ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2023

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2023
สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค ในอิสตันบูล จะเป็นสนามแข่งขันในนัดนี้
รายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2022–23
วันที่10 มิถุนายน ค.ศ. 2023 (2023-06-10)
สนามสนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค, อิสตันบูล
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
โรดริ (แมนเชสเตอร์ซิตี)[1]
ผู้ตัดสินชือมอน มาร์ชีญัก (โปแลนด์)[2]
ผู้ชม71,412 คน[3]
สภาพอากาศกลางคืนสดใส
21 °C (70 °F)
54% ความชื้นสัมพัทธ์[4]
2022
2024

ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2023 จะเป็นนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2022–23 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ 68 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรประดับสูงสุด และเป็นฤดูกาลที่ 31 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ เป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยจะแข่งขันที่สนามกีฬาโอลิมปิกอาทาทืร์ค ในอิสตันบูล ประเทศตุรกี ในวันที่ 10 มิถุนายน ค.ศ. 2023[5]

เดิมนัดชิงชนะเลิศมีกำหนดการแข่งขันที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยการย้ายสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ ในปี ค.ศ. 2020 เนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19 ในทวีปยุโรป ทำให้กำหนดการเป็นเจ้าภาพนัดชิงชนะเลิศในครั้งต่อไปถูกเลื่อนไปหนึ่งปี ทำให้อัลลีอันทซ์อาเรนา ในมิวนิก ได้รับมอบหมายให้เป็นสนามแข่งขันนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2023[6] แต่เมื่อนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2021 ที่มีกำหนดการที่จะลงเล่นในอิสตันบูลได้ย้ายสนามแข่งขันออกไปเนื่องด้วยการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศตุรกี นัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2023 จึงย้ายไปลงเล่นในอิสตันบลูแทน ขณะที่ ในปัจจุบันได้มีกำหนดการแข่งขันที่มิวนิก ในปี ค.ศ. 2025[7]

ทีมชนะเลิศจะผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24 โดยอัตโนมัติ รวมทั้ง จะได้รับสิทธิ์ในการแข่งขันกับทีมชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2022–23 ในยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2023 นอกจากนี้ จะได้รับสิทธิ์ลงเล่นฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2023

ทีม[แก้]

ทีม การเข้าร่วมครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาหมายถึงทีมชนะเลิศ)
อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 1 (2021)
อิตาลี อินเตอร์มิลาน 5 (1964, 1965, 1967, 1972, 2010)

เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ[แก้]

หมายเหตุ: ในผลการแข่งขันทั้งหมดด้านล่างนี้ ผลของทีมที่ได้เข้าชิงชนะเลิศจะขึ้นต้นก่อน (H: เหย้า; A: เยือน)

อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี รอบ อิตาลี อินเตอร์มิลาน
คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่งขัน ผลการแข่งขัน
สเปน เซบิยา 4–0 (A) นัดที่ 1 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 0–2 (H)
เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 2–1 (H) นัดที่ 2 เช็กเกีย วิกตอเรียเปิลเซน 2–0 (A)
เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน 5–0 (H) นัดที่ 3 สเปน บาร์เซโลนา 1–0 (H)
เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน 0–0 (A) นัดที่ 4 สเปน บาร์เซโลนา 3–3 (A)
เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 0–0 (A) นัดที่ 5 เช็กเกีย วิกตอเรียเปิลเซน 4–0 (H)
สเปน เซบิยา 3–1 (H) นัดที่ 6 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 0–2 (A)
ชนะเลิศ กลุ่ม จี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 อังกฤษ แมนเชสเตอร์ซิตี 6 14
2 เยอรมนี โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ 6 9
3 สเปน เซบิยา 6 5
4 เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน 6 3
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
ตารางคะแนน รองชนะเลิศ กลุ่ม ซี
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1 เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 6 18
2 อิตาลี อินเตอร์มิลาน 6 10
3 สเปน บาร์เซโลนา 6 7
4 เช็กเกีย วิกตอเรียเปิลเซน 6 0
แหล่งที่มา : ยูฟ่า
คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง รอบแพ้คัดออก คู่แข่งขัน ผล นัดแรก นัดที่สอง
เยอรมนี แอร์เบ ไลพ์ซิช 8–1 1–1 (A) 7–0 (H) รอบ 16 ทีมสุดท้าย โปรตุเกส โปร์ตู 1–0 1–0 (H) 0–0 (A)
เยอรมนี ไบเอิร์นมิวนิก 4–1 3–0 (H) 1–1 (A) รอบก่อนรองชนะเลิศ โปรตุเกส ไบฟีกา 5–3 2–0 (A) 3–3 (H)
สเปน เรอัลมาดริด 5–1 1–1 (A) 4–0 (H) รอบรองชนะเลิศ อิตาลี มิลาน 3–0 2–0 (A) 1–0 (H)

