ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 6469582 สร้างโดย 223.24.44.14 (พูดคุย)
Ardol67 (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับภาษา
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล การรบ
{{ยังไม่ได้แปล}}
| ชื่อการรบ = สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
{{Infobox Military Conflict
| conflict = สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
| สงคราม = [[สงครามโลกครั้งที่สอง]]
| รูปภาพ = [[ไฟล์:Japanese Occupation - Map.jpg|300px|แผนที่แสดงดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น (สีส้ม) ใน พ.ศ. 2483]]
| partof = [[สงครามโลกครั้งที่สอง]]
| image = [[ไฟล์:Japanese Occupation - Map.jpg|300px|แผนที่แสดงดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่น (สีส้ม) ใน พ.ศ. 2483]]
| คำบรรยาย = แผนที่แสดงดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2483
| วันที่ = [[7 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2480]] – [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2488]] (มีการปะทะกันเล็กน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2474)
| caption = แผนที่แสดงดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2483
| สถานที่ = [[สาธารณรัฐจีน (2455-2492)|สาธารณรัฐจีน]] (สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน), มองโกเลียนอก, พม่า
| date = [[7 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2480]] – [[9 กันยายน]] [[พ.ศ. 2488]] (มีการปะทะกันเล็กน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2474)
| สาเหตุ = [[เหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล]]
| place = [[สาธารณรัฐจีน (2455-2492)|สาธารณรัฐจีน]] (สาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน), มองโกเลียนอก, พม่า
| ดินแดน = จีนได้ดินแดน[[แมนจูเรีย]], [[ไต้หวัน]], และ[[เผิงหู]] กลับคืน
| casus = [[เหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล]]
| ผลลัพธ์ =
| territory = จีนได้ดินแดน[[แมนจูเรีย]], [[ไต้หวัน]], และ[[เผิงหู]] กลับคืน
| result =
* จีนได้รับชัยชนะ
* จีนได้รับชัยชนะ
* การยอมแพ้อย่างไม่เป็นทางการของทหารญี่ปุ่นในจีนแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมในดินแดนแมนจูเรีย [[เกาะฟอร์โมซา]]และ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]]เหนือเส้นขนานที่ 16 ขึ้นไป)
* การยอมแพ้อย่างไม่เป็นทางการของทหารญี่ปุ่นในจีนแผ่นดินใหญ่ (ไม่รวมในดินแดนแมนจูเรีย [[เกาะฟอร์โมซา]]และ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]]เหนือเส้นขนานที่ 16 ขึ้นไป)
บรรทัด 15: บรรทัด 14:
* จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]]
* จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกถาวร[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]]


