ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พรรคก้าวไกล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
MysteryGod666 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
}}
}}


'''พรรคก้าวไกล''' ({{อังกฤษ|Move Forward Party}}, [[อักษรย่อ]]: ก.ก., MFP.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า '''พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย''' มีการเปลี่ยนชื่อเป็น '''พรรคผึ้งหลวง''' ในปี 2562 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในเดือนมกราคม 2563 พรรคฯ รับเอกสมาชิก[[พรรคอนาคตใหม่]]ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเมื่อต้นปี 2563 ทำให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร
'''พรรคก้าวไกล''' ({{อังกฤษ|Move Forward Party}}, [[อักษรย่อ]]: ก.ก., MFP.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า '''พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย''' มีการเปลี่ยนชื่อเป็น '''พรรคผึ้งหลวง''' ในปี 2562 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในเดือนมกราคม 2563 พรรคฯ รับเอกสมาชิก[[พรรคอนาคตใหม่]]ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเมื่อต้นปี 2563 ทำให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ตอแหลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลล


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:34, 4 มิถุนายน 2563

พรรคก้าวไกล
ชื่อย่อMFP. ก.ก.
หัวหน้าพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
เลขาธิการชัยธวัช ตุลาธน
คำขวัญก้าวต่อไป เพื่ออนาคตไทยทุกคน
สู่อนาคตใหม่ ก้าวหน้า เท่าเทียม
ก่อตั้งพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1)
1 พฤษภาคม 2014; 10 ปีก่อน (2014-05-01)
พรรคก้าวไกล
19 มกราคม 2020; 4 ปีก่อน (2020-01-19)
ก่อนหน้าพรรคอนาคตใหม่
ที่ทำการ22 ซอยเพชรเกษม 47/2 แขวงบางแค เขตบางแค กรุงเทพมหานคร
สมาชิกภาพ  (ปี 2562)2,690 คน[1]
สี  สีส้ม
สภาผู้แทนราษฎร
54 / 500
เว็บไซต์
https://moveforwardparty.org/
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคก้าวไกล (อังกฤษ: Move Forward Party, อักษรย่อ: ก.ก., MFP.) พรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีการเปลี่ยนชื่อเป็น พรรคผึ้งหลวง ในปี 2562 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในเดือนมกราคม 2563 พรรคฯ รับเอกสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคเมื่อต้นปี 2563 ทำให้มีที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร ตอแหลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลลล

ประวัติ

จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในชื่อว่า พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย มีนาย ศักดิ์ชาย พรหมโท และนางสาว สมพร ศรีมหาพรหม เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนแรก โดยมีที่ทำการพรรคแห่งแรกอยู่ที่ 29/2 หมู่ 14 ตำบลหนองนาคำ อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี พร้อมกับคำขวัญพรรคว่า "ร่วมพัฒนา พาชาติพ้นวิกฤต พิชิตภัยคอร์รัปชั่น ยึดมั่นความเป็นไทย" [2]

ต่อมาในวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 นายศักดิ์ชายได้ยื่นหนังสือลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค มีการแต่งตั้งนาย สราวุฒิ สิงหกลางพล รองหัวหน้าพรรครักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค[3] ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ทางพรรคได้จัดประชุมใหญ่เพื่อเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือก ธนพล พลเยี่ยม และอังกูร ไผ่แก้ว เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากสถานที่เดิมมาอยู่ที่ 31/107 หมู่ 6 ซอยชินเขต 2 แยก 15 ถนนงามวงศ์วาน แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร และเปลี่ยนคำขวัญของพรรคเป็น "ร่วมพัฒนา นำประชาให้หลุดพ้น ทำค่าของคนให้เท่าเทียม"[4]

