ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Winning168 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ใส่ชื่อผู้ใช้ในบทความ
Sirakorn (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8688774 สร้างโดย Winning168 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 659: บรรทัด 659:
* {{facebook|LiverpoolEchoLFC}}
* {{facebook|LiverpoolEchoLFC}}
* {{facebook|ThailandLiverpoolFC}}
* {{facebook|ThailandLiverpoolFC}}

* [https://winning168.com/premierleague/teams/Liverpool/ winning168.com] รายชื่อนักเตะลิเวอร์พูล ฤดูกาล 2019-2020
{{สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล}}
{{สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล}}
{{Navboxes|titlestyle = background:#d00;border:1px solid silver;color:#fff;|list1=</span>
{{Navboxes|titlestyle = background:#d00;border:1px solid silver;color:#fff;|list1=</span>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:01, 2 กุมภาพันธ์ 2563

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล
ฉายาThe Reds
หงส์แดง (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้ง (1892-06-03) 3 มิถุนายน ค.ศ. 1892 (131 ปี)[1]
สนามแอนฟีลด์
ความจุ53,394[2]
เจ้าของเฟนเวย์ สปอร์ต กรุป
ประธานทอม วอร์เนอร์
ผู้จัดการเยือร์เกิน คล็อพ
ลีกพรีเมียร์ลีก
2018–19พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 2
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (อังกฤษ: Liverpool Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพตั้งอยู่ที่เมืองลิเวอร์พูล, อังกฤษ แข่งขันอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของอังกฤษ โดยลิเวอร์พูลชนะเลิศ ยูโรเปียนคัพ 6 ครั้ง, ยูฟ่าคัพ 3 ครั้ง, ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 4 ครั้ง, ลีกสูงสุด 18 ครั้ง, เอฟเอคัพ 7 ครั้ง, ลีกคัพ 8 ครั้ง, เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 15 ครั้ง และ ฟุตบอลลีกซูเปอร์คัพ 1 ครั้ง

ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1892 และได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกในปีต่อมา ลิเวอร์พูลใช้สนามแอนฟีลด์ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร ช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์คือช่วงทศวรรษที่ 1970 ถึง 1980 เมื่อ บิลล์ แชงคลี, บ๊อบ เพสลีย์, โจ เฟแกน และ เคนนี แดลกลีช พาทีมคว้าแชมป์ลีก 11 ครั้ง และคว้าถ้วยรางวัลยูโรเปียน 4 ใบ ต่อมา ภายใต้การคุมทีมของ ราฟาเอล เบนิเตซ และกัปตัน สตีเวน เจอร์ราร์ด ลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนลีกสมัยที่ 5 เมื่อปี ค.ศ. 2005 และสมัยที่ 6 ภายใต้การคุมทีมของ เยือร์เกิน คล็อพ เมื่อปี ค.ศ. 2019

ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรฟุตบอลที่ทำเงินมากที่สุดในโลกอันดับที่ 9 เมื่อปี 2016–17 ด้วยรายได้ประจำปี 424.2 ล้านยูโร[3] และสโมสรฟุตบอลที่มูลค่ามากที่สุดในโลกอันดับที่ 8 เมื่อปี 2018 ด้วยมูลค่า 1.944 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4] เป็นหนึ่งในสโมสรที่มีผู้สนับสนุนมากที่สุดในโลก[5] ลิเวอร์พูลมีการแข่งขันที่ยาวนานกับสโมสรคู่แข่งกับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และ เอฟเวอร์ตัน

สโมสรได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับโศกนาฏกรรมที่สำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกที่โศกนาฏกรรมเฮย์เซลเมื่อปี ค.ศ. 1985 แฟนฟุตบอลทั้งสองฝ่ายทะเลาะกันส่งผลให้อัฒจันทร์พังลงมา มีผู้เสียชีวิต 39 คน เป็นแฟนบอลยูเวนตุสชาวอิตาลี 32 คน, เบลเยียม 4 คน, ฝรั่งเศส 2 คน, และไอร์แลนด์ 1 คน และส่งผลให้ลิเวอร์พูลถูกสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปแบนเป็นเวลา 6 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 เกิดโศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร แฟนบอลของลิเวอร์พูล 96 คนเสียชีวิต เนื่องจากมีคนแออัดเข้ามาชมเกมมากเกินความจุจึงทำให้อัฒจันทร์ยืนได้พังลงมา

ลิเวอร์พูลนั้นใช้เสื้อสีแดงและกางเกงขาสั้นสีขาวเป็นชุดแข่งขันมาตั้งแต่ ค.ศ. 1896[6] ก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเต็มตัวเมื่อเล่นเป็นทีมเหย้าในปี ค.ศ. 1964 ฉายาในภาษาอังกฤษของลิเวอร์พูลคือ "The Reds" ในภาษาไทยคือ "หงส์แดง" มีเพลงประจำสโมสรคือ "You'll Never Walk Alone"

ประวัติของสโมสร

จอห์น โฮลดิง ผู้ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล

จอห์น โฮลดิง นักธุรกิจชาวเมืองลิเวอร์พูลได้เช่าพื้นที่บริเวณ แอนฟีลด์ โรด เพื่อใช้สร้างสนามฟุตบอล และเมื่อสร้างเสร็จได้ให้เอฟเวอร์ตัน เช่าเป็นสนามแข่งขันฟุตบอล และเมื่อทีมเอฟเวอร์ตันได้เข้าสู่สมาชิกฟุตบอลลีก จอห์น โฮลดิง พยายามจะเข้าไปบริหารงานในทีมเอฟเวอร์ตันและได้เพิ่มค่าเช่าสนามที่ทีมฟุตบอลได้เช่าอยู่ใน ฝ่ายกลุ่มผู้บริหารของเอฟเวอร์ตันจึงยกเลิกสัญญาเช่าสนามฟุตบอล และทีมเอฟเวอร์ตันได้ย้ายสนามไปอีกฝากของสวนสาธารณะสแตนลีย์พาร์ก เพื่อไปสร้างสนามเป็นของตัวเองโดยใช้ชื่อสนามว่า กูดิสันพาร์ค ดังนั้น จอห์น โฮลดิง จึงต้องการสร้างทีมฟุตบอลขึ้นมา และ จอห์น โฮลดิง จึงไปชวนเพื่อนสนิทของเขาชื่อ จอห์น แมคเคนน่า มาทำหน้าที่ประธานสโมสรและได้ตั้งชื่อทีมฟุตบอลนี้ว่า Liverpool Football Club

รูปปั้น บิลล์ แชงคลี ด้านนอก แอนฟีลด์ โดยแชงคลีพาทีมเลื่อนชั้นและคว้าแชมป์ดิวิชันหนึ่งได้สำเร็จตั้งแต่ปี ค.ศ. 1947

หลังจากที่สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งได้ไม่นาน ได้จัดการแข่งขัดนัดอุ่นเครื่อง ซึ่งเป็นการลงสนามนัดแรกของทีมลิเวอร์พูลกับทีมร็อตเตอร์แฮม ซึ่งผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีมลิเวอร์พูลชนะไปด้วยผลการแข่งขัน 7-1 และลิเวอร์พูล ได้ลงแข่งขันฟุตบอลลีกของแคว้น แลงคาเชียร์ ปรากฏว่าลิเวอร์พูลลงแข่งทั้งหมด 22 นัด ชนะ 17 นัด และได้แชมป์ไปครอง ส่งผลให้ทางสโมสรสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกซึ่งได้รับการยอมรับและถูกคัดเลือกให้ลงเล่นในดีวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1893-1894 สโมสรจึงได้เลือกสัญลักษณ์ของทีมเป็น นกลิเวอร์เบิร์ด (Liverbird) ซึ่งเป็นนกแถบทะเลไอริช บริเวณแม่น้ำเมอร์ซีย์ โดยที่ปากนกคาบใบไม้ไว้ ทีมลิเวอร์พูลได้ลงทำการแข่งขันอย่างเป็นทางในฟุตบอลลีก ดิวิชั่น 2 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1893 โดยทีมลิเวอร์พูลออกไปเยือนทีมมิดเดิลสโบรห์ และทีมลิเวอร์พูลสามารถได้แชมป์มาครองโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยตลอดทั้งฤดูกาล (ทั้งหมด 28 นัด) แต่การคว้าแชมป์ลีกดิวิชั่น 2 ในตอนนั้นยังไม่ได้เลื่อนชั้นโดยทันที ต้องไปแข่งนัดชิงดำกับทีมอันดับสองก่อน โดยทีมอันดับสองในขณะนั้นคือ ทีมนิวตัน ฮีธ (ทีมแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในปัจจุบัน) และลงแข่งขันที่สนามของทีมแบล็คเบิร์น ซึ่งทีมลิเวอร์พูลเอาชนะทีมนิวตัน ฮีธไปด้วยผล 2-0 และได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 ในที่สุด