| combatant1 = {{flagicon|ROC}} [[สาธารณรัฐจีน (2455-2492)|สาธารณรัฐจีน]]<br />
| คู่ขัดแย้ง1 = {{flagicon|ROC}} [[สาธารณรัฐจีน (2455-2492)|สาธารณรัฐจีน]]<br />
* {{flagicon image|Flag of the Chinese Communist Party.svg}} [[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]]<br />
* {{flagicon image|Flag of the Chinese Communist Party.svg}} [[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]]<br />
* {{flagicon|United States|1912}} [[สหรัฐอเมริกา]] <sup>1</sup><br />
* {{flagicon|United States|1912}} [[สหรัฐอเมริกา]] <sup>1</sup><br />
* {{flag|สหภาพโซเวียต}}
* {{flag|สหภาพโซเวียต}}
| combatant2 = {{flagicon|Japan}} [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]<br />
| คู่ขัดแย้ง2 = {{flagicon|Japan}} [[จักรวรรดิญี่ปุ่น]]<br />
* {{flagicon|Manchukuo}} [[แมนจูกัว]]
* {{flagicon|Manchukuo}} [[แมนจูกัว]]
* [[ไฟล์:Flag of the Mengjiang.svg|25px]] [[เหม่งเจียง]]
* [[ไฟล์:Flag of the Mengjiang.svg|25px]] [[เหม่งเจียง]]
บรรทัด 49: บรรทัด 48:
{{flagicon|Manchukuo}} [[จักรพรรดิปูยี]] <br />
{{flagicon|Manchukuo}} [[จักรพรรดิปูยี]] <br />
[[ไฟล์:Flag of the Republic of China-Nanjing (Peace, Anti-Communism, National Construction).svg|24px]] [[วาง จิงเว่ย]]<br />
[[ไฟล์:Flag of the Republic of China-Nanjing (Peace, Anti-Communism, National Construction).svg|24px]] [[วาง จิงเว่ย]]<br />
| strength1 = ทหารจีน 5,600,000 นาย <br /> เครื่องบินสหรัฐ 900+ ลำ<ref>Taylor, Jay, The Generalissimo, p.645.</ref> <br /> ที่ปรึกษาและนักบินโซเวียต 3600+ นาย<br />
| กำลังพล1 = ทหารจีน 5,600,000 นาย <br /> เครื่องบินสหรัฐ 900+ ลำ<ref>Taylor, Jay, The Generalissimo, p.645.</ref> <br /> ที่ปรึกษาและนักบินโซเวียต 3600+ นาย<br />
| strength2 = ทหารญี่ปุ่น 3,900,000 นาย<ref>Chung Wu Taipei "History of the Sino-Japanese war (1937-1945)" 1972 pp 535</ref> ,<br /> ทหารไส้ศึกจีน 900,000 นาย <ref>Jowett, Phillip, Rays of the Rising Sun, หน้า 72.</ref> <br />
| กำลังพล2 = ทหารญี่ปุ่น 3,900,000 นาย<ref>Chung Wu Taipei "History of the Sino-Japanese war (1937-1945)" 1972 pp 535</ref> ,<br /> ทหารไส้ศึกจีน 900,000 นาย <ref>Jowett, Phillip, Rays of the Rising Sun, หน้า 72.</ref> <br />
| casualties1 = ทหารจีน (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 3,220,000 นาย, พลเมือง 17,530,000 คน<ref>Clodfelter, Michael "Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Reference", Vol. 2, pp. 956.</ref><br />
| กำลังสูญเสีย1 = ทหารจีน (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 3,220,000 นาย, พลเมือง 17,530,000 คน<ref>Clodfelter, Michael "Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Reference", Vol. 2, pp. 956.</ref><br />
ทหารโซเวียต 227 นาย<ref>http://www.soldat.ru/doc/casualties/book/chapter4_4.html</ref>
ทหารโซเวียต 227 นาย<ref>http://www.soldat.ru/doc/casualties/book/chapter4_4.html</ref>
| casualties2 = ทหารญี่ปุ่น (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 1,100,000 นาย
| กำลังสูญเสีย2 = ทหารญี่ปุ่น (รวมที่บาดเจ็บ, เชลย, และสูญหาย) 1,100,000 นาย
| notes = <sup>1 </sup> ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 กองบินฟลายอิ้งไทเกอร์ได้รับการยกระดับเป็นกองทัพอากาศสหรัฐกองบินที่ 14<br /> <sup>2 </sup> สหภาพโซเวียตได้ให้ความข่วยเหลือทางทหารแก่จีนระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2484 <br /> <sup>3 </sup>ทหารส่วนใหญ่มาจาก[[ประเทศแมนจูกัว]] ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น
| notes = <sup>1 </sup> ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 กองบินฟลายอิ้งไทเกอร์ได้รับการยกระดับเป็นกองทัพอากาศสหรัฐกองบินที่ 14<br /> <sup>2 </sup> สหภาพโซเวียตได้ให้ความข่วยเหลือทางทหารแก่จีนระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2484 <br /> <sup>3 </sup>ทหารส่วนใหญ่มาจาก[[ประเทศแมนจูกัว]] ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น
}}
}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:04, 11 มิถุนายน 2559

สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สถานที่
{{{place}}}
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ไต้หวัน เจียงไคเช็ก
ไต้หวัน เฉิน เจี้ยน
ไต้หวัน หยาน สีซาน
ไต้หวัน หลี่ จงเหริน
ไต้หวัน ซื่อ หยู
ไต้หวัน ไป้ ช่งฉี่
ไต้หวัน ตัน เอนโบ
เหมา เจ๋อตง
จู เต๋อ
เผิง เต๋อหวย
หลิน เปียว
สหรัฐ โจเซฟ สติลเวลล์
สหรัฐ แคลร์ เชินนาวส์

สหรัฐ อัลเบิร์ต เวดเมเยอร์

จักรวรรดิญี่ปุ่น จักรพรรดิฮิโรฮิโต
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฮิเดะกิ โทโจ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฟุมิมะโระ โคะโนะเอะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น คังอิน โคะโตะฮิโตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น มะสึอิ อิวะเนะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ฮะจิเมะ ซุงิยะมะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ชุนโรกุ ฮะตะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น โทะชิโซะ นิชิโอะ
จักรวรรดิญี่ปุ่น ยะซุจิ โอะกะมุระ
จักรวรรดิญี่ปุ่น อุเมะซุ โยะชิจิโระ
ประเทศแมนจูกัว จักรพรรดิปูยี

วาง จิงเว่ย
1 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2485 กองบินฟลายอิ้งไทเกอร์ได้รับการยกระดับเป็นกองทัพอากาศสหรัฐกองบินที่ 14
2 สหภาพโซเวียตได้ให้ความข่วยเหลือทางทหารแก่จีนระหว่างปี พ.ศ. 2480 ถึง พ.ศ. 2484
3 ทหารส่วนใหญ่มาจากประเทศแมนจูกัว ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น

สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง (อังกฤษ: Second Sino-Japanese War ; จีน: 中国抗日战争 ; ญี่ปุ่น: 日中戦争) ระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2480 ถึงวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2488 เป็นสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่น เกิดขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่สองต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สองเรียกว่า "สงครามแปซิฟิก" และดำเนินเรื่อยมาจนยุติลงพร้อมกับสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชียในศริสต์ศวรรษที่ 20 [1]

ย้อนกลับไปใน พ.ศ. 2474 ญี่ปุ่นได้เข้ารุกรานแมนจูเรีย ซึ่งเหตุการณ์นี้เรียกว่ากรณีมุกเดน ทำให้ญี่ปุ่นสามารถเข้าไปมีอิทธิพลในดินแดนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล อันเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของสงครามครั้งนี้

ตั้งแต่เริ่มต้นสงครามจนถึง พ.ศ. 2484 จีนต้องต่อสู้กับญี่ปุ่นโดยลำพัง กระทั่งญี่ปุ่นได้โจมตีฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาเบอร์ อันเป็นเหตุให้สหรัฐอเมริกาต้องเข้าร่วมสงคราม ทำให้สงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นครั้งที่สองขยายวงกว้างขึ้น กลายเป็นสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุด

ภูมิหลัง

เจียงไคเช็คผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีนเป็นผู้วางแนวรบป้องกันการรุกรานของญี่ปุ่น

ความเป็นมาของสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สามารถมองย้อนหลังกลับไปเมื่อครั้ง สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ระหว่างปี พ.ศ. 2437 - พ.ศ. 2438 ซึ่งประเทศจีนในสมัยนั้น ปกครองโดยจักรพรรดิราชวงศ์ชิง พ่ายแพ้สงครามแก่ประเทศญี่ปุ่น จึงจำต้องทำสนธิสัญญาชิโมะโนะเซะกิ ซึ่งมีผลบังคับให้จีนต้องยกดินแดนเผิงหูและคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ญี่ปุ่น และต้องรับรองเอกราชแก่เกาหลี จากเหตุการณ์นี้ทำให้ราชวงศ์ชิงต้องตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตกต่ำอย่างยิ่ง ทั้งจากเหตุการณ์จลาจลภายในประเทศ และภัยจากลัทธิจักรวรรดินิยมภายนอกประเทศ ขณะเดียวกันในประเทศญี่ปุ่นสามารถรวบรวมอำนาจภายในประเทศให้เป็นปึกแผ่น อันเป็นผลทำให้ญี่ปุ่นสามารถปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ[2]

