โอลิมปิกฤดูร้อน 2024

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 33
ตราสัญลักษณ์ของโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2024
เมืองเจ้าภาพฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส
คำขวัญเปิดเกมให้กว้าง
(ฝรั่งเศส: Ouvrons grand les Jeux)[1]
นักกีฬาเข้าร่วม10,500 (ขีดจำกัดโควต้า)[2]
ชนิด329 รายการ ใน 32 ชนิดกีฬา (48 ชนิดกีฬาย่อย)
พิธีเปิด26 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
พิธีปิด11 สิงหาคม พ.ศ. 2567
ประธานพิธีเปิด
สนามกีฬาช็องเดอมาร์ส ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร และแม่น้ำแซน (พิธีเปิด)
สนามกีฬาแห่งฝรั่งเศส (พิธีปิด)[3]
ฤดูร้อน
ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2024

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 (ฝรั่งเศส: Les Jeux Olympiques D'été De 2024) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 (ฝรั่งเศส: Les Jeux de la XXXIIIe olympiade) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ปารีส 2024 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ควบคุมโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ซึ่งจัดในกรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศสจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม ถึง 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560 ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 131 ณ ลิมา ประเทศเปรู รวมถึงกรุงปารีสก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 สำหรับนักกีฬาคนพิการเช่นกัน

ปารีสเคยเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ซึ่งในครั้งนี้ปารีสเป็นเมืองที่สองต่อจากลอนดอน ที่เป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนถึง 3 ครั้ง นอกจากนี้เป็นการฉลองครบรอบ 100 ปีกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1924 ที่จัดในปารีส และกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 1924 ที่จัดในเมืองชามอนี ประเทศฝรั่งเศส

การคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]

ปารีส, ลอสแอนเจลิส, บูดาเปสต์, โรม และ ฮัมบวร์ค เป็น 5 เมืองสุดท้ายที่ร่วมการคัดเลือกเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024 อย่างไรก็ตามมีหลายเมืองที่ได้ถอนตัว ด้วยความไม่แน่นอนทางการเมือง และค่าใช้จ่ายที่สูงเกินกว่าที่แต่ละเมืองกำหนดไว้[4] ฮัมบวร์คเป็นเมืองแรกที่ได้ถอนตัว เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นผลมาจากการลงประชามติ[5] โรมเป็นเมืองที่สองที่ได้ถอนตัว เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2559 หลังจากมีปัญหาทางด้านการเงิน[6] บูดาเปสต์เป็นเมืองที่สามที่ได้ถอนตัว เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 หลังจากมีการยื่นคำร้องต่อศาลเป็นจำนวนมากในการให้ยกเลิกแผนจัดกีฬาโอลิมปิก[7][8][9]

หลังจากปัญหาเรื่องการถอนตัวของเมืองต่างๆ คณะกรรมการบริหารของไอโอซี ได้ประชุมร่วมกัน ณ โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อหารือเกี่ยวกับการคัดเลือกเจ้าภาพในปี 2024 และ 2028 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560[10] คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้เสนอทางเลือกในการคัดเลือกเจ้าภาพในปี 2024 และ 2028 อย่างเป็นทางการ ในเวลาเดียวกันข้อเสนอนี้ถูกอนุมัติในการประชุมวิสามัญของไอโอซี เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ณ โลซาน[11] ไอโอซีได้ตั้งกระบวนการคัดเลือกร่วมกับทางคณะกรรมการของลอสแอนเจลิส และปารีส ก่อนที่ประกาศผลอย่างเป็นทางการในการประชุมสามัญของไอโอซี สมัยที่ 131 ณ ลิมา ประเทศเปรู[12]

หลังจากที่ได้ตัดสินใจที่จะให้สิทธ์การจัดโอลิมปิกให้แก่ทั้งสองเมือง ขณะเดียวกันปารีสหวังที่จะจัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2024 โดยความหวังของปารีสเป็นจริง เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ไอโอซีได้ประกาศว่าลอสแอนเจลิสเป็นผู้สมัครเพียงคนเดียวสำหรับในปี 2028 ทำให้ปารีสมีสิทธิ์จัดกีฬาโอลิมปิกในปี 2024 การตัดสินใจของเมืองทั้งสองจะถูกยอมรับอย่างเป็นทางการในการประชุมสามัญของไอโอซี สมัยที่ 131 ในวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2560[13]

สรุปผลการคัดเลือก[แก้]

ผลการคัดเลือกเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 33 และ 34
เมือง ประเทศ ผลการคัดเลือก การรับรองจากไอโอซี
ปารีส  ฝรั่งเศส เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 33 เอกฉันท์
ลอสแอนเจลิส  สหรัฐ เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 34 เอกฉันท์
บูดาเปสต์  ฮังการี ถอนตัว
โรม  อิตาลี ถอนตัว
ฮัมบวร์ค  เยอรมนี ถอนตัว

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ[แก้]

สถานที่จัดการแข่งขัน[แก้]

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกส่วนใหญ่จะจัดขึ้นที่เมืองในปารีสและเขตเมืองใหญ่โดยรอบ รวมถึงเมืองใกล้เคียงอย่างแซ็ง-เดอนี เลอบูร์แฌ น็องแตร์ แวร์ซาย และแวร์-ซูร์-มาร์น การแข่งขันแฮนด์บอลจะจัดขึ้นที่ลีล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเจ้าภาพ 225 กม. การเรือใบและฟุตบอลบางรายการจะจัดขึ้นที่มาร์แซย์ ในพื้นที่ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเจ้าภาพ 777 กม. ในขณะเดียวกันการแข่งขันโต้คลื่นคาดว่าจะจัดขึ้นที่หมู่บ้านเตฮูโปโอ ในดินแดนโพ้นทะเลของเฟรนช์พอลินีเชีย ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเจ้าภาพ 15,716 กม. ฟุตบอลจะจัดขึ้นในเมืองอื่นๆ อีก 5 เมือง ได้แก่ บอร์โด เดซีน-ชาร์ปีเยอ น็องต์ นิส และแซ็งเตเตียน ซึ่งบางแห่งเป็นที่ตั้งของสโมสรลีกเอิง

พื้นที่แกรนด์ปารีส[แก้]

สตาดเดอฟร็องส์ พร้อมสนามกรีฑากลางแจ้งในการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2003
ศูนย์กีฬาทางน้ำระหว่างการก่อสร้าง (ค.ศ. 2022)
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สนามกีฬาอีฟว์ ดูว์ มานัวร์ กีฬาฮอกกี้ 15,000 สถานที่ปรับปรุงใหม่
สตาดเดอฟร็องส์ รักบี้ 7 คน 77,083 มีอยู่แล้ว
กีฬากรีฑา (ลู่และลาน)
พิธีปิด
สนามกีฬาปารีลาเดฟ็องส์[a] กีฬาทางน้ำ (กีฬาว่ายน้ำ, กีฬาโปโลน้ำรอบชิงชนะเลิศ) 15,220
สนามกีฬาปอร์ตเดอลาชาแปล กีฬาแบดมินตัน 8,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
กีฬายิมนาสติก (ลีลา)
ศูนย์กีฬาทางน้ำปารีส[14][15] ์กีฬาทางน้ำ (โปโลน้ำรแบแรก และเพลย์ออฟ กีฬากระโดดน้ำ กีฬาระบำใต้น้ำ) 5,000
สถานที่ปีนผาเลอบูร์แฌ กีฬาปีนหน้าผา 5,000 สถานที่ชั่วคราว
อารีนาปารีสนอร์ด มวยสากล (รอบแรก, รอบก่อนรองชนะเลิศ) 6,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
ปัญจกรีฑาสมัยใหม่ (ฟันดาบ)
หมายเหตุ
  1. คณะกรรมการจัดการแข่งขันท้องถิ่นใช้ชื่อที่ไม่ได้รับการสนับสนุน อารีนา 92 ซึ่งเป็นชื่อของสถานที่ในช่วงการวางแผนเบื้องต้น เมื่อถึงเวลาเปิดในปี ค.ศ. 2017 ชื่อได้เปลี่ยนเป็น ยูอารีนา (ชื่อไม่ได้รับการสนับสนุนเช่นกัน) และจากนั้นเป็นสนามกีฬาปารีลาเดฟ็องส์ ในปี ค.ศ. 2018 ผ่านข้อตกลงการสนับสนุน

พื้นที่ปารีสเซ็นเตอร์[แก้]

