สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษ: Chelsea Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งอยู่ในเขตฟูลัม, ลอนดอน ซึ่งเล่นอยู่ในพรีเมียร์ลีก ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษ สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1905 สโมสรได้เล่นอยู่บนลีกสูงสุดของประเทศเป็นส่วนใหญ่ในหน้าประวัติศาสตร์ของสโมสร สนามเหย้าของสโมสรคือสแตมฟอร์ดบริดจ์ มีความจุ 41,837 ที่นั่ง สแตมฟอร์ดบริดจ์เป็นสนามเหย้านับตั้งแต่มันถูกสร้างขึ้น
ประวัติ
ก่อตั้ง (1905 - 1951)
สโมสรฟุตบอลเชลซี ก่อตั้งในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ.1905 โดย กุส เมียร์ส และได้เปลี่ยนสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์จากสนามกรีฑาเป็นสนามฟุตบอล โดยในตอนแรกจะใช้ชื่อว่า ฟูแลมเอฟซี แต่ไปซ้ำกันกับสโมสรฟุตบอลฟูแลม เลยต้องเปลี่ยนชื่อ โดยตอนแรกใช้ชื่อว่า เคนชิงตันเอฟซี,สแตมฟอร์ดบริดจ์เอฟซี แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น ลอนดอน เอฟซี และเปลี่ยนเป็นเชลซีเอฟซี และได้ก่อตั้ง ณ ผับไรซิ่งซัน (ณ ปัจจุบันชื่อ เดอะบุชเชอร์สฮุก)
สโมสรเชลซีได้เลื่อนชั้นมาเล่นดิวิชั่น1ครั้งแรกในซีซั่นที่2หลังการก่อตั้งสโมสร (ฤดูกาล 1906-07) แต่พวกเขาก็ลงไปขึ้นมาระหว่างดิวิชั่น1และดิวิชั่น2เรื่อยๆ พวกเขาเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ในปี 1915 แต่ก็แพ้สโมสรฟุตบอลเชฟฟีลด์เวนส์เดย์ที่สนามโอลด์แทรฟฟอร์ดไป 0 ประตูต่อ 3 และจบอันดับที่3ในดิวิชั่น1ฤดูกาล 1919-20 และพวกเขาก็เริ่มซื้อสตาร์ดังเข้าทีมมากขึ้น
แชมป์แรก (1952 - 1961)
อดีตกองหน้าอาร์เซนอลและทีมชาติอังกฤษอย่าง เท็ด เดร็ก ได้เข้ามาคุมเชลซีใน ค.ศ.1952 และปรับสโมสรให้ทันสมัยด้วยการโละกลุ่มทหารหลวงวัยเกษียณ และได้ปรับทีมเยาวชนและการซ้อมให้เข้มข้นมากขึ้น และซื้อสตาร์จากลีกสมัครเล่นมากมาย จนกระทั่งพวกเขาได้ถ้วยแรกในประวัติศาสตร์ในฤดูกาล 1954-55 เมื่อพวกเขาได้แชมป์ดิวิชั่น 1 และอันที่จริงเชลซีจะเป็นทีมแรกจากอังกฤษที่ได้ไปฟุตบอลระดับสโมสรยุโรปด้วยซ้ำ แต่ถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษห้ามไว้ไม่ให้ไปแข่งขัน เดรกถูกปลดจากตำแหน่งในปี 1961 และแทนที่ด้วยทอมมี่ โดเชอร์ตี้ที่เข้ามาในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการทีม
ทีมใหม่ (1962 - 1970)
รูปปั้นปีเตอร์ ออสกู๊ด ตำนานเชลซีหน้าสแตมฟอร์ดบริดจ์
