ข้ามไปเนื้อหา

รีบอค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รีบอคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
อุตสาหกรรมเสื้อผ้ากีฬา
อุปกรณ์กีฬา
ก่อตั้งค.ศ. 1895
ผู้ก่อตั้งเจ.ดับเบิลยู. ฟอสเตอร์ และบุตรชาย
สำนักงานใหญ่เคนตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
ผลิตภัณฑ์รองเท้ากีฬา
เสื้อกีฬา
อุปกรณ์กีฬา
เว็บไซต์Reebok.com
ตัวอักษรและตราสัญลักษณ์แบบเก่า
ตัวอักษรและตราสัญลักษณ์แบบปัจจุบัน

รีบอคอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ รีบอค (อังกฤษ: Reebok International Limited; อักษรย่อ: Reebok) บริษัทและตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์กีฬาระดับโลก สัญชาติอังกฤษ

รีบอค ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1895 ที่เมืองโบลตัน ประเทศอังกฤษ โดยนายเจ.ดับเบิลยู. ฟอสเตอร์ และบุตรชาย โดยตั้งชื่อแรกเริ่มว่า เจ.ดับเบิลยู. ฟอสเตอร์ แอนด์ ซันส์ (J.W. Foster and Sons) ต่อมาในปี ค.ศ. 1958 โจและเจฟฟ์ ฟอสเตอร์ หลานชายของผู้ก่อตั้งได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น รีบอค อย่างในปัจจุบัน โดยคำว่า รีบอค นั้นมาจากภาษาแอฟริคานส์มาจาก "รีบอคสีเทา" ซึ่งเป็นสัตว์กีบจำพวกแอนทีโลปชนิดหนึ่ง [1]

ต่อมาในปี ค.ศ. 2005 จึงได้ควบรวมกิจการกับอาดิดาส ผลิตภัณฑ์เครื่องกีฬาอีกยี่ห้อหนึ่งจากประเทศเยอรมนี ในราคา 3,800 ล้านยูโร แต่ทว่าการควบรวมกิจการครั้งนั้นส่งผลทำให้อาดิดาสทำกำไรลดลงเป็นจำนวนมากในปี ค.ศ. 2012 เนื่องจากปัญหาหลายประการ [2] ทางอาดิดาสจึงเร่งทำการปรับปรุงและฟื้นฟูตรายี่ห้อรีบอคขึ้นอีกครั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ฟิตเนส [3]

ในปี ค.ศ. 2014 รีบอคได้เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ใหม่ จากเดิมซึ่งเป็นรูปเส้น 2 เส้นที่พุ่งขนานกันแล้วมีเส้นตัดขวางหนึ่งเส้น ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1986 เป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมหรือเดลต้า ซึ่งเป็นเส้นสีแดงระยะเท่ากัน 3 เส้นประกอบกันเป็นรูป 3 เหลี่ยม มีความหมายถึงผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากความสำเร็จในการออกกำลังกาย โดยสัญลักษณ์นี้เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนมีนาคมปีเดียวกันเป็นต้นไป[4]

สำหรับในประเทศไทย ผู้แทนจำหน่ายของรีบอค คือ บริษัท ไทยท็อปสปอร์ต จำกัด [5]

สปอนเซอร์ว่าจ้าง

[แก้]

ฟุตบอลทีมชาติ

[แก้]

สโมสรฟุตบอล

[แก้]

นักฟุตบอล

[แก้]

มวย

[แก้]

นักร้อง, นักแสดง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Brand History" at ShoeBacca.com (Archive)
  2. ""อาดิดาส" เร่งพลิกสถานการณ์ แก้ปม "รีบอค" ฉุดกำไรร่วง". ประชาชาติธุรกิจ. 13 March 2013. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.
  3. "อาดิดาสพึ่งฟิตเนสกู้ชื่อ'รีบอค'". กรุงเทพธุรกิจ. 2 October 2013. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  4. "รีบอคกับโลโกใหม่ สามเหลี่ยมแห่งการเปลี่ยนแปลง". ฐานเศรษฐกิจ. 18 March 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.
  5. ""รีบอค" ปลื้มไทยติดท็อปทรี ปรับทั่วโลกลุยตลาดฟิตเนส". ผู้จัดการออนไลน์. 20 May 2014. สืบค้นเมื่อ 1 August 2014.[ลิงก์เสีย]
  6. "Reebok agreements with USA professional leagues". Corporate.reebok.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-13. สืบค้นเมื่อ 2011-05-06.
  7. "Lot 491: JEFF FENECH FIGHT WORN TRUNKS". Lelands.com. 2003-12-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-16. สืบค้นเมื่อ 2013-06-06.
  8. "instagram.com/". ghostboxing. 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2014-08-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. หน้า 25, "สี่แยกบันเทิง" โดย แม่ช่อมะไฟ. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21510: วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 1 ปีวอก

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]