ทากูมิ มินามิโนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทากูมิ มินามิโนะ
มินามิโนะกับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในปี 2018
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ทากูมิ มินามิโนะ[1]
วันเกิด (1995-01-16) 16 มกราคม ค.ศ. 1995 (29 ปี)}[2]
สถานที่เกิด อิซูมิซาโนะ ญี่ปุ่น
ส่วนสูง 1.72 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว)[3]
ตำแหน่ง ปีก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
มอนาโก
หมายเลข 18
สโมสรเยาวชน
2007–2012 เซเรซโซ โอซากะ
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2012–2014 เซเรซโซ โอซากะ 62 (7)
2015–2019 เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค 129 (41)
2020–2022 ลิเวอร์พูล 55 (14)
2021เซาแทมป์ตัน (ยืม) 10 (2)
2022– มอนาโก 32 (6)
ทีมชาติ
2011 ญี่ปุ่น อายุไม่เกิน 17 ปี 4 (1)
2012 ญี่ปุ่น อายุไม่เกิน 20 ปี 8 (5)
2016 ญี่ปุ่น อายุไม่เกิน 23 ปี 3 (1)
2015– ญี่ปุ่น 54 (20)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น
ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2022
‡ ข้อมูลการลงเล่นและประตูให้แก่ทีมชาติล่าสุด
ณ วันที่ 1 มกราคม 2024

ทากูมิ มินามิโนะ (ญี่ปุ่น: 南野 拓実โรมาจิMinamino Takumi) เป็นนักฟุตบอลชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันเล่นในตำแหน่งกองกลางตัวรุกหรือปีกให้แก่มอนาโก สโมสรในลีกเอิง และทีมชาติญี่ปุ่น

มินามิโนะเริ่มต้นอาชีพกับเซเรซโซ โอซากะ ในเจลีก ดิวิชัน 1 เมื่อ ค.ศ. 2012 โดยในฤดูกาลแรก เขาได้รับรางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมแห่งปีของเจลีก ต่อมาใน ค.ศ. 2014 เขาย้ายไปเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในออสเตรีย ซึ่งเขาอยู่กับสโมสรถึง 4 ฤดูกาล ผลงานของเขากับเร็ดบุลทำให้เขาได้ย้ายไปลิเวอร์พูลเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2020 เขาช่วยให้สโมสรชนะเลิศพรีเมียร์ลีกในฤดูกาลแรก และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ในฤดูกาลที่สองของเขากับสโมสร ในปี ค.ศ. 2022 เขาถูกยืมตัวไปเซาแทมป์ตัน ก่อนย้ายร่วมทีม มอนาโก ในเดือนกรกฎาคม

เขาลงเล่นให้กับทีมชาติญี่ปุ่นชุดใหญ่มาตั้งแต่ ค.ศ. 2015 และเป็นส่วนหนึ่งของทีมชาติชุดที่เข้าสู่ชิงชนะเลิศในเอเชียนคัพ 2019

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

มินามิโนะเกิดที่อิซูมิซาโนะในจังหวัดโอซากะ[4] ขณะศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา เขาได้เล่นให้กับทีมฟุตบอลท้องถิ่นชื่อ เซสเซล คุมาโทริ[5][6] เมื่อเขาเติบโตขึ้น เขาได้รับแรงบันดาลใจด้านการจบสกอร์และการเลี้ยงลูกบอลจากโรนัลโด นักฟุตบอลชาวบราซิลในตำแหน่งกองหน้าที่เป็นผู้ทำประตูสูงสุดในฟุตบอลโลก 2002 โดยในตอนนั้น มินามิโนะมีอายุเพียง 7 ปี[5] เขาได้รับชมวิดีโอการเล่นของโรนัลโดและออกไปฝึกหัดข้างนอก เขายังได้รับแรงบัลดาลใจจากพี่ชายชื่อเคนตะ บิดาของเขาวางกรวยจราจรในลานจอดรถเพื่อทดสอบการเลี้ยงลูกบอลและความเร็วของเขา[5] มินามิโนะได้เข้าศึกษาระดับมัธยมที่โรงเรียนโอซากะ-โกโกกุ[7] เขาเรียกตัวเองว่าเป็น "เด็กที่กระฉับกระเฉง"[8]

สโมสรอาชีพ[แก้]

เซเรซโซ โอซากะ[แก้]

มินามิโนะเข้าร่วมทีมเยาวชนของเซเรซโซ โอซากะ ในวัย 12 ปี[5] โดยในช่วงที่เล่นให้กับทีมเยาวชนนั้น เขาได้มีโอกาสฝึกซ้อมร่วมกับชินจิ คางาวะ ซึ่งเป็นผู้เล่นในทีมชุดใหญ่[5] มินามิโนะกล่าวถึงทีมเยาวชนเมื่อปี 2014 ว่า "ทีมเยาวชนเซเรซโซเปรียบเสมือนผู้ฝึกสอนทางกายของทีมชั้นนำ แต่ผมกลับเป็นผู้ฝึกสอนทางกายของผม มันฟังดูหนักแน่นแปลก ๆ จริงไหม"[9]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2009 มินามิโนะเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลสโมสรเยาวชนญี่ปุ่นรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี เขามีส่วนช่วยให้ทีมจบอันดับที่ 8 หลังจากตกรอบก่อนรองชนะเลิศ[10] อย่างไรก็ตาม เขากลับกลายเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในรายการนั้นที่ 8 ประตู[11] ปีถัดมา มินามิโนะช่วยให้ทีมรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ชนะเลิศปรินซ์ลีกคันไซ โดนเขาทำแฮตทริกช่วยให้ทีมเอาชนะทีมโรงเรียนมัธยมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนครโคเบะ 5–0 เมื่อวันที่ 11 เมษายน ค.ศ. 2010[12] ใน ค.ศ. 2011 เขาเลื่อนขึ้นไปเล่นให้กับทีมรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี โดยได้เข้าร่วมแข่งขันในซอกเกอร์พรีเมียร์ลีกทากามาโดมิยะคัพ เจเอฟเอ รุ่นอายุไม่เกิน U-18[13] เขาทำ 9 ประตู ซึ่งมากเป็นอันดับที่สี่ในรายการนั้น[14] มินามิโนะยังช่วยให้ทีมเข้าชิงชนะเลิศเจยูธคัพ ซึ่งสุดท้ายแล้วพวกเขาพ่ายแพ้ต่อนาโงยะแกรมปัส 3–1 อย่างไรก็ตาม เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดของรายการที่ 13 ประตู[15]

หลังจากสองปีกับทีมเยาวชน มินามิโนะได้ลงทะเบียนกับทีมชุดใหญ่ของเซเรซโซในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2012[16] ต่อมาในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เขาได้ลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชุดใหญ่ โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองแทนที่ทากูมะ เอดามูระ ในนัดที่พ่ายแพ้โอมิยะ อาร์ดิจา 3–1[17] มินามิโนะได้ลงเล่นเป็นตัวจริงนัดแรกและลงเล่นครบ 90 นาทีในนัดที่เสมอกับคาวาซากิ ฟรอนตาเล 2–2 ในนัดปิดฤดูกาล[18] วันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 2012 เขาทำประตูแรกให้กับสโมสร ช่วยให้เอาชนะชิมิซุ เอส-พัลส์ 4–0 ในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระจักรพรรดิ รอบที่ 4[19] จบฤดูกาล 2012 มินามิโนะลงเล่น 5 นัดและยิงหนึ่งประตูจากทุกรายการ

