สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด
ฉายาเดอะเบลด, พ่อมดแดงขาว[1]
ดาบคู่ (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้ง22 มีนาคม 1889; 134 ปีก่อน (1889-03-22)
สนามบรามอลล์เลน
Ground ความจุ32,609
เจ้าของเควิน แมคเคบบ์ (50%)
Prince Abdullah bin Musa'ad bin Abdulaziz Al Saud (50%)
ผู้จัดการคริส วิลเดอร์
ลีกอีเอฟเอลแชมเปียนชิป
2022–23อันดับที่ 2 จาก 24 (เลื่อนชั้น)
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด (อังกฤษ: Sheffield United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพของอังกฤษ ตั้งอยู่ในเมืองเชฟฟีลด์ เซาท์ยอร์กเชียร์ ปัจจุบันเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ

พวกเขาเป็นสโมสรแรกที่ใช้ชื่อต่อท้ายว่า "ยูไนเต็ด" และฉายาดาบคู่ (The Blades) ของพวกเขาก็มาจากการที่เมืองของเขามีอุตสาหกรรมเหล็กกล้าที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก[1] สนามเหย้าของพวกเขาคือ บรามอลล์เลน ซึ่งเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังใช้อยู่

สโมสรเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดประสบความสำเร็จในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1897 ถึง 1902 โดยได้แชมป์ลีกในปี ค.ศ. 1898 และคว้าแชมป์เอฟเอคัพในปี ค.ศ. 1899 และ 1902 และอีกครั้งใน ค.ศ. 1915 และ 1925 พวกเขายังเคยเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศอีกสองครั้งใน ค.ศ. 1901 และ 1936 เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกสี่ครั้งใน ค.ศ. 1961, 1993, 1998 และปี 2003 นอกจากนี้ในถ้วยลีกคัพ ผลงานที่ดีที่สุดของพวกเขาก็คือการเข้าถึงรอบรองชนะเลิศใน ค.ศ. 2003 อีกเช่นเดียวกัน

ผลงานในช่วงที่ผ่านมา ทีมดาบคู่ สามารถเลื่อนชั้นมาเล่นพรีเมียร์ลีกได้ใน ค.ศ. 2006 แต่อยู่ได้แค่ปีเดียวก็ตกชั้นไปอีกครั้ง พวกเขาสามารถเข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นได้ใน ค.ศ. 2009 แต่จากความไว้วางใจในตัวผู้เล่นที่ยืมมาประกอบกับการขายดาวดังไป ทำให้ทีมต้องตกชั้นไปสู่ลีกวันในฤดูกาล 2011–2012

ประวัติ[แก้]

United conceding the third goal in the 1901 FA Cup Final against Tottenham Hotspur in Bolton

สโมสรเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม ค.ศ.1889 ที่โรงแรมอเดลฟี ในเมืองเชฟฟีลด์ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงภาพยนตร์ครูซิเบิ้ล Crucible Theatre) โดยผู้ก่อตั้งคือ เซอร์ ชาร์ลส์ เคร็ก ประธานสโมสรคริกเก็ต เชฟฟีลด์ เว้นส์เดย์ ซึ่งเคยใช้สนามบรามอลล์ เลนมาก่อน ก่อนจะย้ายไปที่โอลีฟ โกรฟ ท่านเซอร์จึงต้องหาทีมใหม่มาเช่าสนามแทน ซึ่งก็คือเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดนี่เอง

