ข้ามไปเนื้อหา

ฮาจะเกร็ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาจะเกร็ง
ภาพสัญลักษณ์รายการ ฮาจะเกร็ง รูปแบบที่ 2
ประเภทวาไรตี้โชว์ซิทคอม
สร้างโดยลักษ์ 666
พัฒนาโดยบริษัท ลักษ์ 666 จำกัด
เสนอโดยเกียรติศักดิ์ อุดมนาค
นาคร ศิลาชัย
วิลลี่ แมคอินทอช
โก๊ะตี๋ อารามบอย
ประเทศแหล่งกำเนิดไทย
ภาษาต้นฉบับไทย
จำนวนตอน99 ตอน
การผลิต
ความยาวตอน25 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายMCOT TV
MCOT1 (ออกอากาศซ้ำ เวลา 21.10 น.)
สาระแน แชนแนล (ออกอากาศทุกวัน เวลา 20.00 น. - 22.00 น.)
ออกอากาศ4 มกราคม 2553 –
30 ธันวาคม 2554
การแสดงที่เกี่ยวข้อง
บางจะเกร็ง
ฮาจะเกร็ง รีบอร์น
ภาพสัญลักษณ์รายการ ฮาจะเกร็ง รูปแบบแรก
(ใช้เมื่อเทปวันที่ 4 มกราคม - 25 กุมภาพันธ์ 2553)

ฮาจะเกร็ง เป็นรายการโทรทัศน์ประเภทรายการตลกผสมเกมโชว์ ผลิตโดยบริษัท ลักษ์ 666 จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 14.00น. - 14.30 น. ทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ออกอากาศครั้งแรกในวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553 โดยรายการฮาจะเกร็ง นั้นได้ดัดแปลงรูปแบบรายการมาจาก บางจะเกร็ง โดยคงรูปแบบการนำเสนอหลักของบางจะเกร็งไว้อย่างครบถ้วน แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือระยะเวลาการออกอากาศที่เพิ่มเป็น 5 วัน จึงทำให้ช่วงละครตลก มีระยะเวลาในการนำเสนอที่มากถึง 5 วัน และช่วงบทลงโทษจะอยู่ในเทปสุดท้ายในแต่ละสัปดาห์ และสิ้นสุดการออกอากาศเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รายการนี้ยังได้ออกอากาศในช่อง สาระแน แชนแนล

พิธีกร

[แก้]

กติกา

[แก้]

จะเหมือนกับรายการบางจะเกร็งซึ่งจะให้แขกรับเชิญมาเล่นละครโดย 3 นักแสดงคือ เปิ้ล หอย และ โก๊ะตี๋ โดยที่แขกรับเชิญเกร็งหัวเราะโดยไม่เห็นฟัน ถ้าหัวเราะเห็นฟัน เจ้ายักษ์แห่งฮาจะเกร็ง (คนแคระที่แต่งชุดเป็นเม่น) ทั้ง 2 คนจะทำหน้าที่ตีแขกรับเชิญโดยอาวุธในการตีคือท่อแอร์และค้อนพลาสติกแต่บางครั้งจะตีผู้แสดงเองตามความสนุกของรายการ

บทลงโทษ

[แก้]

หลังจากละครจบไปแล้วนั้นซึ่งจะจบในวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์ พิธีกรจะให้แขกรับเชิญเลือกคนที่ลงโทษมาโดยบอกว่าใครทำตลกมากที่สุดซึ่งผู้นั้นคือคนที่ถูกเลือกให้รอด จากนั้นจะเหลือแค่ 2 คนที่ทำตลกได้น้อยโดยก่อนจะถูกลงโทษนั้นแขกรับเชิญจะให้เลือกแผ่นป้ายทั้ง 5 แผ่นป้ายซึ่งจะมีบทลงโทษต่าง ๆ โดยการลงโทษนั้นแขกรับเชิญจะเลือกการตัดสินว่าใครถูกลงโทษโดยจะใช้การหมุนวงล้อซึ่งจะมีสองส่วนด้วยกันคือส่วนแรกรูปใบหน้าของผู้ที่ลงโทษทั้ง 2 และส่วนที่ 2 จะเป็นวงล้อรูปแบบการจับฉลากกินแบ่งและส่วนบนมีข้อความต่าง ๆ ซึ่งจะมีข้อความที่อยู่ส่วนบนนั้นจะมีอยู่ 4 กรณีด้วยกันคือ