กระทั่งมีการสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นในปี พ.ศ. 2455 หลังจากเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ อันเป็นการล้มล้างราชวงศ์ชิง อย่างไรก็ตามสาธารณรัฐใหม่ก็ยังคงมีความอ่อนแอกว่าสมัยก่อน ทั้งปัญหาการแย่งชิงอำนาจของขุนศึกท้องถิ่นผู้มีอำนาจ ทำให้การพยายามที่จะรวบรวมประเทศให้เป็นปึกแผ่น การขับไล่ลัทธิจักรจรรดินิยมออกไปจากจีนเป็นเรื่องที่ยากลำบาก[3] ทำให้ขุนศึกบางคนต้องใช้นโยบายใกล้ชิดกับต่างชาติ ตัวอย่างเช่น ขุนศึก จาง จัวหลิน แห่งแมนจูเรีย ได้ร่วมมือกับญี่ปุ่น ในเรื่องความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ และทางทหาร[4]

ในปี พ.ศ. 2458 ญี่ปุ่นได้ประกาศความต้องการ 21 ประการ ในการรีดบังคับทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิประโยชน์ทางการค้าจากจีน ภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ญี่ปุ่นได้เข้ายึดดินแดนเขตอิทธิพลของจักรวรรดิเยอรมันในเขตมณฑลชานตง[5] ทำให้เกิดกระแสการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในแผ่นดินจีน แต่กระนั้นรัฐบาลจีนในขณะนั้น ยังคงแตกความร่วมมือกันอยู่ จึงทำให้ไม่สามารถต้านทานการบุกรุกล้ำดินแดนของญี่ปุ่นได้ เพื่อเป็นการรวบรวมจีนและกำจัดเหล่าขุนศึกตามท้องถิ่นให้หมดสิ้นไป พรรคก๊กมินตั๋งซึ่งมีฐานอยู่ที่เมืองกวางโจว ได้ก่อตั้งกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ออกเดินทางไกลขึ้นเหนือ[6] ในปี พ.ศ. 2469 – พ.ศ. 2471 พรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติ ได้ปราบปรามขยายขอบเขตอิทธิพลกระทั่งประชิดดินแดนชานตง ซึ่งเป็นเขตอิทธิพลของขุนนศึก จาง จงชาน ผู้ได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่น กองทัพปฏิวัติแห่งชาติถูกต่อต้านอย่างหนักจากกองทัพของจาง จงชาน ที่เมืองจี๋หนาน ในปี พ.ศ. 2471 เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า“วิกฤตการณ์จี๋หนาน”สุดท้ายพรรคก๊กมินตั๋งและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติต้องล่าถอยออกมาจากจี๋หนาน[7]

ในปีเดียวกัน จาง จัวหลิน ถูกลอบสังหารหลังได้รับการช่วยเหลือจากญี่ปุ่นไม่นาน[8] จากนั้นบุตรชายของเขา จาง เฉวเหลียง ได้เข้าครอบครองดินแดนแมนจูเรียต่อจากบิดาทันที ประกาศยกเลิกการขอรับความช่วยเหลือจากญี่ปุ่น และประกาศยอมเข้าสวามิภักดิ์ต่อพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งในขณะนั้นนำโดย เจียง ไคเชก อันเป็นผลทำให้พรรคก๊กมินตั๋งสามารถรวบรวมดินแดนประเทศจีนได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2481[9]

