ข้ามไปเนื้อหา

รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอมานุแอล มาครง
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง
ประธานาธิบดีเมาริซิโอ มากริ
ประธานาธิบดียุน ซ็อก-ย็อล
ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกเยาวชนฤดูร้อน 2014เมืองหนานจิง และฤดูหนาว 2022กรุงปักกิ่ง
สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 ประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 1994 และเยาวชนฤดูหนาว 2016เมืองลิลเลอฮาเมอร์
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1976นครมอนทรีออล และฤดูร้อน 2012กรุงลอนดอน
สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ ประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964กรุงโตเกียว และฤดูหนาว 1972เมืองซัปโปโระ
ประธานาธิบดีโจวันนี กรอนกี ประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1960กรุงโรม และฤดูหนาว 1956เมืองกอร์ตีนาดัมเปซโซ
ฟือเรอร์อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1936กรุงเบอร์ลิน และฤดูหนาว 1936เมืองการ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชิน

รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก ในปัจจุบันเป็นการแข่งขันหลากหลายประเภทกีฬาทั้งฤดูร้อน ฤดูหนาว รวมถึงเยาวชน โดยจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี สลับกันระหว่างโอลิมปิกฤดูร้อน และโอลิมปิกฤดูหนาว ในระหว่างพิธีเปิดโอลิมปิก ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลในสมัยนั้น ๆ จะกล่าวสุนทรพจน์ก่อนที่จะเชิญประธานในพิธีกล่าวเปิดอย่างเป็นทางการ ตามกฎบัตรโอลิมปิก ผู้ที่จะกล่าวเปิดกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการจะต้องเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเจ้าภาพ[1]

พิธีเปิด

[แก้]

เอกสารแนวปฏิบัติพิธีเปิดของไอโอซี ระบุว่า "ตามกฎบัตรโอลิมปิก ผู้ที่จะกล่าวเปิดกีฬาโอลิมปิกอย่างเป็นทางการจะต้องเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเจ้าภาพ ทั้งฐานะประมุขของราชวงศ์ หรือประธานาธิบดีก็ตาม นอกจากนี้ในกรณีที่ประมุขแห่งรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ได้ รองประธานาธิบดี, สมาชิกของราชวงศ์ หรือผู้สำเร็จราชการ จะเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่นี้แทน"[2] ตามกฎบัตรโอลิมปิกหมวดที่ 5 ข้อที่ 29 กำหนดคำกล่าวสุนทรพจน์ไว้ดังนี้

  • โอลิมปิกฤดูร้อน

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก (ณ) [ชื่อเมืองเจ้าภาพ] เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิก [ครั้งที่] ในยุคปัจจุบัน

  • โอลิมปิกฤดูหนาว

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬากีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว [ครั้งที่] ณ [ชื่อเมืองเจ้าภาพ]

อย่างไรก็ตาม ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2010 ผู้สำเร็จราชการแคนาดา มีชาแอล ชอง ได้ใช้รูปแบบสุนทรพจน์ของโอลิมปิกฤดูร้อนแทน โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแวนคูเวอร์ เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 21

ในปี 1960 ประธานาธิบดีแห่งประเทศอิตาลี จิโอวานี กรองกี ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาอิตาลี โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโรม เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 17 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 1964 สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า

เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบัน ครั้งที่ 18 ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโตเกียว ณ ที่นี้

ในปี 1976 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งแคนาดา ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาฝรั่งเศส ตามด้วยภาษาอังกฤษ โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกมอนทรีออล เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 21 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 1980 ประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษารัสเซีย โดยกล่าวว่า

ท่านประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล! นักกีฬาทั่วโลก! แขกทั้งหลาย! สหายทั้งหลาย! ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1980 เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 22 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 1984 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา โรนัลด์ เรแกน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า

เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกยุคปัจจุบัน ครั้งที่ 23 ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอสแอนเจลิส

ในปี 1988 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี โน แท-อู ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาเกาหลี โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกโซล ณ ห้วงการเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 1992 สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาคาตาลัน และภาษาสเปน โดยกล่าวว่า

