อีเอฟแอลคัพ 2024 นัดชิงชนะเลิศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อีเอฟแอลคัพ 2024 นัดชิงชนะเลิศ
สนามกีฬาเวมบลีย์ จะเป็นเจ้าภาพนัดนี้
รายการอีเอฟแอลคัพ ฤดูกาล 2023–24
หลังต่อเวลาพิเศษ
วันที่25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 (2024-02-25)
สนามสนามกีฬาเวมบลีย์, เวมบลีย์
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ (ลิเวอร์พูล)[1]
ผู้ตัดสินคริส คาวานาฟ (แมนเชสเตอร์)[2]
ผู้ชม88,868 คน[3]
2023
2025

อีเอฟแอลคัพ 2024 นัดชิงชนะเลิศ เป็นการแข่งขันฟุตบอลของ อีเอฟแอลคัพ ฤดูกาล 2023–24 ระหว่าง เชลซี และลิเวอร์พูล ที่ สนามกีฬาเวมบลีย์ ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กำหนดแข่งขันในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024[4]

ลิเวอร์พูลชนะการแข่งขัน 1–0 หลังต่อเวลาพิเศษ คว้าแชมป์อีเอฟแอลคัพสมัยที่ 10 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ของทุกทีมฟุตบอลในอังกฤษ[5]

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

เชลซี[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน สกอร์
2 เอเอฟซี วิมเบิลดัน (H) 2–1
3 ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน (H) 1–0
4 แบล็กเบิร์นโรเวอส์ (H) 2-0
QF นิวคาสเซิลยูไนเต็ด (H) 1–1 (4–2 ล.)
SF มิดเดิลส์เบรอ (A) 0–1
มิดเดิลส์เบรอ (H) 6–1
สัญลักษณ์: (H) = เหย้า; (A) = เยือน

ในฐานะหนึ่งสโมสรจากพรีเมียร์ลีกที่ไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับ การแข่งขันยูฟ่า, เชลซีเข้าสู่ถ้วยใบนี้ในรอบสองที่พวกเขาถูกจับสลากเล่นที่บ้านพบกับสโมสรจาก อีเอฟแอลลีกทู เอเอฟซี วิมเบิลดัน. นัดนี้ลงเล่นที่ สแตมฟอร์ดบริดจ์ ในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2023, โดยที่เชลซีชนะ 2–1 ด้วยประตูจาก โนนี มาดูเอเก และ เอนโซ เฟร์นันเดซ โดยฝ่ายหลังทำประตูแรกให้กับสโมสร.[6] ในรอบสาม, พวกเขาถูกจับสลากได้เล่นในบ้านพบกับสโมสรร่วมพรีเมียร์ลีก ไบรตันแอนด์โฮฟอัลเบียน, ลงเล่นที่สแตมฟอร์ดบริดจ์เมื่อวันที่ 27 กันยายน. นัดนี้จบลงด้วยสกอร์ 1–0, โดยได้ประตูเดียวมาจากกองหน้า นิโคลัส แจ็คสัน ในนาทีที่ 50.[7] ในรอบสี่, เชลซีถูกจับสลากเล่นในบ้านพบกับสโมสรจาก อีเอฟแอลแชมเปียนชิป แบล็กเบิร์นโรเวอส์, กับนัดนี้ที่ลงเล่นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน. แมตช์ดังกล่าวทำให้เชลซีเอาชนะแบล็กเบิร์นไปได้อย่างสบายๆ ด้วยสกอร์ 2–0, โดยได้ประตูมาจากทั้ง เบอนัว บาดียาชีล และ ราฮีม สเตอร์ลิง.[8]

ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, เชลซีถูกจับสลากในบ้านเป็นครั้งที่สี่ติดต่อกันพบกับสโมสรในพรีเมียร์ลีกและ คู่ชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2023 นิวคาสเซิลยูไนเต็ด, กับนัดนี้ลงเล่นที่สแตมฟอร์ดบริดจ์ในวันที่ 19 ธันวาคม. ประตูแรกของนิวคาสเซิลจาก คัลลัม วิลสัน ทำให้พวกเขาพยายามรักษาความเป็นผู้นำ, อย่างไรก็ตามความผิดพลาดในการป้องกันจาก คีแรน ทริปเปียร์ ทำให้ได้ประตูตีเสมอในช่วงทดเวลาบาดเจ็บจากตัวสำรองของเชลซี มือคัยลอ มูดรึก ส่งให้แมตช์นี้ไปถึง การยิงจุดโทษ. เชลซีชนะลูกโทษ 4–2 ด้วยอัตราการแปลง 100% โดย โคล พาลเมอร์, คอนอร์ แกลลาเกอร์, คริสโตเฟอร์ อึนคุนคู และมูดรึกก็ทำประตูทั้งหมดให้เดอะบลูส์. วิลสันและ บรูนู กีมาไรส์ เปลี่ยนจุดโทษให้นิวคาสเซิล, โดยทริปเปียร์ยิงพลาดเป้าและ แมตต์ ริตชี ได้รับการเซฟจุดโทษอย่างเด็ดขาดโดย จอร์เจ เปตรอวิช.[9] ในรอบรองชนะเลิศ, ซึ่งจะลงเล่นกันสองเลก, เชลซีจับสลากพบกับสโมสรจากอีเอฟแอลแชมเปียนชิป มิดเดิลส์เบรอ โดยเลกแรกลงเล่นเป็นทีมเยือนที่ สนามกีฬาริเวอร์ไซด์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม ค.ศ. 2024. มิดเดิลส์เบรอทำให้เดอะบลูส์ตกใจ, โดยเอาชนะพวกเขาไปได้ 1–0 ได้ประตูจาก เฮย์เดน แฮ็คนีย์.[10] เลกที่สองจะลงเล่นที่สแตมฟอร์ดบริดจ์เมื่อวันที่ 23 มกราคม, โดยเชลซีชนะ 6–1 (รวมผลสองนัด 6–2) ในแมตช์ที่ต้องชนะสถานเดียว, โดยได้การทำเข้าประตูตัวเองจาก จอนนี ฮาวสัน, ประตูจากเฟอร์นันเดซ, อักเซล ดิซาซี, มาดูเอเก และสองประตูจาก พาลเมอร์ คว้าชัยชนะมาให้กับเชลซี, แม้ว่า มอร์แกน โรเจอร์ส ของมิดเดิ้ลส์เบรอจะได้รับประตูปลอบใจ.[11]

ลิเวอร์พูล[แก้]

รอบ คู่แข่งขัน สกอร์
3 เลสเตอร์ซิตี (H) 3–1
4 บอร์นมัท (A) 2–1
QF เวสต์แฮมยูไนเต็ด (H) 5–1
SF ฟูลัม (H) 2–1
ฟูลัม (A) 1–1
สัญลักษณ์: (H) = เหย้า; (A) = เยือน

