หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์
ประสูติ11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419
สิ้นชีพตักษัย3 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 (77 ปี)
หม่อมหม่อมหลวงพัวพันธ์ ทวีวงศ์
หม่อมราชวงศ์ลมุล ทวีวงศ์
หม่อมเฉื่อย ทวีวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมอบ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา
หม่อมวรรณ ทวีวงศ์ ณ อยุธยา
บุตร7 คน
ราชวงศ์จักรี
ราชสกุลทวีวงศ์
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
พระมารดาหม่อมแส ทวีวงศ์ ณ อยุธยา

มหาอำมาตย์ตรี หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ประสูติแต่หม่อมแส ทวีวงศ์ ณ อยุธยา

พระประวัติ[แก้]

หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ประสูติแต่หม่อมแส ทวีวงศ์ ณ อยุธยา เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419 ได้รับพระราชทานพระนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2420 พร้อมกับหม่อมเจ้าสุนทรารมณ์ เชฐภคินี ต่อมาทรงเข้ารับราชการในกรมสรรพากร จนได้รับตำแหน่งสูงสุดที่ผู้ช่วยอธิบดีกรมสรรพากร[1] มียศที่ มหาอำมาตย์ตรี มีผลงานที่สำคัญ คือ ประชุมบทเห่เรือ จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อแจกในการพระกฐินพระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2467

หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ ทวีวงศ์ สิ้นชีพตักษัยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 สิริชันษา 77 ปี[2]

การรับราชการ[แก้]

  • 24 สิงหาคม พ.ศ. 2447 - ผู้ช่วยข้าหลวงสรรพากรมณฑลนครชัยศรี[3]
  • 3 ตุลาคม พ.ศ. 2447 - เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการ ลำดับยศชั้นที่ 3 โท[4]
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2448 - ข้าหลวงสรรพากรมณฑลพิษณุโลก[5]
  • 8 มกราคม พ.ศ. 2449 - ข้าหลวงสรรพากรมณฑลจันทบุรี[6]
  • ? - สรรพากรมณฑลกรุงเก่า
  • 5 เมษายน พ.ศ. 2459 - ผู้ช่วยอธิบดีกรมสรรพากร[7]

พระยศ[แก้]

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 - อำมาตย์ตรี[8] (ได้รับพระราชทานขณะรับราชการอยู่ใน กรมสรรพากรนอก ซึ่งขณะนั้นขึ้นตรงอยู่กับกระทรวงมหาดไทย)
  • 15 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - นายหมู่ตรี[9]
  • – นายหมวดตรี
  • 10 กันยายน 2458 – โปรดเกล้าฯ ให้ส่งสัญญาบัตรยศเสือป่าไปพระราชทาน[10]
  • 23 สิงหาคม พ.ศ. 2459 - อำมาตย์เอก[11]
  • 1 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - มหาอำมาตย์ตรี[12]

ครอบครัว[แก้]

หม่อมเจ้าอุดมดิเรกลาภ มีหม่อมและโอรสธิดา ดังนี้

หม่อมหลวงพัวพันธ์ (ราชสกุลเดิม ศิริวงศ์; ธิดาในหม่อมราชวงศ์เล็ก ศิริวงศ์ กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิตราภรณ์)[13] มีธิดาด้วยกัน คือ

  • หม่อมราชวงศ์พิมพ์พงษ์ สมรสกับนายแพทย์สำราญ อินวะษา

หม่อมราชวงศ์ลมุล (ราชสกุลเดิม สุประดิษฐ์; ธิดาในหม่อมเจ้าสง่างาม สุประดิษฐ์) ไม่มีโอรสธิดาด้วยกัน

หม่อมเฉื่อย (สกุลเดิม จารุจินดา) มีโอรสธิดาด้วยกันสี่คน คือ [14]

หม่อมอบ มีโอรสด้วยกันหนึ่งคน คือ

  • หม่อมราชวงศ์เจริญลาภ ทวีวงศ์[15]

หม่อมวรรณ มีธิดาด้วยกันหนึ่งคน คือ

  • หม่อมราชวงศ์วิลัยลาภ ทวีวงศ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. สมประสงค์ ทรัพย์พาลี. ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า. กรุงเทพ : [ม.ป.พ.], พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2555. 154 หน้า. ISBN 9786169092605
  2. ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  3. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  4. พระราชทานสัญญาบัตรตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  5. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  6. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย
  7. แจ้งความกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรื่อง จัดระเบียบราชการกรมสรรพากร
  8. ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศแก่ข้าราชการ กระทรวงมหาดไทย (หน้า ๑๐๐๒)
  9. พระราชทานสัญญาบัตรเสือป่า (หน้า ๒๑๑๑)
  10. สั่งสัญญาบัตรยศเสือป่าไปพระราชทาน
  11. พระราชทานยศ
  12. พระราชทานยศ
  13. หนังสืออนุสรณืพระราชทานเพลิงศพหม่อมราชวงศ์เล็ก ศิริวงศ์ พ.ศ. 2468
  14. ชมรมสายสกุล จารุจินดา เก็บถาวร 2013-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากเว็บไซต์ charuchinda.com สืบค้นเมื่อ 14-04-57.
  15. บาญชีรายพระนามและรายนามผู้ที่สืบเชื้อสายมาแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว http://www.car.chula.ac.th/rarebook/book2/clra55_0324/mobile/index.html#/105/zoomed
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2464/D/2471.PDF
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2460/D/3062.PDF
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/2510.PDF
  19. ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน
  20. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน[ลิงก์เสีย]
  21. พระราชทานเข็มข้าหลวงเดิม