ต่อมานายธนพลได้ลาออกจากตำแหน่ง[5] ต่อมาพรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดการประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 ที่ประชุมมีมติให้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคผึ้งหลวง พร้อมกับประกาศใช้ข้อบังคับพรรคฉบับใหม่แทนฉบับเดิมโดยได้ย้ายที่ทำการพรรคจากที่เดิมไปอยู่ที่ 168/9 หมู่ 12 ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมถึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของพรรคและเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่แทนชุดเดิมจำนวน 10 คน ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนาย ก้องภพ วังสุนทร และนายวิรุฬห์ ชลหาญ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ พร้อมกับเปลี่ยนคำขวัญพรรคใหม่เป็น "พลิกประวัติศาสตร์ พลิกงบพัฒนา 90% สู่หมู่บ้าน/ชุมชน"[6]

ต่อมาในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 นายวิรุฬห์ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและเลขาธิการพรรค ทำให้คณะกรรมการบริหารพรรคเหลือทั้งสิ้น 9 คน[7]พรรคผึ้งหลวงจึงจัดประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ณ สำนักงานสาขาพรรคผึ้งหลวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อเลือกเลขาธิการพรรคคนใหม่ ที่ประชุมมีมติเลือกนาย เจษฎา พรหมดี ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคนใหม่ [8]

หลังจากนั้นในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พรรคผึ้งหลวงได้จัดประชุมใหญ่วิสามัญ ครั้งที่ 3/2562 ที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค และเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[9]โดยก่อนการลงมตินายก้องภพซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคผึ้งหลวงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคแต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคอยู่[10]และที่ประชุมมีมติเลือกนาย ธนพล พลเยี่ยม และนาย อังกูร ไผ่แก้ว ให้กลับมาเป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคสมัยที่ 2 พร้อมกับเปลี่ยนแปลงชื่อพรรคกลับไปเป็น พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย อีกครั้ง และได้ย้ายที่ทำการพรรคกลับไปยังที่ทำการพรรคเดิมในสมัยที่นายธนพลเป็นหัวหน้าพรรคสมัยที่ 1 โดยมีสถานที่ติดต่อชั่วคราวอยู่ที่ 757/14 หมู่บ้านมิตรภาพ ถนนอ่อนนุช 46 แขวงอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร [11]

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 พรรคร่วมพัฒนาชาติไทยได้จัดประชุมใหญ่สามัญ ครั้งที่ 1/2563 เพื่อแก้ไขข้อบังคับพรรค ชื่อพรรค ตราสัญลักษณ์พรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่[12] โดยที่ประชุมมีมติเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคก้าวไกล และที่ประชุมพรรคมีมติเลือกนาย ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ และนาง ปีใหม่ รัฐวงษา เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่[13]แต่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 กุมภาพันธ์นายราเชนธร์ได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหัน ทำให้นางปีใหม่ซึ่งเป็นเลขาธิการพรรคต้องรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรค [14]

โดยพรรคก้าวไกลได้ปรากฏเป็นข่าวว่าเป็นพรรคการเมืองที่ ส.ส. จำนวน 55 คนของอดีตพรรคอนาคตใหม่ นำโดย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เตรียมย้ายเข้ามาสังกัด เพราะก่อนหน้าที่จะมีการยุบพรรคอนาคตใหม่ได้ไม่นาน นางปีใหม่ซึ่งเคยร่วมชุมนุมทำกิจกรรมทางการเมืองกับนาย รังสิมันต์ โรม 1 ใน 55 ส.ส. อดีตพรรคอนาคตใหม่ได้เข้ามานั่งบริหารพรรคก้าวไกลในตำแหน่งเลขาธิการพรรค

และในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2563 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ก็ได้แถลงข่าวนำ ส.ส. ทั้ง 55 คนของอดีตพรรคอนาคตใหม่เข้าสังกัดพรรคก้าวไกลอย่างเป็นทางการ และที่ประชุมได้เลือกให้พิธาเป็นรักษาการประธาน ส.ส. และแต่งตั้งวิโรจน์ ลักขณาอดิศร เป็นรักษาการโฆษกของกลุ่ม และทุกคนจะสมัครเป็นสมาชิกพรรคอย่างเป็นทางการในสัปดาห์ถัดไป

