คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ
กีฬาโอลิมปิก |
---|
![]() |
บทความหลัก |
การแข่งขัน |

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (อังกฤษ: National Olympic Committee; อักษรย่อ: NOC) เป็นองค์กรผู้มีอำนาจระดับประเทศ ในกระบวนการโอลิมปิกระดับนานาชาติ ภายใต้การควบคุมโดย คณะกรรมการโอลิมปิกสากล นอกจากนั้น คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ยังมีหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการของนักกีฬา และการฝึกอบรมผู้ฝึกสอน ตลอดจนเป็นเจ้าหน้าที่การกีฬาระดับชาติภายในภูมิภาคของตน
ในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ซึ่งผู้แทนของทั้งประเทศเอกราช และดินแดนปกครองพิเศษต่างๆ รวมทั้งหมด 206 ชุด โดยในบรรดาสมาชิกสหประชาชาติ 193 ประเทศ มีคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหมด 197 ประเทศ[ต้องการอ้างอิง] รวมทั้งดินแดนอื่นอีก 9 แห่งดังต่อไปนี้
ไต้หวัน ได้รับการกำหนดชื่อจากไอโอซีให้เป็น
จีนไทเป
องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์แห่งชาติ ได้รับการกำหนดชื่อจากไอโอซีให้เป็น ปาเลสไตน์
- ดินแดน 4 แห่งของ
สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วย
อเมริกันซามัว
กวม
ปวยร์โตรีโก และ
หมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ (ได้รับการกำหนดชื่อจากไอโอซีให้เป็น หมู่เกาะเวอร์จิน)
- อาณานิคมโพ้นทะเล 3 แห่งของ
บริเตนใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย
เบอร์มิวดา
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน และ
หมู่เกาะเคย์แมน
อารูบา ในสถานะดินแดนจาก
ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในแคริบเบียน ส่วน
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส สูญเสียสถานะของตนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2554 อันเป็นผลมาจาก การล่มสลายของดินแดนเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010)[1][2]
ฮ่องกง ในสถานะแคว้นการปกครองพิเศษของ
สาธารณรัฐประชาชนจีน
หมู่เกาะคุก ในสถานะรัฐสมทบของ
นิวซีแลนด์
ระดับทวีป[แก้]
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติทั้งหลาย ล้วนเป็นสมาชิกของ สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ (Association of National Olympic Committees; ANOC) และยังแบ่งออกเป็นสมาคมระดับทวีปอีก 5 แห่งด้วย
ทวีป | สมาคม | จำนวนเอ็นโอซี | เอ็นโอซีแรกสุด (พ.ศ.) | เอ็นโอซีล่าสุด (พ.ศ.) |
---|---|---|---|---|
สมาคมคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอฟริกา | 54 | ![]() |
![]() | |
องค์การกีฬาแพนอเมริกัน | 41 | ![]() |
![]() ![]() ![]() | |
สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย | 44[3] | ![]() |
![]() | |
คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป | 50 | ![]() |
![]() | |
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติโอเชียเนีย | 17 | ![]() |
![]() |
รายชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ เรียงลำดับตามปีพุทธศักราชที่ไอโอซีให้การรับรอง[แก้]
ต่อไปนี้เป็นรายชื่อตามลำดับเวลา ของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจาก 204 ประเทศ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิกสากลให้การรับรอง ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) คณะกรรมการของหลายประเทศในจำนวนนี้ ก่อตั้งขึ้นมาแล้วหลายปีก่อนจะให้การรับรอง ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมีการรับรองโดยทันทีเมื่อก่อตั้งขึ้น สำหรับคณะกรรมการโอลิมปิกของรัฐในอดีตซึ่งทุกวันนี้ไม่มีอยู่ จะแสดงด้วยตัวเอน
คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่ไม่ได้การรับรอง[แก้]
คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งมาเก๊า ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) และมีความพยายามที่จะลงทะเบียนกับไอโอซีมาโดยตลอด แต่ยังคงไม่มีการรับรองอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันในโอลิมปิก ภายใต้ชื่อ มาเก๊าของจีน อย่างไรก็ตาม ยังได้เข้าแข่งขันในกีฬาพาราลิมปิก เช่นเดียวกับ
หมู่เกาะแฟโร ที่มีการรับรองคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ[5]
ประเทศอื่นๆ ที่คณะกรรมการโอลิมปิกยังไม่ให้การรับรอง ประกอบด้วย คาตาโลเนีย[6]
ยิบรอลตา[7]
เฟรนช์โปลินีเซีย[8]
นีอูเอ[9]
โซมาลิแลนด์[10]
นิวแคลิโดเนีย[11]
เคอร์ดิสถาน[12]
ไซปรัสเหนือ[13]
อับคาเซีย[14]
ชาวอเมริกันพื้นเมือง[15][16]
หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
แองกวิลลา
มอนต์เซอร์รัต และ
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส[17]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Executive Board concludes first meeting of the new year". olympic.org ("Official website of the Olympic movement"). 13 January 2011. สืบค้นเมื่อ 13 January 2011.
- ↑ "Curtain comes down on 123rd IOC Session". Olympic.org.
- ↑ โอซีเอให้การรับรองคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ 45 ประเทศ แต่ไอโอซีไม่ให้การรับรอง คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งมาเก๊า และนักกีฬาจากมาเก๊าไม่ได้สิทธิเข้าร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
- ↑ "The Olympic Committee of Serbia". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-20. สืบค้นเมื่อ 2012-07-17.
- ↑ "Ítróttasamband Føroya | Just another WordPress weblog". Isf.fo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ Freedom for Catalonia?: Catalan Nationalism, Spanish Identity and the Barcelona Olympic Games (Cambridge Cultural Social Sciences) (9780521586153): John Hargreaves: Books. Amazon.com. Retrieved on 2009-10-24.
- ↑ "www.andalucia.com". www.andalucia.com. สืบค้นเมื่อ 2012-06-20.
- ↑ Article: Miss Tahiti 2003 stripped of her title. | AccessMyLibrary - Promoting library advocacy. AccessMyLibrary (2005-06-03). Retrieved on 2009-10-24.
- ↑ SportingPulse Homepage for Niue Island Sports Association and National Olympic Committee เก็บถาวร 2013-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Sportingpulse.com. Retrieved on 2009-10-24.
- ↑ "Website ka wasaaradda Dhalinyaradda Iyo Ciyaaraha Somaliland - Homepage". Somalilandolympics.org. 2010-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ "New Caledonia National Olympic Committee". SportingPulse. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ "Dispaly Article". Kurdishglobe.net. 2010-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-16. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ "Embargo! Time to end the unjust embargoes against the people of North Cyprus". Embargoed.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-30. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ The ABC Republic: Abkhazia Attempts to Invent Itself - SPIEGEL ONLINE - News - International. Spiegel.de. Retrieved on 2009-10-24.
- ↑ "Native Americans seek recognition". Nativevoices.org. 2006-02-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ "Jim Thorpe's Sons Bolster Native American Olympic Dream : Fri, 10 Jul 2009 : eNewsChannels". Enewschannels.com. 2009-07-10. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
- ↑ "CANOC Members". canoc.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-02. สืบค้นเมื่อ 2010-08-16.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