ไม่ต้องสงสัยเลยว่ายุคที่รุ่งเรืองที่สุดของเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดอยู่ในช่วง 40 ปีแรกของสโมสร ระหว่างปี 1895-1935 เมื่อพวกเขาในแชมป์ลีกสูงสุดในฤดูกาล 1897-98 รองแชมป์ในปี 1896-97 และ 1899-1900 ชนะเลิศเอฟเอ คัพ ปี 1899, 1902 ,1915 และ 1925 รองชนะเลิศปี 1901 และปี 1936 จากปี 1925 เป็นต้นมา พวกเขาก็ไม่เคยสัมผัสถ้วยแชมป์อีกเลย หลังจากนั้นพวกเขาก็มักจะขึ้นชั้น ตกชั้น สลับกันไป พวกเขาเคยเข้าถึงรอบรองชนะเลิศบอลถ้วยในประเทศทั้งสองถ้วยและยังได้เตะเพลย์ออฟเลื่อนชั้นในเดอะ แชมเปี้ยนชิพอีกในฤดูกาล 2002-03 แต่ก็พลาดทั้งหมด

ช่วงเวลาที่มืดมนที่สุดอยู่ในช่วงปี 1975 ถึง 1981 จากที่จบอันดับ 6 ดิวิชัน 1 ในฤดูกาล 1974-75 ปีต่อมาพวกเขากลับตกชั้นสู่ดิวิชัน 2 และอีก 3 ปีก็ตกชั้นอีกสู่ดิวิชัน 3 เท่านั้นยังไม่พอในปี 1981 พวกเขาก็ตกชั้นสู่ดิวิชัน 4 (ซึ่งเทียบเท่า ลีก ทูในปัจจุบัน) แต่อยู่ได้แค่ปีเดียวพวกเขาก็กลับสู่ดิวิชัน 3 และ แค่ 2 ปีก็เลื่อนชั้นกลับสู่ดิวิชัน 2 อีกครั้ง

พวกเขาตกชั้นสู่ดิวิชัน 3 อีกครั้งในปี 1988 แต่หลังจากได้ผู้จัดการทีมคนใหม่คือ เดฟ บาสเซตต์ เขาก็ทำให้เชฟฟีลด์ยูไนเต็ด กลับสู่ยุคที่ถือว่าประสบความสำเร็จอีกครั้ง เมื่อใช้เวลาแค่ 2 ปีนำเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดคืนสู่ ลีกสูงสุดอีกครั้งในปี 1990 หลังจาก 14 ปีที่ตกชั้นไป คราวนี้พวกเขาอยู่ได้ถึง 4 ฤดูกาล (เป็นหนึ่งในทีมที่อยู่ในยุคก่อตั้งพรีเมียร์ ลีก) และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศเอฟเอ คัพในฤดูกาล 1992-93 ก่อนตกชั้นไปในปี 1994

พวกเขาไม่ได้อยู่ในลีกสูงสุดถึงอีก 12 ปี โดยในช่วงเวลาเหล่านั้นพวกเขาเกือบที่จะได้เลื่อนชั้นมาอยู่หลายครั้งเช่น เข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นในปี 1997 ซึ่งคุมโดย โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ผู้รับตำแหน่งต่อจากเดฟ บาสเซตต์ อีกครั้งในปี 1998 โดยผู้จัดการทีมชั่วคราว สตีฟ ทอมป์สัน ปีถัดมาพวกเขาได้นีล วอร์น็อกเข้ามาคุม แต่กลับสู่สภาวะที่ยากลำบากอีกครั้งเมื่อจบอันดับเกือบท้ายตารางและสถานการณ์ทางการเงินที่เข้าขั้นวิกฤตจึงไม่สามารถที่จะหาผู้เล่นมาเสริมทีมได้ตามที่ต้องการ เมื่อถึงฤดูกาล 2002-03 ก็เป็นอีกฤดูกาลที่น่าจดจำของสโมสรเมื่อเข้ารอบรองชนะเลิศฟุตบอลถ้วยภายในประเทศทั้งสองรายการ และได้เพลย์ออฟ เลื่อนชั้น แต่ก็น่าเสียดาย ที่พลาดทั้งหมด โดยรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้น แพ้ วูล์ฟแฮมป์ตันไป 3-0 อย่างไรก็ตาม นีล วอร์น็อกก็สามารถนำทีมเลื่อนชั้นได้สำเร็จในปี 2006 เมื่อพาทีมจบตำแหน่งรองชนะเลิศในลีกแชมเปี้ยนชิพ แต่อยู่ได้ปีเดียวก็ต้องตกชั้นไป ท่ามกลางการโต้เถียงที่รุนแรงกับ คาร์ลอส เตเบซ (ถ้าจำกันได้ ปีนั้นแมทช์สุดท้าย คาร์ลอส เตเบซ เป็นคนยิงให้เวสต์แฮมบุกไปเอาชนะแมน ยูไนเต็ดถึงถิ่น ซึ่งก่อนแข่งเวสต์แฮมมีแต้มเท่ากับเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดแต่ลูกได้เสีย เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดดีกว่า ทำให้เวสต์แฮม รอดตกชั้น ส่วนเชฟฟีลด์ยูไนเต็ด ตกชั้น) หลังจากนั้นเขาก็ลาออก