  • "ดวงคุณดีมีทางรอด แต่ยังไม่ใช่วันนี้" (หมุนวงล้อได้หน้าใคร คนนั้นถูกลงโทษโดยตรง)
  • "ดวงคุณกำลังซวย แต่เพื่อนมาช่วยรับแทน" (หมุนวงล้อได้หน้าใคร อีกคนถูกลงโทษแทน)
  • "ดวงคุณที่ว่าแย่ แต่ยังแพ้คนที่รอด" (คนที่ถูกเลือกให้รอดในวันพฤหัสบดีหรือช่วงแรกจะถูกลงโทษ)
  • "ดวงคุณยังหมดหวัง แต่ใช้เพื่อนเป็นเหยื่อแทน" (นักเรียนที่ถูกเลือกให้คนที่ชนะในช่วงท้ายรายการจะถูกลงโทษชั่วคราว)
บทลงโทษทั้งหมด
  1. พระกระโดดกำแพงหนี (เริ่มใช้ 8 มกราคม 2553)
  2. ส่งยายไปวัด
  3. โกว์รูหนู
  4. มวยตับแตก
  5. ถอดสลักระเบิด
  6. ยุงชุมจัง (เริ่มใช้วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553)
  7. สะบัดร้อน สะบัดหนาว (เริ่มใช้วันที่ 15 มกราคม 2553)
  8. จุมพิตน้องกิ๊พจัง (เริ่มใช้วันที่ 22 มกราคม 2553)
  9. ตีท้ายครัว (เริ่มใช้วันที่ 29 มกราคม 2553)
  10. น้องหม่องลองจรวด (เริ่มใช้วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553)
  11. เหนอะหนะนะน้องแพนเค้ก (เริ่มใช้วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2553)
  12. กล่องเครื่องมือหรรษา (เริ่มใช้วันที่ 5 มีนาคม 2553)
  13. สแลมดังค์ (เริ่มใช้วันที่ 12 มีนาคม 2553)
  14. เครื่องอบโป่งแป้ง (เริ่มใช้วันที่ 19 มีนาคม 2553)
  15. ดูหนัง3มิติ (เริ่มใช้ 26 มีนาคม 2553)
  16. กุญแจมหาภัย (เริ่มใช้ 2 เมษายน 2553)
  17. แซนด์วิชคิดไว้แล้ว (เริ่มใช้ 9 เมษายน 2553)
  18. ปิดตาตีหม้อ (เริ่มใช้ 22 เมษายน 2553)
  19. โบว์รุ่งริ่ง (เริ่มใช้ 30 เมษายน 2553)
  20. ทายภาพหน้าตาชา (เริ่มใช้ 14 พฤษภาคม 2553)
  21. ฤทธิ์ธูปสั้น (เริ่มใช้ 27 พฤษภาคม 2553)
  22. ศึกตานีปลายหวีเหี่ยว (เริ่มใช้ 4 มิถุนายน 2553)
  23. ฝ่าฝนเทียน (เริ่มใช้ 18 มิถุนายน 2553)
  24. หวดให้เขียว เฟี้ยวฟ้าว (เริ่มใช้ 2 กรกฎาคม 2553)
  25. เงาะป่าปาเป้า (เริ่มใช้ 9 กรกฎาคม 2553)
  26. ตู้ซ่อนไข่ (เริ่มใช้ 16 กรกฎาคม 2553)
  27. อย่าทำหนู (เริ่มใช้ 6 สิงหาคม 2553)
  28. อึ่งทายไชโย (เริ่มใช้ 11 สิงหาคม 2553)
  29. ไอ้หมึก ป้าบ ป้าบ (เริ่มใช้ 27 สิงหาคม 2553)
  30. บันจี้จัมพ์ จำฝังใจ (เริ่มใช้ 3 กันยายน 2553)
  31. ขบวนการชัคเกอร์เด้อ (เริ่มใช้ 10 กันยายน 2553)
  32. ตุ๊กตาล้มลุก (เริ่มใช้ 24 กันยายน 2553)
  33. เปิดปั้ม ปั้มลม (เริ่มใช้ 19 พฤศจิกายน 2553)
  34. ปริศนามีปัญหามั้ย (เริ่มใช้ 26 พฤศจิกายน 2553)
  35. แหนมเมือง สะเทือนไต (เริ่มใช้ 3 ธันวาคม 2553)
  36. เค้กปาช่อง (เริ่มใช้ 7 มกราคม 2554)
  37. กิโยตีน (เริ่มใช้ 14 มกราคม 2554)
  38. ตีนตุ๊กแกจอมเขมือบ (เริ่มใช้ 21 มกราคม 2554)
  39. ต๊ากกระโดด (เริ่มใช้ 17 กุมภาพันธ์ 2554)
  40. คลุมถุงชน (เริ่มใช้ 25 มีนาคม 2554)
  41. เกี่ยวกันไหม (เริ่มใช้ 12 พฤษภาคม 2554)
  42. ขนมเพี๊ยะ (เริ่มใช้ 27 พฤษภาคม 2554)
  43. ปีปีโป่ง ปะปะ ปีปีโป่ง (เริ่มใช้ 10 มิถุนายน 2554)
  44. แนบเนื้อน้องบอลลูน (เริ่มใช้ 22กรกฎาคม 2554)
  45. ผัวเมียมหาภัย
  46. หยุดเวลาฟ้าผ่า
สรุปจำนวนครั้งที่พิธีกรถูกลงโทษ
หอย 30
เปิ้ล 33 (+3)
โก๊ะตี๋ 19