ช็องเดอมาร์ส
กร็องปาแล
เลแซ็งวาลีด
สนามกีฬารอล็อง กาโรส
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
ปาร์กเดแพร็งส์ กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่มและรอบสุดท้าย) 48,583 สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬารอล็อง กาโรส เทนนิส 34,000
กีฬามวยสากล (รอบชิงชนะเลิศ)
สนามฟีลิป ชาทรีแย็ง (พร้อมหลังคาแบบพับเก็บได้) กีฬามวยสากล 15,000
กีฬาเทนนิส
สนามซูว์ซาน ล็องล็อง (พร้อมหลังคาแบบพับเก็บได้)[16] กีฬาเทนนิส 10,000
สนามซีมง มาตีเยอ และสนามรอง 9,000 (5,000+2,000+8x250)
ปารีสเอ็กซ์โปปอร์ตเดอแวร์ซาย กีฬาวอลเลย์บอล 12,000
เทเบิลเทนนิส 6,000
กีฬาแฮนด์บอล (รอบแรก) 6,000
กีฬายกน้ำหนัก
สนามกีฬาแบร์ซิ กีฬายิมนาสติก (สากลและแทรมโพลีน) 15,000
กีฬาบาสเกตบอล (รอบชิงชนะเลิศ)
กร็องปาแล กีฬาฟันดาบ 8,000
กีฬาเทควันโด
ปลัสเดอลากงกอร์ด Basketball (3x3) 30,000 สถานที่ชั่วคราว
เบรกแดนซ์ซิ่ง
กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์ฟรีสไตล์)
สเกตบอร์ด
ปงดีเอนา Aquatics (ว่ายน้ำมาราธอน) 13,000
(นั่ง 3,000)
กีฬากรีฑา (มาราธอน, เดิน)
กีฬาจักรยาน (ประเภทถนน, ไทม์ไทรอัล)
กีฬาไตรกีฬา
สนามกีฬาหอไอเฟล กีฬาวอลเลย์บอลชายหาด 12,000
กร็องปาแลเอเฟแมร์ กีฬายูโด 8,000
กีฬามวยปล้ำ
เลแซ็งวาลีด กีฬายิงธนู 8,000

พื้นที่แวร์ซาย[แก้]

เลอกอล์ฟนาซิอองนาล
เวลอดรอมเดอแซ็ง-ก็องแต็ง-อ็อง-อีฟว์ลีน
พระราชวังแวร์ซาย
ศูนย์การเดินเรือแวร์ตอร์ซิ
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สวนในพระราชวังแวร์ซาย กีฬาขี่ม้า 80,000
(22,000 + 58,000)
สถานที่ชั่วคราว
กีฬาปัญจกรีฑาสมัยใหม่ (ยกเว้นรอบฟันดาบ)
เลอกอล์ฟนาซิอองนาล กีฬากอล์ฟ 35,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
เอล็องกูร์ ฮิลล์ กีฬาจักรยาน (จักรยานเสือภูเขา) 25,000
เวลอดรอมเดอแซ็ง-ก็องแต็ง-อ็อง-อีฟว์ลีน กีฬาจักรยาน (ประเภทลู่) 5,000
กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์) 5,000

นอกเขตพื้นที่[แก้]

มาร์แซย์
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สนามกีฬาปีแยร์ โมรัว (ลีล) บาสเกตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม) 26,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
กีฬาแฮนด์บอล (รอบชิงชนะเลิศ)
สนามกีฬาโอลิมปิกการเดินเรือแห่งชาติอีล-เดอ-ฟร็องส์ (แวร์-ซูร์-มาร์น) กีฬาเรือพาย 22,000
กีฬาเรือแคนู-คายัค (ปรินต์)
กีฬาเรือแคนู-คายัค (สลาลม)
สตาดเวลอดรอม (มาร์แซย์) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมหญิง และรอบรองชนะเลิศทีมชาย 1 นัด) 67,394
ปาร์กอแล็งปิกลียอแน (ลียง) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมชาย และรอบรองชนะเลิศทีมหญิง 1 นัด) 59,186
สตาดมัตมูว์ตัตล็องติก (บอร์โด) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมหญิง, รอบชิงเหรียญทองแดงทีมชาย) 42,115
สนามกีฬาฌอฟรัว กีชาร์ (แซ็งเตเตียน) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศทีมชาย, รอบชิงเหรียญทองแดงทีมหญิ) 41,965
อลิอันซ์ริวีเอรา (นิส) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศ) 35,624
สตาดเดอลาโบฌัวร์ (น็องต์) กีฬาฟุตบอล (รอบแบ่งกลุ่ม, รอบก่อนรองชนะเลิศ) 35,322
ท่าเรือเก่ามาร์เซย์ (มาร์แซย์) กีฬาเรือใบ 5,000
เตฮูโปโอ-แอ็สต์ (เฮติ) กีฬาโต้คลื่น 5,000
ศูนย์กีฬายิงปืนแห่งชาติ (ชาโตรู) กีฬายิงปืน 3,000

