ข้ามไปเนื้อหา

พรรคคนขอปลดหนี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พรรคไทยเป็นไท)
พรรคคนขอปลดหนี้
เลขาธิการนายบุญอุดม ใจหล้า
ประธานที่ปรึกษาพรรคนายกุศลศรีอริยะ ศรีอารวงศา
นโยบายเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทย ขันอาสาปลดหนี้ให้คนไทยทุกคน ๆละไม่เกิน 5 แสนบาท
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2541
ถูกยุบ30 มีนาคม พ.ศ. 2559[1] (17 ปี 111 วัน)
ที่ทำการ81/9-10 ม.2 ต.บ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย 64170
เว็บไซต์
http://www.thaipenthai.org/

พรรคคนขอปลดหนี้ (เดิมชื่อ พรรคไทยเป็นไท[2]) เป็นพรรคการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในชื่อ พรรคเกษตรมหาชน[3] โดย นายชูชาติ ประธานธรรม (ชื่อเดิม "ปราบสะดา หมีเทศ" หรือ กุศล หมีเทศ หรือ "กุศล หมีเทศทอง" หรือ "ดารัณ หมีเทศ" ) เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคนขอปลดหนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2546[4]

เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคคนขอปลดหนี้ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทเป็นไท [5] และต่อมาเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552 พรรคไทเป็นไทได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2552 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทยเป็นไท (เพิ่ม ย ในคำแรก)[2] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 จึงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "พรรคคนขอปลดหนี้" เช่นเดิม

ณ ปี 2557 พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวน 326,782 คน นับเป็นพรรคการเมืองที่มีสมาชิกมากที่สุดในประเทศไทย[6]

วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559 ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยที่ 1-2/2559 มีคำสั่งยุบพรรคคนขอปลดหนี้ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มาตรา 93 ประกอบมาตรา 82 เนื่องจากไม่จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินสนับสนุนจากกองทุนเพื่อพัฒนาพรรคการเมืองในรอบปี พ.ศ. 2554 และรอบปี พ.ศ. 2555 ให้ถูกต้องความเป็นจริง [7][8]

กิจกรรมทางการเมือง

[แก้]

ในการเลือกตั้ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 ได้ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทั้งหมด 135 คน ในนามพรรคเกษตรมหาชน แต่ไม่ได้รับเลือกแม้แต่คนเดียว ต่อมาในการเลือกตั้ง 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทั่วประเทศ 120 คน ไม่ได้รับเลือกแม้แต่คนเดียว แต่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์เป็นอันดับ 4 ได้ร้อยละ 4.7

ต่อมาในการเลือกตั้ง 2 เมษายน พ.ศ. 2549 ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทั่วประเทศ 113 คน แต่ถูกคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตัดสิทธิเหลือ 50 คน ได้รับเลือก 1 คน คือ นายมาโนช เสนาชู เขต 9 จังหวัดนครศรีธรรมราช และในการเลือกตั้งใหม่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 ได้รับเลือก อีก 3 คน ได้แก่

การเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ส่งผู้สมัคร ส.ส. ทั่วประเทศ 480 คน เป็น ส.ส.สัดส่วน 80 คน และ ส.ส.เขต 400 คน ไม่ได้รับการเลือกตั้งแม้แต่คนเดียว

อ้างอิง

[แก้]
  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/D/042/163.PDF
  2. 2.0 2.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-12. สืบค้นเมื่อ 2011-07-14.
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคเกษตรมหาชน
  4. "ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายพรรค และข้อบังคับพรรคเกษตรมหาชน" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-05-19.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2552/D/015/55.PDF
  6. "ข้อมูลพรรคการเมืองที่ยังดำเนินการอยู่ ณ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557" (PDF). www.ect.go.th. คณะกรรมการการเลือกตั้ง. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การยุบพรรคคนขอปลดหนี้ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอน 42 ง หน้า 163 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/A/073/1.PDF

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]