เขากลายเป็นตัวผู้เล่นของทีมชุดใหญ่อย่างเต็มตัวใน ค.ศ. 2013 โดยได้รับเสื้อหมายเลข 13 สำหรับฤดูกาลนี้[20] มินามิโนะเป็นผู้เล่นคนแรกจากระบบเยาวชนของสโมสรที่ได้ลงเล่นในนัดเปิดฤดูกาล ซึ่งเซเรซโซเอาชนะอัลบิเร็กซ์ นีงาตะ ไปได้ 1–0[21] หลังจากนั้น สัญญาของเขากับสโมสรได้กลายเป็นสัญญาอาชีพ เพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนนัดที่เขาสามารถลงเล่นได้ต่อฤดูกาล[22] มินามิโนะทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมตลอดเดือนมีนาคม เขาทำสองแอสซิสต์ในเกมลีกสองนัดและทำประตูแรกของฤดูกาลในฟุตบอลชิงถ้วยจักรพรรดินัดที่เอาชนะโออิตะทรินิตา 2–1[23] มินามิโนะทำเพิ่มอีกสองประตูในรายการถ้วยจักรพรรดิ ก่อนที่จะตกรอบก่อนรองชนะเลิศหลังพ่ายแพ้อูราวะ เรดไดมอนส์ ซึ่งเขาทำประตูในเลกที่สองของรอบนี้[24] หกวันหลังจากตกรอบ เขาทำประตูแรกในเจลีก ดิวิชัน 1 ในนัดที่เสมอกับ 2–2 จูบิโล อิวาตะ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 ทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นอายุน้อยที่สุดที่ทำประตูให้กับสโมสร[25] สามสัปดาห์ถัดมา วันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 2013 มินามิโนะทำประตูในนัดกระชับมิตรที่พบกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด โดยเขายิงไกลในระยะ 20 หลา จนอันเนอส์ ลินเนอกา ไม่มีโอกาสได้เซฟลูกยิงของเขา[26] หลังจบนัดนั้น ผลงานของเขาได้รับการชื่นชมจากทั้งผู้เล่นและเดวิด มอยส์ ผู้จัดการทีมของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[27] อย่างไรก็ตาม ในนัดที่พบกับชิมิซุ เอส-พัลส์ วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 2013 เอ็นเข่าซ้ายของเขาได้รับบาดเจ็บ ทำให้เขาต้องพักรักษาตัวถึงหกสัปดาห์[28] วันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2013 มินามิโนะกลับมาลงเล่นอีกครั้งในฐานะตัวสำรอง ช่วยให้ทีมเอาชนะจูบิโล อิวาตะ 2–0[29] นัดถัดมา เขาทำประตูช่วยให้เอาชนะโออิตะทรินิตา 2–0[30] และเขาได้ทำเพิ่มอีกสามประตูก่อนจบฤดูกาล 2013 ซึ่งรวมถึงประตูที่เขายิงใส่อูราวะ เรดไดมอนส์ ในนัดปิดฤดูกาล[31] จบฤดูกาล 2013 เขาลงเล่น 38 นัดและทำ 8 ประตูจากทุกรายการ เขาได้รับรางวัลผู้เล่นหน้าใหม่ยอดเยี่ยมของเจลีกประจำปี 2013[32] และได้ขยายสัญญากับสโมสรออกไป[33]

ในช่วงเริ่มฤดูกาล 2014 มินามิโนะลงเล่นในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกครั้งแรกในการเสมอกับโปฮัง สตีลเลอร์ส 1–1[34] สามสัปดาห์ถัดมา วันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2014 เขาทำประตูแรกในเอเอฟซีแชมเปียนส์ลีก ช่วยให้เอาชนะบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 4–0[35] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 16 เมษายน ค.ศ. 2014 เขาทำฟาล์วจนได้รับใบแดงโดยตรงและถูกไล่ออกจากสนามในนาทีที่ 41 ในนัดที่พ่ายแพ้โปฮัง สตีลเลอร์ส 2–0[36] วันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 มินามิโนะกลับมาทำประตูในรอบสี่เดือน ช่วยให้เอาชนะเวอร์เตียนมิเอะ 4–2 ในรอบที่สองของถ้วยจักรพรรดิ[37] อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 เขาได้รับใบแดงและถูกไล่ออกจากสนามอีกครั้งในนัดที่แพ้คาวาซากิ ฟรอนตาเล 3–1[38] หลังจบนัดนั้น เขาได้โพสต์คำขอโทษบนทวิตเตอร์ถึงการกระทำครั้งนั้น[39] ต่อมาในนัดที่เสมอกับเวนต์ฟอเร็ตโกฟุ 0–0 เขาถูกวิพากย์วิจารณ์ในกรณีที่เขาพยายามลงไปเล่นเกมรับ ทั้ง ๆ ที่ตำแหน่งจริงคือปีกซ้าย ทำให้เขาต้องออกมาขอโทษผ่านทางทวิตเตอร์อีกครั้ง[40] หนึ่งเดือนถัดมา วันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2014 เขาทำประตูแรกในลีกในนัดที่แพ้คาวาซากิ ฟรอนตาเล 5–4[41] และทำประตูที่สองในลีกในนัดที่แพ้วิสเซล โคเบะ 2–1 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 2014[42] เขาทำประตูอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม ถึง 3 กันยายน ค.ศ. 2014 โดยเขาทำประตูใส่คาวาซากิ ฟรอนตาเล ทั้งสองเลกของเจลีกคัพ และทำประตูใส่จูบิโล อิวาตะ ในถ้วยจักรพรรดิ[43] อย่างไรก็ตาม ฤดูกาลที่สองและฤดูกาลสุดท้ายของเขากับสโมสรกลับกลายเป็นฤดูกาลที่ไม่ดีนัก เมื่อสุดท้ายแล้วสโมสรต้องตกชั้นจากลีกสูงสุดไป[44] หลังจบฤดูกาล 2014 เขาลงเล่น 42 นัดและทำ 8 ประตูจากทุกรายการ

เขาลงเล่นในเจลีก ดิวิชัน 1 ให้กับเซเรซโซ โอซากะ รวมทุกฤดูกาล 62 และยิงได้ 7 ประตู จากผลงาน ทำให้เขามีข่าวว่าจะย้ายออกจากสโมสรหลังจากที่ได้รับความสนใจจากสโมสรยุโรปหลายแห่ง[45]

เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค[แก้]

มินามิโนะเล่นให้กับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คใน ค.ศ. 2015

เร็ดบุลซัลทซ์บวร์คได้ติดตามผลงานของมินามิโนะมาเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่ง ก่อนที่จะเซ็นสัญญากับเขาในวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 2015 โดยสัญญามีผลจนถึง ค.ศ. 2018 พร้อมตัวเลือกในการขยายเพิ่มอีกหนึ่งปี[46] เซเรซโซ โอซากะ ได้ประกาศยืนยันถึงการย้ายออกของเขาในเวลาต่อมา[47]

มินามิโนะลงเล่นให้กับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คนัดแรกด้วยการลงเล่นเป็นตัวจริงในตำแหน่งปีกซ้ายก่อนที่ถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ 64 ในนัดที่เอาชนะ Wiener Neustadt 2–0 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015[48] หลังจากที่พลาดการลงเล่นสองนัดเนื่องจากกล้ามเนื้อฉีกขาด เขากลับมาลงเล่นอีกครั้งโดยเป็นการลงเล่นนัดแรกในระดับทวีปยุโรป เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2015 เขาลงเล่นในช่วงครึ่งแรกก่อนถูกเปลี่ยนตัวออกเพื่อสลับกับฟิลิปี ปิรึซ สุดท้าย เร็ดบุลพ่ายแพ้ในบ้านต่อบิยาร์เรอัล 1–3 (ผลรวม 2–5) ในเลกที่สองของรอบ 32 ทีมสุดท้ายในยูฟ่ายูโรปาลีก ฤดูกาล 2014–15[49] มินามิโนะทำประตูแรกให้กับเร็ดบุลช่วยให้เอาชนะ Admira Wacker Mödling 4–1 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 2015[50] ต่อมาเขาทำประตูช่วยให้ทีมเอาชนะ SV Grödig 3–0 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม[51] มินามิโนะมีส่วนช่วยให้เร็ดบุลซัลทซ์บวร์คชนะเลิศออสเตรียนบุนเดิสลีกาในฤดูกาลแรกที่เขาได้เล่นให้กับสโมสร[52] เขาได้ลงเล่นในนัดชิงชนะเลิศออสเตรียนคัพ ช่วยให้ทีมเอาชนะเอาส์ทรีอาวีน 2–0[53] จบฤดูกาล 2014–15 มินามิโนะลงเล่น 14 นัดและยิงได้ 3 ประตูจากทุกรายการ โดยในช่วงระหว่างฤดูกาล เขาได้กลายเป็นผู้เล่นตัวจริงของสโมสรในตำแหน่งกองกลาง[54]

มินามิโนะ (ซ้าย) ชนะเลิศออสเตรียนบุนเดิสลีกากับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในฤดูกาล 2014–15