พวกเขาประสบกับช่วงเวลาที่ยากลำบากอีกครั้งในเดอะ แชมเปี้ยนชิพ ด้วยค่าเหนื่อยที่ไม่เหมาะสมกับระดับฝีเท้าของนักเตะประกอบกับช่วงเวลาที่ประสบความสำเร็จสั้นเกินไป ในปี 2009 เควิน แบล็กเวลล์ พาทีมเข้าถึงรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้นอีกครั้ง แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ทีมเข้าสู่ยุคมืดมนอีกครั้ง ฤดูกาล 2010-11 ถือเป็นหายนะอย่างแท้จริง เมื่อพวกเขาเปลี่ยนผู้จัดการทีมไปถึง 3 คน สุดท้ายก็ต้องตกชั้น ซึ่งคุมโดยมิกกี้ อดัมส์ นั่นหมายความว่าพวกเขาต้องตกชั้นสู่ลีกวันเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี และเพียง 5 ปีเท่านั้นหลังจากที่อยู่ในพรีเมียร์ลีก

สนาม[แก้]

อัฒจันทร์จอห์นสตรีต ที่สนามบรามอลล์ เลน

สโมสรเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดเล่นที่สนามบรามอลล์ เลน ใกล้กับใจกลางเมืองเชฟฟีลด์ สนามบรามอลล์ เลนเป็นสนามฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังใช้เตะอยู่ในปัจจุบัน โดยเกมแรกต้องย้อนไปถึงปี ค.ศ. 1862[2] โดยเป็นการพบกันระหว่างทีมฮัลลัมกับทีมเชฟฟีลด์ คลับ และยังเป็นสนามแรกในโลกที่มีการเปิดไฟในสนามเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1878 โดยทีมที่มาเตะนั้นถูกเลือกโดยสมาคมฟุตบอลเมืองเชฟฟีลด์เอง โดยไฟนั้นได้มาจากเครื่องปั่นไฟ 2 ตัว มีผู้ชมประมาณ 20,000 คน ผลการแข่งขัน 2-0 ตอนแรกสนามแห่งนี้ถูกใช้เป็นสนามคริกเก็ตโดยแมทช์แรกที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการพบกันระหว่างทีมยอร์กเชียร์กับทีมซัสเซ็กส์ในปี 1855 สโมสรคริกเก็ตของเมืองได้เกิดในปี ค.ศ. 1854 โดยใช้ชื่อว่า สโมสรคริกเก็ต เชฟฟีลด์ยูไนเต็ดและสนามบรามอลล์ เลนถูกเช่าโดยสโมสรจากดยุคแห่งนอร์ฟอล์ค สนามได้เปิดการแข่งขันคริกเก็ตเมื่อวันที่ 30 เมษายน 1855 สโมสรคริกเก็ต ยอร์กเชียร์ เคาน์ตี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นที่สนามแห่งนี้ และใช้สนามจนถึงแมทช์สุดท้ายเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ค.ศ. 1973 โดยพบกับคู่อริเก่า แลงคาเชียร์ สนามแห่งนี้ได้รับการต่อเติมเพิ่มที่นั่งอีก 3,000 ที่นั่ง ในปี 2006 บริเวณมุมของสนาม[3] ทำให้สนามมีที่นั่งเพิ่มเป็น 32,609 ที่นั่ง[4] ในปี ค.