ในฐานะหนึ่งสโมสรจากพรีเมียร์ลีกที่มีความเกี่ยวข้องใน ยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2023–24, ลิเวอร์พูลเข้าสู่รอบสามโดยพวกเขาถูกจับสลากได้เล่นในบ้านพบกับสโมสรจาก อีเอฟแอลแชมเปียนชิป เลสเตอร์ซิตี. นัดนี้จะลงเล่นที่ แอนฟีลด์ ในวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 2023, โดยที่ลิเวอร์พูลชนะ 3–1 ด้วยประตูจาก โกดี คักโป, โดมินิก โซโบสลอยี และ ดีโยกู ฌอตา.[12] ในรอบสี่, พวกเขาถูกจับสลากออกไปเยือนพบกับสโมสรร่วมพรีเมียร์ลีก บอร์นมัท, เล่นที่ ดีนคอร์ต เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2023. การแข่งขันจบลงด้วยชัยชนะ 2–1 สำหรับลิเวอร์พูล, โดย โกดี คักโป และ ดาร์วิน นุญเญซ ต่างก็ทำประตูบนสกอร์ชีตได้ทั้งคู่.[13] ในรอบก่อนรองชนะเลิศ, ลิเวอร์พูลถูกจับสลากได้เล่นในบ้านพบกับสโมสรจากพรีเมียร์ลีก เวสต์แฮมยูไนเต็ด, เล่นที่แอนฟีลด์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 2023. ลิเวอร์พูลสร้างผลงานที่โดดเด่นด้วยชัยชนะ 5–1, โดยได้ประตูมาจาก โดมินิก โซโบสลอยี, เคอร์ติส โจนส์, โกดี คักโป และ มุฮัมมัด เศาะลาห์. โจนส์ยิงได้สองครั้ง, ประตูที่สองของเขาคือประตูที่ 500 ของลิเวอร์พูลใน อีเอฟแอลคัพ.[14] ในรอบรองชนะเลิศ, ซึ่งจะลงเล่นกันสองเลก, ลิเวอร์พูลจับสลากพบกับสโมสรจากพรีเมียร์ลีก ฟูลัม กับเลกแรกลงเล่นที่บ้านที่แอนฟีลด์เมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2024. แม้จะตามหลังในครึ่งแรกด้วยประตูจาก วีลียัง, แต่ลิเวอร์พูลก็พลิกกลับมาคว้าชัยชนะ 2–1 หลังจากสองประตูในครึ่งเวลาหลังโดยเคอร์ติส โจนส์ และ โกดี คักโป.[15] เลกที่สองจะลงเล่นที่ เครเวนคอตทิจ ในวันที่ 24 มกราคม, โดยการแข่งขันนัดนี้จบลงด้วยการเสมอกันไป 1–1 หลังจาก อิสซา ดีย็อป ยกเลิกประตูในครึ่งแรกของ ลุยส์ ดิอัซ ส่งผลให้รวมผลสองนัด ลิเวอร์พูลชนะ 3–2 เพื่อผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศอีเอฟแอลคัพเป็นครั้งที่สองในรอบสามฤดูกาล.[16]

เหตุการณ์ก่อนการแข่งขัน[แก้]

นี่เป็นนัดชิงชนะเลิศลีกคัพครั้งที่ 10 ของเชลซี และเป็นนัดชิงชนะเลิศลีกคัพครั้งที่ 14 ของลิเวอร์พูล ซึ่งลิเวอร์พูลเป็นสโมสรที่ได้เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศลีกคัพมากที่สุดในรายการนี้[17] นี่เป็นการพบกันครั้งที่สามของทั้งสองฝ่ายในนัดชิงชนะเลิศ โดยเคยพบกันมาก่อนในปี 2005 และในปี 2022 เชลซีได้รับชัยชนะในปี 2005 และลิเวอร์พูลได้รับชัยชนะในปี 2022[18] เดิมเวลาการแข่งขันจะเริ่มต้นเมื่อเวลา 16:30 น. GMT, แต่ถูกเปลี่ยนเป็น 15:00 น. หลังจากที่การแข่งขันถูกระบุว่า "มีความเสี่ยงสูงด้านความปลอดภัย" โดยตำรวจนครบาล[19]

แมตช์[แก้]

การเลือกผู้เล่น[แก้]

ผู้เล่นตัวจริงของลิเวอร์พูล มุฮัมมัด เศาะลาห์,[20] ดาร์วิน นุญเญซ,[20] โดมินิก โซโบสลอยี,[21] ฌอแอล มาติป, เทรนต์ อเล็กซานเดอร์-อาร์โนลด์ [22] and เคอร์ติส โจนส์[23] ทั้งหมดไม่มีชื่อในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศเนื่องจากอาการบาดเจ็บ เช่นเดียวกับ ดีโยกู ฌอตา,[20] เตียโก อัลกันตารา และ สเตฟาน บัยเชติช[22]

สรุป[แก้]