มินามิโนะเริ่มต้นฤดูกาล 2015–16 ได้อย่างดี เขาทำประตูแรกของฤดูกาลในนัดที่เอาชนะ Deutschlandsberger SC 7–0 ในรอบแรกของออสเตรียนคัพ[55] ต่อมาเขาทำเพิ่มอีก 5 ประตูตลอดเดือนสิงหาคม โดยเขายิงประตูใส่ SV Ried, ดีนาโมมินสค์ในยูฟ่ายูโรปาลีก และสตวร์มกราซ[56] ต่อมาในวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 2015 เขาทำประตูและมีส่วนช่วยในการทำประตูที่สี่ ช่วยให้ทีมเอาชนะ SV Grödig 4–2[57] เขาทำสองประตูจากสองนัดระหว่างวันที่ 4 ถึง 17 ตุลาคม ค.ศ. 2015 ในนัดที่พบกับราปิดวีนและ Admira Wacker Mödling[58] อย่างไรก็ตาม มินามิโนะประสบปัญหาในการไม่สามารถทำประตูได้ในช่วงสี่เดือนถัดมา จนกระทั่งในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2016 เขาทำประตูช่วยให้เอาชนะเอาส์ทรีอาวีน 4–1[59] และทำเพิ่มอีกสองประตูในช่วงที่เหลือของฤดูกาล 2015–16[60] มินามิโนะมีส่วนช่วยให้เร็ดบุลชนะเลิศลีกเป็นปีที่สองติดต่อกันนับตั้งแต่ที่ย้ายมาเล่นให้กับสโมสร[61] 12 วันถัดมาหลังชนะเลิศลีก เขาลงเล่นเป็นตัวจริงในช่วงครึ่งหลังของนัดชิงชนะเลิศออสเตรียนคัพ[62] จบฤดูกาล 2015–16 มินามิโนะลงเล่น 40 นัดและยิงได้ 13 ประตูจากทุกรายการ

มินามิโนะเล่นให้กับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในปี 2018

ในช่วงต้นฤดูกาล 2016–17 มินามิโนะทำประตูแรกของฤดูกาลช่วยให้เอาชนะ Vorwärts Steyr 3–1 ในรอบแรกของออสเตรียนคัพ[63] เขาเว้นจากการลงเล่นให้กับสโมสรระยะหนึ่งเนื่องจากไปลงเล่นให้กับทีมชาติ เขากลับมาเล่นให้กับสโมสรอีกครั้งในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2016 ช่วยให้เอาชนะ Mattersburg 3–1[64] สองสัปดาห์ถัดมา วันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2016 มินามิโนะทำประตูช่วยให้เอาชนะ Admira Wacker Mödling 4–0[65] ต่อมาเขาทำเพิ่มอีกสามประตู ซึ่งรวมถึงประตูที่เขายิงใส่ Wolfsberger AC เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 2016[66] สองเดือนถัดมา วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 มินามิโนะทำแฮตทริกแรกในนามสโมสร ช่วยให้เอาชนะ SV Ried 6–1[67] เขามีบทบาทสำคัญในรอบรองชนะเลิศของออสเตรียนคัพ ด้วยการทำสองประตูช่วยให้เอาชนะ Admira Wacker Mödling 5–0 พาทีมเข้าชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[68] ตลอดฤดูกาล 2016–17 มินามิโนะลงเล่นในฐานะตัวจริงและตัวสำรองสลับกันบ่อยครั้ง[69] อย่างไรก็ตาม เขามีส่วยช่วยให้สโมสรชนะเลิศออสเตรียนคัพและชนะเลิศลีกเป็นสมัยที่สามติดต่อกัน[70] จบฤดูกาล 2016–17 มินามิโนะลงเล่น 31 นัดและยิง 14 ประตูจากทุกรายการ โดยเขามีโอกาสได้เริ่มเล่นในตำแหน่งกองหน้าด้วย[71]

มินามิโนะเล่นให้กับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในปี 2018

มินามิโนะเริ่มต้นฤดูกาล 2017–18 ได้อย่างดีเมื่อเขาทำสามประตูในสามรายการ โดยยิงประตูใส่ไฮเบอร์เนียนส์, Deutschlandsberger SC และ Wolfsberger AC[72] อย่างไรก็ตาม ในนัดที่เร็ดบุลซัลทซ์บวร์คเอาชนะ St. Pölten 5–1 ในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 2017 มินามิโนะได้รับบาดเจ็บที่เอ็น ทำให้เขาถูกเปลี่ยนตัวออกในนาทีที่ 40 และต้องพลาดการลงเล่นถึงหกสัปดาห์[73] วันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2017 เขากลับมาลงเล่นในฐานะตัวสำรอง ช่วยให้เอาชนะลัสค์ 3–1[74] และทำประตูแรกในรอบสามเดือน ช่วยให้เอาชนะ St. Pölten 3–1 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 2017 สามสัปดาห์ถัดมา วันที่ 29 พฤศจิกายน เขาทำประตูช่วยให้เอาชนะ SV Mattersburg 2–0[75] ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ มินามิโนะขยายสัญญากับสโมสรจนถึงปี 2021[76] เขาทำเพิ่มอีกสามประตูในลีก ซึ่งรวมถึงประตูที่เขายิงใส่เอาส์ทรีอาวีนเมื่อวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 2018[77] มินามิโนะมีส่วนช่วยให้สโมสรชนะเลิศลีกเป็นสมัยที่ 4 ติดต่อกัน[78] นอกจากนี้ เขายังช่วยให้สโมสรทำผลงานในระดับทวีปได้เป็นอย่างดี โดยเขาพาซัลทซ์บวร์คจบอันดับที่หนึ่งของกลุ่มในยูโรปาลีก ก่อนที่จะเอาชนะเรอัลโซซิเอดัด โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ และลาซีโอ (ซึ่งเขาทำสองประตูในรอบแพ้คัดออกที่พบกับเรอัลโซซิเอดัดและลาซีโอ)[79] ทำให้สโมสรเข้าถึงรอบรองชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์[80] วันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2018 เขาลงเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก รอบรองชนะเลิศ ช่วยให้ซัลทซ์บวร์คเปิดบ้านเอาชนะออแล็งปิกเดอมาร์แซย์ อย่างไรก็ตาม พวกเขาต้องตกรอบเนื่องจากแพ้ผลประตูรวม 3–2[81] จบฤดูกาล 2017–18 มินามิโนะลงเล่น 44 นัดและทำ 11 ประตูจากทุกรายการ

มินามิโนะเล่นให้กับเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คในปี 2019

มินามิโนะพลาดการลงเล่นในช่วงต้นฤดูกาล 2018–19 เนื่องจากแฮมสตริงได้รับบาดเจ็บ เขาลงเล่นนัดแรกของฤดูกาลในฐานะตัวสำรอง ช่วยให้เอาชนะลัสค์ 3–1[82] ต่อมาในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 2018 เขาทำประตูแรกของฤดูกาล ซึ่งเป็นประตูชัยช่วยให้ทีมเอาชนะ KF Shkëndija 1–0 ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบคัดเลือก และพาทีมผ่านเข้าสู่รอบถัดไปได้สำเร็จ[83] มินามิโนะทำเพิ่มอีกสามประตูก่อนจบเดือนกันยายน[84] วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2018 เขาทำประตูช่วยให้ทีมเอาชนะเซลติก 3–1 ในรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่ายูโรปาลีก[85] ต่อมาในวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 เขาทำแฮตทริกในช่วงครึ่งแรก ช่วยให้ทีมเอาชนะโรเซนเบิร์ก 5–2 ในรอบแบ่งกลุ่มของยูฟ่ายูโรปาลีก[86] หลังจบนัดนั้น เขามีชื่อติดทีมยอดเยี่ยมประจำสัปดาห์ของยูโรปาลีก[87] สามวันถัดมา วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2018 เขาทำประตูขึ้นนำช่วยให้เอาชนะเอาส์ทรีอาวีน 2–0[88] มินามิโนะทำเพิ่มอีก 11 ประตูก่อนจบปี 2018[89] สามเดือนถัดมา เขาทำประตูช่วยให้ทีมเอาชนะเอาส์ทรีอาวีน 5–1 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2019[90] เดือนถัดมา มินามิโนะทำเพิ่มอีกสองประตู หนึ่งในนั้นเป็นประตูที่ยิงใส่กราเซอร์ ซึ่งช่วยให้เร็ดบุลซัลทซ์บวร์คเข้าชิงชนะเลิศออสเตรียนคัพ[91] เขาช่วยให้สโมสรชนะเลิศลีกเป็นสมัยที่ห้าติดต่อกัน[92] ส่วนในนัดชิงชนะเลิศออสเตรียนคัพที่ทีมเอาชนะราปิดวีน 2–0 เขามีชื่อเป็นเพียงตัวสำรอง[93] จบฤดูกาล 2018–19 มินามิโนะลงเล่น 45 นัดและทำ 14 ประตูจากทุกรายการ โดยเขาสามารถลงเล่นได้หลายตำแหน่งในแนวรุก[71][94]