(ภาษาคาตาลัน) ยินดีต้อนรับทุกคนสู่เมืองบาร์เซโลนา! (ภาษาสเปน) วันนี้วันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1992 ข้าพเจ้าขอประกาศที่จะเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกบาร์เซโลนา ที่จะเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 25 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 1996 ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกแอตแลนตา เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 26 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 1998 สมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า

ในที่นี้ ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 18 ณ เมืองนะงะโนะ

ในปี 2000 ผู้สำเร็จราชการเครือรัฐออสเตรเลีย เซอร์ วิลเลียม ดีน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซิดนีย์ เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 27 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 2002 ห้าเดือนหลังวินาศกรรม 11 กันยายน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ได้กล่าวเปิดการแข่งขันว่า

ในนามของประเทศที่มีความภาคภูมิใจ เด็ดเดี่ยว และปลื้มปีติ ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกซอลต์เลกซิตี เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว

ในปี 2004 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก คอนสแตนตินอส สเตฟาโนปูลอส ได้กล่าวเปิดการแข่งขันพร้อมด้วย นาวาอากาศเอก จอร์จิออส ดริทซาคอส ผู้ช่วยประธานาธิบดีแห่ง กองทัพอากาศกรีก เป็นภาษากรีก โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศที่จะเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงเอเธนส์ และการเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 28 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 2006 ประธานาธิบดีแห่งประเทศอิตาลี คาร์โล อาเซกลิโอ ชัมปี ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาอิตาลี โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 20 ณ นครตูริน

ในปี 2008 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หู จิ่นเทา ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาจีน โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ปักกิ่ง ครั้งที่ 29 ได้เริ่มขึ้นแล้ว

ในปี 2012 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกลอนดอน เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 30 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 2014 ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษารัสเซีย โดยกล่าวว่า

กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 22 ณ เมืองโซชิ ข้าพเจ้าขอเปิดการแข่งขันนี้

ในปี 2016 รองประธานาธิบดีแห่งประเทศบราซิล มีแชล เตเมร์ ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาโปรตุเกส โดยกล่าวว่า

หลังจากการแสดงที่ตื่นตาตื่นใจ ข้าพเจ้าขอประกาศที่จะเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกริโอ และการเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 31 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 2018 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี มุน แจ-อิน ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาเกาหลี โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศว่า การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 23 โอลิมปิกฤดูหนาวที่พย็องชัง ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ในปี 2020 สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ แห่งญี่ปุ่น ทรงกล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาญี่ปุ่น โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาที่โตเกียว เพื่อเฉลิมฉลองโอลิมปิกฤดูร้อน ครั้งที่ 32 ในยุคปัจจุบัน

ในปี 2022 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาจีน โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศว่า โอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 24 ณ ปักกิ่ง ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ในปี 2024 ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง ได้กล่าวเปิดการแข่งขันเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยกล่าวว่า

ข้าพเจ้าขอประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งปารีส เพื่อเฉลิมฉลองโอลิมปิกครั้งที่ 33 ในกาลปัจจุบัน

รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิก

[แก้]
ปี การแข่งขัน เมืองเจ้าภาพ ประธานในพิธี[a] ตำแหน่งของประธาน[a] หมายเหตุ
1896 ฤดูร้อน ครั้งที่ 1 ประเทศกรีซ เอเธนส์ กรีซ สมเด็จพระเจ้าเยออร์ยีโอสที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งเฮเลนส์ [3]
1900 ฤดูร้อน ครั้งที่ 2 ประเทศฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส ไม่มีพิธีเปิด ไม่มีพิธีเปิด [4]
1904 ฤดูร้อน ครั้งที่ 3 สหรัฐอเมริกา เซนต์หลุยส์ สหรัฐ เดวิด อาร์. ฟรานซิส ประธานคณะกรรมการนิทรรศการลุยเซียนา[b] [5]
1908 ฤดูร้อน ครั้งที่ 4 สหราชอาณาจักร ลอนดอน บริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร [6]
1912 ฤดูร้อน ครั้งที่ 5 ประเทศสวีเดน สต็อกโฮล์ม สวีเดน สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 5 พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน [7]
1920 ฤดูร้อน ครั้งที่ 7 ประเทศเบลเยียม แอนต์เวิร์ป เบลเยียม สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม [8]
1924 ฤดูหนาว ครั้งที่ 1 ประเทศฝรั่งเศส ชามอนี ฝรั่งเศส กัสตง วีดัล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส[c] [9]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 8 ประเทศฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส กัสตง ดูแมร์ก ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส [10]
1928 ฤดูหนาว ครั้งที่ 2 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซังคท์โมริทซ์ สวิตเซอร์แลนด์ เอ็ดมันด์ ชูเทส ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส[d] [11]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 9 ประเทศเนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ Hendrikเจ้าชายเฮนดริก พระราชสวามีแห่งเนเธอร์แลนด์[e] [12]
1932 ฤดูหนาว ครั้งที่ 3 สหรัฐอเมริกา เลคพลาซิด สหรัฐ แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ผู้ว่าการรัฐนิวยอร์ก[f] [13]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 10 สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส สหรัฐ ชาลส์ เคอร์ทิส รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ[f] [14]
1936 ฤดูหนาว ครั้งที่ 4 ประเทศเยอรมนี การ์มิช-พาร์เทินเคียร์เชิน เยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีแห่งไรซ์เยอรมัน[g] [15]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 11 ประเทศเยอรมนี เบอร์ลิน เยอรมนี [16]
1948 ฤดูหนาว ครั้งที่ 5 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซังคท์โมริทซ์ สวิตเซอร์แลนด์ เอ็นริโค เชลีโอ ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส[d] [17]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 14 สหราชอาณาจักร ลอนดอน บริเตนใหญ่ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร [18]
1952 ฤดูหนาว ครั้งที่ 6 ประเทศนอร์เวย์ ออสโล นอร์เวย์ Ragnhildเจ้าหญิงรังน์ฮิลด์ เจ้าหญิงแห่งนอร์เวย์ [h] [19]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 15 ประเทศฟินแลนด์ เฮลซิงกิ ฟินแลนด์ ยุโฮ กุสติ ปาสิกิวิ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ [20]
1956 ฤดูหนาว ครั้งที่ 7 ประเทศอิตาลี กอร์ตีนาดัมเปซโซ อิตาลี โจวันนี กรอนกี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี [21]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 16 (กีฬาขี่ม้า) ประเทศสวีเดน สต็อกโฮล์ม สวีเดน สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟ พระมหากษัตริย์แห่งสวีเดน [22]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 16 ประเทศออสเตรเลีย เมลเบิร์น ออสเตรเลีย Philipเจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถแห่งออสเตรเลีย[i] [23]
1960 ฤดูหนาว ครั้งที่ 8 สหรัฐอเมริกา สควอว์วัลเลย์ สหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ[j] [24]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 17 ประเทศอิตาลี โรม อิตาลี โจวันนี กรอนกี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี [25]
1964 ฤดูหนาว ครั้งที่ 9 ประเทศออสเตรีย อินส์บรุค ออสเตรีย อาด็อล์ฟ แชร์ฟ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย [26]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 18 ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น [27]
1968 ฤดูหนาว ครั้งที่ 10 ประเทศฝรั่งเศส เกรอนอบล์ ฝรั่งเศส ชาร์ล เดอ โกล ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส [28]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 19 ประเทศเม็กซิโก เม็กซิโกซิตี เม็กซิโก กุสตาโว ดิแอซ ออร์ดาซ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐเม็กซิโก [29]