การแข่งขันเริ่มเมื่อเวลา 15:00 น. ต่อหน้าผู้ชมในสนาม 88,868 คน เชลซีเกือบทำประตูแรกได้ในเวลา 20 นาทีแรก หลังจาก โคล พาลเมอร์ ได้โอกาสยิงในระยะเผาขน แต่ คีวิน เคลลิเฮอร์ ป้องกันเอาไว้ได้ ก่อนที่ นิโคลัส แจ็คสัน จะตามมายิงซ้ำ แต่ก็ถูกขัดขวางโดย วาตารุ เอ็นโด ในนาทีที่ 32 พาลเมอร์ส่งบอลทะลุช่องมาให้แจ็คสัน แล้วส่งบอลข้ามไปให้ ราฮีม สเตอร์ลิง จิ้มบอลเข้าตาข่ายประตู อย่างไรก็ตาม การทำประตูถูกระงับเนื่องจากผู้ช่วยผู้ตัดสินบอกว่าเป็นการล้ำหน้า หลังจากนั้นผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์ได้ทำการตรวจสอบ จึงตัดสินว่าแจ็คสันอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าตอนที่รับบอล ลิเวอร์พูลเข้าใกล้การทำประตูหลังจาก แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน ทำการเปิดบอลข้ามมาให้ โกดี คักโป ได้โหม่งบอลเข้าไป แต่ติดเสาประตู[5]

ในครึ่งหลัง ลิเวอร์พูลทำประตูได้ในนาทีที่ 60 หลังจากฟรีคิก เข้าไปในกรอบเขตโทษของเชลซีโดยรอเบิร์ตสัน ก่อนที่บอลจะเข้าไปหา เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ ให้ได้โหม่งเข้าเสียบมุมประตูของเชลซี อย่างไรก็ตามการทำประตูได้ถูกระงับโดยผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์ หลังจากตัดสินว่าเอ็นโดอยู่ในตำแหน่งลำหน้าขณะที่ขวาง ลีไว โคลวิลล์ กองหลังของเชลซีขณะที่เริ่มเล่น เชลซีเข้าใกล้การทำประตูอีกครั้งในนาทีที่ 76 หลังจากพาลเมอร์เปิดบอลข้ามมาที่กรอบเขตโทษของฝั่งลิเวอร์พูล โดยที่ คอเนอร์ แกลลาเกอร์ พยายามสะบัดบอลเข้าประตูของลิเวอร์พูล อย่างไรก็ตามความพยายามนั้นจบลงด้วยการชนเสา ในช่วงเวลาพิเศษ ฟัน ไดก์ โหม่งบอลมาให้ เจย์เดน แดนน์ส โหม่งเข้าไป แต่ถูก จอร์เจ เปตรอวิช ป้องกันไว้ได้ ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ลิเวอร์พูลทำประตูชัยได้อย่างน่าทึ่งหลังจากเตะมุม โดย กอสตัส ซีมีกัส หาทางเปิดบอลไปให้ ฟัน ไดก์ ที่โหม่งบอลผ่านเปตรอวิชและเข้าไปที่ตาข่าย ลิเวอร์พูลได้รับชัยชนะด้วยผล 1-0 หลังจากต่อเวลาพิเศษ ได้คว้าแชมป์อีเอฟแอลคัพ สมัยที่ 10 เป็นครั้งที่สองในสามฤดูกาล[24]

รายละเอียดการแข่งขัน[แก้]

