ข้ามไปเนื้อหา

สุวรรณภูมิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สุวรรณภูมิ เป็นชื่อเรียกดินแดนที่มีการกล่าวถึงในคัมภีร์โบราณหลายฉบับในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งคำว่าสุวรรณภูมินี่มีความหมายว่า แผ่นดินทอง[1][2]

ดินแดนสุวรรณภูมิ จึงแปลว่า ดินแดนแห่งทองคำ หมายถึงดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ปรากฏในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนา ส่วนมากปรากฏในคัมภีร์ชาดก (เรื่องราวที่มีอดีตมายาวนาน)[3] เช่น มหาชนกชาดก กล่าวถึงพระมหาชนกเดินทางมาค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่เรือแตกกลางทะเล ในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ราว พ.ศ. 234 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตมาเผยแผ่พุทธศาสนาที่สุวรรณภูมิ โดยมีพระโสณเถระและพระอุตตรเถระเป็นประธาน เมื่อท่านมาถึง ได้ปราบผีเสื้อสมุทรที่ชอบเบียดเบียนชาวสุวรรณภูมิ ทำให้ชาวสุวรรณภูมิเลื่อมใส จากนั้นท่านได้แสดงพรหมชาลสูตร เป็นที่น่าสังเกตว่า ตอนปราบผีเสื้อสมุทร ท่านได้สวดพระปริตรป้องกันเกาะสุวรรณภูมิไว้ จึงมีคำเรียก สุวรรณภูมิ อีกชื่อหนึ่งว่า สุวรรณทวีป แปลว่า เกาะทอง [4]เมื่อสันนิษฐานจากสองคำนี้ ทำให้ได้ข้อสรุปอย่างน้อย 2 อย่าง คือ

  1. สุวรรณภูมิ เป็นดินแดนที่เป็นแผ่นดินใหญ่
  2. สุวรรณทวีป คือ เกาะที่อยู่ติดกับสุวรรณภูมิ

และเนื่องจากในชาดกกล่าวว่า สุวรรณภูมิอยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย เมื่อพิจารณาจากแผนที่โลก จึงน่าจะสันนิษฐานได้ต่อไปว่า สุวรรณภูมิ คือส่วนที่เป็นแผ่นดิน ได้แก่ ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศไทย ประเทศกัมพูชา ส่วนสุวรรณทวีปซึ่งเป็นเกาะ น่าจะได้แก่ เกาะชวา สุมาตรา หรืออินโดนีเซีย ตลอดทั้งฟิลิปปินส์[5]เมื่อพิจารณาหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาพบว่า เมืองหงสาวดี และเมืองนครปฐมสมัยทวารวดี มีอายุเก่าแก่ที่สุด และร่วมสมัยกัน คือ ราวพุทธศตวรรษที่ 6[6][7]

อ้างอิง

[แก้]
  1. “To Suvarnabhumi he [Moggaliputta] sent Sona and Uttara”; Mahānāma, The Mahāvaṃsa, or, The Great Chronicle of Ceylon, translated into English by Wilhelm Geiger, assisted by Mabel Haynes Bode, with an addendum by G.C. Mendis, London, Luzac & Co. for the Pali Text Society, 1964, Chapter XII, “The Converting of Different Countries”, p.86.
  2. Sussondi-Jātaka, Sankha-Jātaka, Mahājanaka-Jātaka, in Edward B. Cowell (ed.), The Jātaka: or Stories of the Buddha's Former Births, London, Cambridge University Press, 1897; reprinted Pali Text Society, dist. by Routledge & Kegan Paul, 1969, Vol. III, p.124; Vol. IV, p.10; Vol. VI, p.22
  3. J. S. Speyer, The Jatakamala or Garland of Birth-Stories of Aryasura, Sacred Books of the Buddhists, Vol. I, London, Henry Frowde, 1895; reprint: Delhi, Motilal Banarsidass, 1982, No.XIV, Supâragajâtaka, pp.453-462.
  4. Rufius Festus Avienus, Descriptio orbis terrae, III, v.750-779.Descriptio orbis terrae
  5. "Gold in early Southeast Asia". Archeosciences.
  6. The Siam Society: Miscellaneous Articles Written for the JSS by His Late Highness Prince Damrong. The Siam Society, Bangkok, B.E. 2505 (1962); Søren Ivarsson, Creating Laos: The Making of a Lao Space Between Indochina and Siam, 1860-1945, NIAS Press, 2008, pp.75-82.
  7. Manit Vallibhotama, "Muang U-Thong", Muang Boran Journal, Volume 14, no.1, January–March 1988, pp.29-44; Sisak Wanliphodom, Suwannaphum yu thi ni, Bangkok, 1998; Warunee Osatharom, Muang Suphan Through Changing Periods, Bangkok, Thammasat University Press, 2004; The Siam Society, Miscellaneous Articles Written for the JSS by His Late Highness Prince Damrong, The Siam Society, Bangkok, B.E. 2505 (1962); William J. Gedney, “A Possible Early Thai Route to the Sea”, Journal of the Siam Society, Volume 76, 1988, pp.12-16.[1] เก็บถาวร 2016-12-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ่านเพิ่ม

[แก้]