โอลิมปิกฤดูหนาว 2022
ระวังสับสนกับ พาราลิมปิกฤดูหนาว 2022
![]() สัญลักษณ์การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 | |
เมืองเจ้าภาพ |
![]() |
---|---|
คำขวัญ |
การนัดพบอันแสนรื่นรมย์ท่ามกลางหิมะและน้ำแข็งอันบริสุทธิ์ (จีน: 纯洁的冰雪,激情的约会) |
พิธีเปิด | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
พิธีปิด | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 |
ประธานพิธี | ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน |
สนามกีฬาหลัก | สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง |
กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 24 (จีน: 第二十四届冬季奥林匹克运动会; พินอิน: Dì Èrshísì Jiè Dōngjì Àolínpǐkè Yùndònghuì; อังกฤษ: XXIV Olympic Winter Games) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งที่ 24 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ระหว่างวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ถึง 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[1]
กรุงปักกิ่งได้รับเลือกให้เป็นนครเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2558 ที่สมัยประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่ 128 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เอาชนะเมืองอัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน การแข่งขันนี้จะเป็นกีฬาโอลิมปิกที่จัดในทวีปเอเชียครั้งที่สามติดต่อกัน หลังพย็องชัง 2018 และโตเกียว 2020 หลังจัดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 กรุงปักกิ่งจะเป็นนครแรกที่จัดทั้งกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนและฤดูหนาว จะเป็นกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวครั้งแรกที่จัดในประเทศจีน งบประมาณจัดการแข่งขันประเมินไว้ 3,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เทียบกับ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ใช้จัดโอลิมปิกฤดูร้อน 2008[2]
เนื้อหา
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ[แก้]
เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้รับสมัครเมืองเพื่อเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 2013 คณะกรรมการบริหารคณะกรรมการโอลิมปิกสากลตรวจสอบการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล เลือก ออสโล ประเทศนอร์เวย์, อัลมาตี ประเทศคาซัคสถาน และปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นเมืองสุดท้ายของการเสนอตัว แต่ออสโล ถอนตัวออกการเสนอตัว ในวันที่ 1 ตุลาคม 2014 จึงเหลือแค่ 2 เมือง คือ อัลมาตี และปักกิ่ง
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 มีการเลือกเจ้าภาพโอลิมปิก 2022 ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีมติเลือกปักกิ่งเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ซึ่งทำให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นในเอเชียติต่อกัน 3 ครั้ง หลังจาก พย็องชัง ได้เป็นเจ้าภาพ โอลิมปิกฤดูหนาว 2018 และโตเกียวได้เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 และปักกิ่ง จะเป็นเมืองแรกที่จะเป็นเจ้าภาพทั้งฤดูร้อน และโอลิมปิกฤดูหนาว
การลงคะแนน[แก้]
ผลการตัดสินประเทศเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 | ||
---|---|---|
เมือง | ประเทศ | |
ปักกิ่ง | ![]() |
44 |
อัลมาตี | ![]() |
40 |
เมืองที่ถอนตัว[แก้]
สถานที่[แก้]
คณะกรรมการโอลิมปิก 2022 ของปักกิ่ง ได้เสนอสถานที่จัดการแข่งขัน ใน 20 กุมภาพันธ์ 2014 ในกรุงปักกิ่งและเมืองจางเจียโขว่
ปักกิ่ง[แก้]
- สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง – พิธีเปิดและพิธีปิด
- อาคารกีฬาในร่มนครหลวงปักกิ่ง – ระบำสเก็ต,วิ่งสเก็ตแทร็คระยะสั้น
- ศูนย์กีฬาอู่เกอซง – ฮอกกี้น้ำแข็ง
- สนามกีฬาในร่มแห่งชาติปักกิ่ง – ฮอกกี้น้ำแข็ง
- ศูนย์กีฬาทางน้ำแห่งชาติปักกิ่ง– เคอลิ่ง
- สนามสปีดสเก็ตแห่งชาติ – วิ่งสเก็ตทางยาว
หยางฉิง[แก้]
- Xiaohaituo Alpine Skiing Field – สกีลงเขา
- Xiaohaituo Bobsleigh and Luge Track – บอบสเล,ลุจ และ สเคเลทัน
จางเจียโขว่[แก้]
- Kuyangshu Biathlon Field –
- Kuyangshu Ski Jumping Field –
- Hualindong Ski Resort –
- Genting Ski Resort –
- Taiwu Ski Resort –
- Wanlong Ski Resort –
ชนิดกีฬาที่แข่งขัน[แก้]
โอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้มีการแข่งขันทั้งหมด 15 รายการใน 7 ชนิดกีฬา
|
|
การประชาสัมพันธ์[แก้]
ตราสัญลักษณ์การแข่งขันโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 มีชื่อว่า "ความฝันฤดูหนาว" (อังกฤษ: Winter Dream, จีน: 冬梦 ) เป็นรูปปริวรรตของอักษรจีน "冬" โดยใช้สีฟ้า-น้ำเงิน สื่อถึงฤดูหนาว และสีแดง-ส้ม-เหลือง สื่อถึงประเทศจีน โดยมีการเปิดตัวเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 พร้อมกับตราสัญลักษณ์พาราลิมปิกฤดูหนาว 2022
ส่วนตุ๊กตาสัญลักษณ์ หรือมาสคอตของการแข่งขัน มีกำหนดเปิดตัวในปี พ.ศ. 2563
ความกังวลและข้อถกเถียงของโอลิมปิกฤดูหนาว 2022[แก้]
หลายเมืองถอนตัวจากการเสนอจัดโอลิมปิก 2022 เพราะกังวลว่าจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงหรือขาดการสนับสนุนท้องถิ่นที่จะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2022 จึงเหลือเมืองอัลมาตีและกรุงปักกิ่งในการเสนอตัว การตัดสินใจที่จะเสนอตัวสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นความขัดแย้งในประเทศจีน (และภายนอกประเทศ) เพราะบางส่วนของสถานที่จัดกีฬากลางแจ้งที่นำเสนอประสบสภาวะขาดแคลนหิมะและบางแห่งใกล้อุทยานแห่งชาติในกรุงปักกิ่ง
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Beijing to host 2022 Winter Olympics and Paralympics". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 31 July 2015.
- ↑ [1]