สถานที่ที่ไม่ใช่การแข่งขัน[แก้]

สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
ช็องเดอมาร์ส, ฌาร์แด็งดูว์ทรอกาเดโร และ แม่น้ำแซน พิธีเปิด 30,000
600,000
สถานที่ชั่วคราว
ลีล-แซ็ง-เดอนี หมู่บ้านโอลิมปิก 17,000 สถานที่มีอยู่แล้ว
แลร์เดว็อง, ดูว์ญี หมู่บ้านสื่อมวลชน สถานที่ชั่วคราว
ศูนย์นิทรรศการเลอบูร์แฌ ไอบีซี (อีเบเซ) 15,000 สถานที่ชั่วคราว
ศูนย์การประชุมแห่งปารีส เอ็มพีซี (แอมเปเซ)

พิธีการ[แก้]

คณะกรรมการจัดการแข่งขัน วางแผนให้ขบวนพาเหรดนักกีฬาในพิธีเปิดเป็นการล่องไปตามแม่น้ำแซน ผ่านสถานที่สำคัญ อาทิ พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ อาสนวิหารน็อทร์-ดาม และปลัสเดอลากงกอร์ด เป็นต้น โดยระหว่างเส้นทางจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมต่าง ๆ ของเจ้าภาพ นักกีฬาจะลงจากเรือที่ท่าปงดีเยนา เพื่อเดินทางต่อไปยังจาแด็งดูว์ทรอกาเดโร ซึ่งเป็นสวนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหอไอเฟล อันเป็นสถานที่จัดพิธีการหลัก โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าชมพิธีเปิดราว 600,000 คน[17][18][19]

สำหรับพิธีปิดการแข่งขันกำหนดจัดขึ้นที่สตาดเดอฟร็องส์[20]

การแข่งขัน[แก้]

ชนิดกีฬา[แก้]

ในปี พ.ศ. 2550 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้กำหนดแนวคิดของกีฬาโอลิมปิกให้มีกีฬารวม 28 กีฬา แบ่งเป็น กีฬาหลักจำนวน 25 กีฬา และกีฬาเพิ่มเติมที่ได้รับการคัดเลือกในแต่ละครั้งจำนวน 3 กีฬา ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 ไอโอซีได้บรรจุกีฬามวยปล้ำกลับเข้าสู่ในกีฬาโอลิมปิก 2020 และ 2024 ซึ่งจัดเป็น 1 ใน 3 กีฬาที่เป็นกีฬาเพิ่มเติม[21] โดยสหพันธ์มวยปล้ำนานาชาติ หรือ ฟีล่า (ปัจจุบันคือ สหภาพมวยปล้ำโลก) ได้ปรับเปลี่ยนรุ่นในประเภทฟรีสไตล์ และเกรโก-โรมัน โดยการลดรุ่นประเภทชาย 6 รุ่นแล้วเปลี่ยนเป็นประเภทหญิงแทน[22] อย่างไรก็ตามในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ไอโอซีได้บรรจุ 5 กีฬาเพิ่มเติมในกีฬาโอลิมปิก 2020 โดยยังมีแผนที่จะประเมินกีฬาที่มีอยู่ 28 กีฬาเหมือนเดิม[23] โดยปัจจุบันไม่มีข้อบ่งชี้ว่าวิธีนี้จะส่งผลต่อจำนวนกีฬาในกีฬาโอลิมปิก 2024 อย่างไร

โปรแกรมกีฬาในโอลิมปิกฤดูร้อน 2024

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าร่วม[แก้]

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่มีนักกีฬาอย่างน้อยหนึ่งคนที่มีผ่านการคัดเลือกสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2024

