โอลิมปิกฤดูร้อน 2036
![]() | |
เมืองเจ้าภาพ | TBD |
---|---|
คำขวัญ | TBD |
พิธีเปิด | TBA |
พิธีปิด | TBA |
ฤดูร้อน ฤดูหนาว
พาราลิมปิกฤดูร้อน 2036 |
โอลิมปิกฤดูร้อน 2036 (อังกฤษ: 2036 Summer Olympics) หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 36 (อังกฤษ: Games of the XXXVI Olympiad) เป็นการแข่งขันกีฬานานาชาติที่จัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยในครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 36 และจะประกาศเมืองเจ้าภาพโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (ไอโอซี)
ขั้นตอนการคัดเลือกเจ้าภาพ[แก้]
กระบวนการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพของ IOC รูปแบบใหม่ได้รับการอนุมัติในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากลสมัยสามัญ ครั้งที่ 134 ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ข้อเสนอสำคัญที่ขับเคลื่อนโดยคำแนะนำที่เกี่ยวข้องจากวาระโอลิมปิกปี 2020 ได้แก่[1][2]
- จัดให้มีการเจรจาอย่างต่อเนื่องและถาวรเพื่อสำรวจและสร้างประโยชน์ร่วมกันระหว่างเมือง/ภูมิภาค/ประเทศ และคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสำหรับการจัดแข่งขันโอลิมปิกทุกประเภท (ฤดูร้อน/ฤดูหนาว/เยาวชนฤดูร้อน/เยาวชนฤดูหนาว)
- จัดตั้ง คณะกรรมการคัดเลือกเจ้าภาพแข่งขันกีฬาโอลิมปิก สำหรับการแข่งขันภาคฤดูร้อนหนึ่งคณะ และสำหรับการแข่งขันภาคฤดูหนาวอีกหนึ่งคณะ เพื่อดึงดูดความสนใจในกิจกรรมโอลิมปิกในอนาคต และให้รายงานผลต่อคณะกรรมการบริหารของ IOC
- ให้ การประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล มีอิทธิพลมากขึ้น โดยให้สมาชิกที่ไม่ใช่คณะกรรมการบริหารของ IOC เป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการคัดเลือกเจ้าภาพแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
ไอโอซียังแก้ไขกฎบัตรโอลิมปิกเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น โดยไม่กำหนดตายตัวว่าต้องคัดเลือกเจ้าภาพให้เสร็จสิ้น 7 ปีก่อนการแข่งขันเช่นในอดีต และการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสามารถจัดได้มากกว่าหนึ่งเมือง/ประเทศ/ภูมิภาคได้
เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ[แก้]
แอฟริกา[แก้]
นครโอลิมปิกนานาชาติ ประเทศอียิปต์
เอเชีย[แก้]
โซล ประเทศเกาหลีใต้
เฉิงตู–ฉงชิ่ง, ปักกิ่ง, หนานจิง, เซี่ยงไฮ้, กว่างโจว, เชินเจิ้น, หังโจว, อู่ฮั่น, ซีอาน, จี่หนาน, ต้าเหลียน, ซูโจว, เจิ้งโจว และ/หรือ เซียะเหมิน ประเทศจีน
อะห์มดาบาด ประเทศอินเดีย
นูซันตารา ประเทศอินโดนีเซีย
โดฮา ประเทศกาตาร์
ยุโรป[แก้]
ฟลอเรนซ์–โบโลญญา หรือ ตูริน ประเทศอิตาลี
ลอนดอน–เบอร์มิงแฮม–ลิเวอร์พูล–แมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร
อิสตันบูล ประเทศตุรกี
เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก, คาซาน, รอสตอฟ-นา-โดนู และ/หรือ โซชี ประเทศรัสเซีย
เบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี และ เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
ออแดซา ประเทศยูเครน
โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก
อเมริกาเหนือ[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Future Olympic Games elections to be more flexible". International Olympic Committee. 2 May 2019.
- ↑ "Evolution of the revolution: IOC transforms future Olympic Games elections". International Olympic Committee. 26 June 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับกีฬา นักกีฬา หรือทีมกีฬานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่โครงการวิกิกีฬา |