สโมสรลิเวอร์พูลก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2435 และก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรแนวหน้าของอังกฤษอย่างรวดเร็วจนประสบความสำเร็จเป็นแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2444 (ฤดูกาล 1900/01) และครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2449 (ฤดูกาล 1905/06) ครั้งที่ 3 และ 4 เป็นแชมป์สองฤดูกาลติดใน พ.ศ. 2465 กับ พ.ศ. 2466 (ฤดูกาล 1921/22 กับ 1922/23) แชมป์ลีกสูงสุดครั้งที่ 5 คือปี พ.ศ. 2490 (ฤดูกาล 1946/47) อย่างไรก็ตามลิเวอร์พูลพบกับช่วงตกต่ำต้องไปเล่นในในดิวิชัน 2 ใน พ.ศ. 2497 (ฤดูกาล 1953/54) ภายหลังจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสโมสรในปี พ.ศ. 2502 สโมสรได้แต่งตั้ง บิลล์ แชงก์คลี เป็นผู้จัดการทีม เขาได้เปลี่ยนแปลงทีมไปอย่างมาก จนประสบความสำเร็จได้เลื่อนชั้นในปี พ.ศ. 2505 (ฤดูกาล 1961/62) และได้แชมป์ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้งใน พ.ศ. 2507 (ฤดูกาล 1963/64) หลังจากรอคอยมานานถึง 17 ปี บิล แชงก์ลี คว้าแชมป์เอฟเอคัพเป็นถ้วยแรกของสโมสรลิเวอร์พูลในปี พ.ศ. 2508 (ฤดูกาล 1964/65) และคว้าแชมป์ดิวิชั่น 1 อีกครั้งในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2509 (ฤดูกาล 1965/66) ความสำเร็จของแชงก์ลียังเดินหน้าต่อไป เมื่อลิเวอร์พูลคว้าแชมป์ยูฟ่าคัพ พร้อมแชมป์ดิวิชั่น 1 ใน พ.ศ. 2516 (ฤดูกาล 1972/73) และเอฟเอคัพ อีกครั้งใน พ.ศ. 2517 (ฤดูกาล 1973/74) หลังจากนั้น บิลล์ แชงก์คลี ขอวางมือจากสโมสร โดยให้ผู้ช่วยของเขาสืบทอดตำแหน่ง ผู้จัดการทีมแทน นั่นคือ บ็อบ เพสส์ลี

ป้ายอนุสรณ์จารึกชื่อและอายุผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติฮิลส์โบโรทั้งหมด 96 คน

สโมสรต้องประสบกับความซบเซาในช่วงหนึ่งหลังจากได้แชมป์ลีกสูงสุดในปี พ.ศ. 2533 คือได้เพียงเอฟเอคัพ 1 ใบ ปี พ.ศ. 2535กับลีกคัพ 1 ใบในปี พ.ศ. 2538 แต่ก็ฟื้นฟูขึ้นมาได้เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์บอลถ้วยทั้งในระดับประเทศและระดับทวีปถึง 3 แชมป์ (คาร์ลิ่ง ลีกคัพ, เอฟเอคัพ รวมทั้งยูฟ่าคัพ) ได้ในปี พ.ศ. 2544 (ฤดูกาล 2000/01) ในปี 2544 นี้ลิเวอร์พูลยังคว้าถ้วยยูฟ่าซูเปอร์คัพ ที่เอาชนะ บาเยิร์น มิวนิก แชมป์ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ในปีนั้น รวมทั้งเอาชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด คู่ปรับตัวฉกาจในถ้วยชาริตีชีลด์ ก่อนเปิดฤดูกาลพรีเมียร์ลีกเป็นปีที่หอมหวานปีหนึ่งของกองเชียร์ลิเวอร์พูล นักเตะสำคัญยุคนั้นได้แก่ ไมเคิล โอเวน, เอมิล เฮสกี, สตีเวน เจอร์ราร์ด, ซามี ฮูเปีย และ ยอร์น อาร์เน รีเซ เป็นต้น ทีมชุดนี้ผู้จัดการทีมคือ เฌราร์ อูลีเย ชาวฝรั่งเศส ผลงานเป็นชิ้นเป็นอันส่งท้ายของอูลีเยคือ การนำทีมลิเวอร์พูลชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด 2-0 ในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพ พ.ศ. 2546 (ฤดูกาล 2002/03) และแชมป์ที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งของลิเวอร์พูลคือปี 2548 ชนะในศึกยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก เป็นครั้งที่ 5 ของสโมสร ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ตื่นตาตื่นใจครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์บอลยุโรป เมื่อลิเวอร์พูลไล่ตีเสมอทีม เอซี มิลาน เป็น 3-3 ทั้งที่โดนยิงนำไปก่อนถึง 3-0 และในที่สุดคว้าแชมป์มาได้จากการยิงจุดโทษชนะ 3-2 เป็นทีมจากอังกฤษที่ครองถ้วยยูโรเปียนคัพ (ปัจจุบันคือ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก) มากครั้งที่สุดถึง 5 สมัย ผู้เล่นที่สำคัญในยุคนั้น อาทิ สตีเวน เจอร์ราร์ด, ชาบี อาลอนโซ, ดีทมา ฮามันน์, วลาดิเมียร์ ซมิเซอร์, เจอร์ซี ดูเด็ค และ เจมี คาร์ราเกอร์ คุมทัพโดย ผู้จัดการทีมสัญชาติสเปน ราฟาเอล เบนิเตซ ในฤดูกาลต่อมา พ.ศ. 2549 (ฤดูกาล 2005/06) ลิเวอร์พูลของเบนิเตซทำให้แฟนบอลต้องลุ้นอีกครั้ง ในนัดชิงเอฟเอคัพ เมื่อต้องอาศัยลูกยิงมหัศจรรย์ของ สตีเวน เจอร์ราร์ด ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บตีเสมอทีม เวสต์แฮม ยูไนเต็ด คู่ชิงแชมป์ในปีนั้นทำให้เสมอกันที่ 3-3 ต้องตัดสินแชมป์ด้วยการยิงจุดโทษอีกครั้ง และลิเวอร์พูลก็สามารถชนะไปได้ 3-1 เป็นแชมป์สำคัญรายการล่าสุดที่ลิเวอร์พูลทำได้ แต่รายการที่แฟนบอลต้องการมากที่สุดคือแชมป์ลีกของประเทศ หรือพรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน ซึ่งปีล่าสุดที่ลิเวอร์พูลคว้ามาได้คือ พ.ศ. 2533 (ฤดูกาล 1989/90) จากการคุมทีมของ เคนนี ดัลกลิช ซึ่งต่อมาภายหลังดัลกลิชสามารถนำ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก ได้ในปี พ.ศ. 2538 (ฤดูกาล 1994/95)

ถ้วย ยูโรเปียนคัพ สมัยที่ 5 เมื่อปี ค.ศ. 2005

ในฤดูกาล 2009-10 ลิเวอร์พูลจบที่อันดับที่ 7 ในพรีเมียร์ลีก ซึ่งทำให้ไม่ได้ไปแข่งขันในรายการ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ทำให้ ราฟาเอล เบนิเตซ ต้องลาออกจากตำแหน่งด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย[7] และแทนที่โดย รอย ฮอดจ์สัน อดีตผู้จัดการทีม สโมสรฟูแลม[8] ในช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 2010–11 สโมสรลิเวอร์พูลนั้นเสี่ยงต่อการล้มละลาย เนื่องจากแบกรับหนี้สินเป็นจำนวนมากจากการทำงานของ จอร์จ ยิลเลตต์ และ ทอม ฮิกส์ ทำให้ต้องขายสโมสร ต่อมา จอห์น ดับเบิลยู เฮนรี เจ้าของทีม บอสตัน เรด ซ็อกซ์และนิว อิงแลนด์ สปอร์ตส์ เวนเจอร์ส ได้ซื้อสโมสรลิเวอร์พูล เมื่อตุลาคม 2010[9] ผลการแข่งขันที่ย่ำแย่ในช่วงต้นฤดูกาล ทำให้ฮอดจ์สันลาออกจากตำแหน่ง โดยมี เคนนี ดัลกลิช กลับมาคุมทีมอีกครั้ง[10] โดยในฤดูกาล 2011-12 สามารถคว้าแชมป์ในรายการ คาร์ลิงคัพ ได้สำเร็จเป็นสมัยที่แปดจากการยิงจุดโทษตัดสินชนะ คาร์ดิฟฟ์ซีตี ผลประตูรวม 3-2[11] ในฤดูกาล 2011-12 ลิเวอร์พูลจบที่อันดับที่ 8 ซึ่งเป็นการจบอันดับที่แย่ที่สุดในรอบ 18 ปี[12] ทางสโมสรก็ได้ปลดดัลกลิชออกจากตำแหน่ง[13][14] เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ทางสโมสรได้ประกาศแต่งตั้ง เบรนดัน ร็อดเจอส์ อดีตผู้จัดการทีมสวอนซีซิตี เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[15]

