เอฟเอพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1994–95

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอฟเอพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1994–95
วันที่20 สิงหาคม 1994 - 10 พฤษภาคม 1995
ทีมชนะเลิศแบล็กเบิร์นโรเวอส์
แชมป์พรีเมียร์ลีกสมัยที่ 1
แชมป์ลีกสูงสุด สมัยที่ 3
ตกชั้น
ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกแบล็กเบิร์นโรเวอส์
จำนวนนัด462
จำนวนประตู1,195 (2.59 ประตูต่อนัด)
ชนะติดต่อกัน
มากที่สุด
7 นัด[1]
จำนวนผู้ชมสูงสุด43,868 คน[2]
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด - เชฟฟีลด์เวนส์เดย์ (7 พฤษภาคม 1995)
จำนวนผู้ชมต่ำสุด5,268 คน[2]
วิมเบิลดัน - แมนเชสเตอร์ซิตี (21 มีนาคม 1995)

เอฟเอพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1994–95 (รู้จักกันในชื่อ เอฟเอ คาร์ลิ่ง พรีเมียร์ชิพ ด้วยเหตุผลด้านการสนับสนุน) เป็นฤดูกาลที่สามของพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลอาชีพในอังกฤษ

ภาพรวม[แก้]

การซื้อขาย[แก้]

ก่อนเริ่มฤดูกาลสถิติการซื้อขายของอังกฤษถูกทำลายเมื่อแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ภายใต้การนำของมหาเศรษฐีแจ็ก วอล์กเกอร์ จ่ายเงิน 5 ล้านปอนด์สำหรับค่าตัวของคริส ซัตตัน กองหน้าของนอริชซิตี วัย 21 ปี แต่สถิตินั้นถูกทำลายอีกครั้งในเดือนมกราคมเมื่อแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดจ่ายเงิน 6 ล้านปอนด์สำหรับค่าตัวของแอนดี้ โคลกองหน้าของนิวคาสเซิลยูไนเต็ด ในข้อตกลงที่คีธ กิลเลสพีซึ่งมีค่าตัว 1 ล้านปอนด์ย้ายสลับไปนิวคาสเซิล

การซื้อขายที่สำคัญอื่น ๆ ก่อนและระหว่างฤดูกาล 1994-95 ได้แก่ วินนี่ แซมเวย์ส (ทอตนัมฮอตสเปอร์ ไปเอฟเวอร์ตัน, 2 ล้านปอนด์), เดวิด โรคาสเซิล (แมนเชสเตอร์ซิตี ไป เชลซี, 1.25 ล้านปอนด์), เยือร์เกิน คลินส์มันน์ (โมนาโกไปทอตนัมฮอตสเปอร์, 2 ล้านปอนด์), จอห์น สเกลส์ (วิมเบิลดันไปลิเวอร์พูล 3 ล้านปอนด์) และพอล คิตสัน (ดาร์บีเคาน์ตีไปนิวคาสเซิลยูไนเต็ด 2.2 ล้านปอนด์)

สรุป[แก้]

แชมป์ตกเป็นของแบล็กเบิร์นโรเวอส์ ซึ่งแชมป์ล่าสุดของพวกเขาคือในปี ค.ศ. 1914 และเป็นแชมป์รายการใหญ่ครั้งแรกในรอบ 67 ปี (ครั้งล่าสุดคือเอฟเอคัพ ฤดูกาล 1927–28)[3] ทีมของเคนนี ดัลกลิชคว้าแชมป์ในวันสุดท้ายของฤดูกาล แม้จะพ่ายให้กับสโมสรเก่าอย่างลิเวอร์พูล 1-2 ที่แอนฟีลด์ ขณะที่คู่แข่งอย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดทำได้เพียงเสมอกับเวสต์แฮม ยูไนเต็ด 1-1 ที่บุลินกราวนด์[4] นี่หมายความว่าแบล็กเบิร์นโรเวอส์ผ่านเข้าไปแข่งฟุตบอลยูโรเปียนคัพเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของพวกเขา ขณะที่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดซึ่งจบด้วยตำแหน่งรองแชมป์เข้าไปแข่งยูฟ่าคัพโดยห่างกันเพียงแต้มเดียว

นอกจากนี้ทีมที่ผ่านเข้ารอบคัดเลือกยูฟ่าคัพ ยังมี นอตทิงแฮมฟอเรสต์ (ซึ่งจบอันดับสามในฤดูกาลแรกหลังจากกลับสู่พรีเมียร์ลีก), ลิเวอร์พูล (จบอันดับสี่และคว้าแชมป์ลีกคัพสมัยที่ห้า) และอันดับห้าคือลีดส์ยูไนเต็ด

จำนวนทีมในลีกสำหรับฤดูกาลถัดไปจะลดลงเหลือ 20 ทีม ซึ่งทำได้โดยการเพิ่มจำนวนทีมตกชั้นเป็นสี่ทีม และลดจำนวนทีมที่เลื่อนชั้นจากดิวิชัน 1 เหลือสองทีม

อ้างอิง[แก้]

  1. "English Premier League 1994–95". statto.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 19 February 2015.
  2. 2.0 2.1 "Premier League 1994/1995 – Attendances". สืบค้นเมื่อ 21 April 2015.
  3. "Blackburn Rovers winning the Premier League might never be surpassed". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.
  4. "Liverpool 2 Blackburn 1". LFC History. สืบค้นเมื่อ 30 November 2017.