มินามิโนะทำสี่ประตูในช่วงต้นฤดูกาล 2019–20[95] ต่อมาในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก รอบแบ่งกลุ่ม นัดที่พบกับเคงก์ เขามีบทบาทสำคัญด้วยการทำสองประตูช่วยให้ทีมเอาชนะไปได้ 6–2[96] สองสัปดาห์ถัดมา มินามิโนะทำสองประตูในออสเตรียนคัพและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดที่พบกับราปิดวีนและลิเวอร์พูลตามลำดับ[97] เขาทำเพิ่มอีกสองประตูในสองนัดระหว่างวันที่ 23 ถึง 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2019 นัดที่พบกับ St. Pölten และเคงก์[98] มินามิโนะทำประตูที่ 9 ของฤดูกาล ช่วยให้ทีมเอาชนะ WSG Swarovski Tirol 5–1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2019 นัดนั้นเป็นนัดสุดท้ายที่เขาได้ลงเล่นให้กับสโมสร[99]

ลิเวอร์พูล[แก้]

ในเดือนธันวาคม มินามิโนะ ได้ตกลงร่วมทีมลิเวอร์พูลในช่วงเปิดตลาดหน้าหนาววันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2020[100]

ในวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2020 เอฟเอคัพ รอบสาม มินามิโนะลงสนามเป็นตัวจริงนัดแรกในสีเสื้อของลิเวอร์พูล ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ เอฟเวอร์ตัน คู่ปรับร่วมเมือง 1-0 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 4 เอฟเอคัพ ได้สำเร็จ[101] จบฤดูกาล มินามิโนะช่วยให้ ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกในรอบ 30 ปีได้สำเร็จ[102]

ในวันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2020 เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 2020 ลิเวอร์พูล เจอกับ อาร์เซนอล ที่สนามกีฬาเวมบลีย์ มินามิโนะทำประตูแรกในสีเสื้อของลิเวอร์พูล โดยมินามิโนะทำประตูตีเสมอ 1-1 ในช่วง 90 นาที ทำให้ต้องตัดสินในการยิงจุดโทษ สุดท้าย ลิเวอร์พูล ก็เป็นฝ่ายแพ้ในการยิงจุดโทษ 4-5 ทำให้ ลิเวอร์พูลพลาดโอกาสคว้าแชมป์คอมมิวนิตีชีลด์ อย่างน่าเสียดาย ต่อมา ในวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2020 ฟุตบอลลีกคัพ รอบ 3 มินามิโนะยิง 2 ประตูให้ ลิเวอร์พูล เอาชนะ ลิงคอล์นซิตี 7-2 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 4 ฟุตบอลลีกคัพ ได้สำเร็จ[103] ต่อมา ในวันที่ 19 ธันวาคม ค.ศ. 2020 มินามิโนะทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2020–21 นัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ คริสตัลพาเลซ ที่เซลเฮิสต์พาร์ก 7-0[104]

ในวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2021 ฟุตบอลลีกคัพ รอบ 3 มินามิโนะยิง 2 ประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ นอริชซิตี ที่แคร์โรว์โรด 3-0 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 4 ฟุตบอลลีกคัพ ได้สำเร็จ[105] ต่อมา ในวันที่ 27 ตุลาคม ค.ศ. 2021 ฟุตบอลลีกคัพ รอบ 4 มินามิโนะยิงประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะ เพรสตันนอร์ทเอนด์ 2-0 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 5 ฟุตบอลลีกคัพ ได้สำเร็จ[106] ต่อมา ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 มินามิโนะทำประตูแรกในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2021–22 นัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ อาร์เซนอล 4-0[107] ต่อมา ในวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 2021 ฟุตบอลลีกคัพ รอบ 5 มินามิโนะยิงประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เสมอกับ เลสเตอร์ซิตี 3-3 สุดท้าย ลิเวอร์พูล เอาชนะในการดวลจุดโทษ 5-4 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ฟุตบอลลีกคัพ ได้สำเร็จ[108]

ในวันที่ 16 มกราคม ค.ศ. 2022 มินามิโนะทำประตูที่ 2 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ เบรนต์ฟอร์ด 3-0[109] ต่อมา ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 เอฟเอคัพ รอบ 4 มินามิโนะยิงประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ คาร์ดิฟฟ์ซิตี 3-1 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 5 เอฟเอคัพ ได้สำเร็จ[110] ต่อมา ในวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 2022 เอฟเอคัพ รอบ 5 มินามิโนะยิง 2 ประตู ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เปิดสนามแอนฟีลด์เอาชนะ นอริชซิตี 2-1 ช่วยให้ ลิเวอร์พูล ผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายเอฟเอคัพ ได้สำเร็จ[111] ต่อมา ในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 มินามิโนะทำประตูที่ 3 ในพรีเมียร์ลีก ในนัดที่ ลิเวอร์พูล เอาชนะทีมเก่าของเขา เซาแทมป์ตัน ที่เซนต์แมรีส์สเตเดียม 2-1[112]

ทีมชาติ[แก้]

ชุดเยาวชน[แก้]

ก่อนหน้านี้ มินามิโนะเคยเป็นตัวแทนของทีมชาติญี่ปุ่นรุ่นอายุไม่เกิน 15 และ 16 ปี[113] โดยขณะที่เล่นให้กับทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 16 ปีนั้น เขาได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 16 ปี[114] เขาช่วยให้ทีมผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออก โดยทำสามประตูในรอบแบ่งกลุ่ม หนึ่งในนั้นคือการยิงใส่ทีมชาติเวียดนาม[115] และในรอบก่อนรองชนะเลิศ เขาทำประตูช่วยให้ญี่ปุ่นเอาชนะอิหร่าน 3–1[116] ญี่ปุ่นตกรอบด้วยการพ่ายแพ้ต่อเกาหลีเหนือ 2–1 ในรอบรองชนะเลิศ โดยมินามิโนะทำประตูเดียวให้กับญี่ปุ่นในนัดนั้น[117] อย่างไรก็ตาม เขาเป็นผู้ทำประตูสูงสุดในรายการนั้น เทียบเท่ากับติมูร์ คาร์คีมอฟ[118]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2011 มินามิโนะถูกเลือกติดทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปีในการแข่งขันฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี[119] เขาได้ลงเล่นสี่นัดและทำประตูในนัดที่พบกับนิวซีแลนด์[120]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 มินามิโนะถูกเรียกติดทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปีในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 19 ปี ทำให้เขาพลาดการลงเล่นให้กับทีมชุดใหญ่ของเซเรซโซทั้งหมดสามนัด[121] เขาทำประตูแรกในนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่มที่พ่ายแพ้ต่อจีน 2–1[122] ต่อมาเขาทำสองประตูในนัดที่สามของรอบแบ่งกลุ่ม ช่วยให้ญี่ปุ่นเอาชนะเกาหลีใต้ 2–1 และผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกได้สำเร็จ[123] ในรอบก่อนรองชนะเลิศที่พบกับเกาหลีเหนือ มินามิโนะทำประตูตามตีเสมอให้กับญี่ปุ่นจากลูกโทษ ทำให้ต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษหลังจากเสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ เขายิงลูกโทษพลาด ทำให้ญี่ปุ่นตกรอบนี้ไป[124] ตลอดทั้งรายการ มินามิโนะทำประตูได้ทั้งสิ้น 4 ลูก[125]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2016 มินามิโนะถูกเรียกติดทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปีที่กาตาร์[126] เขาลงเล่นครบทุกนัดในรายการนี้และช่วยให้ญี่ปุ่นเข้าชิงชนะเลิศหลังจากที่เอาชนะอิรักในรอบรองชนะเลิศ 2–1[127] อย่างไรก็ตาม มินามิโนะไม่ได้ลงเล่นในนัดชิงชนะเลิศเนื่องจากถูกเร็ดบุลซัลทซ์บวร์คเรียกตัวกลับ สุดท้าย ญี่ปุ่นชนะเลิศรายการนี้เป็นสมัยแรกหลังจากที่เอาชนะเกาหลีใต้ 3–2[128]

ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 มินามิโนะมีชื่อติดทีมชาติรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปีในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2016[129] เขาได้ลงเล่นครบ 3 นัดในรอบแบ่งกลุ่ม และทำประตูในนัดที่พบกับไนจีเรีย[130]

ชุดใหญ่[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2014 มินามิโนะมีชื่อติดทีมชาติญี่ปุ่นชุดใหญ่ในชุดเบื้องต้น 30 คนสำหรับการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014 ที่ประเทศบราซิล[131] อย่างไรก็ตาม เขาถูกคัดชื่อออก[132]

มินามิโนะลงเล่นนัดแรกให้กับทีมชาติญี่ปุ่นในนัดกระชับมิตรที่พบกับอิหร่านเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ค.ศ. 2015 โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 87 ช่วยให้ทีมเสมอ 1–1[133] หนึ่งเดือนถัดมา วันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015 เขาลงเล่นนัดที่สองให้กับญี่ปุ่นในฟุตบอลโลก 2018 รอบคัดเลือก โดยลงเล่นเป็นตัวสำรองในนาทีที่ 86 ช่วยให้เอาชนะกัมพูชา 2–0[134] ใน ค.ศ. 2018 เขาถูกเรียกติดทีมชาติชุดใหญ่เป็นครั้งแรกในรอบสามปี[135] เขาทำประตูแรกในนามทีมชาติช่วยให้เอาชนะคอสตาริกา 3–0 เมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2018[136] ต่อมา เขาทำประตูในนัดที่พบกับปานามาและอุรุกวัย[137]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2018 มินามิโนะมีชื่อเป็น 1 ใน 23 ผู้เล่นทีมชาติญี่ปุ่นชุดลุยศึกเอเชียนคัพ 2019[138] ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 เขาลงเล่นนัดแรกในเอเชียนคัพ โดยทำแอสซิสต์ในการพบกับเติร์กเมนิสถาน[139] ในรอบรองชนะเลิศ มินามิโนะทำสองแอสซิสต์และมีส่วนช่วยให้ทีมชนะการยิงลูกโทษจนเข้าชิงชนะเลิศได้สำเร็จ[140] เขาทำประตูแรกในเอเชียนคัพในนัดชิงชนะเลิศที่พ่ายแพ่ต่อกาตาร์ 3–1[141] จบรายการ มินามิโนะได้ลงเล่นทั้งหมด 6 นัด[142] เขาทำเพิ่มอีกห้าประตูจากการลงเล่นในช่วงที่เหลือของ ค.ศ. 2019[143]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2013 มินามิโนะเซ็นสัญญากับอาดิดาส[144] ต่อมาในวันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 2014 มินามิโนะทำลายสถิติโลกกินเนสส์ด้วยการวิ่งแปะมือกับผู้คนเป็นจำนวนครั้งมากที่สุดในโลกที่ 187 ครั้งขณะที่วิ่งในถนนคนเดินโคมางาวะ[145] นอกจากภาษาญี่ปุ่นแล้ว เขายังสามารถพูดภาษาเยอรมันได้ตั้งแต่ตอนที่ย้ายไปเร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค[146][71] มินามิโนะชื่นชอบกลุ่มไอดอลญี่ปุ่น เอเคบีโฟร์ตีเอต[147][148]

สถิติอาชีพ[แก้]

สโมสร[แก้]

ณ วันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 2022[149]
สโมสร ฤดูกาล ลีก ถ้วย[a] ลีกคัพ[b] ทวีป อื่น ๆ รวม
ระดับ ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู ลงเล่น ประตู
เซเรซโซ โอซากะ 2012 เจลีก 1 3 0 1 0 4 0
2013 เจลีก 1 29 5 1 0 8 3 38 8
2014 เจลีก 1 30 2 1 1 2 2 7[c] 2 40 7
รวม 62 7 3 1 10 5 7 2 82 15
เรดบูลล์ซัลซ์บวร์ก 2014–15 อ. บุนเดสลีกา 14 3 2 0 1[d] 0 17 3
2015–16 อ. บุนเดสลีกา 32 10 6 2 2[d] 1 40 13
2016–17 อ. บุนเดสลีกา 21 11 5 3 5[e] 0 31 14
2017–18 อ. บุนเดสลีกา 28 7 4 1 12[e] 3 34 11
2018–19 อ. บุนเดสลีกา 27 6 5 3 13[e] 5 45 14
2019–20 อ. บุนเดสลีกา 14 5 2 2 6[f] 2 22 9
รวม 136 42 24 11 39 11 189 64
ลิเวอร์พูล 2019–20[150] พรีเมียร์ลีก 10 0 3 0 1[f] 0 14 0
2020–21[151] พรีเมียร์ลีก 9 1 1 0 2 2 4[f] 0 1[g] 1 17 4
2021–22[152] พรีเมียร์ลีก 11 3 4 3 5 4 4[f] 0 0 0 24 10
รวม 30 4 8 3 7 6 9 0 1 1 55 14
Southampton (loan) 2020–21[151] พรีเมียร์ลีก 10 2 0 0 0 0 10 2
รวมทั้งหมด 238 55 35 15 17 11 55 13 1 1 336 95

ทีมชาติ[แก้]

ณ วันที่ 29 มีนาคม 2022[153]
ญี่ปุ่น
ปี ลงเล่น ประตู
2015 2 0
2016 0 0
2017 0 0
2018 5 4
2019 15 7
2020 4 1
2021 9 4
2022 4 1
ทั้งหมด 39 17

ประตูในนามทีมชาติ[แก้]

[154]

ลำดับ วันที่ สนาม คู่แข่ง ประตู ผล รายการแข่งขัน
1. 11 กันยายน 2018 Panasonic Stadium Suita, Suita, Japan ธงชาติคอสตาริกา คอสตาริกา 2–0 3–0 2018 Kirin Challenge Cup
2. 12 ตุลาคม 2018 Denka Big Swan Stadium, Niigata, Japan ธงชาติปานามา ปานามา 1–0 3–0
3. 16 ตุลาคม 2018 Saitama Stadium 2002, Saitama, Japan ธงชาติอุรุกวัย อุรุกวัย 1–0 4–3
4. 4–2
5. 1 กุมภาพันธ์ 2019 Zayed Sports City Stadium, Abu Dhabi, United Arab Emirates ธงชาติประเทศกาตาร์ กาตาร์ 1–2 1–3 เอเชียนคัพ 2019 รอบชิงชนะเลิศ
6. 5 กันยายน 2019 Kashima Soccer Stadium, Kashima, Japan ธงชาติปารากวัย ปารากวัย 2–0 2–0 2019 Kirin Challenge Cup
7. 10 กันยายน 2019 Thuwunna Stadium, Yangon, Myanmar ธงชาติประเทศพม่า พม่า 2–0 2–0 ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก
8. 10 ตุลาคม 2019 Saitama Stadium 2002, Saitama, Japan ธงชาติมองโกเลีย มองโกเลีย 1–0 6–0
9. 15 ตุลาคม 2019 Central Republican Stadium, Dushanbe, Tajikistan ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 1–0 3–0
10. 2–0
11. 14 พฤศจิกายน 2019 Dolen Omurzakov Stadium, Bishkek, Kyrgyzstan ธงชาติคีร์กีซสถาน คีร์กีซสถาน 1–0 2–0
12 13 November 2020 Merkur-Arena, Graz, Austria ธงชาติปานามา ปานามา 1–0 1–0 Friendly
13 30 March 2021 Fukuda Denshi Arena, Chiba, Japan ธงชาติมองโกเลีย มองโกเลีย 1–0 14–0 2022 FIFA World Cup qualification
14 28 May 2021 ธงชาติประเทศพม่า พม่า 1–0 10–0
15 7–0
16 7 June 2021 Panasonic Stadium Suita, Suita, Japan ธงชาติทาจิกิสถาน ทาจิกิสถาน 2–1 4–1
17 1 February 2022 Saitama Stadium 2002, Saitama, Japan ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบีย 1–0 2–0 2022 FIFA World Cup qualification