โดเชอร์ตี้ได้ทำการปรับปรุงระบบทีมใหม่ค่อนข้างเยอะ เขาได้โละแข้งเก่าหลายคนออกจากทีม และได้ซื้อนักเตะใหม่มากมายเช่นกัน หนึ่งในนั้นคือปีเตอร์ ออสกู๊ด ตำนานสโมสร และพวกเขาก็คว้าแชมป์ลีกคัพได้ในฤดูกาล 1964-65 ในการเอาชนะเลสเตอร์ซิตีที่มีกอร์ดอนแบงส์ นายทวารจอมหนึบด้วยสกอร์ 3-2 (ในสมัยนั้นนัดชิงลีกคัพแข่งกันสองนัด) และในสามซีซั่นหลังพวกเขาก็สามารถเข้าชิงทุกถ้วยที่ลงเล่นได้ แต่เป็นรองแชมป์ทั้งหมด และเดฟ เซ็กตันเข้ามาแทนที่โดเชอร์ตี้ เชลซีคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ในปี 1970 โดยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ดไป 2-1 ในนัดรีเพลย์ และในปีต่อมาพวกเขาก็สามารถคว้าโทรฟี่ระดับทวีปยุโรปด้วยการเข้าชิงชนะเลิศยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพกับสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดได้ 2-1 ในนัดรีเพลย์ที่เอเธนส์
ตกต่ำ (1970 - 1992)
เชลซีถึงยุคตกต่ำในยุคปลาย 1970 ถึงต้น 1990 เมื่อพวกเขาขายสตาร์ดังไปมากมาย และตกชั้นจนแถมยังไม่สามารถขึ้นมาลีกสูงสุดได้ แต่แล้วในปี 1982 เคน เบตส์ ได้เข้ามาซื้อสโมสรด้วยราคา 1 ล้านปอนด์ และเขาก็ปรับปรุงสนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ให้ดีขึ้น แต่มันไม่ได้ช่วยอะไร แถมพวกเขาเกือบจะตกชั้นไปดิวิชั่น 3 ในปีเดียวกัน แต่ในปี 1984 จอห์น นีล ได้ดึงทีมขึ้นชั้นมาจากดิวิชั่น 2 ด้วยการคว้าแชมป์ในปี 1983-84 และตกชั้นอีกครั้งในปี 1987-88 ก่อนที่จะเลื่อนชั้นอีกครั้งในปี 1988-89 ด้วยแต้มที่ห่างกับสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีไปถึง 17 คะแนน
กลับมารุ่งเรืองและฉายา "สิงห์บอลถ้วย" (1992 - 2004)
ในปี 1992 ก็เริ่มมีการซื้อสตาร์ดังมากมาย และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอคัพ ฤดูกาล 1993-94 โดยฝีมือของ เกล็นน์ ฮ็อดเดิ้ล แต่พวกเขาก็แพ้สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปอย่างราบคาบ 0-4 จนกระทั่งรุด กุลลิต เข้ามาทำทีมในฐานะ ผู้เล่น-ผู้จัดการทีม ในปี 1996 และพาทีมเข้าชิงชนะเลิศในปี 1997 และเอาชนะสโมสรฟุตบอลมิดเดิลส์เบรอไปได้ 2-0 จากการยิงของโรแบร์โต ดี มัตเตโอในช่วงเวลาเพียงแค่ 42 วินาทีเท่านั้น และเอ็ดดี นิวตันในนาทีที่ 83 กุลลิทถูกแทนที่โดยจิอันลูก้า วิอัลลี่ โดยพาทีมเข้าชิงลีกคัพปี 1998 และชนะมิดเดิลสเบรอด้วยสกอร์เดิม ในช่วงต่อเวลาพิเศษ และเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพปี 1998 และได้แชมป์สมัยที่สองด้วยการเอาชนะเฟาเอฟเบชตุทท์การ์ทไป 1-0 จากประตูของจันฟรังโก โซลาซึ่งยังลงมาเล่นไม่ถึงครึ่งนาทีด้วยซ้ำ และชนะเลิศยูฟ่าซูเปอร์คัพในปีเดียวกันด้วยการเอาชนะเรอัลมาดริดไป 1-0 และชนะเลิศเอฟเอคัพในปี 2000 โดยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาไป 1-0 จากประตูของโรแบร์โต ดี มัตเตโอคนเดิม รวมถึงได้สัมผัสยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกแต่ก็ตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยน้ำมือของสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาด้วยสกอร์รวม 6-4 วิอัลลี่ถูกปลดจากตำแหน่งและถูกแทนที่ด้วยเกลาดีโอ รานีเอรีและเข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพปี2001-02 แต่สุดท้ายก็พ่ายสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลไป 0-2