ในฤดูกาล 2013-14 ลิเวอร์พูลมีโอกาสสูงที่จะคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกมาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยในช่วงท้ายฤดูกาลสามารถทำสถิติชนะรวดติดต่อกันมากถึง 11 นัด และลุยส์ ซัวเรซ กองหน้าของทีมก็เป็นผู้เล่นที่ยิงประตูได้สูงสุงของลีก ทำให้เป็นทีมมีคะแนนเป็นอันดับหนึ่งของตารางคะแนน แต่ทว่าในช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายก่อนสิ้นสุดฤดูกาล ลิเวอร์พูลไปแพ้ต่อ เชลซี และเสมอต่อ คริสตัลพาเลซ ทำให้แมนเชสเตอร์ซิตี ซึ่งเป็นทีมที่มีคะแนนเป็นอันดับสอง แต่แข่งน้อยกว่าหนึ่งนัด สามารถแซงหน้าและได้แชมป์ไปในที่สุด ด้วยคะแนน 86 คะแนน ขณะที่ลิเวอร์พูลทำได้ 84 คะแนน จบฤดูกาลลงด้วยอันดับที่สอง[16][17][18] และได้กลับไปแข่งขันในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอีกครั้ง โดยยิงประตูไป 101 ลูก นับเป็นการยิงประตูมากที่สุด นับตั้งแต่ฤดูกาล 1895–96 ที่ยิงประตูไป 106 ลูก[19][20] หลังผลงานน่าผิดหวังในฤดูกาล 2014-15 ทำให้ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 6 ในลีกพร้อมกับเริ่มต้นฤดูกาล 2015-16 ที่ย่ำแย่ ทำให้ เบรนดัน ร็อดเจอส์ ถูกไล่ออกเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2015[21] โดยมี เยือร์เกิน คล็อพ มาแทน[22] โดยเป็นผู้จัดการทีมคนที่สามที่เป็นชาวต่างชาติในประวัติศาสตร์ของลิเวอร์พูล[23] ในฤดูกาลแรก คล็อพ นำสโมสรเข้ารอบชิงชนะเลิศ ในรายการ ฟุตบอลลีกคัพ และยูฟ่ายูโรปาลีก แต่จบด้วยการเป็นรองชนะเลิศทั้งสองรายการ[24] ลิเวอร์พูลจบอันดับที่ 2 ใน พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2018–19 ด้วยคะแนน 97 แต้มโดยแพ้เพียงแค่เกมเดียวเท่านั้น ทำให้เป็นทีมที่ไม่ได้ชนะเลิศทำแต้มมากที่สุด[25] คล็อพ นำสโมสรเข้ารอบชิงชนะเลิศในรายการ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สองปีติดต่อกันในปี 2018 และ 2019 และชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ด้วยผลประตูรวม 2–0 ใน ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2019[26][27]

ชุดแข่ง

ประวัติชุดทีมเหย้า
(1892–96) [28]
(1896-1907)
(1910-34)
(1907-10)
(1934-36)
(1944-45)
(1936-40)
(1945-59)
(1959-64)
(1964-ปัจจุบัน)
ช่วงเวลา ผู้ผลิตชุด ผู้สนับสนุน
(หน้าอก)
ผู้สนับสนุน
(แขนเสื้อ)
1973–1979 อัมโบร ไม่มี ไม่มี
1979–1982 ฮิตาชิ
1982–1985 คราวน์ เพนต์
1985–1988 อาดิดาส
1988–1992 แคนดี
1992–1996 คาร์ลส์เบิร์ก
1996–2006 รีบอค
2006–2010 อาดิดาส
2010–2012 สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด
2012–2015 วอร์ริเออร์
2015–2017 นิวบาลานซ์
2017–2020 เวสเทิร์น ยูเนียน
2020–ปัจจุบัน ไนกี้

สโมสรลิเวอร์พูลสวมชุดแข่งสีน้ำเงินและขาวก่อนที่จะมีการเปลี่ยนมาใช้ชุดสีแดงและกางเกงสีขาวในปี ค.ศ.1896 และใช้ชุดนั้นมาจนถึงปี ค.ศ. 1964 เมื่อบิลล์ แชงค์ลีย์ ตัดสินใจส่งทีมลิเวอร์พูลลงแข่งกับอันเดอร์เลชต์ พร้อมกับสวมชุดแข่งลายทางสีแดงทั้งชุดเป็นครั้งแรก

แถบชุดทีมเยือนของลิเวอร์พูลไม่ได้เป็นเสื้อสีเหลืองหรือสีขาวและกางเกงขาสั้นสีดำบ่อยๆ แต่มีหลายข้อยกเว้นชุดสีเทาทั้งเสื้อและกางเกงเป็นที่รู้จักในปี 1987 ซึ่งถูกนำมาใช้จนฤดูกาล 1991-1992 ซึ่งเป็นฤดูกาลรอบหนึ่งร้อยปี เมื่อมันถูกแทนที่ด้วยการผสมผสานของเสื้อสีเขียวและกางเกงขาสั้นสีขาว หลังจากการผสมสีต่างๆในปี 1990, รวมทั้งทองและน้ำเงินสีเหลือง, สีดำและสีเทาและสีนำตาลอ่อนสโมสรสลับไปมาระหว่างชุดออกสีเหลืองกับสีขาวจนกว่าฤดูกาล 2008-09, เมื่อชุดสีเทานำมาแนะนำอีก ชุดที่สามได้รับการออกแบบสำหรับการแข่งขันทีมเยือนในยุโรป ถึงแม้ว่าจะยังสวมใส่ในการแข่งขันทีมเยือนภายในประเทศในโอกาสที่เมื่อชุดทีมเยือนปัจจุบันปะทะกับชุดทีมเหย้า ชุดปัจจุบันได้รับการออกแบบโดยวอร์ริเออร์สปอตส์ที่กลายเป็นสโมสรที่ให้บริการชุดที่เริ่มต้นของฤดู 2012-13 เพียงเสื้อเชิ้ตแบรนด์อื่น ๆ ถูกสวมใส่โดยสโมสรที่ผลิตโดยอัมโบร จนกระทั่งปี 1985 เมื่อพวกเขาถูกแทนที่โดยอาดิดาส ผู้ซึ่งผลิตชุดจนกระทั่งปี 1996 เมื่อรีบ็อคเข้ามาครอบครองกิจการโดยผลิตชุดเป็นเวลา 10 ปีก่อนที่อาดิดาสจะเข้ามาทำแทนในช่วงปี 2006-2012

ลิเวอร์พูลเป็นเป็นสโมสรระดับมืออาชีพทีมแรกที่มีโลโก้ของสปอนเซอร์บนเสื้อของตัวเองหลังจากเห็นพ้องกับข้อตกลงกับบริษัท ฮิตาชิ ในปี ค.ศ. 1979 นับตั้งแต่นั้นมาสโมสรได้รับการสนับสนุนจาก Crown Paints, Candy, คาร์ลสเบิร์ก และสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด สัญญากับคาร์ลสเบิร์กลงนามเมื่อปี ค.ศ. 1992 เป็นสัญญาที่คงอยู่เป็นเวลานานที่สุดในฟุตบอลอังกฤษชั้นหนึ่ง สัญญาที่ทำร่วมกับคาร์ลสเบิร์กได้สิ้นสุดลงในช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล 2010-11 เมื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์กลายเป็นสปอนเซอร์ของสโมสร

สัญลักษณ์ของลิเวอร์พูลถูกอยู่บนฐาน Liver Bird ที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองซึ่งในอดีตที่ผ่านมาได้วางอยู่ภายในโล่ ในปี ค.ศ. 1992 มีการจัดงานระลึกครบรอบ 100 ปีของสโมสร ป้ายใหม่ได้ถูกนำมาใช้รวมทั้งการประดับอยู่บนประตูแชงคลี ปีถัดมาเปลวไฟคู่ถูกเพิ่มเข้ามาในด้านใดด้านหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ระลึกถึงโศกนาฏกรรมฮิลส์โบโร ภายนอกสนามแอนฟีลด์ เปลวไฟที่เผาไหม้อยู่ในความทรงจำของผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ภัยพิบัติฮิลส์โบโร ในปี ค.ศ. 2012 ชุดแข่งของลิเวอร์พูลชุด Warrior Sports เอาโล่และประตูที่เป็นส่วนหนึ่งของสัญลักษณ์ออก แล้วนำป้ายที่เคยประดับอยู่บนเสื้อลิเวอร์พูลในปี ค.ศ. 1970 กลับมาใช้ เปลวไฟถูกย้ายไปอยู่ที่ปกเสื้อด้านหลังโดยรอบตัวเลข 96 ที่เป็นตัวเลขของจำนวนผู้เสียชีวิตที่ฮิลส์โบโร