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2473 ได้เกิดเหตุการณ์จลาจลระหว่างขุนศึกผู้ที่เคยร่วมมือกับพรรคก๊กมินตั๋งในระหว่างการเดินทางไกลขึ้นเหนือ กับรัฐบาลกลางของเจียง ไคเช็ก ยกตัวอย่างเช่น พรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) ได้ก่อการจลาจลต่อรัฐบาลกลาง ภายหลังเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในปี พ.ศ. 2470 ดังนั้นรัฐบาลกลาง จึงได้พยายามเบี่ยงเบนความสนใจในเรื่องความไม่สงบภายในประเทศ โดยได้ประกาศ “นโยบายสงบภายในก่อนที่จะต้านทานภายนอก”

มูลเหตุของสงคราม

การรุกรานแมนจูเรีย การแทรกแซงในจีน

กองทัพคันโตขณะเดินทางเข้ายึดเมืองเสิ่นหยางในเหตุการณ์กรณีมุกเดน

สถานการณ์ภายในของจีนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ญี่ปุ่นสามารถดำเนินนโยบายรุกรานแมนจูเรียได้โดยสะดวก ญี่ปุ่นเล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ เช่น ดินแดนแมนจูเรียมีทรัพยากรทางธรรมชาติและวัตถุดิบทางอุตสาหกรรมมหาศาล และสามารถเป็นแหล่งกระจายสินค้าของญี่ปุ่น อีกทั้งยังเป็นรัฐกันชนระหว่างญี่ปุ่นกับดินแดนไซบีเรียของสหภาพโซเวียต

ญี่ปุ่นจึงเริ่มรุกรานดินแดนแมนจูเรียอย่างเปิดเผยภายหลังกรณีมุกเดน ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2474 หลังจากการประทะกันนาน 5 เดือน ญี่ปุ่นได้จัดตั้งรัฐหุ่นเชิดแมนจูกัวขึ้น โดยอัญเชิญจักรพรรดิปูยี อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและจักรพรรดิแต่เพียงในนาม รัฐบาลจีนไม่สามารถตอบโต้ทางทหารได้ จึงร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ

สันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นขอถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติโดยสิ้นเชิง แต่ก็ยังไม่มีชาติใดกล้าดำเนินนโนบายตอบโต้ทางทหารอย่างชัดเจนแก่ญี่ปุ่น

ภายหลังจากกรณีมุกเดน เกิดการประทะกันอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2475 กำลังทหารของจีนและญี่ปุ่นได้เปิดการประทะกันในกรณี 28 มกราคม ผลจากการประทะกันครั้งนี้ได้เกิดการจัดตั้งเขตปลอดทหารเซี่ยงไฮ้ขึ้น ทำให้ทางกองทัพจีนไม่สามารถคงกำลังทหารไว้ในเมืองเซี่ยงไฮ้ของตนเองได้ ทางด้านแมนจูกัวญี่ปุ่นพยายามดำเนินตามนโยบายของตนในการทำลายกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นและกระจายเป็นวงกว้าง

ในปี พ.ศ. 2476 ญี่ปุ่นเข้าโจมตีบริเวณกำแพงเมืองจีน หลังจากนั้นได้มีการเจรจาพักรบตางกู ให้อำนาจญี่ปุ่นมีเหนือดินแดนเร่อเหอ อีกทั้งยังจัดตั้งเขตปลอดทหารบริเวณกำแพงเมืองจีนกับเมืองปักกิ่ง - เทียนจิน ในจุดนี้ญี่ปุ่นพยายามจะจัดตั้งรัฐหุ่นเชิดขึ้นอีกหนึ่งแห่งระหว่างดินแดนแมนจูกัวกับดินแดนของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีนที่มีฐานบัญชาการอยู่ที่นานกิง

ญี่ปุ่นพยายามยุยงให้มีความแตกแยกภายในกันเองของจีน เพื่อเป็นการบั่นทอนกำลังทหารของจีนให้อ่อนแอลง ซึ่งญี่ปุ่นทราบจุดอ่อนของรัฐบาลแห่งชาติดีว่า ภายหลังการเดินการขึ้นเหนือของคณะรัฐบาลแห่งชาติจีน อำนาจการปกครองประเทศของรัฐบาลแห่งชาตินั้นจำกัดอยู่เฉพาะในดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีเท่านั้น หากแต่ดินแดนในส่วนอื่นนั้นยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของเหล่าขุนศึกท้องถิ่นอยู่ ญี่ปุ่นจึงพยายามผูกไมตรีและให้ความช่วยเหลือแก่เหล่าขุนศึกท้องถิ่นในการจัดตั้งรัฐอิสระขึ้นโดยให้เป็นไมตรีกับญี่ปุ่น ดินแดนเหล่านี้ได้แก่ ฉาเห่ย์ สุยหย่วน เหอเป่ย์ ซานซี และซานตง