สำหรับในประเทศไทยเชลซียุคนี้ถือว่าเป็น "สิงห์บอลถ้วย" เลยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ (2004 - 2011)
โรมัน อับราโมวิช ผู้เปลี่ยนแปลงสโมสรฟุตบอลเชลซีตลอดกาล (ในภาพ ปี 2008)
เคนเบตส์ได้ขายสโมสรราคา 140 ล้านปอนด์ ให้กับนักการเมืองมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย โรมัน อับราโมวิช และได้ทุ่มซื้อสตาร์ดังมามากมาย และได้ทำเรื่องงงงวยให้กับแฟนบอลด้วยการปลดรานีเอรี่ออกจากตำแหน่ง และแทนที่ด้วยโชเซ มูรีนโย ซึ่งก็ไม่ใช่การตัดสินใจที่ผิดเพราะมูรินโยได้เข้ามาเป็นตำนานกุนซือที่นำพาความสำเร็จมาให้สโมสรมากมายทั้งการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2004-05 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสรด้วยคะแนนประวัติศาสตร์ถึง 95 คะแนน และยังเอาชนะสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลในนัดชิงฟุตบอลลีกคัพได้ 3 ประตูต่อ 2 คว้าแชมป์ไปแบบยิ่งใหญ่ แต่ก็ถูกคู่ปรับรายเดียวกันถีบตกรอบยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกจาก "ประตูผี" ของหลุยส์การ์เซีย ในปีต่อมาพวกเขายังได้แชมป์อีกด้วยคะแนน 92 คะแนนและยังชนะเลิศเอฟเอคัพด้วยการเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไป 1-0 ในปี 2007 และยังคว้าแชมป์ลีกคัพได้จากการเอาชนะอาร์เซนอลไป 2-1 จากสองลูกของดีดีเย ดรอกบาตำนานกองหน้าของสโมสรเชลซี เขาถูกปลดในปี 2007 และถูกแทนที่ด้วย อัฟราม แกรนท์ กุนซือผู้พาทีมเข้าชิงยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกก่อนจะไปพ่ายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดอย่างน่าเจ็บปวดในการดวลจุดโทษ 5-6 โดยจอห์น เทอร์รี่และนีกอลา อาแนลกายิงจุดโทษไม่เข้า ในปีต่อพวกเขาดึง หลุยส์ ฟิลิปเป สโคลารี เข้ามาคุมทีม แต่ก็ฟอร์มแย่จนโดนปลดออกไป นอกจากจะพลาดแชมป์ลีกและบอลถ้วยแล้ว พวกเขายังตกรอบรองชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี 2008-09 ในยุคของกุส ฮิดดิงค์จากการพ่ายให้กับบาร์เซโลนาด้วยกฏประตูทีมเยือนของอันเดรส อีเนียสตา และเป็นแมตช์ที่ผู้ตัดสินถูกครหาเกี่ยวกับการตัดสินในวันนั้นที่ดีดีเย ดรอกบา ถึงกับสาดน้ำลายด่าผู้ตัดสินออกการถ่ายทอดสดอย่างสนุกปาก ทำให้ยูฟ่าแบนเขาสามนัดด้วยกัน แต่ก็ยังได้แชมป์เอฟเอคัพด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันไป 2-1 จากประตูของดีดีเย ดรอกบาและแฟรงค์ แลมพาร์ดในปีต่อมา คาร์โล อันเชล็อตติได้มาคุมเชลซีแทนและได้แชมป์พรีเมียร์ลีกด้วยการยิงประตูมากที่สุดในประวัติศาสตร์ถึง 103 ประตูใน1ซีซั่น และยังป้องกันแชมป์เอฟเอคัพได้จากประตูสุดสวยของดีดีเย