สนามกีฬา

ด้านหน้าอัฒจันทร์ฝั่ง เดอะค็อป

สนามฟุตบอลแอนฟีลด์สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1884 ติดกับแสตนลีย์ ปาร์ค เริ่มแรกเป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน ก่อนที่เอฟเวอร์ตันย้ายสนามไปกูดิสันพาร์ค หลังจากขัดแย้งในเรื่องค่าเช่าพื้นที่สนามกับจอห์น โฮลดิง ผู้เป็นเจ้าของแอนฟีลด์ หลังจากนั้นโฮลดิ้งได้ก่อตั้งสโมรสรลิเวอร์พูลขึ้นเมื่อปี 1892 และแอนด์ฟีลด์จึงกลายเป็นสนามเหย้าของลิเวอร์พูลนับแต่นั้นมา ในขณะนั้นมีความจุของสนามทั้งสิ้น 20,000 คน ถึงแม้จะมีเพียงผู้ชม 100 คนเข้าชมการแข่งขันครั้งแรกของลิเวอร์พูลที่แอนฟีลด์

ในปี 1906 อัฒจันทร์ฝั่งยืนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของพื้นดินถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการซึ่งคนท้องถิ่นจะรู้จักกันในนาม สปิออน ค็อป หลังจากที่เนินเขาแห่งหนึ่งใน นาทาล ประเทศแอฟริกาใต้ โดยเกิดเหตุการณ์การทำสงครามบัวร์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1900 อังกฤษได้ส่งทหารไปกว่า 300 นาย โดยส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองลิเวอร์พูล เมื่อถึงจุดสูงสุดอัฒจันทร์สามารถบรรจุผู้ชมได้ถึง 28,000 คน และเป็นอัฒจันทร์ยืนชั้นเดียวที่หญ่ที่สุดในโลก สนามกีฬาหลายแห่งในประเทศอังกฤษได้จึงตั้งชื่อ สปิออน ค็อป เป็นชื่อของอัฒจันทร์ แต่แอนฟีลด์เป็นสนามที่ใหญ่ที่สุดในตอนนั้น ซึ่งสามารถบรรจุผู้สนับสนุนได้มากกว่าพื้นที่สนามฟุตบอลทั้งหมด

แอนฟีลด์สามารถรองรับผู้สนับสนุนได้สูงสุดกว่า 60,000 คนและมีความจุ 55,000 ที่นั่ง จนกระทั่งทศวรรษ 1990 เทเลอร์ รีพอร์ต รายงานเหตุการณ์การถล่มของอัฒจันทร์ที่สนามฮิลส์โบโร่ พรีเมียร์ลีกจึงมีคำสั่งให้ทุกสนามเปลี่ยนจากอัฒจันทร์ยืนเป็นแบบนั่งทั้งหมดในฤดูกาล 1993-94 ลดความจุลงเหลือ 45,276 ที่นั่ง จากผลการวิจัยของเทอลร์ รีพอร์ต ได้ผลักดันให้มีการสร้างอัฒจันทร์ใหม่ทางด้าน Kemlyn Road Stand ในปี ค.ศ. 1992 ซึ่งตรงกับการครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งสโมสร จึงตั้งชื่อว่า เซนเทเนรีสแตนด์ เป็นชั้นพิเศษที่ถูกเพิ่มในฝั่งถนนแอนฟีลด์ปลายปี ค.ศ. 1998 ซึ่งต่อไปจะเพิ่มความจุของภาคพื้นดินแต่เกิดปัญหาขึ้นหลังจากการเปิดใช้ ชุดของเสาสนับสนุนและตอม่อถูกเสริมเข้าไปเพื่อสร้างความมั่งคงให้กับชั้นบนสุดของอัฒจันทร์ หลังจากการเคลื่อนไหวของชั้นอัฒจันทร์ได้ถูกรายงานช่วงเริ่มต้นของฤดูกาล 1999-2000

เนื่องจากข้อจำกัดในการขยายความจุที่นั่งของแอนฟีลด์ ลิเวอร์พูลได้ประกาศแผนเสนอให้ย้ายไปสนามแสตนลีย์ พาร์ค เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2002[29] แผนนี้ถูกอนุมัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2004[30] และในเดือนกันยายน ค.ศ. 2006 สภาเมืองลิเวอร์พูลได้อนุมัติสัญญาเช่า 999 ปี ทำให้ลิเวอร์พูลได้รับอนุญาตให้สร้างสนามแห่งใหม่ใกล้สแตนลีย์พาร์ก[31] ภายหลังจากการซื้อสโมสรโดยจอร์จ จิลเลตต์ และทอม ฮิคส์ ในเดือนกรกฎาคมค.ศ. 2007 สโมสรได้นำเสนอแผนใหม่ที่ออกแบบและเสนอโดยบริษัท HKS เมืองดัลลัส สหรัฐอเมริกา โดยปรับความจุเป็น 76,000 ที่นั่ง มูลค่าการลงทุน 300 ล้านปอนด์ ต่อมาเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2008 เนื่องจากมูลค่าเหล็กกล้าในตลาดระหว่างประเทศสูงขึ้น ทำให้มูลค่าการลงทุนต้องเพิ่มขึ้นเป็น 400 ล้านปอนด์ ฮิคส์และจิลเล็ตต์จึงตัดสินใจยุติการสร้าง

ผู้สนับสนุน

ลิเวอร์พูลเป็นหนึ่งสโมสรฟุตบอลที่ได้รับการสนับสนุนมากที่สุดในโลก[32] ลิเวอร์พูลแถลงว่าฐานแฟนคลับทั่วโลกรวมไปถึงมากกว่า 200 สาขาได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจาก Association of International Branches (AIB) อย่างน้อย 50 ประเทศ[33] สโมสรจะได้ประโยชน์จากการสนับสนุนนี้ผ่านการทัวร์ฤดูร้อนทั่วโลก[34] แฟนคลับของลิเวอร์พูลได้เรียกตัวเองว่าเป็น Kopites เป็นการอ้างถึงของแฟนๆ ที่เคยยืนและนั่งในเดอะค็อปที่แอนฟีลด์[35] ในปี ค.ศ. 2008 แฟนบอลของลิเวอร์พูลได้ก่อตั้งทีมสาขาย่อยของลิเวอร์พูลมีชื่อว่า A.F.C. Liverpool แฟนบอลนับพันของลิเวอร์พูลไม่สามารถเข้าไปดูการแข่งขันได้ เนื่องจากตั๋วเข้าชมนั้นหายากหรือไม่ก็แพงเกินไปสำหรับแฟนบอล[36]

ที่มาของเพลง "You'll never walk alone" ประพันธ์ดนตรีโดย Richard Rodger เนื้อร้องโดย Oscar Hammerstein II แต่งขึ้นพื่อใช้ในการแสดงละครเพลงบอร์ดเวย์เรื่อง Carousel และต่อมาได้รับการบันทึกเสียงใหม่จาก Gerry and the Pacemakers ซึ่งเป็นนักดนตรีลิเวอร์พูลเมื่อต้นปี ค.ศ. 1960 และยังได้รับความนิยมจากแฟนคลับสโมสรอื่น ๆ ทั่วโลก[37] ชื่อเพลงนี้ใช้ประดับบนประตู Shankly Gates ซึ่งเปิดเผยเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1982 เพื่อเป็นเกียรติยศของอดีตผู้จัดการทีม Bill Shankly คำว่า "You'll never walk alone" บนประตู Shankly Gates ถูกนำไปใส่ไว้ด้านบนของตราสัญลักษณ์สโมสร

ในปี ค.ศ. 2015 มีการสำรวจความนิยมจากแฟนฟุตบอลทั่วโลกผ่านทางโปรแกรมทวิตเตอร์ พบว่าในประเทศไทย มีผู้นิยมลิเวอร์พูลมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 29.6 ในขณะที่สโมสรรองลงไป คือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด คิดเป็นร้อยละ 19.77 และเชลซี คิดเป็นร้อยละ 18.95 ส่วนในประเทศอังกฤษ ลิเวอร์พูล คือสโมสรที่มีผู้นิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.21[38]

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2020[39]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK บราซิล อาลีซง
2 DF อังกฤษ นาแทเนียล ไคลน์
3 MF บราซิล ฟาบิญญู
4 DF เนเธอร์แลนด์ เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ (กัปตันคนที่สาม)[40]
5 MF เนเธอร์แลนด์ จอร์จีนีโย ไวนัลดึม (กัปตันคนที่สี่)[40]
6 DF โครเอเชีย เดยัน ลอฟเรน
7 MF อังกฤษ เจมส์ มิลเนอร์ (รองกัปตัน)[41]
8 MF กินี นาบี เกอีตา
9 FW บราซิล โรแบร์ตู ฟีร์มีนู
10 FW เซเนกัล ซาดีโย มาเน
11 FW อียิปต์ มุฮัมมัด เศาะลาห์
12 DF อังกฤษ โจ โกเมซ
13 GK สเปน อาเดรียน
14 MF อังกฤษ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน (กัปตัน)[42]
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
15 MF อังกฤษ อเล็กซ์ ออกซ์เลด-เชมเบอร์ลิน
18 MF ญี่ปุ่น ทากูมิ มินามิโนะ
20 MF อังกฤษ แอดัม ลัลลานา
22 GK อังกฤษ แอนดี โลเนอร์แกน
23 MF สวิตเซอร์แลนด์ แจร์ดัน ชาชีรี
26 DF สกอตแลนด์ แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน
27 FW เบลเยียม ดีว็อก โอรีกี
32 DF แคเมอรูน ฌอแอล มาติป
48 MF อังกฤษ เคอร์ติส โจนส์
51 DF เนเธอร์แลนด์ กี-ยานา ฮุเฟอร์
62 GK สาธารณรัฐไอร์แลนด์ คีวีน เคลลิเฮอร์
66 MF อังกฤษ เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์
67 MF อังกฤษ ฮาวี เอลเลียต
72 DF เนเธอร์แลนด์ เซปป์ ฟาน เด็น เบิร์ก

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 MF เซอร์เบีย มาร์คอ กรูยิช (ยืมตัวไป แฮร์ทา จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[43]
24 FW อังกฤษ เรียน บรูว์สเตอร์ (ยืมตัวไป สวอนซีซิตี จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[44]
47 DF อังกฤษ นาแทเนียล ฟีลิปส์ (ยืมตัวไป เฟาเอ็ฟเบ ชตุทท์การ์ท จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[45]
53 MF อังกฤษ โอวี เอจาเรีย (ยืมตัวไป เรดิง จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[46]
54 MF อังกฤษ เชยี โอโจ (ยืมตัวไป เรนเจอส์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[47]
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
58 FW เวลส์ เบน วูดเบิร์น (ยืมตัวไป ออกซฟอร์ดยูไนเต็ด จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[48]
59 MF เวลส์ แฮร์รี วิลสัน (ยืมตัวไป บอร์นมัท จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[49]
73 GK โปแลนด์ คามิล กราบารา (ยืมตัวไป ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์ จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[50]
GK เยอรมนี โลริส คารีอุส (ยืมตัวไป เบชิกทัช จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[51]
FW ไนจีเรีย ทาอีโว อาโวนียี (ยืมตัวไป ไมนทซ์ 05 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2020)[52]

ผู้เล่นตัวสำรองและผู้เล่นจากศูนย์เยาวชน

กัปตันทีม

ตั้งแต่ก่อตั้งสโมสรในปี 1892, ผู้เล่น 45 คน ได้รับเลือกให้เป็นกัปตันทีมสโมสรลิเวอร์พูล[53] แอนดรูว์ ฮานนาห์ ได้เป็นกัปตันทีมคนแรกหลังจากแยกตัวออกจาก เอฟเวอร์ตัน อเล็กซ์ เรสเบค เป็นกับตันทีมในปี 1899 ถึง 1909 เป็นกัปตันทีมนานที่สุดก่อนที่ สตีเวน เจอร์ราด ซึ่งอยู่กับลิเวอร์พูลถึง 12 ฤดูกาล ตั้งแต่ 2003–04[53] กัปตันทีมคนปัจจุบันคือ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน ซึ่งมาแทนที่เจอร์ราด ในฤดูกาล 2015–16 หลังจากที่เจอร์ราดย้ายไปแอลเอ กาแลคซี[54][55]

ชื่อ ปีที่
สกอตแลนด์ แอนดรูว แฮนนาห์ 1892–1895
สกอตแลนด์ จิมมี รอสส์ 1895–1897
สกอตแลนด์ จอห์น แม็กคาร์ตนีย์ 1897–1898
อังกฤษ แฮร์รี สโตเรอร์ 1898–1899
สกอตแลนด์ อเล็กซ์ เรสเบค 1899–1909
อังกฤษ อาเธอร์ กอดดาร์ด 1909–1912
อังกฤษ Ephraim Longworth 1912–1913
อังกฤษ Harry Lowe 1913–1915
สกอตแลนด์ Donald McKinlay 1919–1920
อังกฤษ Ephraim Longworth 1920–1921
สกอตแลนด์ Donald McKinlay 1921–1928
อังกฤษ Tom Bromilow 1928–1929
สกอตแลนด์ James Jackson, Jr. 1929–1930
สกอตแลนด์ Tom Morrison 1930–1931
สกอตแลนด์ Tom Bradshaw 1931–1934
ชื่อ ปีที่
อังกฤษ Tom Cooper 1934–1939
สกอตแลนด์ Matt Busby 1939–1940
สกอตแลนด์ Willie Fagan 1945–1947
อังกฤษ Jack Balmer 1947–1950
อังกฤษ Phil Taylor 1950–1953
อังกฤษ Bill Jones 1953–1954
อังกฤษ Laurie Hughes 1954–1955
สกอตแลนด์ Billy Liddell 1955–1958
อังกฤษ Johnny Wheeler 1958–1959
อังกฤษ รอนนี โมแรน 1959–1960
อังกฤษ ดิก ไวต์ 1960–1961
สกอตแลนด์ รอน ยีตส์ 1961–1970
อังกฤษ ทอมมี สมิธ 1970–1973
อังกฤษ Emlyn Hughes 1973–1978
อังกฤษ ฟีล ทอมป์สัน 1978–1981
ชื่อ ปีที่
สกอตแลนด์ แกรม ซูเนส 1982–1984
อังกฤษ ฟีล นีล 1984–1985
สกอตแลนด์ อลัน แฮนเซน 1985–1988
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ รอนนี วีแลน 1988–1989
สกอตแลนด์ อลัน แฮนเซน 1989–1990
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ รอนนี วีแลน 1990–1991
สกอตแลนด์ สตีฟ นิโคล 1990–1991
อังกฤษ มาร์ก ไรท์ 1991–1993
เวลส์ เอียน รัช 1993–1996
อังกฤษ จอห์น บาร์นส์ 1996–1997
อังกฤษ พอล อินซ์ 1997–1999
อังกฤษ เจมี เรดเนปป์ 1999–2002
ฟินแลนด์ ซามี ฮูเปีย 2001–2003
อังกฤษ สตีเวน เจอร์ราร์ด 2003–2015
อังกฤษ จอร์แดน เฮนเดอร์สัน 2015–

ผู้เล่นในอดีตที่สำคัญ

บันทึกสถิติของผู้เล่น

สถิติการลงเล่น

ความเป็นเจ้าของและฐานะทางการเงิน

รายงานทางการเงินแสดงให้เห็นว่ามีรายได้จำนวน 137 ล้านปอนด์ที่เข้ามาสู่สโมสรจากการขายนักเตะ ซึ่งรายได้ทั้งหมดนี้ รวมกับงบลงทุนเพิ่มเติม ได้ย้อนกลับไปสู่การลงทุนในทีม ทำให้มียอดรวมในการใช้จ่ายเพื่อซื้อผู้เล่นใหม่สูงขึ้นถึง 190 ล้านปอนด์[58]

ระหว่างงวดปี สิ้นสุดวันที่ 31 พ.ค. 2018 โมฮาเหม็ด ซาลาห์, เวอร์จิล ฟาน ไดจ์ค, แอนดี โรเบิร์ตสัน, อเล็กซ์ อ็อกซ์เลด-แชมเบอร์เลน และโดมินิก โซลันกี ได้ย้ายเข้ามา ขณะที่ฟิลิปเป้ คูตินโญ่, มามาดู ซาโก้, ลูคัส เลวา และเควิน สจ็วร์ต อำลาสโมสรไป

