กุศลศรีอริยะ ศรีอารวงศา
กุศลศรีอริยะ ศรีอารวงศา | |
---|---|
หัวหน้าพรรคไทยเป็นไท เดิมชื่อพรรคเกษตรมหาชน, พรรคคนขอปลดหนี้ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 – 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ไทยเป็นไท |
กุศลศรีอริยะ ศรีอารวงศา นักการเมืองชาวไทยผู้มีหลายชื่อและเคยสังกัดหลายพรรคการเมือง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย 4 สมัย สังกัดพรรคกิจสังคมและพรรคความหวังใหม่ ปัจจุบันมีอาชีพเป็นที่ปรึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และประกอบธุรกิจส่วนตัว
ประวัติ
[แก้]เดิมมีชื่อว่า กุศล หมีเทศ เกิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2499 ที่จังหวัดสุโขทัย เป็นบุตรนายชื้น-นางกุหลาบ หมีเทศ[1] อาศัยที่ตำบลท่าฉนวน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
ต่อมาเปลี่ยนชื่อตัวและนามสกุลเป็น "กุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา" และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยเป็นไท เมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552
การศึกษา
[แก้]กุศล หมีเทศ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเคมี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร เมื่อปี พ.ศ. 2522 และต่อมาในปี พ.ศ. 2529 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
การทำงาน
[แก้]กุศล หมีเทศ ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุโขทัย สังกัดพรรคกิจสังคม ในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2531 ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้ย้ายมาสังกัดพรรคมวลชน แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง กระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกเป็น ส.ส.สุโขทัยอีกครั้ง ในสังกัดพรรคความหวังใหม่
ในปี พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ปราบสะตา หมีเทศ" และก่อตั้ง พรรคเกษตรมหาชน ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค และลงสมัคร ส.ส.ในปี พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อตัวและนามสกุลเป็น "กุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา" และลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยเป็นไท เมื่อ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552[2]
ในปี 2564 กุศลเป็นข่าวทางสื่อมวลชนอีกครั้งเมื่อเขาถูกกล่าวถึงว่าอ้างตัวเป็นพระศรีอริยเมตไตรย[3] ต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 เขาถูกจับกุมในข้อหาเกี่ยวกับการหลอกลวงฉ้อโกงทรัพย์[4]
ชื่อและการเปลี่ยนชื่อ
[แก้]- กุศล หมีเทศ
- ปราบสะตา หมีเทศ (2541)
- กุศล หมีเทศทอง (2544)
- ดารัณ หมีเทศสุโข (2548)
- ชูชาติ ประทานธรรม (2549)
- กุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา (2552)
- กุศลศรีอริยะ ศรีอารวงศา (2563)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคไทยเป็นไทราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอน 39ง วันที่ 24 มีนาคม 2554
- ↑ อดีตส.ส.อ้างตัวเองเป็น พระศรีอริยเมตไตรย
- ↑ จับแล้ว อดีต ส.ส. หลายสมัย อ้างตัวเป็นพระศรีอริยเมตไตรย สาวกโร่ขอประกันตัว
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2499
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอกงไกรลาศ
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย
- พรรคสหประชาธิปไตย
- พรรคกิจสังคม
- พรรคมวลชน
- พรรคความหวังใหม่
- พรรคมาตุภูมิ
- บุคคลจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์