เชลซี
ลิเวอร์พูล
GK 28 เซอร์เบีย จอร์เจ เปตรอวิช
RB 27 ฝรั่งเศส มาโล กุสโต
CB 2 ฝรั่งเศส อักเซล ดิซาซี
CB 26 อังกฤษ ลีไว โคลวิลล์
LB 21 อังกฤษ เบน ชิลเวลล์ (กัปตัน) โดนใบเหลือง ใน 45+3 นาที 45+3' Substituted off in the 113 นาที 113'
CM 25 เอกวาดอร์ มอยเซส ไกเซโด
CM 8 อาร์เจนตินา เอนโซ เฟร์นันเดซ
RW 20 อังกฤษ โคล พาลเมอร์ โดนใบเหลือง ใน 120+2 นาที 120+2'
AM 23 อังกฤษ คอเนอร์ แกลลาเกอร์ Substituted off in the 97 นาที 97'
LW 7 อังกฤษ ราฮีม สเตอร์ลิง Substituted off in the 67 นาที 67'
CF 15 เซเนกัล นิโคลัส แจ็คสัน Substituted off in the 90 นาที 90'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 1 สเปน โรเบร์ต ซันเชซ
GK 13 อังกฤษ มาร์คัส เบตติเนลลี
DF 14 อังกฤษ เทรโวห์ ชาโลบาห์ Substituted on in the 113 minute 113'
DF 42 อังกฤษ อัลฟี กิลคริสต์
MF 49 ฟินแลนด์ จิมี ตาอูรีไอเนิน
MF 56 อังกฤษ บิลลี จี
FW 10 ยูเครน มือคัยลอ มูดรึก Substituted on in the 90 minute 90'
FW 11 อังกฤษ โนนี มาดูเอเก Substituted on in the 97 minute 97'
FW 18 ฝรั่งเศส คริสโตเฟอร์ เอ็นคุนคู Substituted on in the 67 minute 67'
ผู้จัดการทีม:
อาร์เจนตินา เมาริซิโอ โปเชติโน
GK 62 สาธารณรัฐไอร์แลนด์ คีวีน เคลลิเฮอร์
RB 84 ไอร์แลนด์เหนือ คอเนอร์ แบรดลีย์ โดนใบเหลือง ใน 45+3 นาที 45+3' Substituted off in the 72 นาที 72'
CB 5 ฝรั่งเศส อีบราอีมา โกนาเต โดนใบเหลือง ใน 82 นาที 82' Substituted off in the 106 นาที 106'
CB 4 เนเธอร์แลนด์ เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ (กัปตัน)
LB 26 สกอตแลนด์ แอนดรูว์ รอเบิร์ตสัน Substituted off in the 87 นาที 87'
CM 10 อาร์เจนตินา อาเลกซิส มัก อาลิสเตร์ โดนใบเหลือง ใน 81 นาที 81' Substituted off in the 87 นาที 87'
CM 3 ญี่ปุ่น วาตารุ เอ็นโด
CM 38 เนเธอร์แลนด์ ไรอัน กราเฟินแบร์ค Substituted off in the 28 นาที 28'
RW 19 อังกฤษ ฮาร์วีย์ เอลเลียต
CF 18 เนเธอร์แลนด์ โกดี คักโป Substituted off in the 87 นาที 87'
LW 7 โคลอมเบีย ลุยส์ ดิอัซ
ผู้เล่นสำรอง:
GK 13 สเปน อาเดรียน
DF 2 อังกฤษ โจ โกเมซ โดนใบเหลือง ใน 120+3 นาที 120+3' Substituted on in the 28 minute 28'
DF 21 กรีซ กอสตัส ซีมีกัส Substituted on in the 87 minute 87'
DF 78 อังกฤษ จาเรลล์ ควอนซาห์ Substituted on in the 106 minute 106'
MF 53 อังกฤษ เจมส์ แมคคอนเนลล์ โดนใบเหลือง ใน 107 นาที 107' Substituted on in the 87 minute 87'
MF 67 เวลส์ ลูวิส คูมัส
MF 98 อังกฤษ เทรย์ เอ็นโยนี
FW 42 อังกฤษ บ็อบบี คลาร์ก Substituted on in the 72 minute 72'
FW 76 อังกฤษ เจย์เดน แดนน์ส Substituted on in the 87 minute 87'
ผู้จัดการทีม:
เยอรมนี เยือร์เกิน คล็อพ

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
เฟอร์จิล ฟัน ไดก์ (ลิเวอร์พูล)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:[2]
Mark Scholes
James Mainwaring
ผู้ตัดสินที่สี่:[2]
Tim Robinson
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:[2]
Wade Smith
ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:[2]
John Brooks
ผู้ช่วยผู้ตัดสินจากการใช้วิดีโอช่วยตัดสิน:[2]
Marc Perry

กฏ-กติกา[25]

  • 90 นาที
  • 30 นาทีของ ต่อเวลาพิเศษ ในกรณีที่จำเป็น
  • ดวลลูกโทษ ถ้าผลการแข่งขันยังคงเท่ากัน
  • มีรายชื่อผู้เล่นสำรองได้ถึง 9 คน
  • เปลี่ยนตัวผู้เล่นได้สูงสุดถึง 5 คน, กับการเปลี่ยนตัวคนที่หกได้รับอนุญาตในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 1]

สถิติ[แก้]

ภาพรวม[26]
สถิติ เชลซี ลิเวอร์พูล
จำนวนยิงทั้งหมด 19 24
ยิงเข้ากรอบ 9 11
การครองบอล 46% 54%
เตะมุม 6 5
ล้ำหน้า 3 2
ฟาวล์ 14 21
ใบเหลือง 2 5
ใบแดง 0 0

หมายเหตุ[แก้]

  1. แต่ละทีมมีโอกาสเปลี่ยนตัวได้เพียง 3 ครั้ง, กับโอกาสที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ, ไม่นับรวมในช่วงการเปลี่ยนตัวผู้เล่นที่ช่วงพักครึ่งเวลาแรก, ก่อนจะเริ่มของช่วงการต่อเวลาพิเศษและช่วงพักครึ่งแรกในการต่อเวลาพิเศษ.