ต่อมาในวันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 นายพิธาพร้อม 53 ส.ส. อดีตพรรคอนาคตใหม่รวมถึงนาย คารม พลพรกลาง ที่ก่อนหน้านี้ได้ออกจากกลุ่มไลน์ของ ส.ส. อดีตพรรคอนาคตใหม่ได้เดินทางมายัง ศูนย์ประสานงาน ส.ส. อดีตพรรคอนาคตใหม่ ฝั่งธนบุรี ซอยเพชรเกษม 47/2 ของนาย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทำการพรรคก้าวไกล เพื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล ก่อนที่จะมีการประชุมใหญ่วิสามัญพรรคก้าวไกล ครั้งที่ 1/2563 เพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค ตราสัญลักษณ์พรรค ที่ทำการพรรค และเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งการสมัครสมาชิกพรรคก้าวไกลครั้งนี้ขาดเพียงนาย ณัฐพงษ์ เจ้าของสถานที่ที่อยู่ระหว่างกักตัว 14 วันเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ภายหลังจากเดินทางกลับมาจากประเทศฟิลิปปินส์ ส่วนนาย จุลพันธ์ โนนศรีชัย ย้ายไปสังกัด พรรคชาติไทยพัฒนา

ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือกนายพิธาและนาย ชัยธวัช ตุลาธน อดีตรองเลขาธิการ พรรคอนาคตใหม่ เป็นหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรคคนใหม่ โดยคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดใหม่มีจำนวนทั้งสิ้น 29 คน[15]

บุคลากร

หัวหน้าพรรค

พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1)
ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 ศักดิ์ชาย พรหมโท 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
- สราวุฒิ สิงหกลางพล
(รองหัวหน้าพรรค รักษาการ)
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
2 ธนพล พลเยี่ยม 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ?
พรรคผึ้งหลวง
3 ก้องภพ วังสุนทร 19 มกราคม พ.ศ. 2562 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 2)
(2) ธนพล พลเยี่ยม 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 19 มกราคม พ.ศ. 2563
พรรคก้าวไกล
4 ราเชนธร์ ติยะวัชรพงศ์ 19 มกราคม พ.ศ. 2563 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
- ปีใหม่ รัฐวงษา
(เลขาธิการพรรค รักษาการ)
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 14 มีนาคม พ.ศ. 2563
5 พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

เลขาธิการพรรค

พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 1)
ลำดับที่ ชื่อ เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 สมพร ศรีมหาพรหม 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 15 ธันวาคม พ.ศ. 2560
15 ธันวาคม พ.ศ. 2560 (รักษาการ) 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
2 อังกูร ไผ่แก้ว 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ?
พรรคผึ้งหลวง
3 วิรุฬห์ ชลหาญ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
- นฤมล พานโคกสูง
(รองเลขาธิการพรรค รักษาการ)
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562
4 เจษฎา พรหมดี 7 ตุลาคม พ.ศ. 2562 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562
พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย (ครั้งที่ 2)
(2) อังกูร ไผ่แก้ว 7 ธันวาคม พ.ศ. 2562 19 มกราคม พ.ศ. 2563
พรรคก้าวไกล
5 ปีใหม่ รัฐวงษา 19 มกราคม พ.ศ. 2563 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 (รักษาการ) 14 มีนาคม พ.ศ. 2563
6 ชัยธวัช ตุลาธน 14 มีนาคม พ.ศ. 2563 ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 (ลำดับที่ 30)
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  4. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  5. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย
  6. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย)
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง
  8. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรคผึ้งหลวง
  9. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=509100203039916&id=304111640205441
  10. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=510833106199959&id=304111640205441
  11. ก่อน ส.ส.ส้มเทกโอเวอร์? ใครเป็นใคร-ทำความรู้จัก'พรรคร่วมพัฒนาชาติไทย-ผึ้งหลวง'
  12. https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=538913600058576&id=304111640205441
  13. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล (ชื่อเดิมพรรคร่วมพัฒนาชาติไทย)
  14. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล
  15. ไม่ผิดคาด "ทิม พิธา" นั่งหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมเปิดตัวโลโก้ใหม่

แหล่งข้อมูลอื่น