และตั้งแต่งวดปีล่าสุด ยังคงมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องกับนาบี เกอิต้า, ฟาบินโญ่, อลิสสัน เบ็คเกอร์, เซอร์ดาน ชากิรี การซื้อทั้งหมดได้เพิ่มความแข็งแกร่งในทีม ที่เป็นสิ่งที่ Fenway Sports Group กลุ่มเจ้าของสโมสรได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา

มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นระหว่างช่วงเวลาดังกล่าว 90 ล้านปอนด์ รวมเป็นจำนวน 455 ล้านปอนด์ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างยั่งยืนทั่วทั้งสโมสร และทำให้สามารถเพิ่มการลงทุนเข้าสู่ทีมในอนาคตได้ รายได้จากทั้งสามทางต่างเพิ่มสูงขึ้น โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้จากสื่อ 66 ล้านปอนด์ รวมเป็นจำนวน 220 ล้านปอนด์ รายได้เชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้น 17 ล้านปอนด์ รวมเป็นจำนวน 154 ล้านปอนด์ และรายได้จากเกมการแข่งขันเพิ่มขึ้น 7 ล้านปอนด์ รวมเป็นจำนวน 81 ล้านปอนด์

รายได้ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการผ่านเข้าไปเล่นในแชมเปียนส์ลีก และจำนวนเกมที่เพิ่มขึ้นจนไปถึงนัดชิงชนะเลิศ สโมสรไม่ได้เข้าร่วมการแข่งขันในฤดูกาลก่อนหน้านั้นอย่างฤดูกาล 2016-17 กำไรก่อนหักภาษีสำหรับงวดเพิ่มขึ้นเป็น 125 ล้านปอนด์ เมื่อเทียบกับ 40 ล้านปอนด์ในปีก่อน

แอนดี ฮิวจ์ส ประธานเจ้าหน้าฝ่ายปฏิบัติการกล่าวว่า “สิ่งที่เราได้เห็น คือ การพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืนในสถานะทางการเงินของสโมสรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การเติบโตนี้และรายได้ที่เพิ่มขึ้นทำให้เราสามารถลงทุนกลับคืนไปยังทีมและโครงสร้างพื้นฐานในการปฏิบัติการด้านฟุตบอลได้อย่างมีนัยสำคัญ”

“ผลประกอบการทางการเงินนั้นขึ้นอยู่กับต้นทุนการซื้อขายผู้เล่น และระยะเวลาของการจ่ายชำระเงิน แต่สิ่งที่ชัดเจนในผลลัพธ์ล่าสุด คือ การเสริมความแข็งแกร่งเพิ่มเติมในรากฐานทางการเงินและผลกำไรที่ถูกใช้ลงทุนในทีมและโครงสร้างพื้นฐาน”

“นับตั้งแต่สิ้นสุดรอบระยะเวลาตามรายงาน ซึ่งตอนนี้ผ่านมาเกือบ 12 เดือน เราได้กลับไปลงทุนต่อเนื่องภายในทีมจากส่วนต่างๆ ที่เติบโตขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการลงทุนในศูนย์ฝึกใหม่ของเราที่เคิร์กบี ที่ตอนนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการ ที่จะก่อให้เกิดสิ่งอำนวยความสะดวกชั้นเลิศสำหรับผู้เล่น และพนักงานของเรา และจะเป็นการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการกีฬาสำหรับชุมชนเคิร์กบีอย่างมากมาย”

ลิเวอร์พูลได้ขยับขึ้นไป 2 อันดับโดยรั้งอันดับ 7 ใน Deloitte Football Money League โดยมีรายได้หลักทั้งสามทางที่เพิ่มขึ้นในงวดปีที่ผ่านมา โดยในงวดบัญชีที่ผ่านมา สโมสรได้ลงนามในความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์รายใหม่ถึง 8 ราย รวมทั้งสปอนเซอร์แขนเสื้อใหม่กับ Western Union และพันธมิตรระดับโลกกับ Falken Tyres และ Joie.

นอกเหนือจากพาร์ทเนอร์ใหม่ 8 รายแล้ว สโมสรยังได้ต่ออายุพาร์ทเนอร์อีก 4 ราย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งด้านความสัมพันธ์ที่มีความมั่นคงในการส่งมอบคุณค่าให้แก่พาร์ทเนอร์ และการดึงดูดความสนใจในระดับโลกของสโมสร มันยังเป็นช่วงเวลาที่สโมสรฉลองครบรอบ 125 ปี และเสื้อที่ระลึกได้กลายเป็นเสื้อที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร

สโมสรลิเวอร์พูลยังมีการเติบโตด้านสื่อดิจิทัลที่สำคัญ และกลายเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่เติบโตเร็วที่สุดบนโซเชียลมีเดีย รวมถึงแพลตฟอร์มอินสตาแกรม ที่ดึงดูดผู้ติดตาม 3 ล้านคน คิดเป็นอัตราการเติบโต 71% ต่อปี ขณะที่เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง และได้เห็นการโต้ตอบของแฟน ๆ 27 ล้านคนทางทวิตเตอร์ในระหว่างงวดปีบัญชี

โดยรวมแล้ว ช่องทางโซเชียลมีเดียของสโมสร นั้นมีอัตราการเติบโตโดยรวม 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 60 ล้านคนในทุกช่องทางดิจิทัล ในเดือนพฤษภาคมปี 2018 สโมสรมีจำนวนผู้ชมสูงสุดทางยูทูป เมื่อเทียบกับสโมสรในพรีเมียร์ลีก และเป็นที่ 3 เมื่อเทียบกับสโมสรกีฬาทั่วโลก

รายได้ในวันแข่งขันที่เพิ่มขึ้น 7 ล้านปอนด์ มาจากความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการสร้างอัฒจันทร์เมน สแตนด์ และผลจากยอดขายตั๋วสำหรับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของเกมแชมเปียนส์ลีกในฤดูกาลที่แล้ว

รายได้ด้านสื่อเพิ่มขึ้น 66 ล้านปอนด์ในปีที่ 2 ของสัญญาถ่ายทอดสดของพรีเมียร์ลีก 3 ฤดูกาล

ฮิวจ์สกล่าวเสริมว่า “เรากำลังก้าวหน้าอย่างมั่นคงทั่วทั้งสโมสร ค่าใช้จ่ายในวงการฟุตบอลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี และเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องมีการสอบทานและอย่างต่อเนื่อง และจัดการต้นทุนการดำเนินงานของเรา เพื่อให้แน่ใจว่าเราอยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับความสำเร็จในอนาคต”

ลิเวอร์พูลในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เนื่องจากประวัติศาสตร์ของลิเวอร์พูลที่ประสบความสำเร็จ ลิเวอร์พูลมักเป็นจุดเด่นเมื่อฟุตบอลเป็นที่ปรากฏในวัฒนธรรมอังกฤษและปรากฏอยู่บนสื่ออันดับต้น ๆ สโมสรปรากฏในนิตยสารแมทช์ ออฟ เดอะ เดย์ ของบีบีซีฉบับพิมพ์ครั้งแรก ซึ่งไฮไลท์การแข่งระหว่างลิเวอร์พูลกับอาร์เซนอลที่แอนฟีลด์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1964 และถือเป็นการถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกของโลกด้วย เป็นการถ่ายทอดในระบบขาวดำโดยบีบีซี[59] และการแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกระหว่างลิเวอร์พูลกับเวสต์แฮมยูไนเต็ดเป็นการถ่ายทอดสดแบบภาพสีในมีนาคม ค.ศ. 1967 วงดนตรี Pink Floyd ที่เป็นแฟนของลิเวอร์พูลร้องเพลง "Fearless" ซึ่งตัดต่อมาจากเพลง "You'll Never Walk Alone" เพื่อจดจำการปรากฏตัวของสโมสรในเอฟเอคัพรอบสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1988 ลิเวอร์พูลได้แต่งเพลงเป็นที่รู้จักนชื่อ "แอนฟีลด์แร็พ" ร้องร่วมกับจอห์น บาร์นส์และสมาชิกคนอื่นๆ ของทีม ละครสารคดีเรื่องภัยพิบัติฮิลส์โบโร่ถูกเขียนโดยจิมมี่ แม็คโกฟเวิร์น ถูกฉายในปี 1996

ในประเทศไทย

การแข่งขันนัดพิเศษกับทีมชาติไทย ในปี ค.ศ. 2009 โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา (เสื้อแดง) มาร่วมชมด้วย