ดรอกบาจากการยิงฟรีคิกใส่สโมสรฟุตบอลพอร์ตสมัทและชนะไป 1-0 ซีซั่น 2010-11 เป็นซีซั่นที่ดีในช่วงแรก แต่หลังจากเรย์ วิลกิ้นส์ ออกจากเชลซี รวมถึงการเป็นโรคไข้มาลาเรียของดิดิเย่ร์ ดรอกบา ทำให้พวกเขาไม่ชนะถึงหกนัดติด ซึ่งรวมถึงการพ่ายสโมสรฟุตบอลซันเดอร์แลนด์น้องใหม่ในปีนั้นด้วยสกอร์อัปยศ 0-3 อีกด้วย แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็เก็บชัยชนะจนคว้าโควตาไปเล่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปีต่อมา
แชมป์ยุโรป 2 ถ้วย 2 ปีซ้อนและแชมป์เก่าที่แย่ที่สุดในประวัติศาสตร์ (2011 - ปัจจุบัน)
นักเตะเชลซีกำลังฉลองแชมป์พรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2014-15
แชมป์ยูโรปาลีกสมัยที่สองของเชลซี ฤดูกาล 2018-19
ซีซั่น 2011-12 เป็นซีซั่นที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร เมื่อพวกเขาเข้าชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกและเอาชนะสโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิกในการดวลจุดโทษ โดยพวกเขาเกือบจะแพ้เมื่อโทมัส มึลเลอร์โหม่งผ่านปีเตอร์ เช็กเข้าไป แต่ในนาทีที่ 88 ดีดีเย ดรอกบาก็โหม่งผ่านมานูเอล นอยเออร์ตีเสมอเป็น 1-1 และดวลจุดโทษเอาชนะ 4-3 และเป็นแชมป์ไปในที่สุด อีกทั้งยังคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้อีกสมัยด้วยการเอาชนะลิเวอร์พูลในรอบชิงชนะเลิศ แม้ในลีกจะจบเพียงที่6ก็ตาม ปีต่อมา ราฟาเอล เบนิเตซได้เข้ามาคุมทีมและคว้าแชมป์ยูฟ่ายูโรปาลีกไปได้จากการเอาชนะสโมสรฟุตบอลไบฟีกา 2 ประตูต่อ 1 จากประตูชัยของ เฟร์นานโด ตอร์เรส และ บรานิสลาฟ อีวานอวิช ในปีต่อมาพวกเขาได้ดึงโชเซ มูรีนโยกลับมาคุมทีมอีกครั้ง แต่ไม่ได้แชมป์อะไรเลยในปีแรก แต่ในปีต่อมาพวกเขาคว้าดับเบิ้ลแชมป์ด้วยการคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2014–15 ได้สำเร็จ และคว้าแชมป์แคปิตอลวันคัพด้วยการเอาชนะสโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์ไป 2-0 จากจอห์น เทอร์รี่และ เดียโก โกสตา
ในฤดูกาล 2015-16 พวกเขามาพร้อมกับความคาดหวังที่สูงมาก แต่พวกเขาไม่สามารถเอาชนะได้เลยในปรีซีซั่น และแพ้ศึกเอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ต่ออาร์เซนอลไป 0-1 และเป็นครั้งแรกด้วยที่โชเซ มูรีนโยแพ้ให้กับอาร์แซน แวงแกร์ด้วย และพวกเขาแพ้ได้ทุกทีมไม่เว้นแม้กระทั่งน้องใหม่จากการพ่ายสโมสรฟุตบอลบอร์นมัทไป 0-1 และหลังจากการพ่ายแพ้เลสเตอร์ซิตี 1-2 ทำให้อบราโมวิชต้องตัดสินใจปลดโชเซ มูรีนโยออก และดึงกุส ฮิดดิ้งค์เข้ามาแทน ถึงแม้จะดีขึ้นบ้าง แต่ก็เสมอบ่อยมาก และตกรอบทุกถ้วยที่ลงเล่น ทำให้จบฤดูกาลด้วยอันดับ10ไม่ได้ไปฟุตบอลระดับทวีป ในปีต่อมาอันโตนีโอ กอนเตได้เข้ามาคุมทีมหลังจบศึกยูโร 2016 ที่ประเทศฝรั่งเศสและทำทีมชนะสามนัดแรก ก่อนที่จะเสมอให้กับสโมสรฟุตบอลสวอนซีไป 2-2 หลังจากนั้นก็แพ้ลิเวอร์พูล 1-2 และแพ้อาร์เซนอล 0-3 แต่หลังจากได้เปลี่ยนแผนเป็น 3-4-3 พวกเขาก็ชนะ 13 นัดรวดเป็นสถิติสโมสร ก่อนที่จะพ่ายท็อตแนมฮ็อทสเปอร์สไป 0-2 ที่ไวต์ฮาร์ทเลน และยังไม่แพ้ใครหลังจากแพ้ท็อตแน่มอีกเลยจนกระทั่งพ่ายให้กับคริสตัลพาเลซ 1-2 คาสแตมฟอร์ดบริดจ์ แต่ก็สามารถคว้าแชมป์ได้หลังจากการเอาชนะเวสบรอมมิชอัลเบี้ยนไป 1-0 ที่เดอะฮอว์ธอร์นส์ ก่อนจะทำสถิติแชมป์ที่ชนะ 30 นัดรวดในเวลาต่อมา
ต่อมาในฤดูกาล 2017-18 เชลซีพลาดท่าพ่ายเบิร์นลีย์ 2-3 ในนัดแรก แต่ในนัดต่อ ๆ มา ก็สามารถรักษามาตรฐานของตัวเองไว้ได้ จนกระทั่งท้ายฤดูกาลกลับฟอร์มหลุดดื้อๆ จากที่เคยการันตีพื้นที่ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก กลายเป็นหลุดและไป ยูฟ่ายูโรปาลีก แทน เชลซีได้ปลดกอนเตและให้ เมาริซิโอ ซาร์รี่ เข้ามาคุมทีมแทน เขาได้สร้างสถิติชนะหลายนัดร่วมกับลิเวอร์พูลและแมนซิตี้ แต่เล่นไปเล่นมาผลงานกลับสะดุดดื้อๆ และแพ้บอร์นมัธไปถึง 0-4 ทำให้อนาคตของซาร์รี่ในช่วงนั้นไม่ค่อยดีนัก รวมถึงถูกแมนเชสเตอร์ซิตีถล่มแบบหมดสภาพไปถึง 0-6 แพ้เละที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีกของสโมสรเชลซี แถมยังตกรอบเอฟเอคัพด้วยการพ่ายแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 0-2 คาเดอะบริดจ์ รวมไปถึงการพ่ายจุดโทษแมนฯ ซิตี้ในศึกลีกคัพในการดวลจุดโทษ 3-4 แต่นั่นเป็นลางดีเพราะการรับมือแมนฯ ซิตี้ในเวลา 120 นาทีได้สำเร็จ แต่ก็มีปัญหาเมื่อเกปา อาร์ริซาบาลากาดันขัดคำสั่งให้เปลี่ยนตัวของเมาริซิโอ ซาร์รีทำให้หลายคนกังวลถึงสปิริตของทีม ซึ่งทั้งคู่ก็ออกมาขอโทษเสร็จสรรพ พร้อมการดร็อปเกปาในนัดที่เอาชนะท็อตแน่มฮ็อทสเปอร์สไป 2-0 และนัดต่อมาก็เอาชนะฟูแลมไป 2-1 ถึงคราเวนคอตเทจโดยที่เกปาได้ลงสนาม นับเป็นสัญญาณที่ดีของความสัมพันธ์ของทั้งคู่ หลังจากนั้นเชลซีแม้จะสะดุดบ้าง แต่ด้วยความที่อีกสามทีมที่ชิงสามอันดับแรกสะดุดทั้งหมด ทำให้เชลซีสามารถคว้าสามอันดับแรกได้สำเร็จ ส่วนในฟุตบอลสโมสรยุโรปอย่างยูฟ่า ยูโรปาลีก พวกเขาชนะทุกนัดตั้งแต่รอบ 32 ทีมถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย จนกระทั่งสะดุดในรอบรองชนะเลิศกับไอน์ทรัคค์ แฟรงค์เฟิร์ต ด้วยการเสมอ 1-1 ทั้งสองนัด แต่ก็สามารถชนะจุดโทษได้ด้วยสองเซฟของเกปา เข้าชิงชนะเลิศกับอาร์เซนอลที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน และเอาชนะไปได้อย่างท่วมท้น 4-1 ด้วยประตูของ ชิรูด์,อาซาร์,และเปโดร คว้าแชมป์ยูโรปาลีกสมัยที่สอง และยังเป็นแชมป์แรกในชีวิตของ เมาริซิโอ ซาร์รี ตั้งแต่ทำงานกุนซือมาด้วย
