สโมสรฟุตบอลนอตทิงแฮมฟอเรสต์ (อังกฤษ: Nottingham Forest Football Club) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ฟอเรสต์ เป็นสโมสรฟุตบอลประจำเมืองนอตทิงแฮม ประเทศอังกฤษ มีฉายาในภาษาไทยว่า "เจ้าป่า" เป็นสโมสรที่เคยประสบความสำเร็จอย่างสูงด้วยการได้แชมป์ดิวิชันหนึ่ง (พรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน) 1 สมัย รวมถึงได้แชมป์ยูโรเปียนคัพ (ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปัจจุบัน) ได้ถึง 2 สมัยติดต่อกัน คือใน ปี ค.ศ.1979 และ 1980 ก่อนจะตกต่ำถูกลดชั้นลงไปเล่นในลีกระดับรอง ปัจจุบันฟอเรสต์เล่นอยู่ในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป อันเป็นลีกรองลงมาจากพรีเมียร์ลีก
ประวัติ[แก้]
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ ได้ก่อตั้งใน 1865 โดยกลุ่ม shinty (เป็นสโมสรที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่อยู่มาถึงปัจจุบัน) ใน 1862 พวกเขาเข้าร่วมใน Football Alliance ใน 1888 และได้ชนะในการแข่งขันในปี 1892. พวกเขาได้รับอนุญาตให้เข้ากับฟุตบอลลีกและฟอเรสต์ชนะ เอฟเอคัพในปี 1898 ฟอเรสต์ อ้างเกียรติยศของพวกเขาขณะที่พวกเขาชนะเอฟเอคัฟ 1898 ชนะ ดาร์บีเคาน์ตี 3-1 ที่สนามของคริสตัลพาเลซ อย่างไรก็ตาม สโมสรได้ใช้ตกชั้นไปเล่นในลีกสอง (แชมป์เปียนชิพในปัจจุบัน) ในปี 1949 และสโมสรก็ได้ตกชั้นไปเล่นใน ลีกสาม (ลีกวันในปัจจุบัน), ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาในอีกสองปี หลังจากนั้นก็ได้แชมป์ "แชมป์เปียนชิพ" พวกเขาได้เลื่อนชั้นไปเล่นใน พรีเมียร์ชิพ(พรีเมียร์ลีกในปัจจุบัน) ในปี 1957 และชนะเอฟเอคัพเป็นครั้งที่สองในปี 1959, แม้สูญเสีย รอย ดไวทย์ ลุงของ เอลตัน จอห์น และ เป็นทีมแรกที่เอาชนะ 'hoodoo' ที่ Wembley โดยครั้งนี้ได้กลายเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในนอตทิงแฮม แต่หลังจากที่ยิ่งใหญ่สุด ๆ ได้เข้ารอบรองชนะเลิศในปี 1967 ฟอเรสต์ก็ตกชั้นจากพรีเมียร์ชิพในปี 1972
ฟอเรสต์เป็นทีมเล็ก ๆ ใน ลีกมาตรฐานของอังกฤษ จนกระทั่งกลางปี 1970 เมื่อ ไบรอัน คลัฟ และผู้ช่วยของเขา ปีเตอร์ เทเลอร์ เข้ามาคุมทีม คลัพว์เป็นผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของฟอเรสต์ พวกเขาได้แชมป์ลีกกับทีม คาร์บี้เคาว์ตี้ ในปี 1972 ที่ลนามของ ฟอเรสต์ ในวันที่ 6 มกราคม ปี 1975 หลังจากแพ้ 0-2 ในบ้านของพวกเขาต่อ น็อต เคาน์ตี ในวัน บ็อกซิง เดย์ (ฟอเรสต์ ไม่มีบอดร์ตัดสินใจ) จึงไล่ผู้จัดการทีมคนเก่าออก อลัน บราวน์ และเมื่อคลัวพ์ได้มาคุมเป็นนัดแรก มีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เอฟเอคัฟรอบสามนัดรีเพลยกับ ทอตแนมฮอตสเปอร์ ชนะไป1-0 ประตูชัยจากกองหน้าชาวสก็อต เนล มาร์ติน (ในการเล่นกับฟอเรสต์ มาร์ตินเป็นนักเตะคนแรกที่ยิงได้ 100 ประตู ในลีกทั้งอังกฤษและสกอตแลนด์)