เกียรติประวัติ[แก้]

เร็ดบุลซัลทซ์บวร์ค
ลิเวอร์พูล
รางวัลส่วนตัว
  • J. League Rookie of the Year: 2013[157]
  • Japan Professional Sports Grand Prize's Rookie Award: 2013[158]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Updated squad lists for 2019/20 Premier League". Premier League. 6 February 2020. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  2. "Takumi Minamino: Overview". ESPN. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  3. "Takumi Minamino". AS Monaco FC. สืบค้นเมื่อ 15 December 2022.
  4. Del Río, Alex (5 January 2020). "Liverpool newboy Takumi Minamino survived the Great Hashin earthquake as a new-born baby in Japan". Diario AS. Madrid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-21. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 "Takumi Minamino: Liverpool new signing is 'one of a kind' inspired by Ronaldo". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
  6. "生粋のサッカー好きにして負けず嫌い 幼なじみ・室屋成が語る「南野拓実の素顔」". News Live Door (ภาษาญี่ปุ่น). 18 November 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  7. "MF南野、高校時代からみていた「世界」". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 6 July 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  8. "幼稚園時代に出会った南野拓実選手と室屋成選手。"幼馴染"のふたりが築いた最高のライバル関係". JR Soccer (ภาษาญี่ปุ่น). 29 July 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  9. "[特別対談:後編]C大阪MF長谷川×南野「常に冷静に」「気持ちが一番大事」". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 2 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  10. "U-15が日本クラブユース選手権決勝トーナメント進出!" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 17 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "日本クラブユースサッカー選手権(U-15)大会決勝トーナメント準々決勝の結果" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 20 August 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  11. "[日本クラブユース(U-15)選手権]決勝T試合結果&表彰選手一覧". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 30 August 2009. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  12. "科学技術高校 vs セレッソ大阪U-18" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan Football Association. 11 April 2010. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  13. "[クラブユース選手権]C大阪U-18メンバーリスト". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 16 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  14. "[プレミアリーグウエスト]得点ランキング". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 20 December 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  15. "2011Jユースカップ決勝戦の結果" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 25 December 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "[Jユースカップ]得点ランキング". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 25 December 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  16. "セレッソ大阪U-18秋山選手、南野選手 Jリーグ選手登録(2種)完了のお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 3 August 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  17. "【C大阪】17歳南野シュート0本/J1". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 17 November 2012. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  18. "C大阪はドローでJ1残留決める…来季関西J1チームはC大阪のみに". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 1 December 2012. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  19. "C大阪期待の新星、17歳FW南野がプロ初ゴール!!4発快勝のC大阪が8強進出". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 15 December 2012. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  20. "セレッソ大阪U-18 秋山大地選手、岡田武瑠選手、小暮大器選手、南野拓実選手 加入内定のお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 23 October 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "2013シーズン 背番号決定のお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 31 January 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  21. "【C大阪】ルーキー南野開幕スタメン". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 1 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  22. "【C大阪】18歳FW南野拓実がA契約". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 15 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  23. "C大阪が柿谷の2戦連続ゴールなどで15年ぶり開幕2連勝…甲府は26試合ぶり黒星". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 9 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "山口が2戦連続決勝弾!!好調対決を制したC大阪が15年ぶり開幕3連勝". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 16 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "C大阪は18歳MF南野のプロ初ゴールなどで大分を下し、公式戦無敗を維持". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 23 March 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  24. "南野の決勝点でC大阪が逆転勝ち、GL突破決める". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 15 May 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "初戦の優位を生かした浦和、C大阪を抑えて2年ぶりに4強進出". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 30 June 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  25. "セレッソ南野 チーム史上最年少弾も…ドローで3連勝逃す".
  26. "Wilfried Zaha earns Manchester United a 2–2 friendly draw with Cerezo Osaka". Sky Sports. 26 July 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  27. "マンチェスター・ユナイテッド モイーズ監督、香川選手コメント" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 23 July 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "18歳南野鮮烈ゴール!若きC大阪戦士世界と互角". Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 27 July 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "マンUモイーズ監督「世界ツアーの中で最もいいパフォーマンス」". Soccer King (ภาษาญี่ปุ่น). 27 March 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-11. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  28. "南野拓実選手の負傷についてのお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 20 August 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  29. "連続ドローは5でストップ、柿谷先制弾のC大阪が17位・磐田撃破!". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 28 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  30. "大分のJ2降格が決定…C大阪が引導渡す". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 5 October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  31. "「いつも狙っている」 GKからの1本のパスで柿谷が劇的決勝点". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "柿谷2発、南野2発、杉本弾!!C大阪の誇る若手大爆発で浦和に完勝". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 7 December 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  32. "Jリーグ新人王、C大阪FW南野拓実がプロスポーツ大賞新人賞を受賞". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-08. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
  33. "C大阪、ベストヤングプレーヤー南野拓実と酒本憲幸との契約を更新". Soccer King (ภาษาญี่ปุ่น). 22 December 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-09. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  34. "C大阪は柿谷弾で先制も、韓国王者とドロー。フォルランも途中出場". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 25 February 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  35. "C大阪柿谷ACL3戦連発弾で勝利に貢献". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 18 March 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  36. "南野一発退場のC大阪は浦項に敗れてホーム2敗目…GS突破は困難に". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 16 April 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  37. "ヴィアティン桑名 – 試合結果(天皇杯 ... – セレッソ大阪" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 12 July 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  38. "C大阪は柿谷ラストマッチを飾れず…大久保のPKなどで川崎Fが逆転勝利". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 15 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  39. "C大阪南野一発退場をツイッターで詫びる". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 16 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  40. "C大阪南野は途中交代「守備崩せず悔しい」". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 23 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "両チーム決定力欠きドロー/甲-C16節". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 23 July 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  41. "今季初ゴールでチームの無得点記録を止めたC大阪MF南野「勢いづくゴールにしたかった」". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 17 August 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  42. "J1第21節(8月23日)広島vsC大阪プレビュー&予想先発". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 23 August 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "代表初選出MF森岡のAT弾で神戸が阪神ダービーに逆転勝利! 敗れたC大阪は11戦未勝利に". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 30 August 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  43. "川崎Fがアウェーゴール3発を叩きこみ、泥沼C大阪に快勝!". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 3 September 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "第2戦はC大阪に敗れるも、川崎Fが2戦合計5–4で2年連続4強入り". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 7 September 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "新監督初陣、大宮とC大阪が揃って準々決勝へ…昨年度準V広島は16強敗退". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 10 September 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  44. "背負うものが多すぎた南野拓実 セレッソ大阪、3度目のJ2降格が決定". Sports Navi (ภาษาญี่ปุ่น). 30 November 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "C大阪J2降格で主力流出危機…鹿島に完敗". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 29 November 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  45. "南野極秘渡欧し移籍先探し チームも容認". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 11 December 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "南野拓実にデュッセルドルフなど興味と独紙". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 19 December 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "C大阪南野、移籍意思伝える". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 27 December 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  46. "TAKUMI MINAMINO INTERVIEW". FC Red Bull Salzburg. 7 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 April 2015. สืบค้นเมื่อ 3 April 2015.
  47. "南野 拓実選手の移籍について" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 6 January 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  48. "FC Red Bull Salzburg: Stars sind weg". Oberösterreichische Nachrichten (ภาษาเยอรมัน). 13 February 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  49. "Salzburg in Villarreal ohne Minamino". Kurier (ภาษาเยอรมัน). 18 February 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Villarreal progress as Vietto vanquishes Salzburg". UEFA. 26 February 2015. สืบค้นเมื่อ 3 April 2015.