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าร่วม
  1. แอลเบเนีย (2)
  2. แอลจีเรีย (18)
  3. อันดอร์รา (1)
  4. แองโกลา (20)
  5. แอนทีกาและบาร์บิวดา (1)
  6. อาร์เจนตินา (94)
  7. อาร์มีเนีย (7)
  8. อารูบา (3)
  9. ออสเตรเลีย (352)
  10. ออสเตรีย (37)
  11. อาเซอร์ไบจาน (9)
  12. บาฮามาส (3)
  13. บาห์เรน (9)
  14. บาร์เบโดส (1)
  15. เบลเยียม (88)
  16. เบอร์มิวดา (1)
  17. โบลิเวีย (1)
  18. บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (1)
  19. บอตสวานา (5)
  20. บราซิล (158)
  21. หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (1)
  22. บัลแกเรีย (19)
  23. บูร์กินาฟาโซ (5)
  24. แคเมอรูน (1)
  25. แคนาดา (205)
  26. หมู่เกาะเคย์แมน (2)
  27. ชาด (2)
  28. ชิลี (15)
  29. จีน (264)
  30. โคลอมเบีย (40)
  31. หมู่เกาะคุก (1)
  32. คอสตาริกา (3)
  33. โครเอเชีย (38)
  34. คิวบา (24)
  35. ไซปรัส (3)
  36. เช็กเกีย (37)
  37. สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (1)
  38. เดนมาร์ก (64)
  39. จิบูตี (1)
  40. ดอมินีกา (1)
  41. สาธารณรัฐโดมินิกัน (37)
  42. เอกวาดอร์ (21)
  43. อียิปต์ (93)
  44. เอริเทรีย (6)
  45. เอสโตเนีย (7)
  46. เอธิโอเปีย (29)
  47. ฟีจี (26)
  48. ฟินแลนด์ (18)
  49. ฝรั่งเศส (441) (เจ้าภาพ)
  50. กาบอง (1)
  51. แกมเบีย (2)
  52. จอร์เจีย (4)
  53. เยอรมนี (257)
  54. สหราชอาณาจักร (249)
  55. กรีซ (54)
  56. กรีเนดา (2)
  57. กัวเตมาลา (9)[A]
  58. ฮ่องกง (10)
  59. ฮอนดูรัส (1)
  60. ฮังการี (77)
  61. ไอซ์แลนด์ (1)
  62. อินเดีย (58)
  63. นักกีฬาเป็นกลางอิสระ (12)
  64. อินโดนีเซีย (7)
  65. อิหร่าน (14)
  66. ไอร์แลนด์ (87)
  67. อิสราเอล (55)
  68. อิตาลี (175)
  69. โกตดิวัวร์ (6)
  70. จาเมกา (38)
  71. ญี่ปุ่น (245)
  72. จอร์แดน (3)
  73. คาซัคสถาน (20)
  74. เคนยา (63)
  75. คูเวต (2)
  76. คีร์กีซสถาน (5)
  77. ลัตเวีย (5)
  78. เลบานอน (1)
  79. เลโซโท (1)
  80. ไลบีเรีย (1)
  81. ลิเบีย (1)
  82. ลิทัวเนีย (26)
  83. ลักเซมเบิร์ก (6)
  84. มาเลเซีย (5)
  85. มาลี (18)
  86. มอริเชียส (5)
  87. เม็กซิโก (63)
  88. มอลโดวา (8)
  89. โมนาโก (1)
  90. มองโกเลีย (9)
  91. มอนเตเนโกร (13)
  92. โมร็อกโก (42)
  93. โมซัมบิก (2)
  94. นามิเบีย (2)
  95. เนเธอร์แลนด์ (147)
  96. นิวซีแลนด์ (155)
  97. ไนเจอร์ (2)
  98. ไนจีเรีย (26)
  99. เกาหลีเหนือ (4)
  100. นอร์เวย์ (54)
  101. ปากีสถาน (4)
  102. ปาเลสไตน์ (1)
  103. ปานามา (4)
  104. ปารากวัย (18)
  105. เปรู (15)
  106. ฟิลิปปินส์ (4) [B]
  107. โปแลนด์ (102)
  108. โปรตุเกส (35)
  109. ปวยร์โตรีโก (21)
  110. กาตาร์ (5)
  111. โรมาเนีย (76)
  112. รวันดา (3)
  113. เซนต์ลูเชีย (2)
  114. เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ (1)
  115. ซามัว (15)
  116. ซานมารีโน (1)
  117. ซาอุดีอาระเบีย (3)
  118. เซเนกัล (4)
  119. เซอร์เบีย (78)
  120. สิงคโปร์ (6)
  121. สโลวาเกีย (14)
  122. สโลวีเนีย (26)
  123. แอฟริกาใต้ (91)
  124. เกาหลีใต้ (76)
  125. ซูดานใต้ (12)
  126. สเปน (237)
  127. ซูรินาม (2)
  128. สวีเดน (63)
  129. สวิตเซอร์แลนด์ (57)
  130. ซีเรีย (1)
  131. จีนไทเป (25)
  132. ทาจิกิสถาน (2)
  133. แทนซาเนีย (4)
  134. ไทย (20)
  135. โตโก (1)
  136. ตรินิแดดและโตเบโก (2)
  137. ตูนิเซีย (15)
  138. ตุรกี (51)
  139. ยูกันดา (14)
  140. ยูเครน (71)
  141. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (4)
  142. สหรัฐ (479)
  143. อุรุกวัย (16)
  144. อุซเบกิสถาน (17)
  145. เวเนซุเอลา (12)
  146. เวียดนาม (4)
  147. แซมเบีย (2)
  148. ซิมบับเว (2)

จำนวนนักกีฬาตามคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ

ณ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 2023

การตลาด[แก้]

ผู้ให้การสนับสนุน[แก้]

ผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020
ผู้ให้การสนับสนุนหลักกีฬาโอลิมปิก

อ้างอิง[แก้]

  1. "New Paris 2024 slogan "Games wide open" welcomed by IOC President" (ภาษาอังกฤษ). International Paralympic Committee. 25 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2022."Le nouveau slogan de Paris 2024 "Ouvrons grand les Jeux" accueilli favorablement par le président du CIO" (ภาษาฝรั่งเศส). International Paralympic Committee. 25 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2022.
  2. "Gender equality and youth at the heart of the Paris 2024 Olympic Sports Programme". www.olympics.com/. International Olympic Committee. 7 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020. The 10,500-athlete quota set for Paris 2024, including new sports, will lead to an overall reduction in the number of athletes
  3. "Stade de France".
  4. Butler, Nick. "Exclusive: IOC vow to "further adjust" candidature process after Budapest 2024 withdrawal". Inside the Games.
  5. "Five world-class cities in strong competition for Olympic Games 2024 – IOC to contribute USD 1.7 billion to the local organising committee" (Press release). คณะกรรมการโอลิมปิกสากล.
  6. Rome 2024 Olympic bid collapses in acrimony
  7. "2024 Olympics: Budapest to drop bid to host Games". BBC.
  8. Mather, Victor. "Budapest Withdraws Bid to Host 2024 Summer Olympics".
  9. "Budapest to withdraw bid for 2024 Olympics, leaving L.A. and Paris as only contenders". Los Angeles Times.
  10. "Meeting of the IOC Executive Board in Lausanne – Information for the media". Olympic.org. 19 May 2017.
  11. "IOC Executive Board approve joint awarding plans for 2024 and 2028 Olympics". Inside the Games.
  12. "Bach Says Paris and LA Mayors Are 'Optimistic' About Agreement After Initial Discussions - GamesBids.com". gamesbids.com.
  13. "Paris set to host 2024 Olympics, Los Angeles to be awarded 2028 Games by IOC". ABC News.
  14. à 17h48, Par Le ParisienLe 29 avril 2020; À 19h28, Modifié Le 29 Avril 2020 (29 April 2020). "JO de Paris 2024 : voici à quoi ressemblera le futur centre aquatique de Saint-Denis". leparisien.fr. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 30 April 2020.
  15. Levy, Theo (29 August 2022). "The Aquatics Centre : an Olympic Class Complex for the People of Seine Saint Denis". Paris 2024. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2022. สืบค้นเมื่อ 29 August 2022.
  16. "Roland-Garros 2024: A retractable roof on Court Suzanne-Lenglen - Roland-Garros - The 2021 Roland-Garros Tournament official site". www.rolandgarros.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2021. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021.
  17. "Paris 2024 confirms Seine will serve as venue for city centre Opening Ceremony". www.insidethegames.biz. 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-14.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Paris 2024 Olympic organisers reveal audacious plans for opening ceremony". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-14.
  19. "Paris to hold 'most accessible' opening ceremony of 2024 Olympics on River Seine". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2021-12-13. สืบค้นเมื่อ 2021-12-14.
  20. "Paris tabs Jolly to direct '24 Olympic ceremonies". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 21 September 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2023. สืบค้นเมื่อ 25 January 2023.
  21. "Wrestling added to Olympic programme for 2020 and 2024 Games". Olympic.org.
  22. "2020 Olympic Games: Shortlisted International Federations Report" (PDF). คณะกรรมการโอลิมปิกสากล.
  23. "IOC approves five new sports for Olympic Games Tokyo 2020". Olympic.org.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2024 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 2020
(โตเกียว ญี่ปุ่น)

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(26 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม พ.ศ. 2567)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2028
(ลอสแอนเจลิส สหรัฐ)


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "upper-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="upper-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน