พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
อธิบดีกรมพระนครบาล | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2419 - พ.ศ. 2429[1] |
ประสูติ | 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 |
สิ้นพระชนม์ | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2440 (42 ปี) |
หม่อม | หม่อมทองคำ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมสุ่น ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมแส ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมเล็ก ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมผึ่ง ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมอันเส็ง ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมหรุ่ม ทวีวงศ์ ณ อยุธยา หม่อมองุ่น ทวีวงศ์ ณ อยุธยา |
พระบุตร | 15 พระองค์ |
ราชสกุล | ทวีวงศ์ |
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาตลับ ในรัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ หรือที่นิยมเรียกพระนามกันว่า กรมภู หรือ กรมภูธเรศ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 24 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ[2] ประสูติเมื่อวันเสาร์ เดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ปีเถาะสัปตศก จ.ศ. 1217 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2398 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2399)
พระองค์ทรงรับราชการในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2419 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรม สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดีกรมพระนครบาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2429 (จุลศักราช 1248) เนื่องจากสถานการณ์ที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ราษฎรพากันตกใจหวั่นไหวไปทั่วทั้งพระนคร กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ผู้บังคับการกรมพระนครบาลในขณะนั้น ทรงไม่สามารถจัดการปราบปรามโจรผู้ร้ายได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ ออกจากตำแหน่งผู้บังคับการกรมพระนครบาล และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนเรศวรฤทธิ์ พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ พระยาเทพประชุน และพระยาธรรมสารนิติวิชิตรภักดี ทั้ง 4 เป็นผู้มีอำนาจปรึกษาพร้อมกันบังคับการสิทธิขาด ในตำแหน่งที่เสนาบดี กรมพระนครบาล[3]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ประทับอยู่ที่วังสะพานช้างโรงสี เหนือ (เรียกกันว่า วังเหนือ) ซึ่งเดิมเป็นวังที่ประทับของ กรมหมื่นสนิทนเรนทร์ และกรมหลวงสรรพศิลป์ปรีชา โดยเป็นวังในกลุ่มของพระราชโอรสในรัชกาลที่ 4 ซึ่งมีอยู่ 3 วัง คือบริเวณที่ปัจจุบันเรียกกันว่า แพร่งนรา แพร่งสรรพศาสตร์ และแพร่งภูธร ทั้ง 3 แพร่งได้ชื่อมาจากเสด็จในกรม 3 พระองค์ เจ้าของวัง คือ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ เมื่อกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถว พระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ทรงประชวรด้วยพระโรคอัมพาตมาช้านาน จนเมื่อวันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2440 เวลาค่ำเกือบ 1 ทุ่ม สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระอาการประชวรของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ และได้ทรงถามไถ่ถึงพระอาการประชวรด้วยความห่วงใย ก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินกลับในเวลาเกือบ 2 ทุ่ม[4] แต่หลังจากที่สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงเสด็จพระราชดำเนินกลับไปได้ไม่นานนัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ก็สิ้นพระชนม์เมื่อเวลา 5 ทุ่มเศษ ในคืนวันเดียวกันนั้นเอง[5] พระชันษาได้ 41 ปี ทรงเป็นต้นราชสกุล ทวีวงศ์
ในย่านถนนเจริญกรุง จะมีตลาดเก่าแก่ตลาดหนึ่งที่มีชื่อว่า ตลาดกรมภูธเรศ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า "ตลาดกรมภู"
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ทรงเป็นต้นราชสกุลทวีวงศ์ มีหม่อม 8 ท่าน ได้แก่
- หม่อมทองคำ
- หม่อมสุ่น
- หม่อมแส
- หม่อมเล็ก
- หม่อมผึ่ง
- หม่อมอันเส็ง
- หม่อมหรุ่ม
- หม่อมองุ่น
โดยมีพระโอรสธิดารวมทั้งหมด 14 พระองค์ เป็นชาย 6 พระองค์ และหญิง 8 พระองค์
พระรูป | พระนาม | หม่อมมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|
1. หม่อมเจ้าหญิงสุนทรารมณ์ | หม่อมทองคำ | 29 กันยายน พ.ศ. 2419 | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465 | ||
2. หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ | ที่ 1 ในหม่อมแส | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419 | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2484 | หม่อมเฉื่อย (จารุจินดา) หม่อมราชวงศ์หญิงลมุล (สุประดิษฐ์) หม่อมอบ หม่อมวรรณ หม่อมหลวงหญิงพัวพันธ์ (ศิริวงศ์) | |
3. หม่อมเจ้ากลาง | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
4. หม่อมเจ้าหญิงทราบศิริมาน | หม่อมสุ่น | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2421 | 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 | ||
5. หม่อมเจ้ากาญจนสังกาศ | หม่อมองุ่น | 19 ธันวาคม พ.ศ. 2422 | 15 สิงหาคม พ.ศ. 2495 | หม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี ทวีวงศ์ หม่อมเกษร หม่อมจงจิตต์ (มัธยมจันทร์) | |
6. หม่อมเจ้าชาติชูศักดิ์ | ที่ 1 ในหม่อมผึ่ง | 16 มีนาคม พ.ศ. 2425 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2454 | หม่อมพยอม (ประทีปะเสน) | |