นโยบายของญี่ปุ่นประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในดินแดนที่ปัจจุบันคือบริเวณมองโกเลียในและมณฑลเหอเป่ย์ ในปี พ.ศ. 2478 ญี่ปุ่นกดดันให้รัฐบาลจีนยอมลงนามในข้อตกลงเหอ-อุเมะซุ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามมิให้รัฐบาลก็กมินตั๋งเข้าไปมีอำนาจปกครองในมณฑลเหอเป่ย์ ในปีเดียวกันจีนจำต้องลงนามในข้อตกลงชิน-โดะอิฮะระอีกฉบับหนึ่ง เป็นการกำจัดอำนาจของรัฐบาลก็กมินตั๋งออกจากฉาเห่ย์ ด้วยเหตุนี้ นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2478 เป็นต้นมา รัฐบาลแห่งชาติจีนจึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนดังกล่าวอีกต่อไป ญี่ปุ่นได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้งสภาปกครองตนเองเหอเป่ย์ตะวันออกขึ้น ซึ่งต่อมาทางการญี่ปุ่นได้เปลี่ยนสถานะการปกครองใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นเหม่งเจียงเป็นรัฐหุ่นเชิดแห่งที่สองโดยได้ส่งเจ้าชายมองโกลเดมชูงดอมรอปช์ไปปกครองและให้การสนับสนุนด้านการทหารและเศรษฐกิจ ทางด้านจีนได้มีการจัดตั้งกองอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นขึ้น ญี่ปุ่นจึงเริ่มเข้ารุกรานแมนจูเรียและในฉาเห่ย์ สุยหย่วน

การรุกรานจีนอย่างเต็มตัว

ประชาชนจีนจำนวนมากในนานกิงเสียชีวิตจากการโจมตีของญี่ปุ่น
เจียงไคเช็กปราศรัยโจมตีคว่ำบาตรสินค้าญี่ปุ่นและอ่านคำประกาศสงครามต่อญี่ปุ่นหลังจากเหตุการณ์ ณ สะพานมาร์โค โปโล

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ส่วนมากได้ระบุจุดเริ่มต้นของสงครามจีนญี่ปุ่นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 1937 ตั้งแต่เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล เมื่อสงครามรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อเมืองปักกิ่งถูกโจมตีโดยกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นเนื่องจากกองทัพภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนที่มีการรับมือแบบไม่มีประสิทธิภาพทำให้ญี่ปุ่นเข้ายึดเมืองเป่ยผิงแลเทียนจินอย่างง่ายดาย

ศูนย์กองบัญชาการกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในโตเกียวได้เริ่มลังเลถึงการขยายความขัดแย้งที่เข้าสู่สงครามเต็มตัวเป็นความเห็นด้วยที่มีชัยชนะเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือของจีนต่อไปนี้เหตุการณ์สะพานมาร์โคโปโล อย่างไรก็ตามรัฐบาลกลางจีนได้กำหนดว่า"จุดแตกหัก"ของการรุกรานของญี่ปุ่นได้รับถึงและ เจียงไคเชกได้ระดมกองทัพอย่างรวดเร็วของรัฐบาลกลางและได้เริ่มการพัฒนากองทัพอากาศจีนคณะชาติภายใต้คำสั่งโดยตรงของเขาในการโจมตีกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นในเซี่ยงไฮ้เมื่อ 13 สิงหาคม 1937 ซึ่งนำไปสู่การยุทธการเซี่ยงไฮ้กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มีการระดมกำลังทหารกว่า 200,000 ควบคู่กับกองเรือและเครื่องบินจำนวนมากในการยึดเซี่ยงไฮ้หลังจากเกินสามเดือนของการต่อสู้ที่รุนแรงกับความสูญเสียที่ไกลเกินความคาดหวังตั้งแต่เริ่มต้นทำให้สร้างความยากลำบากในการที่จะยึดเซี่ยงไฮ้.[10] กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้เข้ายึดเมืองนานกิงเมืองหลวงของรัฐบาลกลางจีนและส่านซีตอนเหนือโดยปลายปี ค.ศ. 1937 ในสงครามที่เกี่ยวข้องกับทหารจำนวน 350,000 คนของญี่ปุ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นทหารของแมนจูกัว