รายชื่อแขกรับเชิญ

[แก้]

ปี 2553

[แก้]
หมายเหตุ
  • เทปของ พิมลรัตน์ พิศลยบุตร เป็นแขกรับเชิญ เป็นเทปแรกที่ออกอากาศเพียง 4 ตอนเท่านั้น นอกจากนี้เป็นเทปที่ไม่ได้ออกอากาศช่วงบทลงโทษในวันศุกร์ อันเนื่องจากการถ่ายทอดสดการพิพากษาคดียึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจึงทำให้สัปดาห์ที่มีคุณ พิมลรัตน์ พิศลยบุตรเป็นแขกรับเชิญ ถูกงดออกอากาศ อย่างไรก็ดี ในวันอัดรายการที่สตูดิโอ ก็มีการลงโทษตามปกติ โดยแขกรับเชิญเลือกป้ายหมายเลข 3 และพิธีกรที่ถูกลงโทษคือหอย ซึ่งบทลงโทษคือมวยตับแตก แต่ไม่ได้นำมาออกอากาศเนื่องจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้จัดว่าช่อง 9 อสมท. ไม่ได้ถ่ายทอดเสียง คำตัดสินคดียึดทรัพย์ จึงยังมิได้ตัดไฮไลท์ของบทลงโทษออก
  • เทปของ มนัญญา ลิ่มเสถียร เป็นแขกรับเชิญ ได้ออกอากาศ 4 ตอน เช่นกัน เนื่องจากวันที่ 1 มีนาคม 2553 รายการฮาจะเกร็งงดออกอากาศรายการ โดยมีรายการสดมาออกอากาศแทน เนื่องในวันหยุดชดเชยวันมาฆบูชา โดยเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในเทปที่จะต้องออกอากาศในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีตัวอย่างปรากฏในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
  • เทปแขกรับเชิญ ศกลรัตน์ วรอุไร เป็นเทปที่ออกอากาศ 2 สัปดาห์เนื่องจากวันที่ 13 - 16 เมษายน รายการถูกงดออกอากาศเนื่องจากมีรายการพิเศษในช่วงวันหยุดสงกรานต์เป็นผลทำให้เทปที่ออกอากาศในวันต่อไปถูกยกมาออกอากาศในวันที่ 19 เมษายน - 22 เมษายน แทน
  • เทปแขกรับเชิญ อัฐมา ชีวนิชพันธ์ ได้เกิดอุบัติเหตุระหว่างบันทึกเทปของโก๊ะตี๋ อารามบอยเนื่องจากไม้เสียบลูกชิ้นทิ่มบริเวณหน้าท้อง แต่ด้วยสปิริตของโก๊ะตี๋ ทำให้สามารถบันทึกเทปได้ต่อไปจนจบ
  • เทปแขกรับเชิญ สุษิรา แน่นหนา และ ศุภรุจ เตชะตานนท์ เป็นเทปที่มีการเปลี่ยนแปลงพิธีกรหลักชั่วคราวโดยเมทนี บุรณศิริ ทำหน้าที่พิธีกรแทนวิลลี่ แมคอินทอช ที่ติดภารกิจส่วนตัว จนไม่สามารถมาร่วมบันทึกรายการได้ [1]

ปี 2554

[แก้]
หมายเหตุ

อ้างอิง

[แก้]
  1. นิตยสารภาพยนตร์บันเทิง ฉบับที่1747

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]