ลิเวอร์พูล เคยเดินมาแข่งขันในประเทศไทยแล้วทั้งหมด 6 ครั้ง โดยเป็นการแข่งขันนัดพิเศษกับทีมชาติไทย ครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1986 โดยลิเวอร์พูลเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 3-0, ครั้งที่สองเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2001 ลิเวอร์พูลเอาชนะไปได้ 3-1, ครั้งที่สามเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2003 ลิเวอร์พูลเอาชนะไปได้ 3-1, ครั้งที่สี่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2009 โดยครั้งนี้เสมอกันไป 1-1, ครั้งที่ห้าเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 2013 ลิเวอร์พูลเอาชนะไปได้ 3-0[60] และครั้งสุดท้ายนับเป็นครั้งที่ 6 ในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน (โดยครั้งนี้เป็นการแข่งขัดกับทรูออลสตาร์ ซึ่งเป็นการรวมผู้เล่นเด่น ๆ ในไทยพรีเมียร์ลีก) ลิเวอร์พูลเอาชนะไปได้ 4-0 สรุปสถิติทั้งหมด ลิเวอร์พูลเป็นฝ่ายเอาชนะไทยไปได้ทั้งหมด 5 นัด และเสมอ 1 นัด โดยยังไม่เคยแพ้เลย[61][62]

สำหรับในประเทศไทย ลิเวอร์พูล ถือได้ว่าเป็นสโมสรที่มีผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากสโมสรหนึ่ง โดยในเดือนเมษายน ค.ศ. 2015 มีการสำรวจผ่านการติดตามทางโปรแกรมทวิตเตอร์พบว่า ลิเวอร์พูลเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชาวไทยเป็นผู้สนับสนุนมากที่สุดในบรรดาสโมสรฟุตบอลของอังกฤษทั้งหมด[63]

สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียง ที่เป็นผู้สนับสนุนลิเวอร์พูล เช่น เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง (นักฟุตบอลทีมชาติไทยและหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย[64]), อภิภู สุนทรพนาเวศ (นักฟุตบอลทีมชาติไทย[64]), สรยุทธ์ สุทัศนะจินดา (ผู้ประกาศข่าว[65]), ธีระ ธัญไพบูลย์ (ผู้ประกาศข่าว[66]), วีรศักดิ์ นิลกลัด (ผู้ประกาศข่าวและผู้บรรยายกีฬา[67]), พิศณุ นิลกลัด (ผู้ประกาศข่าวและผู้บรรยายกีฬา[59]), อดิสรณ์ พึ่งยา (ผู้ประกาศข่าวและผู้บรรยายกีฬา[67]), สุฐิตา ปัญญายงค์ (ผู้ประกาศข่าว, พิธีกร และนักแสดง[68]), พชร ปัญญายงค์ (ผู้ประกาศข่าวและนักธุรกิจ[68]), วิรพร จิรเวชสุนทรกุล (นักแสดง[69]), สาทิตย์ วงศ์หนองเตย (นักการเมือง[70]), ณัฎฐ์ บรรทัดฐาน (นักการเมือง[71]), กิตติ สิงหาปัด (ผู้ประกาศข่าว), นานา ไรบีนา (ดีเจและนักกีฬาแข่งรถ), โก๊ะตี๋ อารามบอย (นักแสดงและพิธีกร), วรเวช ดานุวงศ์ (นักร้องและนักแสดง), ศักดิ์สิทธิ์ แท่งทอง (นักแสดงและพิธีกร), ศรราม เทพพิทักษ์ (นักร้องและนักแสดง), เปรมณัช สุวรรณานนท์ (นักแสดงและพิธีกร), ณัฐวุฒิ สกิดใจ (นักแสดง), รพีภัทร เอกพันธ์กุล (นักแสดง), ธนเวทย์ สิริวัฒน์ธนกุล (นักแสดง[72]), ธนากร ชินกูล (ดีเจ,นักร้อง,นักแสดงและพิธีกร), นภัทร อินทร์ใจเอื้อ (นักร้องและนักแสดง), จารุวัฒน์ เชี่ยวอร่าม (นักร้องและนักแสดง), พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (นักร้อง), พรชัย เค้าแก้ว (นักกีฬาเซปักตะกร้อทีมชาติไทย), หนึ่งธิดา โสภณ (นักแสดงและนักร้อง), พิพิธพล พุกกะณะสุต (นักร้องนำวงJetset'er), สิรีภรณ์ ยุกตะทัต (นักแสดงและพิธีกร), ภีรนีย์ คงไทย (นักแสดงและนางแบบ), รัชวิน วงศ์วิริยะ (นักแสดง-พิธีกรและดีเจ), ปิยะวัฒน์ เข็มเพชร (พิธีกรและดีเจ), ศุภวัฒน์ พีรานนท์ (นักร้อง), เทิดศักดิ์ ใจมั่น (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), อภิเชษฐ์ พุฒตาล (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), ซารีฟ สายนุ้ย (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), ณัฐพร พันธุ์ฤทธิ์ (นักฟุตบอลทีมชาติไทย), ประกาศิต โบสุวรรณ (นักร้องและนักแสดง), แอนดี้ เขมพิมุก (นักร้อง-นักแสดงและพิธีกร[73]), แมทธิว ดีน (นักแสดงและพิธีกร), พงศ์สิรี บรรลือวงศ์ (นักกีฬาขี่ม้าทีมชาติและนักแสดง), นันทศัย พิศัลยบุตร (นักแสดง), เพ็ญเพ็ชร เพ็ญกุล (นักแสดงและนักร้อง), ณัฏฐพงษ์ ชาติพงษ์ (นักแสดง), สุวินัย อ่อนสอาด (ผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลและนักจัดรายการวิทยุ), ทรงศักดิ์ วรรณวิจิตร (ผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลและนักจัดรายการวิทยุ), ชิตพล ทรัพย์ขำ (ผู้บรรยายกีฬาฟุตบอลและนักจัดรายการวิทยุ), ปองกูล สืบซึ้ง (นักร้อง), ธนภัทร กาวิละ (นักแสดง) ฯลฯ

บุคลากร

เกียรติประวัติ

อังกฤษ ระดับประเทศ

บอลลีก

บอลถ้วย

*ร่วม

ยุโรป ระดับทวีปยุโรป

โลก ระดับโลก

ชนะเลิศสองรายการและสามรายการ

การแข่งขันที่มีช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ชาริตี/คอมมิวนิตีชิลด์ และ ซูเปอร์คัพ จะไม่นับรวมกับแชมป์รายการอื่นๆ[82]

