนดแบรนด์ใหม่ที่จะมาใช้แทนคาร์ฟูร์คือ บิ๊กซี เอ็กซ์ตร้า เป็นการนำเอาจุดเด่นในด้านการคัดสรรสินค้าจากทุกมุมโลกและการบริการที่เป็นเลิศของคาร์ฟูร์ มารวมกับราคาคุณภาพของบิ๊กซี เพื่อจับกลุ่มลูกค้าในระดับ A+ โดยเฉพาะ ทั้งนี้เป็นผลการศึกษาการให้บริการของ Extra ที่เป็นแบรนด์ไฮเปอร์มาร์เก็ตในประเทศบราซิลของกลุ่มคาสิโน
ข้อวิพากษ์วิจารณ์และข้อถกเถียง
[แก้]เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 พนักงานกว่า 30 คนของคาร์ฟูร์ ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลกลาง หลังจากได้รับผลกระทบจาก CO2 ซึ่งตั้งอยู่ชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้าซึ่งมีการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2550 บริษัท ถูกตัดสินลงโทษในข้อหาปลอมแปลงโฆษณา โดยคาร์ฟูร์จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาไว้ไม่เพียงพอและไม่สม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัท ยังถูกตัดสินลงโทษในการขายผลิตภัณฑ์ที่ต่ำกว่าต้นทุนและรับสินบนจากผู้ค้าส่ง คาร์ฟูร์ได้รับคำสั่งให้จ่ายเงินจำนวน 2 ล้านยูโร
ในคาร์ฟูร์ ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีชั้นวางของโลหะสูง 5 เมตรวางทับอยู่บนเด็กชายอายุ 3 ปีโดยเสียชีวิตทันทีเนื่องจากมีเลือดออกภายใน หลังจากนั้นครอบครัวของเหยื่ออ้างว่าคาร์ฟูร์ ได้ปฏิเสธที่จะพบกับพวกเขาเพื่อยุติคดี อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจการองค์กรของคาร์ฟูร์ปฏิเสธข้อกล่าวหานี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "Annual Report 2018" (PDF). Carrefour Group. สืบค้นเมื่อ 27 April 2018.
- ↑ "Opening of the 231th hypermarket". Carrefour. 27 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-29. สืบค้นเมื่อ 4 June 2017.
- ↑ "Carrefour Branches in United Arab Emirates (UAE) – TEN Yellow Pages". Yp.theemiratesnetwork.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-08. สืบค้นเมื่อ 19 April 2011.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:0
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ:1
- ↑ "la grande distribution en Tunisie par". Carrefour Tunisie. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-28. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
- ↑ "Carrefour Monaco". Carrefour.fr. สืบค้นเมื่อ 2015-07-30.
- ↑ "Resilient sales in a persistently changing environment" (PDF). Carrefour. 15 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-22. สืบค้นเมื่อ 15 October 2010.
- ↑ "Carrefour sells Colombia assets to Chile's Cencosud for $2.6 billion". 19 October 2012. สืบค้นเมื่อ 3 June 2017 – โดยทาง Reuters.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 Zentes, J.; Morschett, D.; Schramm-Klein, H. (2016). Strategic Retail Management: Text and International Cases. Springer Fachmedien Wiesbaden. p. 190. ISBN 978-3-658-10183-1. สืบค้นเมื่อ October 29, 2016.
- ↑ "Opening of the first Supeco store". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-12-21. สืบค้นเมื่อ 2017-12-20.
- ↑ Marketing Management, 2E. McGraw-Hill Education (India) Pvt Limited. p. 194. ISBN 978-0-07-015327-1. สืบค้นเมื่อ October 29, 2016.
- ↑ "อวสานคาร์ฟูร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2010-11-15.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- คาร์ฟูร์ประเทศไทย เก็บถาวร 2005-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Carrefour