1972 ฤดูหนาว ครั้งที่ 11 ประเทศญี่ปุ่น ซัปโปโระ ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโตะ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น [30]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 20 ประเทศเยอรมนีตะวันตก มิวนิก เยอรมนีตะวันตก กุสทัฟ ไฮเนอมัน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี [31]
1976 ฤดูหนาว ครั้งที่ 12 ประเทศออสเตรีย อินส์บรุค ออสเตรีย รูด็อล์ฟ เคียร์ชชเลเกอร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย [32]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 21 ประเทศแคนาดา มอนทรีออล แคนาดา สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งแคนาดา [33]
1980 ฤดูหนาว ครั้งที่ 13 สหรัฐอเมริกา เลคพลาซิด สหรัฐ วอลเตอร์ มอนเดล รองประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ[k] [34]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 22 สหภาพโซเวียต มอสโก สหภาพโซเวียต เลโอนิด เบรจเนฟ ประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต[l] [35]
1984 ฤดูหนาว ครั้งที่ 14 สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ซาราเยโว ยูโกสลาเวีย มิกา สปิลจัก ประธานสภาประธานาธิบดีแห่งยูโกสลาเวีย [36]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 23 สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส สหรัฐ โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ [37]
1988 ฤดูหนาว ครั้งที่ 15 ประเทศแคนาดา แคลกะรี แคนาดา ฌาน เซาฟ ผู้สำเร็จราชการแห่งแคนาดา[m] [38]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 24 ประเทศเกาหลีใต้ โซล สาธารณรัฐเกาหลี โน แท-อู ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี [39]
1992 ฤดูหนาว ครั้งที่ 16 ประเทศฝรั่งเศส แอลเบอร์วีลล์ ฝรั่งเศส ฟร็องซัว มีแตร็อง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส [40]
ฤดูร้อน ครั้งที่ 25 ประเทศสเปน บาร์เซโลนา สเปน สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1 พระมหากษัตริย์แห่งสเปน [41]
1994 ฤดูหนาว ครั้งที่ 17 ประเทศนอร์เวย์ ลิลเลอฮาเมอร์ นอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์ [42]
1996 ฤดูร้อน ครั้งที่ 26 สหรัฐอเมริกา แอตแลนตา สหรัฐ บิล คลินตัน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ [43]
1998 ฤดูหนาว ครั้งที่ 18 ประเทศญี่ปุ่น นางาโนะ ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น [44]
2000 ฤดูร้อน ครั้งที่ 27 ประเทศออสเตรเลีย ซิดนีย์ ออสเตรเลีย วิลเลียม ดีน ผู้สำเร็จราชการแห่งเครือรัฐออสเตรเลีย[i] [45][46][47][48][49]
2002 ฤดูหนาว ครั้งที่ 19 สหรัฐอเมริกา ซอลต์เลกซิตี สหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ [50]
2004 ฤดูร้อน ครั้งที่ 28 ประเทศกรีซ เอเธนส์ กรีซ คอนสแตนตินอส สเตฟาโนปูลอส ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเฮลเลนิก [51]
2006 ฤดูหนาว ครั้งที่ 20 ประเทศอิตาลี ตูริน อิตาลี การ์โล อาเซลโย ชัมปี ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี [52]
2008 ฤดูร้อน ครั้งที่ 29 ประเทศจีน ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน หู จิ่นเทา ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[n] [53]
2010 ฤดูหนาว ครั้งที่ 21 ประเทศแคนาดา แวนคูเวอร์ แคนาดา มีชาแอล ฌอง ผู้สำเร็จราชการแห่งแคนาดา[m] [54]
2012 ฤดูร้อน ครั้งที่ 30 สหราชอาณาจักร ลอนดอน บริเตนใหญ่ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร [55]
2014 ฤดูหนาว ครั้งที่ 22 ประเทศรัสเซีย โซชี สหพันธรัฐรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย [56]
2016 ฤดูร้อน ครั้งที่ 31 ประเทศบราซิล รีโอเดจาเนโร บราซิล มีแชล เตเมร์ รองประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล[o]
2018 ฤดูหนาว ครั้งที่ 23 ประเทศเกาหลีใต้ พย็องชัง สาธารณรัฐเกาหลี มุน แจ-อิน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
2020 ฤดูร้อน ครั้งที่ 32 ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว ญี่ปุ่น สมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
2022 ฤดูหนาว ครั้งที่ 24 ประเทศจีน ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[n]
2024 ฤดูร้อน ครั้งที่ 33 ประเทศฝรั่งเศส ปารีส ฝรั่งเศส แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
2026 ฤดูหนาว ครั้งที่ 25 ประเทศอิตาลี มิลานและกอร์ตีนาดัมเปซโซ อิตาลี แซร์โจ มัตตาเรลลา (โดยคาดการณ์) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอิตาลี
2028 ฤดูร้อน ครั้งที่ 34 สหรัฐอเมริกา ลอสแอนเจลิส สหรัฐ ดอนัลด์ ทรัมป์ (โดยคาดการณ์) ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ
2030 ฤดูหนาว ครั้งที่ 26 ประเทศฝรั่งเศส เฟรนช์แอลป์ ฝรั่งเศส ยังไม่กำหนด ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
2032 ฤดูร้อน ครั้งที่ 35 ประเทศออสเตรเลีย บริสเบน ออสเตรเลีย ยังไม่กำหนด ผู้สำเร็จราชการออสเตรเลีย[p]
2034 ฤดูหนาว ครั้งที่ 27 สหรัฐอเมริกา ซอลต์เลกซิตี สหรัฐ ยังไม่กำหนด ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ

หมายเหตุ:

  1. 1.0 1.1 รายพระนามและชื่อที่เป็น ตัวอักษรย่อ เป็นผู้แทนหรือผู้แทนพระองค์ของประมุขแห่งรัฐ
  2. ผู้แทนของ ธีโอดอร์ โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
  3. ผู้แทนของ อาเล็กซ็องดร์ มีลร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส
  4. 4.0 4.1 ตำแหน่งนี้มิใช่ประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัย แต่เป็นประธานของสภาสหพันธรัฐ โดยรวมทำหน้าที่คล้ายประมุขแห่งรัฐ
  5. ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินา พระมหากษัตริย์เนเธอร์แลนด์
  6. 6.0 6.1 ผู้แทนของ เฮอร์เบิร์ต ฮูเวอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
  7. คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งของฮิตเลอร์ว่า "นายกรัฐมนตรี" (หัวหน้ารัฐบาล) แต่ตำแหน่งที่ถูกต้องคือ ฟือเรอร์ ซึ่งในปี 1934 ได้สถาปนาตำแหน่งนี้ ซึ่งเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล
  8. ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 พระมหากษัตริย์นอร์เวย์
  9. 9.0 9.1 ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย
  10. ผู้แทนของ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
  11. ผู้แทนของ จิมมี คาร์เตอร์ ประธานาธิบดีสหรัฐ
  12. คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งของเบรจเนฟว่า "ประธานาธิบดี" ซึ่งประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัยนั้นคือประธานคณะผู้บริหารสูงสุดแห่งสภาโซเวียตสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ส่วนทางพฤตินัยคือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
  13. 13.0 13.1 ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 พระมหากษัตริย์แคนาดา
  14. 14.0 14.1 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งว่า "ประธานาธิบดี" อันเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัย ส่วนทางพฤตินัยคือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
  15. ในฐานะรักษาราชการประธานาธิบดี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากจิลมา รูเซฟถูกระงับการปฏิบัติหน้าที่
  16. ผู้แทนพระองค์ของ สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 พระมหากษัตริย์ออสเตรเลีย

รายพระนามและชื่อประธานในพิธีเปิดโอลิมปิกเยาวชน

[แก้]
ปี การแข่งขัน เมืองเจ้าภาพ ประธานในพิธี ตำแหน่งของประธาน หมายเหตุ
2010 ฤดูร้อน ครั้งที่ 1 ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์ เซลลัปปัน รามนาทัน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสิงคโปร์
2012 ฤดูหนาว ครั้งที่ 1 ประเทศออสเตรีย อินส์บรุค ออสเตรีย ไฮนทซ์ ฟิชเชอร์ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย
2014 ฤดูร้อน ครั้งที่ 2 ประเทศจีน หนานจิง สาธารณรัฐประชาชนจีน สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน[a]
2016 ฤดูหนาว ครั้งที่ 2 ประเทศนอร์เวย์ ลิลเลอฮาเมอร์ นอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 พระมหากษัตริย์แห่งนอร์เวย์
2018 ฤดูร้อน ครั้งที่ 3 ประเทศอาร์เจนตินา บัวโนสไอเรส อาร์เจนตินา เมาริซิโอ มากริ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอาร์เจนตินา
2020 ฤดูหนาว ครั้งที่ 3 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โลซาน สวิตเซอร์แลนด์ ซีโมเนตตา ซอมมารูกา ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส[b]
2024 ฤดูหนาว ครั้งที่ 4 ประเทศเกาหลีใต้ คังว็อน สาธารณรัฐเกาหลี ยุน ซ็อก-ย็อล ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเกาหลี
2026 ฤดูร้อน ครั้งที่ 4 ประเทศเซเนกัล ดาการ์ เซเนกัล บาสซีรู ดิโอมาเย เฟย์ (โดยคาดการณ์) ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเซเนกัล

หมายเหตุ:

  1. คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้บันทึกตำแหน่งของสีว่า "ประธานาธิบดี" อันเป็นประมุขแห่งรัฐโดยนิตินัย ส่วนทางพฤตินัยคือเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
  2. ตำแหน่งนี้มิใช่ประมุขแห่งรัฐในทางนิตินัย แต่เป็นประธานของสภาสหพันธรัฐ โดยรวมทำหน้าที่คล้ายประมุขแห่งรัฐ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. International Olympic Committee (11 February 2010). Olympic Charter (PDF). p. 103. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
  2. IOC Factsheet
  3. "เอเธนส์ 1896 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  4. "ปารีส 1900 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  5. "St Louis 1904 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  6. "ลอนดอน 1908 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  7. "Stockholm 1912 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  8. "Antwerp 1920 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  9. ครั้งที่ -olympics "Chamonix 1924 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  10. "ปารีส 1924 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  11. ครั้งที่ -olympics "St Moritz 1928 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  12. "Amsterdam 1928 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  13. ครั้งที่ -olympics "Lake Placid 1932 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  14. "Los Angeles 1932 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  15. ครั้งที่ -olympics "Garmisch-Partenkirchen 1936 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  16. "Berlin 1936 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  17. ครั้งที่ -olympics "St Moritz 1948 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  18. "ลอนดอน 1948 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  19. ครั้งที่ -olympics "Oslo 1952 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  20. "Helsinki 1952 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  21. ครั้งที่ -olympics "Cortina d'Ampezzo 1956 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  22. Kubatko, Justin. "1956 Stockholm Equestrian Games". Olympics at Sports-Reference.com. Sports Reference LLC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.
  23. "Melbourne-Stockholm 1956 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  24. ครั้งที่ -olympics "Squaw Valley 1960 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  25. "Rome 1960 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  26. ครั้งที่ -olympics "อินส์บรุค 1964 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  27. "Tokyo 1964 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  28. ครั้งที่ -olympics "Grenoble 1968 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  29. "Mexico City 1968 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  30. ครั้งที่ -olympics "Sapporo 1972 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  31. "Munich 1972 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  32. ครั้งที่ -olympics "อินส์บรุค 1976 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  33. "Montreal 1976 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  34. ครั้งที่ -olympics "Lake Placid 1980 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  35. "Moscow 1980 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  36. ครั้งที่ -olympics "Sarajevo 1984 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  37. "Los Angeles 1984 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  38. ครั้งที่ -olympics "Calgary 1988 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  39. "Seoul 1988 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  40. ครั้งที่ -olympics "Albertville 1992 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  41. "Barcelona 1992 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  42. ครั้งที่ -olympics "Lillehammer 1994 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  43. "Atlanta 1996 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  44. ครั้งที่ -olympics "Nagano 1998 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  45. "Sydney 2000 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  46. "Get ready to watch the Opening Ceremony: Heads of state". NBC. 24 March 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-02-28. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
  47. Harvey, Randy (16 September 2000). "Down Wonders". LA Times. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
  48. Olsen, Lisa (10 September 2000). "History Lesson Despite the stereotypes, don't expect to run into Crocodile Dundee at the Sydney Games". New York Daily News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 1 June 2016.
  49. "ออสเตรเลีย: Britain's Queen Elizabeth Visit". AP Archive. Associated Press. 21 March 2000. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  50. ครั้งที่ -olympics "Salt Lake City 2002 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  51. "เอเธนส์ 2004 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  52. ครั้งที่ -olympics "Turin 2006 โอลิมปิกฤดูหนาว". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  53. "Beijing 2008 โอลิมปิกฤดูร้อน". International Olympic Committee. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  54. "Governor General to Open the Vancouver 2010 Olympic ฤดูหนาว ครั้งที่ Games". Governor General of Canada. February 8, 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
  55. "ลอนดอน 2012 Olympics launches with huge ceremony". BBC News. 27 July 2012. สืบค้นเมื่อ 27 July 2012.
  56. Sam Sheringham (February 7, 2014). ครั้งที่ -olympics/25885398 "Sochi 2014: โอลิมปิกฤดูหนาว opens with glittering ceremony". BBC. สืบค้นเมื่อ February 7, 2014. {{cite news}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)