อ้างอิง

  1. "Happy birthday LFC? Not quite yet..." Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 15 March 2014. Liverpool F.C. was born on 3 June 1892. It was at John Houlding's house in Anfield Road that he and his closest friends left from Everton FC, formed a new club.
  2. "Premier League Handbook 2019/20" (PDF). Premier League. สืบค้นเมื่อ 29 July 2019.
  3. "Deloitte Football Money League 2018". Deloitte. 23 January 2018. สืบค้นเมื่อ 23 January 2018.
  4. Ozanian, Mike. "The World's Most Valuable Soccer Teams 2018". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2018-06-12.
  5. "How Liverpool's worldwide fanbase will be tuning into events at Manchester United". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 29 July 2018.
  6. "Historical kits for Liverpool FC". Historical Kits. สืบค้นเมื่อ 2 June 2019.
  7. "Rafael Benitez leaves Liverpool: club statement". The Daily Telegraph. 3 June 2010. สืบค้นเมื่อ 3 June 2010.
  8. "Liverpool appoint Hodgson". Liverpool F.C. 1 July 2010. สืบค้นเมื่อ 11 August 2010.
  9. Gibson, Owen (15 October 2010). "Liverpool FC finally has a new owner after 'win on penalties'". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 November 2010.
  10. "Roy Hodgson exits and Kenny Dalglish takes over". BBC Sport. 8 January 2011. สืบค้นเมื่อ 22 April 2011.
  11. ""หงส์" แม่นลูกโทษ ดับคาร์ดิฟฟ์ซิวลีกคัพ". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 27 กุมภาพันธ์ 2555. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2555. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. Bensch, Bob; Panja, Tariq (16 May 2012). "Liverpool Fires Dalglish After Worst League Finish in 18 Years". Bloomberg.
  13. Mike Ingham (16 May 2012). "Kenny Dalglish sacked as Liverpool manager". BBC. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
  14. ประมวลภาพ "คิงเคนนี" วันแรกถึงวันลา จากผู้จัดการออนไลน์
  15. 20:43 GMT (1 June 2012). "BBC Sport - Liverpool manager Brendan Rodgers to 'fight for his life'". bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 10 June 2012.
  16. "10 เหตุผลที่ ลิเวอร์พูล ควรเป็นแชมป์พรีเมียร์ ลีก (ตอน1)". สนุกดอตคอม. 7 March 2014. สืบค้นเมื่อ 12 May 2014.
  17. "ทอปสตอรี่! ที่สุดของพรีเมียร์ลีกแห่งฤดูกาล 2013-14". เอ็มเอสเอ็น. 19 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  18. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, เรือใบแชมป์'พรีเมียร์ลีก'. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,587: วันจันทร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย
  19. Ornstein, David (12 May 2014). "Liverpool: Premier League near-miss offers hope for the future". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 7 August 2014.
  20. "Goals". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
  21. "Brendan Rodgers: Liverpool boss sacked after Merseyside derby". BBC Sport. 4 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  22. Smith, Ben (8 October 2015). "Liverpool: Jurgen Klopp confirmed as manager on £15m Anfield deal". BBC Sport. BBC. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  23. "Liverpool's foreign managers – as Jurgen Klopp becomes the club's third in its history". Western Daily Press. 9 October 2015. สืบค้นเมื่อ 10 October 2015.
  24. "Liverpool 1–3 Sevilla". BBC. 18 May 2016.
  25. "Premier League: The numbers behind remarkable title battle" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2019-05-12. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.
  26. "Liverpool beat Spurs to become champions of Europe for sixth time". BBC. สืบค้นเมื่อ 1 June 2019.
  27. "Real Madrid 3-1 Liverpool" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-05-26. สืบค้นเมื่อ 2019-05-19.
  28. "Old Liverpool colours". Historical Football Kits. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  29. "Liverpool unveil new stadium". BBC Sport. 17 May 2002. สืบค้นเมื่อ 17 March 2007.
  30. Hornby, Mike (31 July 2004). "Reds stadium gets go-ahead". Liverpool Echo. สืบค้นเมื่อ 12 September 2006.
  31. "Liverpool get go-ahead on stadium". BBC Sport. 8 September 2006. สืบค้นเมื่อ 8 March 2007.
  32. Rice, Simon (6 November 2009). "Manchester United top of the 25 best supported clubs in Europe". The Independent. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  33. "LFC Official Supporters Clubs". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011.
  34. "Asia Tour 2011". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 6 August 2011. [ลิงก์เสีย]
  35. "Anfield giants never walk alone". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). 11 June 2008. สืบค้นเมื่อ 14 November 2008.
  36. George, Ricky (18 March 2008). "Liverpool fans form a club in their price range". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 18 March 2008.
  37. "Liverpool". Fédération Internationale de Football Association (FIFA). สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
  38. ""ทวิตเตอร์" สำรวจ "หงส์" ครองใจแฟนสยามมากสุด". ผู้จัดการออนไลน์. 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
  39. 39.0 39.1 "First Team". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 31 January 2019.
  40. 40.0 40.1 Shaw, Chris (26 October 2018). "Klopp explains players' vote for captaincy roles". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 26 October 2018.
  41. Shaw, Chris (10 August 2015). "Milner on vice-captain honour and Coutinho class". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.
  42. "Henderson appointed Liverpool captain". Liverpool F.C. 10 July 2015. สืบค้นเมื่อ 18 July 2018.
  43. Carroll, James (1 July 2019). "Marko Grujic to remain with Hertha for 2019-20". Liverpool FC. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  44. "เรียน บริวสเตอร์ ย้ายไปสวอนซีแบบยืมตัว". Liverpool F.C. 7 January 2020. สืบค้นเมื่อ 7 January 2020.
  45. "นาธาเนียล ฟิลลิปส์ กลับไปสตุ๊ตการ์ตแบบยืมตัว". Liverpool F.C. 13 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2020.
  46. Carroll, James (8 August 2019). "Ovie Ejaria agrees move to Reading". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 8 August 2019.
  47. Price, Glenn (18 June 2019). "Sheyi Ojo makes Rangers loan switch". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
  48. Carroll, James (30 July 2019). "Ben Woodburn completes Oxford United loan switch". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 30 July 2019.
  49. Williams, Sam (6 August 2019). "Harry Wilson joins Bournemouth on loan". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
  50. Williams, Sam (15 July 2019). "Grabara signs new Liverpool contract and joins Huddersfield on loan". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 15 July 2019.
  51. Shaw, Chris (25 August 2018). "Loris Karius joins Besiktas on two-year loan". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 25 August 2018.
  52. "Taiwo Awoniyi joins Mainz on season-long loan deal". Liverpool F.C. 6 August 2019. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
  53. 53.0 53.1 "Captains for Liverpool FC since 1892". Liverpool F.C. 29 April 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2009. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  54. "Henderson appointed new Liverpool Captain". 10 July 2015. สืบค้นเมื่อ 10 July 2015.
  55. "Steven Gerrard: LA Galaxy confirm deal for Liverpool captain". BBC Sport. 7 January 2015. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  56. 56.00 56.01 56.02 56.03 56.04 56.05 56.06 56.07 56.08 56.09 56.10 "Appearances". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
  57. "Total games played per season by Jamie Carragher". LFC history. สืบค้นเมื่อ 15 February 2008.
  58. "Old Liverpool colours". Historical Football Kits. สืบค้นเมื่อ 2010-02-01.
  59. 59.0 59.1 "แจ๊คกี้ แฟนพันธุ์แท้ ลิเวอร์พูล ปี 2000". แฟนพันธุ์แท้ 2000.
  60. หน้า 19, ย้อนรอย "หงส์" บุก โดย บี บางปะกง. "ตะลุยฟุตบอลโลก". ไทยรัฐปีที่ 66 ฉบับที่ 20991: วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 แรม 12 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม
  61. หน้า 19 ต่อจากหน้า 17 กีฬา, 'ซิโก้'ฮึกเหิมโวนำแข้งไทยเด็ดปีกหงส์. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,015: วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะแม
  62. ""เฮนโด" 2 แอสซิสต์ส่งหงส์ยิง "ทรู" ขาด 4-0". ผู้จัดการออนไลน์. 14 July 2015. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  63. "ผลสำรวจชี้เมืองไทยแฟนบอลลิเวอร์พูลมากสุด". manuclubth.com. 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  64. 64.0 64.1 ""ไทย" ตื่นกระแสแชมป์? "เสื้อหงส์" ขายดิบขายดี". ผู้จัดการออนไลน์. 2 May 2014. สืบค้นเมื่อ 15 July 2015.
  65. "หงส์ตัวพ่อ! สรยุทธขอโทษแมนฯยูเหตุป้ายหยามผี". goal.com. 29 July 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  66. "ธีระ ธัญไพบูลย์ จริงจัง แต่ไม่เครียด โดนใจ MASS". positioningmag.com. 5 June 2009. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  67. 67.0 67.1 "แฟนเกรียนสุดแสบ! ทำภาพแซว แจ็คกี้ วีรศักดิ์ เกมหงส์พ่ายวิลล่า". เอ็มไทยดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  68. 68.0 68.1 "เปิดใจคู่รักแฟนบอลลิเวอร์พูล นิหน่า-แบงค์งัดกลยุทธ์รุ่นแม่ ดูแลสามีจนอยู่หมัด". praew.com. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  69. "คุยเรื่องบอลกับ "มายด์" สาวน้อยหัวใจ "หงส์แดง"". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-10-16.
  70. "Big Picture คิดต่างระหว่างบรรทัด 29 12 59 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 2016-12-26. สืบค้นเมื่อ 2016-12-30.
  71. "คิดเช่น Gen D 02 06 60". ฟ้าวันใหม่. 2017-06-02. สืบค้นเมื่อ 2017-06-03.
  72. "แก็ป ธนเวทย์ ดีใจที่ได้เห็นโกลดอตคอม ไทยอิดิชั่น". โกล์ดอตคอม. 2012-05-19. สืบค้นเมื่อ 2012-05-19.
  73. "คนดังแดงเดือด หงส์ ปะทะ ผี ใคร (จะ) ได้เฮ!". โพสต์ทูเดย์. 2012-09-22. สืบค้นเมื่อ 2012-09-22.
  74. "Michael Owen becomes LFC international ambassador". 21 April 2016.
  75. "Corporate Information". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 3 February 2015.
  76. "Billy Hogan joins Liverpool FC". Liverpool F.C. 24 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2012. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  77. "LFC appoint Ops Director". BBC. 4 October 2013.
  78. "LFC appoint Ops Director". Liverpool F.C. 4 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2013.
  79. "LFC appoints director of communications". Liverpool F.C. 18 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-20.
  80. "LFC appoint new digital media and TV chief". Liverpool F.C. 4 February 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-06.
  81. Pearce, James (2 July 2015). "Liverpool FC's transfer committee – who did what to bring new signings to Anfield". Liverpool Echo.
  82. Rice, Simon (20 May 2010). "Treble treble: The teams that won the treble". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 July 2010.
หมายเหตุ
  1. 1.0 1.1 Doubles won in conjunction with the treble, such as a FA Cup and League Cup double in 2001, are not included in the Doubles section.

แหล่งข้อมูลอื่น