ทีมชุดปัจจุบัน[แก้]
หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ
สีของสโมสร[แก้]
นอตทิงแฮมฟอเรสต์ได้ใช้เสื้อสีแดงเป็นสัญลักษณ์นับตั้งแต่การก่อตั้งสโมสรเมื่อปี ค.ศ. 1865 ในการประชุมที่ Clinton Arms ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ คณะกรรมการในที่ประชุมได้ผ่านมติให้ใช้สีแดงที่เรียกว่าสี ‘Garibaldi Red’ เป็นสีประจำทีม[4] เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ จูเซปเป การิบัลดี ผู้รักชาติชาวอิตาลีซึ่งเป็นผู้นำของพรรค Camicie rosse (พรรคเสื้อสีแดง) ซึ่งเป็นพรรคที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวให้เกิดการรวมชาติอิตาลี ในเวลานั้นสโมสรยังได้ทำเครื่องหมายสำหรับระบุทีมของตนเพิ่มด้วยการทำเครื่องประดับศีรษะและหมวกแก๊ปสีแดงมีพู่ห้อยอีก 12 ใบ ทำให้ทีมนี้เป็นที่แรกที่ใช้สีแดงเป็นสัญลักษณ์อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่นั้นมาสีแดงก็ได้เป็นสีสำคัญที่ได้รับการยอมรับจากสโมสรฟุตบอลจำนวนมาก และทีมฟอเรสต์เองก็เป็นเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการเลือกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของอาร์เซนอล จากการบริจาคคิลต์ (กระโปรงสำหรับผู้ชายชาวสก็อต) สีแดงแบบครบชุดให้แก่อาร์เซนอลเนื่องในวาระการก่อตั้งสโมสรดังกล่าวในปี ค.ศ. 1886
เกียรติประวัติ[แก้]
ระดับประเทศ[แก้]
ระดับทวีปยุโรป[แก้]
ระดับโลก[แก้]
รายการอื่น ๆ[แก้]
- Bass Charity Vase
- ชนะเลิศ (3): 1899, 2001, 2002
- Brian Clough Trophy
- ชนะเลิศ (3): 2009 (29 August), 2010 (29 December), 2011 (22 January)
- Football League Centenary Tournament
อ้างอิง[แก้]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|
---|
| ฤดูกาล | | |
---|
| สโมสร |
|
---|
| การแข่งขัน | |
---|
| การแข่งขันที่เกี่ยวข้อง | |
---|
|
|
---|
| แชมป์ 13 สมัย | เรอัลมาดริด (1955-56, 1956-57, 1957-58, 1958-59, 1959-60, 1965-66, 1997-98, 1999-2000, 2001-02, 2013-14, 2015-16, 2016-17, 2017-18) | |
---|
| แชมป์ 7 สมัย | เอซี มิลาน (1962-63, 1968-69, 1988-89, 1989-90, 1993-94, 2002-03, 2006-07) |
---|
| แชมป์ 6 สมัย | ลิเวอร์พูล (1976-77, 1977-78, 1980-81, 1983-84, 2004-05, 2018-19) • ไบเอิร์นมิวนิก (1973-74, 1974-75, 1975-76, 2000-01, 2012-13, 2019-20) |
---|
| แชมป์ 5 สมัย | บาร์เซโลนา (1991-92, 2005-06, 2008-09, 2010-11, 2014-15) |
---|
| แชมป์ 4 สมัย | อายักซ์ (1970-71, 1971-72, 1972-73, 1994-95) |
---|
| แชมป์ 3 สมัย | |
---|
| แชมป์ 2 สมัย | |
---|
| แชมป์สมัยเดียว | |
---|
|