นักประวัติศาสตร์ได้ประมาณการชาวจีนถึง 300,000 คนที่ถูกสังหารหมู่ในการสังหารหมู่นานกิงซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการล่มสลายของเมืองนานกิง ในวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นบางคนได้แก้ไขปรับปรุงประวัติศาสตร์ซึ่งได้ปฏิเสธการสังหารหมู่ของญี่ปุ่น

กองกำลังเปรียบเทียบ

กองทัพปฏิวัติชาติ

ธงของกองทัพปฏิวัติชาติ
ทหารของกองทัพปฏิวัติชาติ

กองทัพปฏิวัติชาติมีเจียงไคเช็กเป็นผู้บัญชาการสูงสุด กองทัพปฏิวัติชาติเป็นที่รับรู้ว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธแบบครบวงจรของจีนในช่วงสงคราม กองทัพปฏิวัติชาติประกอบด้วยทหารประมาณ 4,300,000 นาย มี 370 กองพล (จีนตัวย่อ: 正式师; จีนตัวเต็ม: 正式師), 46 กองพลใหม่ (จีนตัวย่อ: 新编师; จีนตัวเต็ม: 新編師), 12 กองพลทหารม้า (จีนตัวย่อ: 骑兵师; จีนตัวเต็ม: 騎兵師), 8 กองพลทหารม้าใหม่ (จีนตัวย่อ: 新编骑兵师; จีนตัวเต็ม: 新編騎兵師), 66 กองพลชั่วคราว (จีนตัวย่อ: 暂编师; จีนตัวเต็ม: 暫編師), และ 13 กองพลสำรอง (จีนตัวย่อ: 预备师; จีนตัวเต็ม: 預備師), รวมทั้งสิ้น 515 หน่วย

แต่หลายกองพลเกิดจากการรวมกันของสองกองพลหรือมากกว่า จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 4,000-5,000 นาย กำลังพลของกองทัพจีนคณะชาติถ้าเทียบกับกองพลญี่ปุ่นแล้วมีจำนวนใกล้เคียงกัน แต่เนื่องจากกองทัพจีนคณะชาตินั้นขาดแคลนด้านปืนใหญ่, อาวุธหนัก, และยานยนต์ที่ใช้ขนส่งกำลังพล ทำให้ 4 กองพลของจีนคณะชาติมีอำนาจในการรบเท่ากับ 1 กองพลของกองทัพญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีปัญหาในการบริหารและควบคุมกองทัพอีกด้วย เนื่องจากอำนาจในการควบคุมไม่เป็นระบบ สื่อข่าวกรอง, การส่งกำลังบำรุงในการทหาร, การสื่อสาร, และการพยาบาลนั้นถือว่าย่ำแย่ อำนาจควบคุมกองทัพจีนคณะชาตินั้นแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือ กองทัพกลาง ซึ่งเป็นการรวมตัวของกองพลที่ฝึกในโรงเรียนทหาร ฮ่วมปั่ว ซึ่งเป็นกองพลที่จงรักภักดีต่อเจียงไคเช็ค กลุ่มที่สองคือ กองทัพรวม เป็นการรวมตัวของกองพลที่บัญชาการโดยแม่ทัพของมณฑลต่างๆ

