ข้ามไปเนื้อหา

ปฏิบัติการบากราตีออน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิบัติการบากราตีออน
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันออกในสงครามโลกครั้งที่สอง

การเคลื่อนกำลังในปฏิบัติการบากราตีออน
วันที่22 มิถุนายน - 19 สิงหาคม 1944
สถานที่
สหภาพโซเวียต (เบลารุสและรัฐบอลติกปัจจุบัน) และทางตะวันออกของโปแลนด์
ผล โซเวียตได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด, กองทัพกลุ่มกลางของเยอรมนีเกือบถูกทำลายลงอย่างเด็ดขาด
คู่สงคราม
นาซีเยอรมนี นาซีเยอรมนี
โรมาเนีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย
ฮังการี ราชอาณาจักรฮังการี
 สหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
นาซีเยอรมนี แอนสท์ บุช (ถึง 28 มิ.ย.)
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ โมเดิล
นาซีเยอรมนี ฮันส์ ยอร์ดัน
นาซีเยอรมนี เกออร์ก-ฮันส์ ไรน์ฮาร์ท
นาซีเยอรมนี ควร์ท ฟอน ทิพเพิลส์เคียร์ช
นาซีเยอรมนี วัลเทอร์ ไวสส์
สหภาพโซเวียต เกออร์กี จูคอฟ
สหภาพโซเวียต อะเลคซันดร์ วาซีเลฟสกี
สหภาพโซเวียต อีวาน บากราเมียน
สหภาพโซเวียต อีวาน เชเนียฮอฟสกี
สหภาพโซเวียต คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี
สหภาพโซเวียต เกออร์กี ชาฮารอฟ
กำลัง
"กำลังพลแนวหน้า" 486,493 นาย[1]
กำลังพลสนับสนุนและไม่ใช่กำลังรบ 400,000 นาย[2]
รถถัง 118 คัน[3]
รถปืนใหญ่อัตตาจร (assualt gun) 377 คัน[3]
ปืนใหญ่ 2,589 กระบอก[3]
อากาศยาน 602 ลำ[3]
ทหารโซเวียต 2,331,700 นาย
(ไม่รวมกำลังเพิ่มเติม)
ทหารโปแลนด์ 79,900 นาย
รถถัง 2,715 คัน[3]
รถปืนใหญ่อัตตาจร 1,355 คัน[3]
ปืนใหญ่ 24,363 กระบอก[3]
อากาศยาน 5,327 ลำ[4]
ความสูญเสีย
  • ไม่ทราบความสูญเสียแน่ชัด
  • แหล่งข้อมูลฝ่ายโซเวียต:
  • ทหารเสียชีวิต 381,000 นาย
  • ถูกจับเป็นเชลย 158,480 นาย[5]
  • ซาโลกา:
  • ถูกจับเป็นเชลย 150,000 นาย
  • เสียชีวิต สูญหายหรือถูกจับเป็นเชลย 300,000-350,000 นาย[6]
  • ฟรีแซร์:
  • เสียชีวิต 26,397 นาย
  • บาดเจ็บ 109,776 นาย
  • สูญหายหรือถูกจับเป็นเชลย 262,929 นาย
  • รวมทั้งสิ้น 399,102 นาย[7]
  • ทหารเสียชีวิต สูญหายหรือถูกจับเป็นเชลย 180,040 นาย
  • บาดเจ็บหรือป่วย 590,848 นาย
  • รวมทั้งสิ้น 770,888 นาย[8][9]
  • รถถังและรถปืนใหญ่อัตตาจร 2,957 คัน[10]
  • ปืนใหญ่ 2,447 กระบอก[11]
  • อากาศยาน 822 ลำ[11]

ปฏิบัติการบากราตีออน (รัสเซีย: Oперация Багратион, อังกฤษ: Operaion Bagration) เป็นชื่อรหัสของ ปฏิบัติการรุกทางยุทธศาสตร์เบลารุส โดยสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งกวาดล้องกำลังเยอรมนีออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบลารุสและโปแลนด์ตะวันออก ระหว่างวันที่ 22 มิถุนายนถึง 19 สิงหาคม ค.ศ. 1944 ชื่อของปฏิบัติการตั้งตามพลเอกปิออตร์ บากราตีออน ของจักรวรรดิรัสเซีย

กองทัพแดงซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิบัติการบากราตีออนโดยตรงมีแนวรบบอลติกที่ 1 ในบัญชาของพลเอกอีวาน บากราเมียน, แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1 ในบัญชาของพลเอกอาวุโสคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี (ผู้ได้เลื่อนยศเป็นจอมพลเมื่อ 29 มิถุนายน 1944) แนวรบเบียโลรัสเซียที่ 2 ในบัญชาของพลเอกซาฮารอฟ และแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 3 ในบัญชาของพลเอกอีวาน เชเนียฮอฟสกี ปฏิบัติการดังกล่าวลงเอยด้วยการที่กลุ่มทัพกลางของเยอรมนีถูกทำลายเกือบราบคาบ และบรรดากองทัพที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มทัพกลาง ได้แก่ กองทัพที่ 4, กองทัพยานเกราะที่ 3 และกองทัพที่ 9 เรียกได้ว่าเป็น "ความพ่ายแพ้ครั้งหายนะที่สุดของกองทัพเยอรมันทั้งหมดในสงครามโลกครั้งที่สอง"[12] เมื่อสิ้นสุดปฏิบัติการ ดินแดนส่วนมากทางตะวันตกของสหภาพโซเวียตตะวันตกถูกยึดคืน กองทัพแดงได้ฐานที่มั่นในโรมาเนียและโปแลนด์

เป้าหมายของปฏิบัติการนี้ซับซ้อนกว่ามาก กองทัพแดงปรับใช้มโนทัศน์การปฏิบัติการเชิงลึกโซเวียต ยุทธการเชิงลึกโซเวียตและมาสกีรอฟกา (การลวงทางทหาร) นวัตกรรมของสหภาพโซเวียตเหล่านี้เป็นไปได้ส่วนหนึ่งเพราะการจัดหารถบรรทุกกว่า 220,000 คันจากสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ทหารราบโซเวียตมียานยนต์ มีการเสนอแนะว่า เป้าหมายหลักของการรุกครั้งนี้ คือ หัวสะพานบนแม่น้ำวิสตูล่าทางตอนกลางของโปแลนด์ และปฏิบัติการบากราตีออนนั้นเพื่อสร้างวิกฤตการณ์ในเบลารุสเซียเพื่อหันกองหนุนเคลื่อนที่เร็วไปยังส่วนกลางโดยเป็นส่วนหนึ่งของมาสกีรอฟกา ให้ออกมาจากพื้นที่ลูบลิน-เบรสท์, ลวอฟ-ซันโดเมียร์ซที่ซึ่งสหภาพโซเวียตตั้งใจจะดำเนินการการรุกลวอฟ-ซานโดเมียร์ซ[13] และการรุกลุบลิน-เบรสท์[14]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Frieser 2007, p. 531.
  2. Zaloga 1996, p. 22.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Frieser 2007, p. 534.
  4. Glantz & House 1995, p. 201.
  5. Glantz&Oreinstein 2004, p. 176.
  6. Zaloga 1996, p. 71
  7. Frieser p. 593–594
  8. Bergstrom 2008, p. 82.
  9. Glantz & House 1995, p. 298.
  10. Krivosheev 1997, p. 371.
  11. 11.0 11.1 Krivosheev 1997, p. 203.
  12. Zaloga 1996, p. 7.
  13. Watt 2008, p. 699.
  14. Watt 2008, p. 669.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Adair, Paul (2004) [1994]. Hitler's Greatest Defeat: The collapse of Army Group Centre, June 1944. Weidenfeld Military. ISBN 1-85409-232-4.
  • Citino, Robert (2017). The Wehrmacht's Last Stand: The German Campaigns of 1944–1945. University Press of Kansas. ISBN 9780700624942.
  • Connor, William M. (1987). "Analysis of Deep Attack Operations: Operation Bagration, Belorussia, 22 June – 29 August 1944" (PDF). Fort Leavenworth, KS: Combat Studies Institute. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
  • Dunn, Walter S. (2000). Soviet Blitzkrieg: The Battle for White Russia, 1944. Lynne Riener. ISBN 9781555878801.
  • Frieser, Karl-Heinz; Schmider, Klaus; Schönherr, Klaus; Schreiber, Gerhard; Ungváry, Kristián; Wegner, Bernd (2007). Die Ostfront 1943/44 – Der Krieg im Osten und an den Nebenfronten [The Eastern Front 1943–1944: The War in the East and on the Neighbouring Fronts]. Das Deutsche Reich und der Zweite Weltkrieg [Germany and the Second World War] (ภาษาเยอรมัน). Vol. VIII. München: Deutsche Verlags-Anstalt. ISBN 978-3-421-06235-2.
  • Glantz, David M. (1989). Soviet Military Deception in the Second World War. London: Frank Cass. ISBN 0-7146-3347-X.
  • Glantz, David M. (2002). The Battle for L'vov, July 1944. Routledge Press. ISBN 978-0-7146-5201-6.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ปฏิบัติการบากราตีออน