7. หม่อมเจ้าหญิงลักษณลาวรรณ | มีนาคม หรือ เมษายน พ.ศ. 2425 | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2445 | |||
8. หม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี | หม่อมเล็ก | 8 เมษายน พ.ศ. 2426 | 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 | หม่อมเจ้ากาญจนสังกาศ ทวีวงศ์ | |
9. หม่อมเจ้าหญิงพาณีอนงค์ (ท่านหญิงแจ๊ด) |
24 กรกฎาคม พ.ศ. 2428 | 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 | |||
ไฟล์:หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ ทวีวงศ์.jpg | 10. หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ | ที่ 2 ในหม่อมแส | 5 เมษายน พ.ศ. 2430 | 28 เมษายน พ.ศ. 2502 | หม่อมหลวงหญิงนัดดาดวง (สิงหรา) หม่อมหลวงหญิงเกษสุดา (สิงหรา) |
11. หม่อมเจ้าชาย (ไม่ปรากฏพระนาม) | เมษายน พ.ศ. 2431 | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2432 | |||
12. หม่อมเจ้าหญิงวิลาศกัญญา (ท่านหญิงชี) |
ที่ 2 ในหม่อมผึ่ง | 10 มกราคม พ.ศ. 2431 | ไม่ทราบปี | ||
13. หม่อมเจ้าหญิงกลาง | ไม่ทราบปี | ไม่ทราบปี | |||
14. หม่อมเจ้าหญิงเก๋ง | หม่อมอันเส็ง | ไม่ทราบปี | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 |
พระนัดดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช มีพระนัดดารวม 32 คน ดังนี้
- หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ทิพลาภ ทวีวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมราชวงศ์เขจรเจริญลาภ ทวีวงศ์ ในหม่อมราชวงศ์หญิงลมุล
- หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) (นามเดิม: หม่อมราชวงศ์ภิรมย์เฉลิมลาภ) ที่ 2 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิไลลาภ บุนนาค ในหม่อมวรรณ
- หม่อมราชวงศ์หญิงพิมพ์พงษ์ อินวะษา ในหม่อมหลวงหญิงพัวพันธ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงภัทรา สิงหเสนี ที่ 3 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมราชวงศ์ดิลกลาภ ทวีวงศ์ ที่ 4 ในหม่อมเฉื่อย
- หม่อมเจ้ากาญจนสังกาศ ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 10 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ทวีลาภ ทวีวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์หญิงโสมสิริ ทวีวงศ์ ที่ 2 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์ชำนาญ ทวีวงศ์ ในหม่อมเกษร
- หม่อมราชวงศ์หญิงทวีศรี วรรณวัฒน์ ที่ 3 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์ทวีศักดิ์ ทวีวงศ์ ที่ 4 ในหม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี
- หม่อมราชวงศ์ทรงวิทย์ ทวีวงศ์ ที่ 1 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงจิตวดี อินทรวิชะ ที่ 2 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์วีรวุฒิ ทวีวงศ์ ที่ 3 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์ถวัลย์ศักดิ์ ทวีวงศ์ ที่ 4 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมราชวงศ์หญิงลักษมี ชัวต์ ที่ 5 ในหม่อมจงจิตต์
- หม่อมเจ้าชาติชูศักดิ์ ทวีวงศ์ มีธิดา 3 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์หญิงพยุงศักดิ์ เกษมศรี
- หม่อมราชวงศ์หญิงชูศักดิ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงสิบศักดิ์ ทวีวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงจันทนฉวี ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ทวีลาภ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงโสมสิริ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงทวีศรี วรรณวัฒน์
- หม่อมราชวงศ์ทวีศักดิ์ ทวีวงศ์
- หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ ทวีวงศ์ มีโอรสธิดา 12 คน
- หม่อมราชวงศ์หญิงพันธุปรีดี ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์พันธุม ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์พันธุ์ปรีชา ทวีวงศ์ ทั้ง 3 นี้ในหม่อมหลวงหญิงนัดดาดวง
- หม่อมราชวงศ์หญิงสุดาพันธุ์ จงเกษม
- หม่อมราชวงศ์สุตพันธุ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงศิริพันธุ์ หลิมละมัย
- หม่อมราชวงศ์หญิงถนอมพันธุ์ แสงประดับ
- หม่อมราชวงศ์วีระพันธุ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์สันติพงศ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงเปี่ยมพันธุ์ หุ่นแก้ว
- หม่อมราชวงศ์หญิงวิมลพันธุ์ ทวีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงยุพาพันธุ์ สินธุพันธุ์ ทั้ง 9 นี้ในหม่อมหลวงหญิงเกษสุดา
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2428 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[7]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ reign-type = ดำรงตำแหน่ง | reign = พ.ศ. 2454 - พ.ศ. 2455
- ↑ "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 1 (43): 385. 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2427.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ ประกาศเปลี่ยนอธิบดีกรมพระนครบาล
- ↑ ข่าวเสด็จพระราชดำเนิน เยี่ยมประชวรพระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
- ↑ ข่าวสิ้นพระชนม์
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- ↑ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- ณัฐชยา จากหนังสือ คู่มือนักชอป "จะซื้อซะอย่าง" '
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
- "พระเจ้าแผ่นดิน" กับเงินของ "แผ่นดิน"เก็บถาวร 2007-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2440
- ราชสกุลทวีวงศ์
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหมื่น
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์