เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ 5
เจ้าจอมมารดา โหมด | |
---|---|
เกิด | โหมด บุนนาค 16 มกราคม พ.ศ. 2406 |
เสียชีวิต | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2475 (69 ปี) |
คู่สมรส | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
บุตร | |
บิดามารดา | เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ท่านผู้หญิงสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (อิ่ม บุนนาค) |
เจ้าจอมมารดาโหมด เป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบุตรีคนที่ 6 ของเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) ที่เกิดแต่ท่านผู้หญิงสุรวงษ์ไวยวัฒน์ (อิ่ม) และยังเป็นน้องสาวร่วมบิดามารดากับเจ้าคุณพระประยุรวงศ์อีกด้วย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2406 (นับแบบใหม่)
ต่อมาท่านได้เข้าไปอยู่ในพระบรมมหาราชวัง โดยพำนักอยู่กับเจ้าคุณพระประยุรวงศ์ ผู้เป็นพี่สาว ต่อมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าจอม และได้ประสูติพระราชโอรส-พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้าชายอาภากรเกียรติวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2423 ต่อมาเป็น "กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์" และเป็นองค์ต้นราชสกุล "อาภากร"
- พระองค์เจ้าหญิงอรองค์อรรคยุพา ประสูติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2424
- พระองค์เจ้าชายสุริยงประยุรพันธ์ ประสูติเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2427 ต่อมาเป็น "กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส" และเป็นองค์ต้นราชสกุล "สุริยง"
อสัญกรรม
[แก้]เจ้าจอมมารดาโหมด พำนักในพระบรมมหาราชวังมาตลอดรัชกาลที่ 5 เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว จึงได้กราบบังคมทูลลาออกมาพำนักกับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ณ วังนางเลิ้งตลอดมา มีความสุขอยู่กับการเลี้ยงดูพระราชนัดดา ในราชสกุล "อาภากร" และ "สุริยง" จนกระทั่งป่วยด้วยโรคเนื้องอกทับหลอดอาหาร ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2475 สิริอายุ 69 ปี ได้รับโกศไม้สิบสอง ชั้นรอง 2 ชั้น ฉัตรเบญจา 1 สำรับ เป็นเกียรติยศ[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2447 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[2]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[3]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข่าวถึงอสัญกรรม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 49 (0 ง): 2972. 4 ธันวาคม 2475. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม ๒๑, ตอน ๓๔, ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๖๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๒๕, ตอน ๓๙, ๒๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๑, หน้า ๑๑๕๓
- สาระ มีผลกิจ. ราชสำนักฝ่ายในสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : มิวเซียมเพรส, 2551. 296 หน้า. ISBN 9744516817 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ฐานบุ๊คส์, ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2554. 368 หน้า. ISBN 9786167058580
- วรรณพร บุญญาสถิตย์. จอมนางแห่งสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาลที่ 6 กับกระแสวัฒนธรรมตะวันตก. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์, พ.ศ. 2549. 338 หน้า. ISBN 874341-471-1 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum