ข้ามไปเนื้อหา

กีฬาพาราลิมปิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พาราลิมปิก)
กีฬาพาราลิมปิก
องค์กร
คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล • คณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งชาติ • สัญลักษณ์ • กีฬา • ผู้ร่วมแข่งขัน • ตารางเหรียญรางวัล • ผู้ได้รับเหรียญรางวัล • พิธีการ •
การแข่งขัน
พาราลิมปิกฤดูร้อน
พาราลิมปิกฤดูหนาว

กีฬาพาราลิมปิก (อังกฤษ: Paralympic Games) เป็นการแข่งขันกีฬาสำหรับคนพิการหลายประเภทจากทั่วโลก โดยอยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการพาราลิมปิกสากล (International Paralympic Committee; IPC) โดยในปัจจุบัน กีฬาพาราลิมปิกจะจัดขึ้น หลังจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสิ้นสุดลง และประเทศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกครั้งนั้น ก็จะเป็นเจ้าภาพจัดแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกด้วย

ประวัติ

[แก้]
สำนักงานใหญ่คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล ที่เมืองบอนน์ ประเทศเยอรมนี

ในปี ค.ศ. 1948 ดอกเตอร์ลุดวิก กูทมัน ศัลยแพทย์ประจำโรงพยาบาลสโตก แมนเดวิลล์ ได้มีแนวคิดจัดการแข่งขันกีฬาขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและใจ ของทหารผ่านศึกชาวอังกฤษ จากสงครามโลกครั้งที่ 2[1] และจัดแข่งขันอีกครั้งในปี ค.ศ. 1952 ที่อังกฤษเช่นกัน แต่ครั้งนี้มีทหารผ่านศึกชาวดัตช์ เข้าร่วมการแข่งขันด้วย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เป็นการแข่งขันกีฬาคนพิการ ในระดับนานาชาติครั้งแรกของโลก

นับแต่นั้นมา ก็มีการแข่งขันระดับนานาชาติ เป็นกิจจะลักษณะต่างกรรมต่างวาระ มาเป็นระยะๆ จนถึงปี ค.ศ. 1960 ที่กรุงโรมของอิตาลี กีฬาคนพิการนานาชาติ ก็ปรับระบบเข้ามาสู่การเป็น “กีฬาโอลิมปิกคนพิการ” ด้วยการจัดในเมืองเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีเดียวกันเป็นครั้งแรก แต่แนวความคิดดังกล่าวก็ประสบปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาค่าใช้จ่ายบานปลายของเมืองเจ้าภาพโอลิมปิก ทำให้กีฬาคนพิการนานาชาติ ต้องแยกไปแข่งขันเองต่างหาก ตามหัวเมืองอื่นๆ ที่มีความพร้อม และเป็นไปได้มากกว่า

จนถึงปี ค.ศ. 1988 แนวความคิดดังกล่าวก็บรรลุวัตถุประสงค์ในที่สุด เมื่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล และสหพันธ์กีฬาคนพิการนานาชาติ (ปัจจุบันคือ คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล) ร่วมกันขอความร่วมมือให้เจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิก ควบคู่ไปในปีเดียวกัน ทั้งเกมฤดูร้อน ทั้งเกมฤดูหนาว กล่าวได้ว่า กีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 8 ที่กรุงโซลของเกาหลีใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1988 เป็นการเริ่มต้นกีฬาพาราลิมปิกอย่างเป็นทางการ

สัญลักษณ์และธงพาราลิมปิกเกมส์

[แก้]

สัญลักษณ์ของพาราลิมปิกเกมส์ เป็นแถบโค้งสีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว สามแถบคล้องกัน สำหรับธงพาราลิมปิกเกมส์ เป็นพื้นสีขาว มีสัญลักษณ์พาราลิมปิกอยู่กลางผืนธง ทั้งสองเริ่มใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2546 และใช้กับการแข่งขันครั้งที่ 12 เมื่อปี พ.ศ. 2547 เป็นคราวแรก

การจัดการแข่งขัน

[แก้]
พาราลิมปิกเกมส์
Paralympic Games
คำขวัญSpirit in Motion
ก่อตั้ง18 กันยายน พ.ศ. 2503
(ค.ศ. 1960; 64 ปีมาแล้ว)
จัดขึ้นทุก4 ปี
ครั้งล่าสุดฤดูร้อน: ครั้งที่ 17 ที่ปารีส
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
ฤดูหนาว: ครั้งที่ 12 ที่พย็องชัง
เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
วัตถุประสงค์กีฬาคนพิการระดับนานาชาติ
สำนักงานใหญ่คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล
เยอรมนี นครบอนน์, เยอรมนี
ประธานบราซิล แอนดรูว พาร์สัน
เว็บไซต์คณะกรรมการพาราลิมปิกสากล
หมายเหตุแบ่งเป็นพาราลิมปิกฤดูร้อน
และพาราลิมปิกฤดูหนาว

พาราลิมปิกฤดูร้อน

[แก้]
  ฤดูร้อน
ปี ครั้ง เมื่อง ประเทศ
1960 I โรม อิตาลี อิตาลี
1964 II โตเกียว ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
1968 III เทลอาวีฟ อิสราเอล อิสราเอล
1972 IV ไฮเดิลแบร์ค เยอรมนีตะวันตก เยอรมนี
1976 V โทรอนโต แคนาดา แคนาดา
1980 VI อาร์นเฮม เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์
1984 VII สโตก แมนเดวิลล์
นิวยอร์ก
สหราชอาณาจักร อังกฤษ
สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
1988 VIII โซล เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
1992 IX บาร์เซโลนา สเปน สเปน
1996 X แอตแลนตา สหรัฐอเมริกา สหรัฐ
2000 XI ซิดนีย์ ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
2004 XII เอเธนส์ กรีซ กรีซ
2008 XIII ปักกิ่ง จีน จีน
2012 XIV ลอนดอน สหราชอาณาจักร อังกฤษ
2016 XV รีโอเดจาเนโร บราซิล บราซิล
2020 XVI โตเกียว ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
2024 XVII ปารีส ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2028 XVIII ลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
2032 XIX บริสเบน ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย

พาราลิมปิกฤดูหนาว

[แก้]
  ฤดูหนาว
ปี ครั้ง เมือง ประเทศ
1976 I เอิร์นเชิลส์วีก สวีเดน สวีเดน
1980 II เกลโล นอร์เวย์ นอร์เวย์
1984 III อินส์บรุค ออสเตรีย ออสเตรีย
1988 IV อินส์บรุค ออสเตรีย ออสเตรีย
1992 V ทิกเนส แอลเบิร์ท ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
1994 VI แฮมเมอร์ นอร์เวย์ นอร์เวย์
1998 VII นะงะโนะ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
2002 VIII ซอลต์เลก สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
2006 IX ตูริน อิตาลี อิตาลี
2010 X แวนคูเวอร์ แคนาดา แคนาดา
2014 XI โซชิ รัสเซีย รัสเซีย
2018 XII พย็องชัง เกาหลีใต้ เกาหลีใต้
2022 XIII ปักกิ่ง จีน จีน
2026 XIV มิลาน เปซโซ อิตาลี อิตาลี

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]