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Liverpool 1–0 Chelsea: Van Dijk brings home the League Cup!". This is Anfield. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Referee appointments: Carabao Cup Final 2024". EFL.com. English Football League. 14 February 2024. สืบค้นเมื่อ 20 February 2024.
  3. 3.0 3.1 "EFL Cup final: Chelsea 0–1 Liverpool – Van Dijk heads extra-time winner". BBC Sport. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  4. Brennan, Feargal (10 January 2024). "When is the 2024 Carabao Cup final? Date, time of League Cup title match at Wembley Stadium | Sporting News United Kingdom". The Sporting News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  5. 5.0 5.1 "Chelsea 0–1 Liverpool (aet) - Virgil van Dijk extra-time winner gives Reds Wembley glory". BBC Sport. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  6. Howell, Alex (30 August 2023). "Chelsea survive scare to beat AFC Wimbledon". BBC Sport.
  7. "Chelsea 1-0 Brighton: Nicolas Jackson fires Blues into fourth round of Carabao Cup". Sky Sports. 28 September 2023.
  8. "Chelsea cruise past Blackburn in Carabao Cup". ESPN. 1 November 2023.
  9. "Chelsea 1–1 Newcastle United (4-2 on pens)". BBC Sport. 19 December 2023.
  10. "Middlesbrough shock Chelsea in Carabao Cup semifinal first leg". ESPN. 9 January 2024.
  11. "6-2): Blues blow away Boro to reach Carabao Cup final". BBC Sport. 23 January 2024.
  12. "Dominik Szoboszlai scores stunner in Liverpool win". BBC Sport. 27 September 2023.
  13. Jackson, Bobbie (1 November 2023). "Darwin Nunez continues fine form to send Reds into last eight". BBC Sport.
  14. Stone, Simon (20 December 2023). "Jurgen Klopp's side reach Carabao Cup last four". BBC Sport.
  15. Rose, Gary (10 January 2024). "Cody Gakpo hits winner as Reds fight back to win EFL Cup semi-final first leg". BBC Sport.
  16. Begley, Emlyn (24 January 2024). "Luis Diaz goal sends Reds to Carabao Cup final". BBC Sport.
  17. "Chelsea see off Tottenham to set up Carabao Cup final against Arsenal or Liverpool". Metro. 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 14 January 2022.
  18. "Chelsea v Liverpool: 18 stats to know about the Carabao Cup final". Liverpool F.C. 23 February 2024. สืบค้นเมื่อ 23 February 2024.
  19. "Carabao Cup: Chelsea v Liverpool final to kick off at 3pm on police advice". BBC Sport. 29 January 2024. สืบค้นเมื่อ 29 January 2024.
  20. 20.0 20.1 20.2 "Chelsea 0–1 Liverpool". BBC Sport. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "“BBCSPORTINJURY”" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  21. "Mohamed Salah and Darwin Nunez left out of Liverpool's Carabao Cup final squad". 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  22. 22.0 22.1 "Liverpool injuries: Every player out of Carabao Cup final vs Chelsea". 90min. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  23. "'Injury problems have reached crisis proportions'". BBC Sport. 21 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  24. "Liverpool win Carabao Cup as Van Dijk's extra-time header sinks Chelsea". The Guardian. 25 February 2024. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.
  25. "Regulations". EFL.com. English Football League. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 January 2022. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
  26. Dominski, Michael; Mathews, Max (25 February 2024). "Chelsea vs Liverpool live updates: Van Dijk extra-time goal wins Carabao Cup final". The Athletic. สืบค้นเมื่อ 25 February 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]