  50. "Rapid gewann Schlager gegen Altach – Admira neuer Letzter". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 4 March 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  51. "Salzburg in Grödig 3:0 – Siege auch für Austria, WAC, Admira". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 2 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  52. "Salzburg ist Österreichischer Meister". Kurier (ภาษาเยอรมัน). 24 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  53. "Red Bull Salzburg feiert das zweite Double in Serie". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 3 June 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "南野ザルツブルク2冠「移籍してよかった」". Nikkan Sports (ภาษาเยอรมัน). 5 June 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  54. "ザルツブルク南野、反省のデビュー戦". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 16 February 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  55. "Grödig blamiert sich in Gurten". Kurier (ภาษาเยอรมัน). 18 July 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  56. "Befreiungsschlag für Salzburg: 4:1-Sieg in Ried". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 11 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg verpasst nach Elferkrimi gegen Minsk Europa League". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 27 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg beendet die Heimserie von Sturm". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 30 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  57. "Salzburg drehte nach "unterirdischer" erster Hälfte auf". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 12 September 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  58. "Salzburg gewann dank zweier abgefälschter Tore 2:1". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 5 October 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg nach 8:0-Torfestival gegen Admira an Tabellenspitze". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  59. "4:1-Sieg der "Bullen" gegen Austria Wien". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 28 February 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  60. "Siege für Salzburg und Austria – Rückschlag für Sturm". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 5 March 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Grödig muss nach 1:2-Heimniederlage gegen Salzburg absteigen". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 11 May 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  61. "Red Bull Salzburg macht Meistertitel perfekt". Kurier (ภาษาเยอรมัน). 7 May 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.[ลิงก์เสีย]
  62. "Red Bull Salzburg Complete Triple Double". FC Red Bull Salzburg. 19 May 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  63. "1:3 – Ein Hand-Elfmeter riss Vorwärts aus Cup-Märchen". Oberösterreichische Nachrichten (ภาษาเยอรมัน). 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  64. "Bundesliga: Späte Tore sichern Salzburg drei Punkte". Die Presse (ภาษาเยอรมัน). 20 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  65. "Salzburg bleibt Sturm auf den Fersen". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 11 September 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  66. "Bundesliga: Salzburg schlägt die Austria". Kurier (ภาษาเยอรมัน). 30 November 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "WAC zum Jahresausklang chancenlos". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 17 December 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  67. "Salzburg baut in Ried die Tabellenführung aus". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 19 February 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  68. "Salzburg erreichte Cupfinale mühelos, Rapid glücklich". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 26 April 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  69. "Salzburg-Trainer Garcia: "Werden jetzt einiges überdenken"". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 26 February 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  70. "Red Bull Salzburg erneut Meister in Österreich". Eurosport (ภาษาเยอรมัน). 13 May 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg besiegt Rapid im Cup-Finale". Laola1 (ภาษาเยอรมัน). 1 June 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  71. 71.0 71.1 71.2 "約3年ぶりの日本代表復帰!南野拓実が語るゴールの工夫". BBM Japan (ภาษาญี่ปุ่น). 6 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  72. "Salzburg erfüllte mit 3:0-Sieg in CL-Quali die Pflicht". Kleine Zeitung (ภาษาญี่ปุ่น). 11 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg gewann Cup-Auftritt in Deutschlandsberg mit 7:0". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 15 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Niederlage gegen Salzburg zum Meisterschaftsstart". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 22 July 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  73. "Salzburg vor letzter Pflichtübung: "Auf nichts einlassen"". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 23 August 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  74. "Sieg für Salzburg beim Aufsteiger LASK". Kurier (ภาษาเยอรมัน). 14 October 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  75. "Salzburg rückt an Sturm bis auf einen Punkt heran". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 5 November 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg mit Clubrekord, St. Pölten feiert ersten Sieg". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 29 November 2017. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  76. "Minamino Verlaengert Vertrag Bei Den Roten Bullen" (ภาษาเยอรมัน). FC Red Bull Salzburg. 1 February 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  77. "Salzburg verpasst der Austria ein Veilchen". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 18 March 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "St. Pölten für Salzburg kein Stolperstein – 2:0 in NV Arena". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 29 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  78. "St. Pölten für Salzburg kein Stolperstein". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 29 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  79. "Salzburg holte bei Sociedad in der Nachspielzeit ein 2:2". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 15 February 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg verspielt gute Ausgangslage". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 5 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  80. "Schafft Salzburg noch den Einzug ins Europa-League-Finale?". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  81. "FC Red Bull Salzburg 2–1 Marseille". BBC Sport. 3 May 2018. สืบค้นเมื่อ 3 May 2018.
    "Red Bull Salzburg 2–1 Olympique de Marseille". UEFA. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  82. "Salzburg-Coach Rose warnte vor "falschen Gedanken"". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg untermauert Meister-Anspruch: 3:1 gegen LASK". Die Presse (ภาษาเยอรมัน). 29 July 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  83. "Salzburg siegt und trifft auf Roter Stern Belgrad". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 14 August 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  84. "Salzburg verarbeitet CL-Frust mit 3:1 gegen Admira". Krone (ภาษาเยอรมัน). 2 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "2:1 gegen Rapid: Salzburg ist weiter nicht zu stoppen". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 23 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Austria eliminierte Cup-Titelverteidiger Sturm glücklich 2:0". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 26 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  85. "Rose: "Haben bärenstarke Leistung abgeliefert"". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 4 October 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  86. "100 PER CENT RECORD KEPT WITH BIG AWAY WIN". FC Red Bull Salzburg. 8 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2018. สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.
    "Rosenborg-Salzburg 2019 History | UEFA Europa League".
  87. "Salzburgs Minamino Europa-League-Spieler der Woche". Neon (ภาษาเยอรมัน). 9 November 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  88. "Salzburg siegt bei der Austria". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 11 November 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  89. "Salzburg schlägt Zweitligist nur knapp, LASK stark". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 31 October 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Hard Fought 1–0 Home Win Taken Against SCR Altach". FC Red Bull Salzburg. 2 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  90. "Salzburg hielt Titelkurs vor Schlager dank Dabbur-Gala". Neon (ภาษาเยอรมัน). 1 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  91. "Salzburg spazierte mit 6:0 beim GAK ins Cup-Finale". Neon (ภาษาเยอรมัน). 3 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg – WAC 3:1 Salzburg siegt spät und braucht noch einen Sieg zum Titel". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 24 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  92. "Meister! Ein Kraftakt bescherte Red Bull Salzburg den Titel". Salzburger Nachrichten (ภาษาเยอรมัน). 5 May 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  93. "Salzburg Cup-Sieger! 118-Sekunden-Horror für Rapid". Kronen Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 1 May 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  94. "南野拓実に直撃、クラブでどのような立ち位置なのか? 欧州取材で見たザルツブルクでの実情". Football Channel (ภาษาญี่ปุ่น). 12 March 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  95. "Klarer Sieg Zum Cup Auftakt" (ภาษาเยอรมัน). FC Red Bull Salzburg. 19 July 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Bundesliga-AuftaktSalzburg gewinnt den Schlager bei Rapid mit 2:0". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 26 July 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg und Sturm mit unterschiedlichen Ansätzen". Neon (ภาษาเยอรมัน). 5 August 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg feierte 6:0-Schützenfest in St. Pölten". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 17 August 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  96. "Salzburg bei CL-Premiere 6:2-Sieger gegen Genk". Neon (ภาษาเยอรมัน). 17 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  97. "ÖFB-Cup: Red Bull Salzburg besiegt SK Rapid Wien in letzter Sekunde". Spox (ภาษาเยอรมัน). 25 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "Salzburg verlor bei Liverpool nach toller Aufholjagd nur 3:4". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 2 October 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  98. "Von 0:2 auf 2:2! St. Pölten trotzt Red Bull Salzburg einen Punkt ab!". Liga Portal (ภาษาเยอรมัน). 23 November 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "4:1 in Genk – Salzburg erarbeitete sich CL-"Aufstiegsfinale"". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 27 November 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  99. "Salzburg schoss sich gegen WSG Tirol für Liverpool warm". Kleine Zeitung (ภาษาเยอรมัน). 7 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  100. สโมสรลิเวอร์พูลตกลงเซ็นสัญญาคว้าตัวทาคุมิ มินามิโนะ
  101. 5 ประเด็นที่น่าสนใจจากเกมลิเวอร์พูลชนะเอฟเวอร์ตัน 1-0
  102. อัลบั้มภาพ: ทีมลิเวอร์พูลคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก
  103. Match Report: ลิเวอร์พูลบุกถล่มลินคอล์น ซิตี้ เข้ารอบคาราบาว คัพ
  104. Match Report: ลิเวอร์พูลบุกถล่มคริสตัล พาเลซ 7-0
  105. Match Report: ลิเวอร์พูลทะลุเข้ารอบ หลังคว้าชัยเหนือนอริชในคาราบาว คัพ
  106. Match Report: ลิเวอร์พูลชนะเปรสตันผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายคาราบาว คัพ
  107. Match Report: ลิเวอร์พูลเปิดแอนฟิลด์ถล่มอาร์เซนอล
  108. Match Report: ลิเวอร์พูลดวลจุดโทษชนะเลสเตอร์ พลิกเข้ารอบรองฯ คาราบาว คัพ
  109. Match Report: ลิเวอร์พูลถล่มเบรนท์ฟอร์ด 3-0 ที่แอนฟิลด์
  110. Match Report: ลิเวอร์พูลคว้าชัยเหนือคาร์ดิฟฟ์เข้ารอบเอฟเอ คัพ
  111. Match Report: ลิเวอร์พูลผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายเอฟเอ คัพ
  112. Match Report: ลิเวอร์พูลบุกคว้าชัยที่เซาท์แฮมป์ตัน
  113. "南野 拓実選手(U-15)・有井 徹選手(西U-15) U-15日本代表候補トレーニングキャンプメンバーに選出!" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 16 June 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "U-18 南野選手 U-16日本代表メンバーに選出" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 30 August 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  114. "U-18南野選手がU-16日本代表メンバーに選出" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 4 October 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  115. "[AFC U-16選手権]U-17W杯出場へ、U-16日本代表が6発発進!". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 25 October 2010. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "[AFC U-16選手権]U-16代表、エース南野決勝弾で決勝T進出!". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 27 October 2010. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  116. "[AFC U-16選手権]エース南野2発に秋野勝ち越し弾!U-16代表「94JAPAN」がU-17W杯出場権獲得!". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 1 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  117. "[AFC U-16選手権]日本、準決勝で北朝鮮に敗れる". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 5 November 2010. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  118. "[Y☆voice110]C大阪U-18FW南野拓実「本番モードに切り替えて」". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 27 April 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "[U-17W杯]U-17日本代表特別名鑑:FW南野拓実". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 17 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  119. "U-17日本代表に東京Vユース高木ら". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  120. "[U-17W杯]あと1点……U-17日本代表、連続ゴールでブラジル追い詰めるも初の4強届かず". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 4 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "[U-17W杯]怒涛の6発大勝で「94JAPAN」がベスト8進出!!歴史的快挙達成". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 30 June 2011. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "FIFA U-17 World Cup Mexico 2011 – Matches – Japan-New Zealand". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  121. "南野拓実選手 U-19(FIFA U-20ワールドカップ2015)日本代表 AFC U-19選手権ミャンマー2014直前合宿及び本大会メンバー選出のお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 24 September 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  122. "南野豪快ゴールも黒星発進「次がある」". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 9 October 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  123. "南野2発!4大会ぶりU20W杯王手". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 14 October 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  124. "南野PK止められた…U19準々決勝敗退、U20W杯切符逃す". Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 18 October 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  125. "C大阪南野FW起用も U19大会で4得点". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 22 October 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  126. "五輪最終予選メンバー23名決定!! 残り2枠に滑り込んだのは豊川&三竿…負傷の中村に代わり牲川を招集". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 30 December 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  127. "6大会連続五輪出場へ白星発進…U-23代表、DF植田が奪った虎の子の1点を守り抜く". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "U-23代表は3連勝で決勝Tへ…決勝アシストのMF南野「今までの悔しい思いをぶつけたい」". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 17 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "6大会連続五輪出場決定!! U-23代表、後半ATの原川弾でイラクに劇的勝利". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 27 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  128. "クラブの要請によりMF南野がU-23代表離脱「皆に託していきます」". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 27 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    "日本が韓国撃破しアジア制覇/リオ五輪最終予選詳細". Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 31 January 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  129. "U-23 Japan National Team squad, numbers-Olympic Football Tournament Rio 2016". Japan Football Association. 5 July 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  130. "5 things you might not know about new Liverpool signing Takumi Minamino". Irish Independent. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    日本が南野のゴールで再び追いつく 11分で計4点. Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 5 August 2016. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  131. W杯予備登録7人に憲剛、南野、細貝ら. Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  132. 大久保、斎藤ら選出 W杯メンバー一覧. Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    [練習試合]U-19代表の中軸として奮闘の南野、W杯は「いい結果を出してくれるように応援する」. Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 13 June 2014. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  133. "Striker Minamino earns first call-up under Halilhodzic". Japan Times. 1 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-21. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
    イラン戦のサイドバックは左右逆. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 13 October 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-22. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  134. 南野拓実がW杯予選に初出場、終盤出場も存在感. Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 17 November 2015. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  135. 森保J初陣メンバー23人発表 堂安ら4人初選出…若手主体で平均25・3歳 W杯から17人入れ替え. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 30 August 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  136. 森保J 初陣コスタリカ戦で勝利 O・Gで先制 南野&伊東が代表初ゴール. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 11 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  137. 森保J 南野&純也2戦連発、パナマを3発一蹴 新生ジャパン2連勝. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 12 October 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    南野、あっさり達成!初得点から3戦連発は呂比須以来21年ぶり6人目. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 16 October 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  138. "SAMURAI BLUE (Japan National Team) Squad, Schedule – AFC Asian Cup UAE 2019 (1/5-2/1)". jfa.jp. 13 December 2018. สืบค้นเมื่อ 1 February 2019.
  139. 南野「じれずに動かして」後半修正し狙い通り3得点. Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 10 January 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  140. 大迫2発!日本代表 イランを3―0撃破 アジア杯5度目Vへ王手. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 28 January 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  141. 苦しみ抜いた南野が一矢、小3から変わらぬ強い体幹. Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 2 February 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  142. "In profile: Takumi Minamino". Liverpool F.C. สืบค้นเมื่อ 19 December 2019.
  143. 日本、大迫&南野のゴールでパラグアイに快勝!久保は最年少弾お預けも積極プレーで沸かせた. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 5 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    最年少出場の久保 プジョルの言葉胸にW杯へ第1歩. Nikkan Sports (ภาษาญี่ปุ่น). 10 September 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    日本代表 モンゴルに6発大勝!南野3戦連発 伊東が3アシストの活躍 久保は出番なし. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 10 October 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    日本"完全アウェー"何の!W杯予選3連勝 南野4戦連発&2得点、浅野も続いた!. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 15 October 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
    森保J、W杯2次予選4連勝!南野"カズ超え"4戦連発 原口はFK弾 キルギスに敵地で2―0. Sponichi Annex (ภาษาญี่ปุ่น). 14 November 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  144. "adidas「predator lethal zones」と目指す頂点、そして世界。C大阪の俊英FW南野「まずはこのスパイクで優勝します!」". Web Gekisaka (ภาษาญี่ปุ่น). 30 October 2013. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  145. "南野拓実選手「1分間連続ハイタッチ」ギネス世界記録(TM)達成のお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 14 January 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  146. "5 things you might not know about new Liverpool signing Takumi Minamino". FourFourTwo. 22 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.
  147. "英国リバプールでデビュー「南野拓実」のAKB48愛". Smart Flash (ภาษาญี่ปุ่น). 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  148. "Liverpool New Star Minamino Takumi talks about his love with AKB48". JShowBiz. 17 January 2020. สืบค้นเมื่อ 16 February 2020.
  149. 149.0 149.1 149.2 "Japan - T. Minamino - Profile with news, career statistics and history - Soccerway". int.soccerway.com. สืบค้นเมื่อ 16 December 2019.
  150. "Games played by ทากูมิ มินามิโนะ in 2019/2020". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  151. 151.0 151.1 "Games played by ทากูมิ มินามิโนะ in 2020/2021". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 29 August 2020.
  152. "Games played by ทากูมิ มินามิโนะ in 2021/2022". Soccerbase. Centurycomm. สืบค้นเมื่อ 21 September 2021.
  153. Japan National Football Team Database เก็บถาวร 2019-03-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน(ญี่ปุ่น)
  154. "Minamino, Takumi". National Football Teams. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
  155. "Takumi Minamino: Overview". Premier League. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  156. McNulty, Phil (27 February 2022). "Chelsea 0–0 Liverpool". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 27 February 2022.
  157. "Football/Soccer: 2013 J.League Awards". Nippon News. สืบค้นเมื่อ 15 July 2020.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  158. "南野拓実選手 内閣総理大臣杯日本プロスポーツ大賞「新人賞」受賞のお知らせ" (ภาษาญี่ปุ่น). Cerezo Osaka. 27 December 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 December 2019. สืบค้นเมื่อ 22 December 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]