ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024
สนามกีฬาเวมบลีย์ในลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศ | |||||||
รายการ | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
| |||||||
วันที่ | 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024 | ||||||
สนาม | สนามกีฬาเวมบลีย์, ลอนดอน | ||||||
ผู้เล่นยอดเยี่ยม ประจำนัด | ดานิ การ์บาฆัล (เรอัลมาดริด)[1] | ||||||
ผู้ตัดสิน | สลัฟคอ วินชิช (สโลวีเนีย)[2] | ||||||
สภาพอากาศ | มีเมฆ 18 °C (64 °F) 54% ความชื้นสัมพัทธ์[3] | ||||||
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024 จะเป็นนัดชิงชนะเลิศของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2023–24 ซึ่งเป็นฤดูกาลที่ 69 ของการแข่งขันฟุตบอลสโมสรยุโรประดับสูงสุด และเป็นฤดูกาลที่ 32 นับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อจากยูโรเปียนแชมเปียนคลับส์คัพ เป็นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โดยจะแข่งขันที่สนามกีฬาเวมบลีย์ ใน ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ. 2024.[4] เนื่องจากการเลื่อนและการย้ายสถานที่ของนัดชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2020 เจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศจึงถูกเลื่อนย้อนกลับไปหนึ่งปี โดยที่ลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศปี ค.ศ. 2024 แทน[5]
ผู้ชนะจะได้รับสิทธิ์ในการเล่นกับผู้ชนะของยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2023–24 ในการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2024 รวมทั้งผ่านเข้ารอบฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2025 โดยใช้โควต้าของผู้ชนะยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก[6] ทีมรองชนะเลิศจะได้รับการเพิ่มค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า ซึ่งหมายความว่าขึ้นอยู่กับทีมที่จะผ่านเข้ารอบโดยใช้โควต้าทีมที่อันดับดีที่สุดใน 4 ปีของยูฟ่า ซึ่งยังมีอีก 3 ทีมที่ต้องรอตัดสินอันดับ[6]
ทีม
[แก้]ทีม | การเข้าร่วมครั้งที่ผ่านมา (ตัวหนาหมายถึงทีมชนะเลิศ) |
---|---|
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | 2 (1997, 2013) |
เรอัลมาดริด | 17 (1956, 1957, 1958, 1959, 1960, 1962, 1964, 1966, 1981, 1998, 2000, 2002, 2014, 2016, 2017, 2018, 2022) |
สนามแข่งขัน
[แก้]นี่เป็นครั้งที่สามของนัดชิงชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกที่จะจัดขึ้นที่สนามกีฬาเวมบลีย์ที่สร้างใหม่ โดยก่อนหน้านี้เคยจัดขึ้นในปี 2011 และ 2013 โดยรวมแล้วนี่เป็นครั้งที่แปดที่จัดขึ้นในลอนดอน โดยอีกห้านัดก่อนหน้านี้จัดขึ้นที่สนามกีฬาเวมบลีย์เดิม ในปี1963, 1968, 1971, 1978 และ 1992 นัดนี้จะเป็นนัดชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปครั้งที่เก้าที่จัดขึ้นในอังกฤษ โดย นัดชิงชนะเลิศ 2003 จัดขึ้นที่โอลด์แทรฟฟอร์ดในแมนเชสเตอร์ เท่ากับสถิตินัดชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปเก้าครั้งที่จัดขึ้นใน อิตาลี, เยอรมนี และสเปน นอกจากนี้ยังเป็นครั้งที่สิบสามที่จัดขึ้นในสหราชอาณาจักร โดยนัดชิงชนะเลิศในปี 1960, 1976, 2002 จัดขึ้นที่สกอตแลนด์ และนัดชิงชนะเลิศ 2017 จัดขึ้นที่เวลส์[7] สนามกีฬาเวมบลีย์ยังเคยเป็นสนามกีฬาที่การจัดแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 โดยมีแปดนัดที่ได้เล่นในสนามกีฬาเวมบลีย์ รวมถึงรอบรองชนะเลิศและนัดชิงชนะเลิศ
การคัดเลือกเจ้าภาพ
[แก้]กระบวนการประมูลเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2019 โดยยูฟ่า เพื่อคัดเลือกสนามแข่งขันที่ใช้จัดยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022 และ 2023[8] สมาคมมีเวลาจนถึง 22 มีนาคม 2019 ในการแสดงความสนใจ และต้องส่งเอกสารการประมูลภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2019[9]
