พิธีการโอลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พิธีการโอลิมปิก ในปัจจุบันได้นำพิธีเปิด พิธีปิด และพิธีมอบเหรียญรางวัล มาเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน โดยบางครั้งได้นำวัฒนธรรมในช่วงสมัยกีฬาโอลิมปิกโบราณมาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการ อาทิ โอลิมปิกฤดูร้อน 2004กรุงเอเธนส์, ประเทศกรีซ ได้นำวัฒนธรรมกรีกโบราณมาแสดงในพิธีเปิดและพิธีปิด หรือการมอบช่อมะกอกแก่นักกีฬาที่ได้เหรียญรางวัล โดยหลาย ๆ อย่างของพิธีการโอลิมปิกจะถูกกำหนดโดยกฎบัตรโอลิมปิก ซึ่งเจ้าภาพไม่สามรถปรับเปลี่ยนได้ และนอกจากนี้การแสดงในพิธีเปิดและพิธีปิดจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากลอีกด้วย

พิธีเปิด[แก้]

การแสดงในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 2016
คณะนักกีฬาจากประเทศกรีซในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2010
การจุดคบเพลิงในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูหนาว 2002

พิธีเปิดโอลิมปิก เป็นพิธีการเริ่มการแข่งขันอย่างเป็นทางการของกีฬาโอลิมปิก โดยในปัจจุบันบางกีฬาได้เริ่มการแข่งขันก่อนพิธีเปิด อย่าง โอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ได้เริ่มแข่งกีฬาฟุตบอลก่อน 2 วัน[1] ในองค์ประกอบของพิธีเปิดจะถูกกำหนดไว้ในกฎบัตรโอลิมปิก[2][3] ซึ่งส่วนใหญ่ได้ริเริ่มในโอลิมปิกฤดูร้อน 1920แอนต์เวิร์ป, ประเทศเบลเยียม[4]

การแสดง[แก้]

การแสดง ถือว่าเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละการแข่งขัน[5] ซึ่งมีจุดประสงค์ในการบอกสาสน์แก่ประชาชนทั่วโลก นอกจากนี้ยังเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศเจ้าภาพ[6] หรือในปัจจุบันได้แสดงเพื่อเผยแพร่แนวทางของประเทศนั้นในอดีต หรือ อนาคต[6] โดยปกติพิธีเปิดได้เริ่มพิธีการโดยการเคารพธงชาติของประเทสเจ้าภาพ ตอจากนั้นประเทศเจ้าภาพจะจัดการแสดงต่าง ๆ

การเดินขบวนนักกีฬา[แก้]

การเดินขบวนนักกีฬา ถือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีการที่สืบต่อกันมา โดยนักกีฬาทุกคนไม่จำเป็นจะต้องเข้าร่วมพิธีนี้ทุกคนก็ได้ ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้ธงชาติ และชื่อประเทศตามกี่ระบุไว้กับคณะกรรมการโอลิมปิกสากล[2][3] ตามธรรมเนียมประเทศกรีซจะต้องเดินขบวนนักกีฬาเข้าสู่สนามเป็นทีมแรก และประเทศเจ้าภาพจะเดินขบวนนักกีฬาเข้าสู่สนามเป็นทีมสุดท้าย[4][7] โดยโฆษกในสนามจะประกาศเป็นภาษาทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลก่อน คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส ต่อด้วยภาษาทางการของประเทศเจ้าภาพ ยกเว้นในกรณีประเทศเจ้าภาพใช้ภาษาทางการเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาฝรั่งเศส ก็ประกาศแค่ 2 ภาษาที่เป็นภาษาทางการของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลเท่านั้น

ธรรมเนียม[แก้]

เมื่อทุกชาติได้เข้าสู่สนามทั้งหมดแล้ว ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิก และประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลจะกล่าวสุนทรพจน์ ก่อนที่จะเชิญประธานในพิธีกล่าวเปิดอย่างเป็นทางการ ตามกฎบัตรโอลิมปิก ผู้เป็นประธานในพิธีจะต้องเป็นประมุขแห่งรัฐของประเทศเจ้าภาพ[8] ซึ่งมีหลายครั้งที่ประมุขแห่งรัฐไม่ได้เปิดการแข่งขันในพิธี อาทิ โอลิมปิกฤดูร้อน 1900 ไม่มีการจัดพิธีเปิด ซึ่งตอนนั้นการแข่งขันเป็นส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการโลก หรือประมุขแห่งรัฐแห่งสหรัฐอเมริกาไม่ได้เปิดการแข่งขันโอลิมปิกถึง 5 ครั้ง

ตามกฎบัตรโอลิมปิกหมวกที่ 5 ข้อที่ 29 จะกำหนดคำกล่าวสุนทรพจน์ไว้ดังนี้

  • โอลิมปิกฤดูร้อน
ข้าพเจ้าประกาศเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก [ชื่อเมืองเจ้าภาพ] เพื่อเฉลิมฉลองกีฬาโอลิมปิก [ครั้งที่] ในยุคปัจจุบัน
  • โอลิมปิกฤดูหนาว
ข้าพเจ้าประกาศเปิดการแข่งขันกีฬากีฬาโอลิมปิกฤดุหนาว [ครั้งที่] ณ [ชื่อเมืองเจ้าภาพ]

หลังจากนั้น ก็จะมีพิธีเชิญธงโอลิมปิกขึ้นสู่ยอดเสา ซึ่งบรรเลงด้วยเพลงสดุดีโอลิมปิก โดยตามกฎบัตรโอลิมปิก ธงโอลิมปิกนั้นจะต้องอยู่บนยอดเสาตลอดเวลาของการแข่งขัน และจะต้องอยู่โดดเด่นในสนามกีฬาหลัก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ถือธงโอลิมปิกจะเป็นนักกีฬาในประเทศเจ้าภาพ ต่อจากนั้น จะมีการพิธีกล่าวปฏิญาณของนักกีฬา, ผู้ตัดสิน และผู้ฝึกสอน

อ้างอิง[แก้]

  1. "Complete Olympic Schedule". USA Today. 2008-08-10. สืบค้นเมื่อ 2008-12-30.
  2. 2.0 2.1 "Fact sheet: Opening Ceremony of the Summer Olympic Games" (PDF). International Olympic Committee. October 2014. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
  3. 3.0 3.1 "Fact sheet: Opening Ceremony of the Winter Olympic Games" (PDF). International Olympic Committee. October 2014. สืบค้นเมื่อ 2016-08-23.
  4. 4.0 4.1 "The development of the Games – Between festival and tradition" (PDF). The Modern Olympic Games (PDF). International Olympic Committee. 2009-09-12. p. 5. สืบค้นเมื่อ 2012-08-13.
  5. Arning, Chris (2013), "Soft Power, Ideology and Symbolic Manipulation in Summer Olympic Games Opening Ceremonies: A Semiotic Analysis", Social Semiotics, 23 (4): 523–544, doi:10.1080/10350330.2013.799008
  6. 6.0 6.1 Chen, Chwen Chwen; Colapinto, Cinzia; Luo, Qing, "The 2008 Beijing Olympics Opening Ceremony: Visual Insights into China's Soft Power", Visual Studies, 27 (2): 188–195, doi:10.1080/1472586x.2012.677252
  7. Athletes Parade-Opening Ceremony London 2012 Olympics ที่ยูทูบ
  8. International Olympic Committee (11 February 2010). Olympic Charter (PDF). p. 103. สืบค้นเมื่อ 6 November 2010.