แต่หลังจากนั้นเชลซีก็ต้องเสียทั้งเอแด็ง อาซาร์, ดาวิด ลุยส์ รวมไปถึงกุนซืออย่างเมาริซิโอ ซาร์รี และยังไม่สามารถซื้อนักเตะทั้งฤดูกาล 2019-20 ได้จากการผิดกฏผู้เล่นเยาวชนถึง 31 คน แต่แฟนเชลซีก็ได้ยินดีอีกครั้งเมื่อได้แฟรงค์ แลมพาร์ด มาคุมทีม และยังได้เปลี่ยนถ่ายผู้เล่นหลายคน ด้วยนักเตะที่มีไม่เยอะทำให้ช่วงแรกเชลซีฟอร์มไม่นิ่งอย่างมาก โดยเฉพาะนัดแรกที่ถูกแมนฯ ยูถล่มถง 4-0 แต่เมื่อปรับตัวได้แล้ว เชลซีก็มีฟอร์มที่ร้อนแรงในลีก ชนะ 6 นัดรวด แต่ก็กลับไปมีฟอร์มแย่เหมือนเดิมในช่วงปลายปี 2019 ก่อนที่จะกลับมามีฟอร์มดีอีกครั้งเมื่อสามารถผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมศึกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกด้วยการเอาชนะลีลล์ไป 2-1 ก่อนที่จะไม่ชนะใคร 4 นัดรวด แต่ก็กลับมาเอาชนะท็อตแน่มฮ็อทสเปอร์สได้ 2-1 แต่ก็แพ้บาเยิร์นมิวนิคในบ้านในรอบ 16 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกนัดแรกถึง 0-3
สแตมฟอร์ดบริดจ์
สนามฟุตบอลสแตมฟอร์ดบริดจ์
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน ค.ศ. 1877 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสก็อตแลนด์ สามารถจุคนได้กว่า 42,000 คน และจะมีแผนขยายเป็น 60,000 คน แต่แผนถูกเลื่อนไปโดยไม่มีกำหนด[ต้องการอ้างอิง]
สนามซ้อม
ในตอนแรก เชลซีใช้สนามซ้อมเฮลลิงตันในการซ้อม แต่ก็ย้ายไปที่ค็อบแฮมในปี2004 เพราะสโมสรฟุตบอลควีนส์พาร์กเรนเจอส์ได้เข้ามาซื้อสนามซ้อมในปี2005
ผู้เล่น
- ณ วันที่ 10 กันยายน ค.ศ. 2020[3]
ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นไร้สัญญา
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นอื่น ๆ
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
ผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปี
ทำเนียบผู้จัดการทีม
เกียรติประวัติ
ระดับประเทศ
- ดิวิชันหนึ่ง/พรีเมียร์ลีก
- ชนะเลิศ (6): 1954–55, 2004–05, 2005-06, 2009–10, 2014–14, 2016–17
- เอฟเอคัพ[7][8]
- ชนะเลิศ (8): 1969–70, 1996–96, 1999–00, 2006–07, 2008–09, 2009–10, 2011–12, 2017–18
- อีเอฟแอลคัพ
- ชนะเลิศ (5): 1964–65, 1997–98, 2004–05, 2006–07, 2014–15
ระดับทวีปยุโรป
ระดับโลก
รายการอื่น ๆ
- เอฟเอยูธคัพ
- ชนะเลิศ (4): 1960, 1961, 2008, 2010
สถิติ
- สถิติผู้ชมสูงสุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดพบกับอาร์เซนอล ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผู้ชมเข้ามาชมถึง 182,905 คน
- สถิติผู้ชมน้อยที่สุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดที่พบกับ ลินคอล์น ซิตี้ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 มีผู้ชมเพียง 110 คน
- สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ จิวเนส ฮัทคาเรจ ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 13-0 ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1971
- สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ วีแกน แอดแลนติก ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 8-0 ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ 2010
- สถิติแพ้สูงสุด : ในนัดพบกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอร์เรอร์ส ที่อัดพวกเขาไป 8-1 ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1953
- ผู้เล่นในลีกสูงสุด : รอน แฮร์ริส, 655 นัด, 1962-80
- สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 68 ล้านปอนด์, อัลวาโร โมราตา จาก เรอัลมาดริด,กรกฎาคม ค.ศ. 2017
- สถิติขายนักเตะแพงที่สุด : 50 ล้านปอนด์, ออสการ์ ไป เซี่ยงไฮ้เอสไอพีจี, มกราคม ค.ศ. 2017
- นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดใน 1 ฤดูกาล :ดิดิเย่ร์ ดรอกบา , 37 ประตู , 2009-2010
- นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดในช่วงที่อยู่กับเชลซี : แฟรงค์ แลมพาร์ด, 211 ประตู, 2001-2014
- ยิงประตูรวมมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก : 103 ประตู, 2009-10
ในประเทศไทย
สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนเชลซี เช่น ธนิน มนูญศิลป์ (นักแสดง), นนทนันท์ อัญชุลีประดิษฐ์ (นักร้อง), จิรายุ ละอองมณี (นักแสดงและนักร้อง), พีระพัฒน์ โน๊ตชัยยา (นักฟุตบอลทีมชาติไทย) เป็นต้น
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์แฟนคลับในประเทศไทย
|
---|
| ฤดูกาล | | |
---|
| สโมสร |
|
---|
| การแข่งขัน | |
---|
| การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง | |
---|
|
|
---|
|
(c) = รักษาการ; (i) = ชั่วคราว; (p) = ผู้เล่น-ผู้จัดการทีม |
|
|
---|
| แชมป์ 13 สมัย | เรอัลมาดริด (1955-56, 1956-57, 1957-58, 1958-59, 1959-60, 1965-66, 1997-98, 1999-2000, 2001-02, 2013-14, 2015-16, 2016-17, 2017-18) | |
---|
| แชมป์ 7 สมัย | เอซี มิลาน (1962-63, 1968-69, 1988-89, 1989-90, 1993-94, 2002-03, 2006-07) |
---|
| แชมป์ 6 สมัย | ลิเวอร์พูล (1976-77, 1977-78, 1980-81, 1983-84, 2004-05, 2018-19) • ไบเอิร์นมิวนิก (1973-74, 1974-75, 1975-76, 2000-01, 2012-13, 2019-20) |
---|
| แชมป์ 5 สมัย | บาร์เซโลนา (1991-92, 2005-06, 2008-09, 2010-11, 2014-15) |
---|
| แชมป์ 4 สมัย | อายักซ์ (1970-71, 1971-72, 1972-73, 1994-95) |
---|
| แชมป์ 3 สมัย | |
---|
| แชมป์ 2 สมัย | |
---|
| แชมป์สมัยเดียว | |
---|
|
|
---|
| แชมป์ 13 สมัย | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ( 1992–93, 1993–94, 1995–96, 1996–97, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2006–07, 2007–08, 2008–09, 2010–11, 2012–13) | |
---|
| แชมป์ 5 สมัย | |
---|
| แชมป์ 4 สมัย | |
---|
| แชมป์ 3 สมัย | |
---|
| แชมป์สมัยเดียว | |
---|
|