มีรายงานว่า สมาคมฟุตบอล ได้ยื่นข้อเสนอให้สนามกีฬาเวมบลีย์ในลอนดอนเป็นสนามเจ้าภาพจัดแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ 2023 เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบหนึ่งร้อยปีการเปิดใช้สนามเดิมในปี 1923[9] เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2019 สนามกีฬาเวมบลีย์ถูกคัดเลือกโดยคณะกรรมการบริหารยูฟ่า ระหว่างการประชุมในลูบลิยานา,สโลวีเนีย[10] โดยที่มีการเลือกสนามเจ้าภาพสำหรับจัดการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2021 และ 2022 อีกด้วย[11]
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2020 คณะกรรมการบริหารยูฟ่าได้ประกาศว่าเนื่องจากการเลื่อนและการย้ายของ นัดชิงชนะเลิศ 2020, ลอนดอนจะเป็นเจ้าภาพในนัดชิงชนะเลิศ 2024 แทน[5]
เส้นทางสู่นัดชิงชนะเลิศ
[แก้]หมายเหตุ: ในผลการแข่งขันทั้งหมดด้านล่างนี้ ผลของทีมที่ได้เข้าชิงชนะเลิศจะขึ้นต้นก่อน (H: เหย้า; A: เยือน)
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ | รอบ | เรอัลมาดริด | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
คู่แข่งขัน | ผลการแข่งขัน | รอบแบ่งกลุ่ม | คู่แข่งขัน | ผลการแข่งขัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | 0–2 (A) | นัดที่ 1 | อูนีโอนแบร์ลีน | 1–0 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มิลาน | 0–0 (H) | นัดที่ 2 | นาโปลี | 3–2 (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | 1–0 (A) | นัดที่ 3 | บรากา | 2–1 (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | 2–0 (H) | นัดที่ 4 | บรากา | 3–0 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มิลาน | 3–1 (A) | นัดที่ 5 | นาโปลี | 4–2 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | 1–1 (H) | นัดที่ 6 | อูนีโอนแบร์ลีน | 3–2 (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนะเลิศ กลุ่ม เอฟ
แหล่งที่มา : ยูฟ่า |
ตารางคะแนน | ชนะเลิศ กลุ่ม ซี
แหล่งที่มา : ยูฟ่า | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่แข่งขัน | ผล | นัดแรก | นัดที่สอง | รอบแพ้คัดออก | คู่แข่งขัน | ผล | นัดแรก | นัดที่สอง | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เปเอสเฟ ไอนด์โฮเฟิน | 3–1 | 1–1 (A) | 2–0 (H) | รอบ 16 ทีมสุดท้าย | แอร์เบ ไลพ์ซิช | 2–1 | 1–0 (A) | 1–1 (H) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อัตเลติโกเดมาดริด | 5–4 | 1–2 (A) | 4–2 (H) | รอบก่อนรองชนะเลิศ | แมนเชสเตอร์ซิตี | 4–4 (ดวลลูกโทษ 4–3) |
3–3 (H) | 1–1 (ต่อเวลา) (A) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ปารีแซ็ง-แฌร์แม็ง | 2–0 | 1–0 (H) | 1–0 (A) | รอบรองชนะเลิศ | ไบเอิร์นมิวนิก | 4–3 | 2–2 (A) | 2–1 (H) |
ก่อนการแข่งขัน
[แก้]อัตลักษณ์
[แก้]อัตลักษณ์ทางภาพของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024 ได้รับการเปิดเผยในการจับสลากรอบแบ่งกลุ่มที่โมนาโก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2023.[12]
ผู้ตัดสิน
[แก้]เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2024, ผู้ตัดสินชาวสโลวีเนีย สลัฟคอ วินชิช ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลรอบชิงชนะเลิศโดยยูฟ่า, พร้อมด้วยเพื่อนร่วมชาติสโลวีเนีย: ตอมาช คลันช์นิก และ อันดราช คอวาชิช ในฐานะ ผู้ช่วยผู้ตัดสิน และ เนจ์ค คัจตาซอวิช ในฐานะ ผู้ช่วยผู้ตัดสินใช้วีดิทัศน์.[2] เจ้าหน้าที่สามคนแรกเคยทำหน้าที่ด้วยกันก่อนหน้านี้ใน ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2022.[13] พวกเขาจะเข้าร่วมโดยเพื่อนร่วมชาติ ราเด ออเบรนอวิช ในตำแหน่งผู้ช่วย วีเออาร์, โดยชาวฝรั่งเศส ฟร็องซัวส์ เลอแตซิเยร์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตัดสินที่สี่.[2]
พิธีเปิดการแข่งขัน
[แก้]เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 2024, นักร้องชาวอเมริกัน เลนนี แครวิตซ์ ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้แสดงเปิดหัวในพิธีเปิดการแข่งขัน.[14]
การแข่งขัน
[แก้]รายละเอียด
[แก้]ทีม "เจ้าบ้าน" (สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดการ) จะถูกกำหนดขึ้นโดยการจับสลากเกิดขึ้นหลังจากเสร็จสิ้นการจับสลากรอบก่อนรองชนะเลิศ และรอบรองชนะเลิศ
โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์[3]
|
เรอัลมาดริด[3]
|
ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
|
กฎการแข่งขัน |
สถิติ
[แก้]
|
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]- ยูฟ่ายูโรปาลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024
- ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024
- ยูฟ่าวิเมนส์แชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024
- ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 2024
- ฟุตบอลอินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ 2024
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2025
บันทึก
[แก้]- ↑ แต่ละทีมจะมีสิทธิ์ในการเปลี่ยนตัวสามครั้ง และจะได้สิทธิ์ครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ สิทธิ์ดังกล่าวจะไม่นับรวมหากการเปลี่ยนตัวเกิดขึ้นในช่วงพักครึ่งเวลา ช่วงก่อนเริ่มการต่อเวลา และช่วงพักครึ่งเวลาในการต่อเวลา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Match summary
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 "Referee teams for 2024 UEFA club competition finals announced". UEFA. 13 May 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 May 2024. สืบค้นเมื่อ 13 May 2024.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Tactical Line-ups – Final – Saturday 1 June 2024" (PDF). UEFA. 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.
- ↑ "International match calendar and access list for the 2023/24 season". UEFA Circular Letter. No. 65/2022. Union of European Football Associations. 26 September 2022. สืบค้นเมื่อ 27 September 2022.
- ↑ 5.0 5.1 "UEFA competitions to resume in August". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2020. สืบค้นเมื่อ 17 June 2020.
- ↑ 6.0 6.1 "FIFA Council confirms key details for FIFA Club World Cup 2025". www.fifa.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-20.
- ↑ "UEFA Champions League Statistics Handbook 2013/14: Finals" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 2014. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
- ↑ "9 associations bidding to host 2021 club finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 22 February 2019. สืบค้นเมื่อ 14 September 2019.
- ↑ 9.0 9.1 "London Mayor backs bid to host 2023 Champions League final at Wembley". Reuters. 31 July 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-19. สืบค้นเมื่อ 14 September 2019.
- ↑ "Champions League final hosts announced for 2021, 2022 and 2023". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 September 2019. สืบค้นเมื่อ 24 September 2019.
- ↑ "UEFA Executive Committee agenda for Ljubljana meeting". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 September 2019. สืบค้นเมื่อ 17 September 2019.
- ↑ UEFA.com (2023-08-31). "Brand identity unveiled for the 2024 UEFA Champions League final in London | Inside UEFA". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-08-31.
- ↑ "Referee teams appointed for 2022 UEFA club competition finals". UEFA.com. Union of European Football Associations. 11 May 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 May 2022. สืบค้นเมื่อ 14 May 2024.
- ↑ "Lenny Kravitz to headline UEFA Champions League Final Kick Off Show by Pepsi". UEFA.com. 17 May 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
- ↑ "Full Time Report Final – Borussia Dortmund v Real Madrid" (PDF). UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 "Team statistics" (PDF). UEFA. 1 June 2024. สืบค้นเมื่อ 1 June 2024.