นัด[แก้]

รายละเอียด[แก้]

ทีม "เจ้าบ้าน" จะได้รับการกำหนดขึ้น โดยการจับสลากเพิ่มเติมหลังจากเสร็จสิ้นการจับสลากรอบก่อนรองชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ เพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดการ

แมนเชสเตอร์ซิตี[4]
อินเตอร์มิลาน[4]
GK 31 บราซิล แอแดร์ซง โดนใบเหลือง ใน 90+4 นาที 90+4'
CB 25 สวิตเซอร์แลนด์ มานูเอ็ล อาคันจี
CB 3 โปรตุเกส รูแบน ดียัช
CB 6 เนเธอร์แลนด์ นาตัน อาเก
CM 5 อังกฤษ จอห์น สโตนส์ Substituted off in the 82 นาที 82'
CM 16 สเปน โรดริ
RW 20 โปรตุเกส บือร์นาร์ดู ซิลวา
AM 17 เบลเยียม เกฟิน เดอ เบรยเนอ Substituted off in the 36 นาที 36'
AM 8 เยอรมนี อิลไค กึนโดอัน (กัปตัน)
LW 10 อังกฤษ แจ็ก กรีลิช
CF 9 นอร์เวย์ อาลิง โฮลัน โดนใบเหลือง ใน 90+2 นาที 90+2'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 18 เยอรมนี ชเต็ฟฟัน ออร์เทกา
GK 33 อังกฤษ สกอตต์ คาร์สัน
DF 2 อังกฤษ ไคล์ วอล์กเกอร์ Substituted on in the 82 minute 82'
DF 14 สเปน แอมริก ลาปอร์ต
DF 21 สเปน เซร์ฆิโอ โกเมซ
DF 82 อังกฤษ ริโค ลูวิส
MF 4 อังกฤษ แคลวิน ฟิลลิปส์
MF 32 อาร์เจนตินา มักซีโม แปร์โรเน
MF 47 อังกฤษ ฟิล โฟเดน Substituted on in the 36 minute 36'
MF 80 อังกฤษ โคล พาลเมอร์
FW 19 อาร์เจนตินา ฆูเลียน อัลบาเรซ
FW 26 แอลจีเรีย ริยาฎ มะห์รัซ
ผู้จัดการทีม:
สเปน เปป กวาร์ดีโอลา
GK 24 แคเมอรูน อ็องเดร โอนานา โดนใบเหลือง ใน 90+2 นาที 90+2'
CB 36 อิตาลี มัตเตโอ ดาร์มีอัน Substituted off in the 84 นาที 84'
CB 15 อิตาลี ฟรันเชสโก อาแซร์บี
CB 95 อิตาลี อาเลสซันโดร บัสโตนี Substituted off in the 76 นาที 76'
RM 2 เนเธอร์แลนด์ แด็นเซิล ดัมฟรีส Substituted off in the 76 นาที 76'
CM 23 อิตาลี นีโกเลาะ บาเรลลา โดนใบเหลือง ใน 59 นาที 59'
CM 77 โครเอเชีย มาร์ตเซลอ บรอซอวิช (กัปตัน)
CM 20 ตุรกี ฮาคัน ชัลฮาโนลู Substituted off in the 84 นาที 84'
LM 32 อิตาลี เฟเดริโก ดิมาร์โก
CF 10 อาร์เจนตินา เลาตาโร มาร์ติเนซ
CF 9 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เอดิน เจกอ Substituted off in the 57 นาที 57'
ผู้เล่นสำรอง:
GK 1 สโลวีเนีย ซามีร์ คันดานอวิช
GK 21 อิตาลี อเล็กซ์ คอร์ดาซ
DF 6 เนเธอร์แลนด์ สเตฟัน เดอ ไฟร
DF 12 อิตาลี เราอุล เบลลาโนวา Substituted on in the 76 minute 76'
DF 33 อิตาลี ดานีลู ดี'อัมโบรซิโอ Substituted on in the 84 minute 84'
DF 37 สโลวาเกีย มิลัน ชกริเญียร์
MF 5 อิตาลี โรแบร์โต กาเกลียร์ดินี
MF 8 เยอรมนี โรบิน โกเซินส์ Substituted on in the 76 minute 76'
MF 14 แอลเบเนีย กริสต์จาน อัสลานี
MF 22 อาร์มีเนีย แฮนริค มะคีทาเรียน Substituted on in the 84 minute 84'
FW 11 อาร์เจนตินา โฆอากิน กอร์เรอา
FW 90 เบลเยียม โรเมลู ลูกากู โดนใบเหลือง ใน 83 นาที 83' Substituted on in the 57 minute 57'
ผู้จัดการทีม:
อิตาลี ซีโมเน อินซากี

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
โรดริ (แมนเชสเตอร์ซิตี)[1]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ปาแวว ซอกอลญิตสกี (โปแลนด์)
ตอมัช ลิสต์กีแยวิตช์ (โปแลนด์)
ผู้ตัดสินที่สี่:
อิชต์วาน โกวาช (โรมาเนีย)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:[2]
วาซีเล มารีเนสกู (โรมาเนีย)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:
ตอมัช กเฟียตกอฟสกี (โปแลนด์)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์:
บาร์ตอสซ์ ฟรันคอฟสกี (โปแลนด์)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์ด้านการล้ำหน้า:
มาร์โค ฟริทซ์ (เยอรมนี)

กฎการแข่งขัน[8]

  • แข่งขันในเวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษ 30 นาที หากเสมอกันในเวลาปกติ
  • ดวลลูกโทษตัดสิน หากเสมอกันหลังต่อเวลาพิเศษ
  • ส่งรายชื่อตัวสำรองได้เจ็ดคน
  • อนุญาตให้เปลี่ยนตัวได้สูงสุดห้าคน และจะอนุญาตให้เปลี่ยนตัวเพิ่มขึ้นเป็นหกคนเมื่อต่อเวลาพิเศษ[note 1]

ดูเพิ่ม[แก้]

บันทึก[แก้]

  1. แต่ละทีมจะมีสิทธิ์ในการเปลี่ยนตัวสามครั้ง และจะได้สิทธิ์ครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ สิทธิ์ดังกล่าวจะไม่นับรวมหากการเปลี่ยนตัวเกิดขึ้นในช่วงพักครึ่งเวลา ช่วงก่อนเริ่มการต่อเวลา และช่วงพักครึ่งเวลาในการต่อเวลา

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Every UEFA Champions League Player of the Match". UEFA. 10 June 2023. สืบค้นเมื่อ 10 June 2023.
  2. 2.0 2.1 "Referee teams appointed for 2023 UEFA club competition finals". UEFA. 22 May 2023. สืบค้นเมื่อ 22 May 2023.
  3. 3.0 3.1 "Full Time Report Final – Manchester City v Inter Milan" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 10 June 2023. สืบค้นเมื่อ 10 June 2023.
  4. 4.0 4.1 4.2 "Tactical Line-ups – Final – Saturday 10 June 2023" (PDF). UEFA. 10 June 2023. สืบค้นเมื่อ 10 June 2023.
  5. "International match calendar and access list for 2022/23". UEFA Circular Letter. No. 51/2021. Union of European Football Associations. 19 July 2021. สืบค้นเมื่อ 5 November 2021.
  6. "UEFA competitions to resume in August". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
  7. "Venues appointed for club competition finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 16 July 2021. สืบค้นเมื่อ 20 July 2021.
  8. "Regulations of the UEFA Champions League, 2022/23 Season". UEFA.com. Union of European Football Associations. 2022. สืบค้นเมื่อ 30 April 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]