พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช
พรหมินทร์ ใน พ.ศ. 2563
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
เริ่มดำรงตำแหน่ง
6 กันยายน พ.ศ. 2566
นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน
ก่อนหน้าพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
ดำรงตำแหน่ง
19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้านิพนธ์ พร้อมพันธุ์
ถัดไปยงยุทธ ติยะไพรัช
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้ายงยุทธ ติยะไพรัช
ถัดไปพงษ์เทพ เทศประทีป
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 – 6 มกราคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าพงศ์เทพ เทพกาญจนา
ถัดไปวิเศษ จูภิบาล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2542–2550)
เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน)
คู่สมรสพญ.มัธยา เลิศสุริย์เดช
ลายมือชื่อ

นายแพทย์ พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช (เกิด 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน และประธานคณะกรรมการด้านเศรษฐกิจ พรรคเพื่อไทย เคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร

ประวัติ[แก้]

นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช หรือที่รู้จักกันในชื่อเล่นว่า "หมอมิ้ง" เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดพระนคร ในสมัยเป็นนักเรียน นายแพทย์พรหมินทร์ เคยทำงานในตำแหน่งประธานนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อจบชั้น ม.ศ. 5 สอบได้เป็นอันดับที่ 6 ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเป็นอันดับที่ 30 ของประเทศ[1]

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เขาสอบได้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นประธานนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ ชีวภาพปี 2 เมื่อปี พ.ศ. 2518 ได้รับความไว้วางใจให้เป็นเลขาธิการพรรคแนวร่วมมหิดล (ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยมีประธานพรรคคนแรกคือ นายแพทย์เหวง โตจิราการ) ในช่วงที่นายแพทย์พรหมินทร์ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคนั้น เป็นช่วงที่พรรคแนวร่วมมหิดล มีการขยายตัวสูงสูด นอกจากนี้เขายังดำรงตำแหน่งเลขาธิการแกนม่วง-เหลือง อีกด้วย เขาเคยเล่าผ่านหนังสือ "ปูมประวัติศาสตร์มหิดลฯ" ว่าได้นำเอาสรรนิพนธ์ของเหมา เจ๋อ ตุง ว่าด้วยเรื่องการสร้างพรรคมาศึกษาและปรับใช้กับการสร้างพรรคแนวร่วมมหิดล

หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 นายแพทย์พรหมินทร์ได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยใช้ชื่อจัดตั้งว่า สหายจรัส

ภายหลังจบการศึกษาและทำงานราชการ ต่อมาพรรคพวกเครือข่ายคนเดือนตุลาที่ไปช่วยงาน พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร แนะนำให้ดึงตัวนายแพทย์พรหมินทร์เข้ามาช่วยงานด้านกลยุทธ์ และได้เข้าร่วมทำงานกับกลุ่มบริษัทชินวัตร จนตำแหน่งสุดท้ายคือซีอีโอ ของบริษัทชินแซทเทิลไลท์ คอมมิวนิเคชั่นส์ โดยเขาและบริษัทแมทช์บอกซ์อยู่เบื้องหลังแคมเปญการรณรงค์ทางการเมืองให้กับ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นภาพโปสเตอร์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ยืนชี้นิ้วมองไกลไปข้างหน้าพร้อมกับคำขวัญ "พลิกเมืองไทยให้แข่งกับโลก" ที่ได้รับว่าพึงพอใจจากคนชั้นกลางเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เขาและผู้บริหารแมทช์บอกซ์ เป็นกลุ่มเพื่อนของนายธงชัย วินิจจะกูล ประธานศูนย์นักเรียนแห่งประเทศไทย ที่ใกล้ชิดกับนายแพทย์พรหมินทร์และมีความผูกพันทางอุดมการณ์มาอย่างยาวนาน[2] ต่แมานายแพทย์พรหมินทร์ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[3]

ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เขาร่วมงานกับกลุ่มแคร์ ซึ่งทักษิณเป็นหนึ่งในแกนนำ และในอีก 2 ปีต่อมาเขารับตำแหน่งประธานคณะกรรมการนโยบายพรรคเพื่อไทย และมีบทบาทสำคัญในช่วงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 โดยเป็นตัวแทนพรรคเพื่อไทยในการขึ้นเวทีประชันวิสัยทัศน์ และ/หรือ โต้วาทีกับพรรคการเมืองอื่น ๆ[4] ต่อมาเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมี เศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี นายแพทย์พรหมินทร์จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม[5]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ แพทย์หญิงมัธยา เลิศสุริย์เดช มีบุตร 2 คน คือ นายมติ เลิศสุริย์เดช และ น.ส.มาพร เลิศสุริย์เดช

ประวัติการศึกษา[แก้]

ประวัติการทำงาน[แก้]

  • พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544 กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
  • พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2543 ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ส่วนงานบริหารภาคพื้นดินและงานสนับสนุน บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)
  • พ.ศ. 2538 - พ.ศ. 2539 ผู้จัดการทั่วไป บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (ไอบีซี)
  • พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2538 รักษาการกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท ไอบีซี ลาว จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไอบีซี กัมพูชา จำกัด
  • พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2538 ผู้จัดการอาวุโสพัฒนาธุรกิจ บมจ. อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น
  • พ.ศ. 2534 - พ.ศ. 2536 หัวหน้าฝ่ายแผนงานสาธารณสุข กองแผนงานสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข
  • พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2534 นายแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น
  • พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2531 นายแพทย์ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง[แก้]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

ไทย[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

  •  บรูไน : พ.ศ. 2545 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ เดอะ โมสต์ ดิสติงกวิชด์ ออร์เตอร์ ออฟ ปาดูกา เสรี ไลลา จาซา ชั้นที่ 3 เอส.เอ็ม.บี (S.M.B.)[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. OSKNetwork ย้อนรอยอดีตสู่ปัจจุบัน: ลูกสวนฯผลิตผลของยุคทองฝีมือครูสวนฯ
  2. คนตุลาตายแล้ว , สำนักพิมพ์สาริกา, แคน สาริกา
  3. "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
  4. "พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช (ว่าที่) เลขาธิการนายกฯ หวนคืนทำเนียบฯ-นั่งเก้าอี้ตัวเดิมในรอบ 17 ปี". BBC News ไทย. 2023-08-28.
  5. สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 6 กันยายน 2566
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2013-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๓ ข หน้า ๕, ๒๖ สิงหาคม ๒๕๔๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แก้คำผิด ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2019-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๙, ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๕
ก่อนหน้า พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช ถัดไป
เดช บุญ-หลง
ปองพล อดิเรกสาร
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 54)
(3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546)
สมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ร้อยตำรวจเอก ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
(8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 - 6 มกราคม พ.ศ. 2548)
วิเศษ จูภิบาล