หลังจากบทเรียนความพ่ายแพ้ของจีนในการรุกรานแมนจูเรียของญี่ปุ่น ทำให้พรรคก๊กมินตั๋งไม่นิ่งนอนใจต่อการคุกคามของญี่ปุ่นอีกต่อไป กองทัพปฏิวัติชาติได้พยายามก่อตั้งกองทัพขนาดใหญ่โดยซื้ออาวุธจากเยอรมันและทำการฝึกทหารใหม่ จัดซื้ออาวุธใหม่ๆเข้าประจำในกองทัพ กองทัพปฏิวัติชาติขยายกำลังพลอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลาไม่กี่ปีก็มีจำนวนทหารส่วนใหญ่ได้รับการฝึกแบบกองทัพเยอรมัน มีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญหรือนักการทหารกับเยอรมันอย่างต่อเนื่อง

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

ธงของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น
ทหารของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น

กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมีกำลังพลประมาณ 3,200,000 นาย ส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่ประเทศจีนมากกว่าที่สมรภูมิแปซิฟิค จำนวนทหารในแต่ละกองพลมีประมาณ 20,000 นาย มี 51 กองพล ซึ่ง 35 กองพลประจำการอยู่ที่จีน และ 39 กองพลน้อย คิดเป็น 80% ของกำลังพลทั้งหมดของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น อีกทั้งยังมีหน่วยพิเศษด้านปืนใหญ่, ทหารม้า, ต่อต้านอากาศยาน, และยานเกราะ เมื่อเทียบกับกองทัพจีนคณะชาติ ทหารกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมียุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า ทหารมีประสบการณ์ในการรบมากกว่า และมีแผนการรบที่เหนือกว่าในช่วงต้นของสงคราม

ในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารญี่ปุ่นส่วนใหญ่ประจำการอยู่ที่จีน แต่ในปี ค.ศ. 1942 ได้เริ่มส่งทหารไปประจำการที่ฮ่องกง, ฟิลิปปิน, ไทย, พม่า, หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของดัตช์, และ มาลายา เพื่อขยายอิทธิพลยึดครองภูมิภาคเอเซียแปซิฟิกแต่ละประเทศที่บุกยึดได้ก็จะ ต้องคอยส่งเสบียง และ ช่วยในการผลิตอาวุธ รวมถึงการเกณฑ์ผู้คนและเชลยศึกไปเป็นแรงงานในการสร้างค่ายทหาร,สร้าง ถนน,สร้างทางรถไฟ เพื่อสะดวกในการขนเสบียงและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆไปแนวหน้า ส่วนพวกผู้หญิงก็จะถูกจับตัวไปเป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่น.

การยุทธครั้งสำคัญในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง

รายการต่อไปนี้แสดงถึงการยุทธครั้งสำคัญในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ภาพธงที่แสดงด้านหน้าหมายถึงฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ

อ้างอิง

  1. Bix, Herbert P. "The Showa Emperor's 'Monologue' and the Problem of War Responsibility", บทความญี่ปุ่นศึกษา, Vol. 18, No. 2. (ฤดูร้อน, พ.ศ. 7422), หน้า. 295–363.
  2. Wilson, Dick, When Tigers Fight: The story of the Sino-Japanese War, 1937-1945, p.5
  3. Wilson, Dick, p.4
  4. "Foreign News: Revenge?". Time magazine. 13 August 1923. {{cite news}}: ไม่อนุญาตให้ใช้มาร์กอัปตัวเอียงหรือตัวหนาใน: |publisher= (help)
  5. Palmer and Colton, A History of Modern World, p.725
  6. Taylor, Jay, p.57
  7. Taylor, Jay, p.79, p.82
  8. Boorman, Biographical Dictionary, vol.1, p.121
  9. Taylor, Jay, p.83
  10. Fu Jing-hui, An Introduction of Chinese and Foreign History of War, 2003, p.109–111

แหล่งข้อมูลอื่น