ค้างคาว
ค้างคาว | |
---|---|
![]() | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Chiroptera Blumenbach, 1779 |
อันดับย่อย | |
ค้างคาว จัดอยู่ในชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวขนาดเล็กมีปีกบินได้ ค้างคาวเป็นอันดับใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยมีค้างคาวกว่า 1,100 สปีชีส์ หมายความว่า กว่า 20% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นค้างคาว[1]
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ค้างคาวมีลักษณะตรงตามที่คำอุปมาที่คนไทยเรียกมาตั้งแต่โบราณว่า "นกมีหู หนูมีปีก" แต่ค้างคาวไม่ใช่หนู และไม่ใช่นก ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในอันดับ Chiroptera
มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดนอกจากค้างคาวที่ใช้ชีวิตเหินหาวกลางอากาศได้ เช่น บ่าง กระรอกบิน แต่การเคลื่อนที่ของสัตว์เหล่านั้นเป็นการร่อน ส่วนการเคลื่อนที่ของค้างคาวเป็นการบิน นับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพียงชนิดเดียวที่บินได้อย่างแท้จริง ปีกของค้างคาวคือพังผืดที่เชื่อมระหว่างนิ้ว กระดูกนิ้วที่ยืดยาวทำหน้าที่เป็นโครงปีก
ค้างคาวมีจำนวนชนิดพันธุ์หลากหลายมาก มีถึงราว 1,240 ชนิด หรือคิดเป็นหนึ่งในห้าของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทั้งหมด
ค้างคาวมีเขตกระจายพันธุ์กว้างขวางไปทั่วโลก พบได้ในทุกทวีปยกเว้นแอนตาร์กติกา
ในระบบนิเวศ ค้างคาวมีบทบาทสำคัญมากในฐานะผู้ผสมละอองเกสร และผู้กระจายเมล็ดพันธุ์ พืชเขตร้อนหลายชนิดที่ต้องพึ่งพาค้างคาวเพียงอย่างเดียวในการแพร่พันธุ์ ค้างคาวยังเป็นผู้ควบคุมประชากรแมลงที่สำคัญอีกด้วย ค้างคาวราว 70 เปอร์เซ็นต์เป็นค้างคาวกินแมลง
ค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลกคือค้างคาวกิตติ (Kitti's hog-nosed bat) มีน้ำหนักเพียง 2-3 กรัม ความกว้างปีกจากปลายปีกถึงปลายปีกเพียง 15 เซนติเมตร ส่วนค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Malayan flying fox) มีความกว้างปีก 1.5 เมตร หนักประมาณ 1 กิโลกรัม
เนื่องจากลำตัวของค้างคาวคล้ายหนู ชื่อเรียกค้างคาวในภาษาต่าง ๆ หลายภาษาจึงเกี่ยวข้องกับหนู เช่นภาษาฝรั่งเศส เรียก chauve-souris (หนูหัวล้าน) สเปนเรียก murciélago (หนูตาบอด) รัสเซียเรียก летучая мышь (หนูบิน), เอสโทเนียเรียก nahkhiir (หนูหนัง)
ค้างคาวมีสองกลุ่มใหญ่ ๆ ค้างคาวใหญ่ มีสายตาดี กินผลไม้ น้ำหวาน หรือเกสรดอกไม้ อีกชนิดคือ ค้างคาวเล็ก เป็นค้างคาวสายตาไม่ดี บางชนิดถึงกับตาบอด ส่วนใหญ่กินแมลง ยกเว้นบางชนิดที่กินสัตว์ใหญ่กว่านั้น เช่นกินปลา กบ หรือบางชนิดเป็นค้างคาวดูดเลือด
ความสามารถอย่างหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของค้างคาวคือ มีระบบโซนาร์ค้นหาวัตถุ ความสามารถนี้มีในค้างคาวเล็ก ค้างคาวใหญ่เพียงบางชนิดที่มีความสามารถนี้
ประเภทค้างคาว[แก้]
- ค้างคาวกินแมลง มักจะมีเยื่อพังผืดบางๆ เชื่อมกันระหว่างขาหลังทั้งสอง และตาจะมีขนาดเล็กมาก จมูกจะตั้ง หูตั้งสูง และมีแผ่นหนังพิเศษช่วยในการรับเสียงอาศัยอยู่ในถ้ำ
- ค้างคาวกินผลไม้ จะมีดวงตาที่ใหญ่ ทำให้มองเห็นได้ดีในที่มืด มีจมูกที่ไวในการรับกลิ่นดอกไม้และผลไม้ และจมูกมักมีขอบยื่นออกมาไม่มีพังผืดระหว่างขาหลัง บริเวณปีกด้านหน้ามีเล็บยื่นออกมาเพื่อช่วยในการปีนป่าย
ในประเทศไทย[แก้]
ในประเทศไทยมีจำนวนชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมประมาณ 310 ชนิดโดยมีจำนวนชนิดของค้างคาว เป็นจำนวนประมาณ 120 ชนิดและคิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ของทั้งโลก โดยแบ่งเป็นค้างคาวกินผลไม้ 20 ชนิด ค้างคาวกินแมลง 99 ชนิด ส่วนอีก 1 ชนิด เป็นค้างคาวที่กิน สัตว์อื่นเป็นอาหาร โดยมีค้างคาวที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือค้างคาวแม่ไก่ป่าฝน (Pteopus vampyrus) เป็นค้างคาวกินผลไม้ ที่มีน้ำหนักตัว 1 กก. เมื่อกางปีกออกทั้งสองข้างจะ กว้างถึง 2 เมตร และมีค้างคาวที่เล็กที่สุดในโลก คือ ค้างคาวคุณกิตติ (Craseonycteris thonglongyai) เป็นค้างคาวกินแมลง มีน้ำหนักเพียง 2 กรัม ช่วงปีกกว้างเพียง 16 เซนติเมตร
ค้างคาวในวัฒนธรรมร่วมสมัย[แก้]
ค้างคาว เป็นสัญลักษณ์ ของการมีชีวิตหรือ ออกหากินช่วงกลางคืน มีการสื่อถึง ผีดูดเลือด ที่แปลงร่างเป็นค้างคาว และมีการนำมาสร้างเป็นสัญลักษณ์อื่นๆ เช่น มนุษย์ค้างคาว
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Tudge, Colin (2000). The variety of life. Oxford University Press. ISBN 0-19-860426-2.
- บรรณานุกรม
- Greenhall, Arthur H. 1961. Bats in Agriculture. A Ministry of Agriculture Publication. Trinidad and Tobago.
- Nowak, Ronald M. 1994. " Walker's BATS of the World". The Johns Hopikins University Press, Baltimore and London.
- John D. Pettigrew's summary on Flying Primate Hypothesis
- Altringham, J.D. 1998. Bats: Biology and Behaviour. Oxford: Oxford University Press.
- Dobat, K.; Holle, T.P. 1985. Blüten und Fledermäuse: Bestäubung durch Fledermäuse und Flughunde (Chiropterophilie). Frankfurt am Main: W. Kramer & Co. Druckerei.
- Fenton, M.B. 1985. Communication in the Chiroptera. Bloomington: Indiana University Press.
- Findley, J.S. 1995. Bats: a Community Perspective. Cambridge: Press Syndicate of the University of Cambridge.
- Fleming, T.H. 1988. The Short-Tailed Fruit Bat: a Study in Plant-Animal Interactions. Chicago: The University of Chicago Press.
- Kunz, T.H. 1982. Ecology of Bats. New York: Plenum Press.
- Kunz, T.H.; Racey, P.A. 1999. Bat Biology and Conservation. Washington: Smithsonian Institution Press.
- Kunz, T.H.; Fenton, M.B. 2003. Bat Ecology. Chicago: The University of Chicago Press.
- Neuweiler, G. 1993. Biologie der Fledermäuse. Stuttgart: Georg Thieme Verlag.
- Nowak, R.M. 1994. Walker's Bats of the World. Baltimore: The Johns Hopkins University Press.
- Richarz, K. & Limbruner, A. 1993. The World of Bats. Neptune City: TFH Publications.
- Teeling, E.C. 2009. Chiroptera. Oxford University Press.
- Twilton, B. 1999. My Life as The Bat. Liverpool Hope University press
- หนังสืออ่านเพิ่ม
- Davis, William B. (1997) [1947]. "Order Chiroptera:Bats". In Lisa Bradley. The Mammals of Texas – Online Edition. Dave Scarbrough (1994 ed.). Texas Parks and Wildlife Department. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10. Unknown parameter
|coauthors=
ignored (|author=
suggested) (help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Chiroptera |