ศ. 2009 สโมสรได้อนุญาตให้มีการต่อเติมสนามอีกครั้ง โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง ช่วงแรกจะขยายสนามฝั่งเดอะ คอปออกไป ซึ่งจะทำให้สนามมีความจุประมาณ 37,000 ที่นั่ง และจะเอาสแตนด์ฝั่งหลักออกจากนั้นจะติดตั้งจอยักษ์เข้าไปที่หลังคา ในช่วงสอง สแตนด์ฝั่งวาลัด (แสตนด์ฝั่งอาโนลด์ ลาเวอร์เก่า) จะถูกต่อเติมทำให้มีความจุประมาณ 40,000 ที่นั่ง โดยเป้าหมายรองของการต่อเติมคราวนี้ก็เพื่อการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของอังกฤษในปี 2018 หรือ 2022 ซึ่งเมืองเชฟฟีลด์ถูกเลือกเป็นหนึ่งในเมืองที่จะใช้จัดการแข่งขัน อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 2009 สมาคมฟุตบอลของอังกฤษได้เลือกสนามฮิลส์โบโร่ ของเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ แทนหากอังกฤษได้เป็นเจ้าภาพ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เทรเวอร์ เบิร์ช ประธานบริหารของเชฟฟีลด์ยูไนเต็ดต้องพักโครงการนี้ไว้ชั่วคราว จนกว่าสโมสรจะกลับสู่พรีเมียร์ ลีกอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หลังจากการตกชั้นในปี 2011 ดูเหมือนว่าโครงการนี้จะยิ่งเป็นไปไม่ได้ไปกันใหญ่

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เวลส์ แอดัม เดวิส
2 DF กรีซ จอร์จ บัลด็อก
3 DF อังกฤษ แม็กซ์ โลว์
4 MF สกอตแลนด์ John Fleck
5 DF สหรัฐ Auston Trusty
6 DF อังกฤษ Chris Basham
7 FW อังกฤษ Rhian Brewster
8 MF เนเธอร์แลนด์ Gustavo Hamer
9 FW สกอตแลนด์ Oli McBurnie
10 FW อังกฤษ คาเมรอน อาร์เชอร์
11 FW โกตดิวัวร์ Bénie Traoré
12 DF สาธารณรัฐไอร์แลนด์ John Egan (กัปตันทีม)
15 DF บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา Anel Ahmedhodžić
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
16 MF ไอร์แลนด์เหนือ ออลิเวอร์ นอร์วุด
17 MF มาลี Ismaila Coulibaly
18 GK อังกฤษ Wes Foderingham
19 DF อังกฤษ Jack Robinson
20 DF อังกฤษ Jayden Bogle
22 MF อังกฤษ ทอม เดวีส์
23 MF อังกฤษ Ben Osborn
29 MF เซเนกัล Iliman Ndiaye
33 DF เวลส์ Rhys Norrington-Davies
34 DF อังกฤษ Kyron Gordon
36 FW อังกฤษ Daniel Jebbison
37 GK เยอรมนี Jordan Amissah
39 DF อังกฤษ Sai Sachdev

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Sheffield United Football Club". Sheffield City Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-16. สืบค้นเมื่อ 12 October 2011.
  2. "A brief history". Sheffield United official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-13. สืบค้นเมื่อ 2008-10-07.
  3. "2000 seat corner stand, completed September 2006". wcec.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2013. สืบค้นเมื่อ 3 December 2006.
  4. "Bramall Lane Sheffield United, Info & Map | Premier League". The Premier League. สืบค้นเมื่อ 21 May 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]