วาง จิงเว่ย์
วาง จิงเว่ย์ | |
---|---|
汪精衞 | |
ประธานาธิบดีแห่งรัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 20 มีนาคม ค.ศ. 1940 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | เฉิน กงปั๋ว |
นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐจีน | |
ดำรงตำแหน่ง 28 มกราคม ค.ศ. 1932 – 1 ธันวาคม ค.ศ. 1935 | |
ประธานาธิบดี | หลิน เซิน |
ก่อนหน้า | ซุน เคอ |
ถัดไป | เจียง ไคเชก |
ประธานพรรคกั๋วหมินต่าง (ฝ่ายวาง จิงเว่ย์) | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1939 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 | |
ก่อนหน้า | สถาปนาตำแหน่ง |
ถัดไป | เฉิน กงปั๋ว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1883 ซันฉุ่ย กว่างตง จักรวรรดิชิง (ปัจจุบันคือเขตซันฉุ่ย นครฝัวชาน มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน) |
เสียชีวิต | 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944 นาโงยะ จักรวรรดิญี่ปุ่น | (61 ปี)
พรรคการเมือง | กั๋วหมินต่าง กั๋วหมินต่าง-หนานจิง |
คู่สมรส | เฉิน ปี้จุน |
บุตร | 6 คน |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพสร้างสันติภาพแห่งชาติ |
ประจำการ | ค.ศ. 1940–1944 |
ยศ | เจเนราลิสซีโม (特級上將) |
ผ่านศึก | สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง |
วาง จิงเว่ย์ | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 汪精衞 | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 汪精卫 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | (นามปากกา) | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
วาง จ้าวหมิง | |||||||||||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 汪兆銘 | ||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 汪兆铭 | ||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | (นามแรกเกิด) | ||||||||||||||
|
วาง จ้าวหมิง[a] เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากนามปากกา วาง จิงเว่ย์[b] (4 พฤษภาคม ค.ศ. 1883 – 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1944) เป็นนักการเมืองชาวจีน ผู้เป็นประธานาธิบดีแห่งรัฐบาลชาตินิยมปฏิรูปแห่งสาธารณรัฐจีน ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยในช่วงแรก เขาเป็นสมาชิกฝ่ายซ้ายของพรรคกั๋วหมินต่างที่ก่อตั้งรัฐบาลในอู่ฮั่น เพื่อต่อต้านรัฐบาลฝ่ายขวาในหนานจิง แต่ต่อมารัฐบาลอู่ฮั่นเริ่มหันมาต่อต้านคอมมิวนิสต์มากขึ้น หลังจากความพยายามของเขาในการร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนจบลงด้วยความล้มเหลวทางการเมือง
วาง จิงเว่ย์ เป็นผู้ร่วมงานคนสนิทในช่วงยี่สิบปีสุดท้ายของชีวิตซุน ยัตเซ็น โดยหลังจากอสัญกรรมของซุน ยัตเซ็น ใน ค.ศ. 1925 วางกับเจียง ไคเชก ได้ทำการแย่งชิงอำนาจในการควบคุมกั๋วหมินต่าง ซึ่งแม้ว่าท้ายที่สุดเขาจะพ่ายแพ้ แต่วางก็ยังคงอยู่เป็นสมาชิกพรรคต่อไป เขายังคงมีความขัดแย้งกับเจียงเรื่อยมาจนเมื่อเกิดสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองใน ค.ศ. 1937 เขาจึงได้ตอบรับคำเชิญจากจักรวรรดิญี่ปุ่นสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลไส้ศึกที่ญี่ปุ่นสนับสนุนในหนานจิง วางดำรงตำแหน่งประมุขแห่งรัฐของรัฐบาลหุ่นเชิดญี่ปุ่น จวบจนกระทั่งเขาถึงแก่กรรมไม่นานก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะจบลง มรดกของเขายังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์ แม้ว่าเขาจะยังคงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีส่วนสําคัญในการปฏิวัติซินไฮ่ แต่การเป็นไส้ศึกกับจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ถูกหยิบยกมาเป็นหัวข้ออภิปรายทางวิชาการจำนวนมาก[1][2] และบ่อยครั้งที่เรื่องเล่าต่าง ๆ จะมองเขาว่าเป็นผู้ทรยศในสงคราม โดยชื่อของเขามักถูกเปรียบเปรยความหมายในเชิงเดียวกันกับการทรยศ[3][4]
หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "The tragic lives of a national hero turned traitor and the wife who stayed loyal". 28 March 2010.
- ↑ Girard, Bonnie. "The Common Thread Between a Chinese Collaborator and the Chinese Communist Party". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 1 October 2023.
- ↑ "資源訊息". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2014. สืบค้นเมื่อ 17 July 2014.
- ↑ "不負少年頭:汪精衛雙照樓詩詞稿揭秘".
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- David P. Barrett and Larry N. Shyu, eds.; Chinese Collaboration with Japan, 1932–1945: The Limits of Accommodation Stanford University Press 2001.
- Gerald Bunker, The Peace Conspiracy; Wang Ching-wei and the China war, 1937–1941 Harvard University Press, 1972.
- James C. Hsiung and Steven I. Levine, eds. China's Bitter Victory: The War with Japan, 1937–1945 M. E. Sharpe, 1992.
- Ch'i Hsi-sheng, Nationalist China at War: Military Defeats and Political Collapse, 1937–1945 University of Michigan Press, 1982.