ข้ามไปเนื้อหา

หลิน เปียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หลิน เปียว
林彪
รองประธานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่หนึ่ง คนที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
1 สิงหาคม ค.ศ. 1966 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
ประธานเหมา เจ๋อตง
ก่อนหน้าหลิว เช่าฉี
ถัดไปโจว เอินไหล (1973)
รองประธานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤษภาคม ค.ศ. 1958 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
ประธานเหมา เจ๋อตง
รองนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนที่หนึ่ง คนที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
21 ธันวาคม ค.ศ. 1964 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ก่อนหน้าเฉิน ยูน
ถัดไปเติ้ง เสี่ยวผิง
รองนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ดำรงตำแหน่ง
15 กันยายน ค.ศ. 1954 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งชาติ คนที่สอง
ดำรงตำแหน่ง
17 กันยายน ค.ศ. 1959 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971
หัวหน้ารัฐบาลโจว เอินไหล
ก่อนหน้าPeng Dehuai
ถัดไปYe Jianying
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 ธันวาคม ค.ศ. 1907(1907-12-05)
หวงกัง, มณฑลหูเป่ย์, จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต13 กันยายน ค.ศ. 1971(1971-09-13) (63 ปี)
ออนดอร์กฮาน, สาธารณรัฐประชาชนมองโกเลีย
พรรคการเมืองCommunist Party of China (1927-1971)
คู่สมรสZhang Mei [zh] (1937–42)
Ye Qun (1942–71)
บุตรLin Xiaolin [zh] (daughter)
Lin Liguo (son)
Lin Liheng (daughter)
ศิษย์เก่าโรงเรียนการทหารหวงผู่
รางวัล Order of Bayi (First Class Medal)
เครื่องอิสริยาภรณ์เอกราชและเสรีภาพ (First Class Medal)
Order of Liberation (First Class Medal)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ สาธารณรัฐประชาชนจีน
สังกัด People's Liberation Army
ประจำการ1925–1971
ยศ Marshal of the People's Republic of China
Lieutenant general of the National Revolutionary Army, Republic of China
บังคับบัญชากองทัพน้อยที่หนึ่ง
กองทัพน้อยกองทัพแดงที่หนึ่ง, กองทัพแดงจีน
กองพลที่ 115, กองทัพสายที่ 8
กองทัพปลดปล่อยประชาชน
หลิน เปียว
"Lin Biao" in regular Chinese characters
ภาษาจีน

หลิน เปียว (5 ธันวาคม ค.ศ., 1907 – 13 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นจอมพลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เป็นผู้มีส่วนสำคัญในชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีน โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน หลินเป็นนายพลที่คอยบัญชาการในช่วงการทัพเหลียวเซินและพิงจินอย่างเด็ดขาด ซึ่งเขาได้มีส่วนร่วมนำกองทัพภาคแมนจูเรียไปสู่ชัยชนะและนำกองทัพปลดปล่อยประชาชนเข้าสู่ปักกิ่ง เขาได้ข้ามแม่น้ำแยงซีในปี ค.ศ. 1949 ได้เอาชนะพรรคก๊กมินตั๋งอย่างเด็ดขาดและเข้าควบคุมมณฑลชายฝั่งในทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เขาได้ตำแหน่งยศเป็นจอมพลซึ่งอยู่ในอันดับที่สามของทั้งสิบจอมพล จู เต๋อและเผิง เต๋อหวยได้ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ระดับชั้นอาวุโสของหลินและหลินอยู่ในอันดับที่สูงกว่า ฮี ลอง และ หลิว โบชาง

หลินว่างเว้นจากการมีบทบาทเคลื่อนไหวในการเมือง ภายหลังจากสงครามกลางเมืองยุติลงในปี ค.ศ. 1949 เขาได้เป็นผู้นำส่วนหนึ่งของระบบข้าราชการพลเรือนของรัฐบาลในฐานะที่หนึ่งในรองนายกรัฐมนตรีร่วมกันของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 เป็นต้นมา กลายเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1964 หลินกลายเป็นบุคคลที่เคลื่อนไหวในทางการเมืองมากขึ้น เมื่อได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานร่วมกันของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในปี ค.ศ. 1958 เขาได้ควบสามตำแหน่งที่มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรี รองประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งชาติ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 เป็นต้นมา จนถึงทุกวันนี้ หลินดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หลินกลายเป็นเครื่องมือในการสร้างรากฐานสำหรับลัทธิบูชาต่อเหมาเจ๋อตงในช่วงต้นปี ค.ศ. 1960 และได้รับรางวัลสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเขาในการปฏิวัติทางวัฒนธรรมโดยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากเหมาในฐานะที่เป็นรองประธานแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนแต่เพียงผู้เดียว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1966 จนกระทั่งเสียชีวิต

หลินเสียชีวิต เมื่อวันที่ 13 กันยายน ค.ศ. 1971 เมื่อเครื่องบินฮ็อคเกอร์-ซิดเดลี่ย์ ไทรเดินท์ ที่เขาโดยสารอยู่เกิดตกลงในเมืองออนดอร์กฮาน ประเทศมองโกเลีย เหตุการณ์ที่แน่นอนของ"อุบัติเหตุของหลิน เปียว"นี้ เป็นที่มาของการคาดเดาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา คำอธิบายอย่างเป็นทางการของรัฐบาลจีนคือหลินและครอบครัวของเขาพยายามที่จะหลบหนี ภายหลังจากการก่อรัฐประหารเพื่อโค่นล้มอำนาจของเหมาซึ่งประสบความล้มเหลว ส่วนคนอื่นๆ ต่างโต้แย้งว่า พวกเขาหลบหนีเพราะกลัวว่าพวกเขาจะถูกกำจัด เนื่องจากความสัมพันธ์ของหลินกับผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์คนอื่นๆ นั้นย่ำแย่ลงในช่วงไม่กี่ปีสุดท้ายของชีวิตเขา ภายหลังจากการเสียชีวิตของหลิน เขาได้ถูกประณามว่าเป็นคนทรยศอย่างเป็นทางการโดยพรรคคอมมิวนิสต์ นับตั้งแต่ปลายปี ค.ศ. 1970 หลินและเจียง ชิง ภรรยาของเหมา(พร้อมกับสมาชิกคนอื่นๆ ของแก๊งออฟโฟร์) ได้ถูกระบุว่าเป็นแกนนำที่สำคัญของ"กองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ"ของการปฏิวัติทางวัตนธรรม ได้รับการกล่าวประณามอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลจีนสำหรับความเลวร้ายที่มากเกินไปในช่วงเวลานั้น